โรคเบาหวานขึ้นตา ระดับน้ำตาลในเลือดสูงส่งผลต่อสุขภาพดวงตา ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน  ทำให้ลานตาบวมน้ำ เลือดออกในวุ้นตา แนวทางการรักษาโรคเบาหวานขึ้นตา ทำอย่างไร

เบาหวานขึ้นตา โรคตา โรคไม่ติดต่อ โรคจากเบาหวาน

เบาหวานขึ้นตา หรือ โรคเบาหวานขึ้นประสาทจอรับภาพ (Diabetes retinopathy) ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ถือเป็นโรคตา โรคที่เกี่ยวกับตา สัญญาณและอันตรายจากเบาหวานขึ้นตา นั้นในระยะแรกของโรคผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการ บางรายมีอาการสายตาพล่ามัว เห็นเงาคล้ายหยากไย่  บางรายเห็นภาพบิดเบี้ยว แต่ในบางรายไม่แสดงอาการเลยแม้อยู่ในระยะรุนแรง แต่หากปล่อยไว้โดยไม่เข้ารับการรักษา อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ในที่สุด

สาเหตุของโรคเบาหวานขึ้นตา

โรคเบาหวานขึ้นตาสาเหตุหลักเกิดจากโรคเบาหวาน เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ทำให้เส้นเลือดที่เรตินาหรือจอตาได้รับความเสียหายจากน้ำตาลอุดตัน ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติ ส่งผลกระทบต่อดวงตา โดยสามารถระบุลักษณะการเกิดโรคจากสาเหตุต่างๆ ได้ดังนี้

  1. การรั่วของน้ำจากผนังหลอดเลือด ซึ่งเราเรียกว่า Exudate
  2. ผนังของหลอดเลือดในบางส่วน มีอาการโป่งออกมา ซึ่งเราเรียกว่า Aneurysm
  3. เมื่อเกิดการขาดเลือด ทำให้ร่างกายสร้างเส้นเลือดใหม่เพื่อไปเลี้ยงส่วนที่ขาดเลือด และเส้นเลือดใหม่นี้เกิดขาดเราเรียกว่า proliferative
  4. เส้นเลือดเส้นใหม่ที่งอกออกมา ไม่แข็งแรงแตกง่ายเป็นสาเหตุของการตาบอด
  5. พบว่ามีเลือดออกที่จอรับภาพ เราเรียกว่า Haemorrhage
  6. พบว่ามีเส้นเลือดบางส่วน เกิดการตีบการตัน ซึ่งส่งผลทำให้เลือดไปเลี้ยงจอรับภาพไม่พอ

อาการของเบาหวานขึ้นตา

การแสดงอาการของโรคเบาหวานขึ้นตา ผู้ป่วยจะแสดงอาการที่คุณภาพการมองเห็นที่ผิดปรกติ แต่ในระยะแรกจะมองเห็นปรกติ และต่อมา สายตาพล่ามัวลงและอาจจะลุกลามไปถึงจุดรับภาพ ( macula ) การมองภาพอาจเห็นภาพบิดเบี้ยว ลานสายตาจะผิดปรกติจากการบวมน้ำ สายตาจะมืดลงเป็นแถบๆ สายตามืดลงอย่างกระทันหัน มีเลือดออกในน้ำวุ้นตาอย่างกระทันหัน

สำหรับอาการสายตาที่มัวลงเกิดจากการผิดปรกติของเส้นเลือด สามารถแบ่งอาการผิดปรกติได้ 4  กรณี ประกอบด้วย

  • กรณีแรก คือ เกิดการรั่วของน้ำหรือไขมัน โดยรั่วออกมาในเนื้อเยื่อ ทำให้เนื้อเยื่อจอประสาทตามีอาการบวม หากเกิดการบวมตรงกลางจอประสาทตา จะทำให้การรับภาพไม่ชัดเจน
  • กรณีที่สอง คือ การที่เส้นเลือดมีอาการเสื่อมตัว ทำให้เกิดการอุดตัน ส่งผลต่อเนื้อเยื่อประสาทตาขาดเลือด เกิดอาการอักเสบและตาย ทำให้เนื้อเยื่อบวม และ มีการงอกใหม่ของเส้นเลือดเพื่อชดเชยส่วนที่ตาย ทำให้จอประสาทตาบวม ส่งผลต่อการมองเห็นที่ไม่ชัด
  • กรณีที่สาม คือ การที่เส้นเลือดเกิดแตก และมีเลือดไหลออกในเนื้อเยื่อลูกตา ทำให้การมองเห็นเป็นเงาและมัว
  • กรณีที่สี่ คือ การที่เนื้อเยื่อของจอประสาทตาเกิดพังผืด และไปดึงรั้งเนื้อเยื่อจอประสาทตา ทำให้เกิดภาวะจอประสาทตาลอก  ต้องรับการรักษาจากแพทย์อย่างถูกต้อง ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดตาบอดได้

ระยะของการเกิดโรค

สำหรับโรคเบาหวานขึ้นจอตา นั้นสามารถแบ่งโรคได้เป็น 2 ระยะ คือ เบาหวานขึ้นจอตาระยะแรก และเบาหวานขึ้นจอตาระยะรุนแรง รายละเอียด ดังนี้

  • เบาหวานขึ้นจอตาระยะแรก ในระยะนี้ยังไม่มีหลอดเลือดฝอยที่ตางอกขึ้นใหม่
  • เบาหวานขึ้นจอตาระยะรุนแรง ในระยะนี้เกิดหลอดเลือยฝอยงอกขึ้นใหม่

ไม่ว่าการเกิดเบาหวานขึ้นตาในระยะใดก็ตามจะทำให้เกิดภาวะจอตาบวม ทำให้ความสามารถในการมองเห็นเสื่อมคุณภาพ เกิดอาการพล่ามัว ซึ่งปัจจัยของการเกิดเบาหวานขึ้นตานั้น มีปัจจัยเสี่ยง ประกอบด้วย

  • คนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานเป็นเวลานาน
  • คนป่วยที่มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง
  • การมีไตวายจากเบาหวาน
  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
  • ผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง
  • ผู้หญิงที่มีอาการโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

การรักษาโรคเบาหวานขึ้นตา

สำหรับแนวทางการรักษาโรคเบาหวานขึ้นตา เบื้องต้นต้องควบคุมโรคเบาหวาน หากอาการเบาหวานขึ้นตามากจะใช้การรักษาด้วยการยิงแสงเลเซอร์ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคลุกลามมากขึ้น เพื่อทำลายหลอดเลือดที่เกิดใหม่ และรักษาอาการบวมในตา โดยในปัจจุบัน การรักษาโรคเบาหวานขึ้นตา มี 3 วิธี ประกอบด้วย การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ การใช้ยารักษาและ การผ่าตัด โดยรายละเอียด ประกอบด้วย

  • การรักษาเบาหวานขึ้นตาด้วยแสงเลเซอร์ เป็นวิธีมาตรฐานในการรักษาในระยะที่มีการสร้างหลอดเลือดใหม่ และ ผู้ป่วยมีจุดภาพชัดบวม แสงเลเซอร์จะทำให้หลอดเลือดที่ผิดปกติฝ่อลง
  • การรักษาเบาหวานขึ้นตาด้วยยา เป็นการรักษาโดยการฉีดยา เพื่อลดการรั่วของหลอดเลือด ยาที่ใช้ในการรักษาปัจจุบัน มี 2  กลุ่ม คือ ยาสเตียรอยด์ และ ยาต้านการสร้างหลอดเลือดใหม่
  • การรักษาเบาหวานขึ้นตาด้วยการผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยที่เกิดเลือดออกในวุ้นตาจะถูกดูดซึมใน 3 สัปดาห์ และอาจทำให้เกิดพังผืดที่วุ้นตา จึงจำเป็นต้องผ่าตัดวุ้นตา เพื่อไม่ให้โรคลุกลาม

การป้องกันเบาหวานขึ้นตา

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานขึ้นตา ต้องจัดการที่สาเหตุหลักของการเกิดโรค คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ต้องดูแลร่างกายไม่ให้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งแนวทางการปฏิบัติตน มีวิธีดังต่อไปนี้

  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารที่มีรสเค็ม หวาน และมีไขมันสูง
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
  • ลดละเลิกการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์
  • รับประทานยารักษาเบาหวานตามกำหนดที่แพทย์สั่ง
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • ควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • หากมีอาการผิดปรกติเกี่ยวกับการมองเห็น เช่น ตามัว มองไม่ชัด หรือมองเห็นเป็นจุดดำ เป็นต้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโรค

เลือดออกในวุ้นตา ตาขาวมีรอยแดงเหมือมมีเลือดคั่งในดวงตา เกิดจากเส้นเลือดที่ตาฉีก ทำให้การมองเห็นไม่ชัดแต่ไม่เจ็บตา เลือดออกในวุ้นตาอันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไร

เลือดออกในวุ้นตา โรคตา สายตาพร่ามัว โรคต่างๆ

เลือดออกในวุ้นตา ( Vitreous hemorrhage ) เกิดจากหลอดเลือดที่จอประสาทตาฉีกขาด จากหลายสาเหตุ เช่น อุบัติเหตุ ทำให้เลือดคั่งอยู่ในวุ้นตา ทำให้ลักษณะเป็นสีแดงๆที่ตาขาว ทำให้เกิดอาการสายตาพร่ามัว แต่ไม่มีอาการเจ็บปวดดวงตา

สาเหตุที่ทำให้เลือดออกในน้ำวุ้นตา

สำหรับสาเหตุของรอยแดงลักษณะมีเลืิอดขังอยู่ที่ดวงตา เกิดจากสาเหตุหลายสาเหตุ โดยมีปัจจัยเสี่ยงจากความผิดปรกติของดวงตาเอง และ ภาวะแทรกซ้อนของโรคที่ส่งผลต่อดวงตา สามารถสรุปสาเหตุของภาวะเลือดออกในวุ้นตา มีดังนี้

  1. ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน หรือ เบาหวานขึ้นตา พบว่าเป็นสาเหตุหลักของอาการเลือดออกในวุ้นตา
  2. ภาวะจอตาขาด แต่ยังโดยไม่มีอาการหลุดลอก พบว่าร้อยละ 15 ของผู้ป่วยเลือดออกในวุ้นตามีสาเหตุมาจากจอตาขาดแต่ยังไม่หลุดลอก
  3. ภาวะขั้วประสาทตาและจานประสาทตาหลุด พบว่าร้อยละ 10 ของผู้ป่วยเกิดจากขั้วประสาทตาและจานประสาทตาหลุด
  4. ภาวะจอตาหลุดลอก พบว่าร้อยละ 10 ของผู้ป่วยมีเลือดออกที่วุ้นในตาเกิดจากจอตาหลุด

อาการของโรคเลือดออกในวุ้นตา

การแสดงอาการของผู้ป่วยโรคเลือดออกในวุ้นตา จะแสดงอาการที่ความผิดปรกติของการมองเห็น คือ สายตาพร่ามัวแต่ไม่มีอาการปวดดวงตา การมองเห็นเหมือนมีอะไรลอยไปมา เหมือนมองเห็นหยักไย่ หรือ มองเห็นเหมือนมีเงาเคลื่อนที่ หรือ เห็นเป็นเงาสีแดงเคลื่อนไปมา โดยอาการสายตาพร่ามัวมักจะเกิดตอนตื่นนอน อาการเลือดออกในวุ้นตาสามารถสรุปอาการโดยทั่วไป ได้ดังนี้

  • ลักษณะการมองเห็นพร่ามัวแต่ไม่มีอาการเจ็บปวดดวงตา อาการสายตามัวจะมากที่สุดตอนตื่นนอน และก็จะค่อยๆมองเห็นได้ดีขึ้น
  • การมองเห็นภาพผิดปรกติ เช่น เห็นภาพคนลอยไปลอยมา มองเห็นเหมือนหยักไย่ มองเห็นเป็นเงาเคลื่อนที่ เป็นต้น
  • หากมีอาการปวดที่ดวงตา เกิดขึ้นกับผู้ป่วยบางกรณีที่มีการแทรกซ้อนจากภาวะต้อหิน

อาการของโรคเลือดออกในวุ้นตา นอกจากอาการโดยตรง คือ การมองภาพพร่ามัวแล้ว ยังมีผลข้างเคียงจากการเกิดเลือดออกในวุ้นตาได้ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

  • ภาวะ Hemosiderosis bulbi คือ อาการตาพล่ามั่ว ที่เกิดจากการเกาะตัวของธาตุเหล็กที่แก้วตา
  • ภาวะ Proliferative vitreo retinopathy คือ ภาวะพังผืดดึงรั้งจอตา อาจทำให้เกิดตาบอดได้
  • ภาวะ Ghost cell glaucoma คือ การเกิดต้อหิน เซลล์ที่มาจากเม็ดเลือดแดง ไหลย้อนเข้ามาในช่องที่อยู่ของวุ้นตา ทำให้เกิดการอุดตันในช่องด้านหน้าของลูกตา ส่งผลต่อความดันตา ทให้สูงขึ้นจนเกิดต้อหิน
  • ภาวะ Hemolytic glaucoma การที่สิ่งแปลกปลอมเข้าไปอุดตันทางเดินของน้ำในตา

การรักษาโรคเลือดออกในวุ้นตา

สำหรับแนวทางการรักษาโรคเลือดออกในวุ้นตา การรักษาใชเการฉีดยา ผ่าตัด การทำเลเซอร์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดโรคและลักษณะความรุนแรงของอาการ แต่โดยทั่วไปแล้วอาการเลือดในวุ้นตาจะค่อยๆถูกร่างกายดูดซึมและหายเองได้ แนวทางการรักษาที่จำเป็นต้องรักษา มีดังนี้

  • สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการจอตาหลุดลอก ต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัดวุ้นตาและผ่าตัดแก้ไขจอตาให้เข้าที่ และ จะรักษาด้วยลเซอร์ เพื่อป้องกันมิให้เลือดออกซ้ำ
  • รักษาด้วยการฉีดยา Vascular endothelial growth factor เข้าไปในวุ้นตา เพื่อลดการเกิดหลอดเลือดเกิดใหม่
  • รักษาด้วยการฉีดยา Hyaluronidase เข้าไปในวุ้นตา เพื่อละลายเลือด

ป้องกันการโรคเลือดออกในวุ้นตา

สำหรับแนวทางการป้องกันอาการเลือดออกในวุ้นตา ต้องป้องกันสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค และ การหมั่นสังเกตุความผิดปรกติของดวงตา แนวทางการป้องกันเลือดออกในวุ้นตา มีรายละเอียดดังนี้

  • ไม่ขยี้ตาแรงๆ
  • ดูแลสุขภาพ เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หากจำเป็นต้องทำกิจกรรมที่ต้องกระแทกหรือมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดอุบัตติเหตุที่ดวงตา ต้องสวมเครื่องป้องกันดวงตา
  • ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำทุกปี
  • ระมัดระวังการใช้ชีวิตประจำวัน ลดความเสี่ยงทั้งหมดที่มีโอกาสให้เกิดอุบัตติเหตุกับดวงตา

เลือดออกในวุ้นตา อาการตาขาวมีรอยแดง เหมือมมีเลือดคั่งในดวงตา เกิดจากเส้นเลือดที่ตาฉีก ทำให้การมองเห็นไม่ชัดแต่ไม่เจ็บดวงตา เลือดออกในวุ้นตาอันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove