โรคเบาหวานขึ้นตา ระดับน้ำตาลในเลือดสูงส่งผลต่อสุขภาพดวงตา ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน  ทำให้ลานตาบวมน้ำ เลือดออกในวุ้นตา แนวทางการรักษาโรคเบาหวานขึ้นตา ทำอย่างไร

เบาหวานขึ้นตา โรคตา โรคไม่ติดต่อ โรคจากเบาหวาน

เบาหวานขึ้นตา หรือ โรคเบาหวานขึ้นประสาทจอรับภาพ (Diabetes retinopathy) ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ถือเป็นโรคตา โรคที่เกี่ยวกับตา สัญญาณและอันตรายจากเบาหวานขึ้นตา นั้นในระยะแรกของโรคผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการ บางรายมีอาการสายตาพล่ามัว เห็นเงาคล้ายหยากไย่  บางรายเห็นภาพบิดเบี้ยว แต่ในบางรายไม่แสดงอาการเลยแม้อยู่ในระยะรุนแรง แต่หากปล่อยไว้โดยไม่เข้ารับการรักษา อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ในที่สุด

สาเหตุของโรคเบาหวานขึ้นตา

โรคเบาหวานขึ้นตาสาเหตุหลักเกิดจากโรคเบาหวาน เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ทำให้เส้นเลือดที่เรตินาหรือจอตาได้รับความเสียหายจากน้ำตาลอุดตัน ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติ ส่งผลกระทบต่อดวงตา โดยสามารถระบุลักษณะการเกิดโรคจากสาเหตุต่างๆ ได้ดังนี้

  1. การรั่วของน้ำจากผนังหลอดเลือด ซึ่งเราเรียกว่า Exudate
  2. ผนังของหลอดเลือดในบางส่วน มีอาการโป่งออกมา ซึ่งเราเรียกว่า Aneurysm
  3. เมื่อเกิดการขาดเลือด ทำให้ร่างกายสร้างเส้นเลือดใหม่เพื่อไปเลี้ยงส่วนที่ขาดเลือด และเส้นเลือดใหม่นี้เกิดขาดเราเรียกว่า proliferative
  4. เส้นเลือดเส้นใหม่ที่งอกออกมา ไม่แข็งแรงแตกง่ายเป็นสาเหตุของการตาบอด
  5. พบว่ามีเลือดออกที่จอรับภาพ เราเรียกว่า Haemorrhage
  6. พบว่ามีเส้นเลือดบางส่วน เกิดการตีบการตัน ซึ่งส่งผลทำให้เลือดไปเลี้ยงจอรับภาพไม่พอ

อาการของเบาหวานขึ้นตา

การแสดงอาการของโรคเบาหวานขึ้นตา ผู้ป่วยจะแสดงอาการที่คุณภาพการมองเห็นที่ผิดปรกติ แต่ในระยะแรกจะมองเห็นปรกติ และต่อมา สายตาพล่ามัวลงและอาจจะลุกลามไปถึงจุดรับภาพ ( macula ) การมองภาพอาจเห็นภาพบิดเบี้ยว ลานสายตาจะผิดปรกติจากการบวมน้ำ สายตาจะมืดลงเป็นแถบๆ สายตามืดลงอย่างกระทันหัน มีเลือดออกในน้ำวุ้นตาอย่างกระทันหัน

สำหรับอาการสายตาที่มัวลงเกิดจากการผิดปรกติของเส้นเลือด สามารถแบ่งอาการผิดปรกติได้ 4  กรณี ประกอบด้วย

  • กรณีแรก คือ เกิดการรั่วของน้ำหรือไขมัน โดยรั่วออกมาในเนื้อเยื่อ ทำให้เนื้อเยื่อจอประสาทตามีอาการบวม หากเกิดการบวมตรงกลางจอประสาทตา จะทำให้การรับภาพไม่ชัดเจน
  • กรณีที่สอง คือ การที่เส้นเลือดมีอาการเสื่อมตัว ทำให้เกิดการอุดตัน ส่งผลต่อเนื้อเยื่อประสาทตาขาดเลือด เกิดอาการอักเสบและตาย ทำให้เนื้อเยื่อบวม และ มีการงอกใหม่ของเส้นเลือดเพื่อชดเชยส่วนที่ตาย ทำให้จอประสาทตาบวม ส่งผลต่อการมองเห็นที่ไม่ชัด
  • กรณีที่สาม คือ การที่เส้นเลือดเกิดแตก และมีเลือดไหลออกในเนื้อเยื่อลูกตา ทำให้การมองเห็นเป็นเงาและมัว
  • กรณีที่สี่ คือ การที่เนื้อเยื่อของจอประสาทตาเกิดพังผืด และไปดึงรั้งเนื้อเยื่อจอประสาทตา ทำให้เกิดภาวะจอประสาทตาลอก  ต้องรับการรักษาจากแพทย์อย่างถูกต้อง ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดตาบอดได้

ระยะของการเกิดโรค

สำหรับโรคเบาหวานขึ้นจอตา นั้นสามารถแบ่งโรคได้เป็น 2 ระยะ คือ เบาหวานขึ้นจอตาระยะแรก และเบาหวานขึ้นจอตาระยะรุนแรง รายละเอียด ดังนี้

  • เบาหวานขึ้นจอตาระยะแรก ในระยะนี้ยังไม่มีหลอดเลือดฝอยที่ตางอกขึ้นใหม่
  • เบาหวานขึ้นจอตาระยะรุนแรง ในระยะนี้เกิดหลอดเลือยฝอยงอกขึ้นใหม่

ไม่ว่าการเกิดเบาหวานขึ้นตาในระยะใดก็ตามจะทำให้เกิดภาวะจอตาบวม ทำให้ความสามารถในการมองเห็นเสื่อมคุณภาพ เกิดอาการพล่ามัว ซึ่งปัจจัยของการเกิดเบาหวานขึ้นตานั้น มีปัจจัยเสี่ยง ประกอบด้วย

  • คนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานเป็นเวลานาน
  • คนป่วยที่มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง
  • การมีไตวายจากเบาหวาน
  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
  • ผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง
  • ผู้หญิงที่มีอาการโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

การรักษาโรคเบาหวานขึ้นตา

สำหรับแนวทางการรักษาโรคเบาหวานขึ้นตา เบื้องต้นต้องควบคุมโรคเบาหวาน หากอาการเบาหวานขึ้นตามากจะใช้การรักษาด้วยการยิงแสงเลเซอร์ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคลุกลามมากขึ้น เพื่อทำลายหลอดเลือดที่เกิดใหม่ และรักษาอาการบวมในตา โดยในปัจจุบัน การรักษาโรคเบาหวานขึ้นตา มี 3 วิธี ประกอบด้วย การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ การใช้ยารักษาและ การผ่าตัด โดยรายละเอียด ประกอบด้วย

  • การรักษาเบาหวานขึ้นตาด้วยแสงเลเซอร์ เป็นวิธีมาตรฐานในการรักษาในระยะที่มีการสร้างหลอดเลือดใหม่ และ ผู้ป่วยมีจุดภาพชัดบวม แสงเลเซอร์จะทำให้หลอดเลือดที่ผิดปกติฝ่อลง
  • การรักษาเบาหวานขึ้นตาด้วยยา เป็นการรักษาโดยการฉีดยา เพื่อลดการรั่วของหลอดเลือด ยาที่ใช้ในการรักษาปัจจุบัน มี 2  กลุ่ม คือ ยาสเตียรอยด์ และ ยาต้านการสร้างหลอดเลือดใหม่
  • การรักษาเบาหวานขึ้นตาด้วยการผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยที่เกิดเลือดออกในวุ้นตาจะถูกดูดซึมใน 3 สัปดาห์ และอาจทำให้เกิดพังผืดที่วุ้นตา จึงจำเป็นต้องผ่าตัดวุ้นตา เพื่อไม่ให้โรคลุกลาม

การป้องกันเบาหวานขึ้นตา

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานขึ้นตา ต้องจัดการที่สาเหตุหลักของการเกิดโรค คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ต้องดูแลร่างกายไม่ให้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งแนวทางการปฏิบัติตน มีวิธีดังต่อไปนี้

  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารที่มีรสเค็ม หวาน และมีไขมันสูง
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
  • ลดละเลิกการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์
  • รับประทานยารักษาเบาหวานตามกำหนดที่แพทย์สั่ง
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • ควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • หากมีอาการผิดปรกติเกี่ยวกับการมองเห็น เช่น ตามัว มองไม่ชัด หรือมองเห็นเป็นจุดดำ เป็นต้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโรค

ต้อหิน Glaucoma ภาวะความดันตาสูง ทำให้น้ำหล่อเลี้ยงตาระบายไม่ได้ ทำลายจอประสาทตา ตาบอดได้ ต้อหินรักษาไม่หายขาด สามารถป้องกันและควบคุมการสูญเสียของการมองเห็นได้

ต้อหิน โรคตา ทำให้ตาบอด โรคต่างๆ

โรคต้อหิน หรือ โรคความดันตาสูง ทางการแพทย์เรียก Glaucoma  ปัจจัยหลักของการเกิดต้อหินมาจากความดันลูกตาสูง จนทำให้การระบายน้ำของลูกตามีปัญหา ส่งผลให้ประสาทตาถูกทำลายในที่สุด แต่การเกิดต้อหินไม่จำเป็นต้องมีความดันตาสูงเสมอไป ผู้ป่วยโรคต้อหินไม่สามารถรักษาแล้วหายขาดได้ แต่สามารถควบคุมอาการไม่ให้แย่ลง โดยจะต้องมาพบจักษุแพทย์ทุก ๆ 3 เดือน ที่สำคัญเมื่อพบว่าเป็นโรคนี้ต้องรีบมารักษาโดยเร็ว อย่าปล่อยทิ้งไว้ เนื่องจากอาจถึงขั้นตาบอดในที่สุด

สถานการณ์โรคต้อหินในปัจจุบัน

องค์กรอนามัยโลก ( WHO ) ระบุว่า ต้อหินเป็นสาเหตุของการตาบอดของคนทั่วโลกมากที่สุดรองจากโรคต้อกระจก ซึ่งผู้ป่วยโรคต้อหินทั่วโลก มีประมาณ 4.5 ล้านคน และ ร้อยละ 12 ของผู้ป่วยต้อหินตาบอด และ ชนิดของการเกิดต้อหินเป็นชนิดโรคต้อหินแบบปฐมภูมิ สำหรับประเทศไทย มีอัตราการเกิดต้อหินมากถึงร้อยละ 36 ของประชากรทั่วประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นด้วย คาดว่าในปี 2563 จะมีคนไทยป่วยเป็นโรคต้อหินเพิ่มขึ้นประมาณ 7 แสนคน แม้ว่าโรคต้อหินจะเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถป้องกันและควบคุมการสูญเสียของการมองเห็นได้

สาเหตุของโรคต้อหิน

สาเหตุของโรคต้อหินมาจากน้ำหล่อเลี้ยงตาไหลเวียนไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งน้ำหล่อเลี้ยงตามีหน้าที่หล่อเลี้ยงเลนส์ กระจกตา และหลังจากนั้นจะถูกดูดซึมผ่านออกจากลูกตาไปทางมุมตา น้ำหล่อเลี้ยงตาต้องมีความสมดลุย์จึงจะทำให้ความดันตาปกติ ในทางกับกันหากภาวะความดันตาสูงผิดปรกติก็ส่งผลต่อระดับน้ำหล่อเลี้ยงตาเช่นกัน เมื่อน้ำหล่อเลี้ยงตาไม่สามารถระบายได้ ทำให้เกิดการทำลายจอประสาทตา โดยประสาทตาจะเสื่อมลงทีละน้อย

สาเหตุที่ทำให้ความดันในตาสูง ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีปัจจัยจากพันธุกรรม การใช้ยาหยอดขยายม่านตา การลดลงของเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงเส้นประสาทตา ความดันโลหิตสูง ภาวะอักเสบและการติดเชื้ออย่างรุนแรง การกระแทกที่ดวงตา การได้รับสารเคมี หรือ การผ่าตัด เป็นต้น

ปัจจัยที่ทำให้เกิดต้อหิน

สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดต้อหิน มีหลายปัจจัยที่ทำให้เซลล์ประสาทจอตาเสื่อมสภาพ ทำให้ลานสายตาผิดปกติ เกิดเป็นรอย หวำกว้างที่ขั้วประสาทตา  ส่งผลทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็น ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต้อหิน ประกอบด้วย

  • ความดันตาสูง
  • อายุ ที่มากขึ้นทำให้เกิดการเสื่อมตามวัย
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • โรคที่เกี่ยวกับเลือดที่ไปเลี้ยงจอประสาทตา เช่น โรคหลอดเลือดแดงแข็ง โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
  • ดวงตาถูกกระทบจากสารเคมี
  • การใช้ยาหยอดตาขยายม่านตา
  • การได้รับการกระทบกระเทือนที่ตาจากอุบัติเหตุ

ชนิดของต้อหิน

สำหรับโรคต้อหิน สามารถการแบ่งชนิดของต้อหิน ได้ 4 ชนิด ประกอบด้วย ต้อหินปฐมภูมิ ต้อหินทุติภูมิ ต้อหินแต่กำเนิด และ ภาวะสงสัยต้อหิน รายละเอียดของต้อหินชนิดต่างๆ มีดังนี้

  • ต้อหินปฐมภูมิ ( Primary glaucoma ) เป็นต้อหินที่ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค พบในผู้สูงอายุ สามารถจำแนกได้ 2 ประเภท คือ ต้อหินชนิดเฉียบพลัน และ ต้อหินชนิเรื้อรัง รายละเอียด ดังนี้
    • ต้อหินเฉียบพลัน ( Acute glaucoma ) คือ การเกิดต้อหินอย่างรวดร็ว ภายใน 48 ชั่วโมง ซึ่งลักษณะอาการรุนแรง มีอาการปวดตา ตามัว ตาแดง หากไม่รักษาอย่างทันท่วงทีทำให้ตาบอดได้
    • ต้อหินเรื้อรัง ( Chronic glaucoma ) ไม่รู้สึกว่า ตามัวและปวดตา แต่การมองเห็นภาพด้านข้างจะแคบลง ผู้ป่วยจะรู้สึกไม่สบายสายตา ทำให้ใช้สายตาได้ไม่นาน อาการแบบนี้ผุ้ป่วยทั่วไปมักเข้าใจว่าเป็นอาการเสื่อมของสายตาตามอายุ อาการของต้อหินเรื้อรังนี้ความดันตาจะค่อยสูงขึ้น วินิจฉัยยาก ต้องรอจนอาการเด่นชันถึงรู้ว่าเป็นต้อหิน
  • ต้อหินทุติยภูมิ ( Secondary glaucoma ) เป็นผลมาจากสาเหตุต่างๆ เช่น อุบัติเหตุทางตา ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา ต้อหินชนิดทุติยภูมิจำเป็นต้องรักษาจากต้นเหตุของการเกิดโรค ถ้ารักษาช้าเกินไป อาจส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆตามมา ซึ่งเป็นอันตราย
  • ต้อหินแต่กำเนิด ( Congenital glaucoma )  เกิดจากพัฒนาการภายในลูกตาของเด็กผิดปกติจากภาวะความดันตาจะสูงมาก ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา
  • ภาวะสงสัยต้อหิน ( Glaucoma suspect ) มีอาการบางอย่างเหมือนต้อหินเรื้อรัง แต่อาการไม่ครบ แพทย์จะต้องติดตามดูแลผู้ป่วยในระยะยาว

อาการของโรคต้อหิน

สำหรับอาการของโรคต้อหินจะแสดงอาการผิดปรกติที่สายตา และ อาการปวดที่ดวงตา ซึ่งเราสามารถแบ่งอาการของโรคต้อหินได้ 2 ลักษณะ คือ ต้อหินเฉียบพลัน และ ต้อหินเรื้อรัง รายละเอียดของอาการต้อหิน มีดังนี้

  • อาการของต้อหิน ชนิดเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการกระทันหัน คือ ปวดตา สายตาพล่ามัว และ ตาแดงความสามารถการมองเห็นไม่ชัดเลย ปวดตามากขึ้นเรื่อยๆจนอาจถึงขั้นอาเจียน ต้องรีบพบแพทย์ทันที
  • อาการต้อหิน ชนิดเรื้อรัง ผู้ป่วยในระยะแรกจะไม่รู้สึกว่ามีความผิดปรกติของดวงตาและสายตา แต่ความสามารถการมองเห็นจะค่อยๆแคบลง รู้สึกไม่สบายสายตา ผู้ป่วยมักเข้าใจว่าเป็นอาการเสื่อมของสายตาตามวัย การวินิจฉัยยาก ต้องรอจนอาการเด่นชันจึงทราบว่าเป็นโรคต้อหิน

การรักษาโรคต้อหิน

สำหรับแนวทางการรักาาโรคต้อหิน ปัจจุบันสามารถรักษาโรคต้อหินได้ 3 แนวทาง คือ การใช้ยารักษาโรค การใช้แสงเลเซอร์รักษา และ การผ่าตัดรักษา รายละเอียดดังนี้

  • การใช้ยารักษา เพื่อลดความดันของดวงตาให้อยู่ในภาวะปรกติ ปัจจุบันยารักษาต้อหินมีหลายกลุ่ม ทั้งยาหยอด ที่มีฤทธิ์ลดการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา การรักษาด้วยยานั้นจำเป็นต้องหยอดยาอย่างสม่ำเสมอ และพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อประเมินผลการรักษาอย่างถูกต้อง
  • การใช้เลเซอร์ในการรักษาโรคต้อหิน ขึ้นอยู่กับชนิดของต้อหินที่เกิดขึ้นและระยะเวลาของการเกิดโรค ซึ่งแนวทางการรักษา เช่น SLT LPT ALPI และ Laser cyclophotocoagulation
    • Selective laser trabeculoplasty ( SLT ) เพื่อรักษาต้อหินมุมเปิด จะใช้วิธีนี้รักษาหากการใช้ยาหยอดตาแล้วได้ผล
    • Laser peripheral iridotomy (LPI) เพื่อใช้รักษาต้อหินมุมปิด
    • Argon laser peripheral iridoplasty (ALPI) สำหรับการรักษาชนิดนี้จะใช้รักษาร่วมกับ Laser peripheral iridotomy (LPI)
    • Laser cyclophotocoagulation จะใช้การรักษาชนิดนี้สำหรับการรักษาในกรณีอื่นไม่ได้ผล
  • การผ่าตัดเพื่อรักษาจะใช้รักษาด้วยการผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยที่การรักษาด้วยยาหรือเลเซอร์ไม่ได้ผล

การป้องกันโรคต้อหิน

แนวทางการป้องกันการเกิดโรคต้อหิน ต้องแยกการป้องกันการเกิดต้อหินชนิดเฉียบพลัน และ ชนิดเรื้อรัง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ควรเข้ารับการสุขภาพดวงตาอย่างสม่ำเสมอ
  • สำหรับกลุ่มคนที่มีคนในครอบครัวมีประวัติการเกิดโรคต้อหิน ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพดวงตาอย่างใกล้ชิด
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดี ลดความเสี่ยงภาวะความดันโลหิตสูง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารบำรุงสายตา
  • การทำกิจกรรมที่มีความเสียงเกิดอุบัติเหตุที่ดวงตาให้ส่วมเครื่องป้องกันอับุติเหตุ

โรคต้อหิน ( Glaucoma ) สาเหตุของการตาบอด เกิดจากภาวะความดันตาสูง น้ำหล่อเลี้ยงตาไม่สามารถระบายได้ ทำลายจอประสาทตา โรคต้อหินจะเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถป้องกันและควบคุมการสูญเสียของการมองเห็นได้


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove