ต้อเนื้อ ต้อลม ก้อนเนื้อที่เยื่อบุตาขาว เกิดจากอยู่ในแดดจ้านานๆ ทำให้มองภาพไม่ชัด ระคายเคืองดวงตา รักษาได้ด้วยการผ่าตัดลอกต้อเนื้อ พบบ่อนในเกษตรกรทำงานในที่แจ้งต้อเนื้อ ต้อลม โรคตา โรคดวงตา

โรคต้อเนื้อในประเทศไทย

ต้อเนื้อ เป็นโรคที่พบได้มากในประเทศเขตร้อนที่ค่อนข้างแห้งแล้ง กันดาร และมีฝุ่นลมจัด (ประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายนั่นแหละครับ ส่วนประเทศที่มีอากาศหนาวจะไม่ค่อยพบคนเป็นโรคนี้) โรคนี้จึงเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากโรคหนึ่งในบ้านเราแทบทุกภาคของประเทศ แต่จะพบเป็นกันมากที่สุดในภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดบุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ฯลฯ เป็นต้น มักพบหรือเกิดกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป และจะพบได้มากในผู้ที่มีอายุระหว่าง 30-55 ปี (ยังไม่ค่อยพบโรคนี้ในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี คือ พบได้เหมือนกันแต่น้อยมาก และยังไม่พบโรคนี้เลยในเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี) ส่วนอัตราการเกิดโรคนี้ในผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเกิดได้พอ ๆ กัน

สาเหตุของต้อเนื้อต้อลม

สาเหตุของการเกิดต้อเนื้อต้อลม พบว่าเกิดจากดวงตาถูกรังสียูวีนานอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลาหลายปี ส่งผลต่อเซลล์เยื่อบุตาขาวสร้างโปรตีนและไขมันมากกว่าปกติ จนเกิดเป็นก้อนหรือแผ่นหนาบนเยื่อบุตาขาว ต้อเนืิ้อต้อลมเป็นโรคเกี่ยวกับดวงตาที่พบบ่อยเนื่องจากประเทศไทยมีแสงแดดจัดตลอดทั้งปี

อาการของโรคต้อเนื้อ

อาการต้อเนื้อต้อลมเกิดจากอะไร เราพบว่าโรคนี้มักจะเกิดกับคนที่ ทำงาน หรือใช้ชีวิตอยู่กลางแจ้ง ต้องเจอกับแสงแดดจัดเป็นเวลานาน อาการของโรคต้อเนื้อต้อลม คือ จะมีก้อนเนื้อบริเวณตาขาว เวลาเจอฝุ่น เจอลม เจอฝุ่น  จะระคายเคืองมาก ถ้าหากต้อเนื้อลามไปถึงบริเวณตาตำ จะทำให้ความสามารถในการมองเห็นลงลง

การรักษาโรคต้อเนื้อ

สำหรับการรักษาโรคต้อเนื้อต้อลม เราสามารถแบ่งการรักษา 2 ลักษณะ ดังนี้

  1. ใช้ยาหยอดตา เพื่อลดการระคายเคือง ลดการตาแดง และลดการอักเสบ
  2. ผ่าตัดเอาต้อเนื้อ การผ่าตัดลอกต้อเนื้อ ใช้การกล้องจุลทรรศน์ เพื่อลอกต้อเนื้อออก และในผู้ป่วยบางรายต้อเนื้อจะกลับมาใหม่ได้ และมักมากกว่าเดิม ต้อเนื้อที่เกิดขึ้นมาใหม่ จะแดงหนา และ มีอาการอักเสบมากกว่าเดิม และการลอกต้อเนื้อใหม่นี้จะยากกว่าเก่ามาก สำหรับการผ่าตัดลอกต้อเนื้อมี 3 วิธี คือ
    1. การลอกต้อเนื้อ เรียก Bare sclera เป็นการตัดเนื้อออกจากเยื่อตาขาว และ ลอกต้อส่วนที่ติดอยู่บนตาดำออก ใช้ในผู้ป่วยที่มีอายุมากๆ หรือในผู้ป่วยที่ไม่มีการอักเสบ
    2. การลอกต้อเนื้อ และ นำเยื่อบุตามาแปะ เรียก Conjunctival graft โดยวิธีนี้จะทำตามการลอดต้อเนื้อ ร่วมกับการตัดเอาเยื่อตาขาวจากด้านบนของลูกตา มาแปะที่ตาขาว และเย็บด้วยไหม วิธีนี้จะสามารถป้องกันการกลับมาเกิดของต้อเนื้อได้
    3. การลอกต้อเนื้อ และเอาเยื่อหุ้มรกมาแปะ เรียก Amnion graft จะใช้เยื่อหุ้มรกมาแปะแทนเยื่อบุตา วิธีนี้จะใช้ในกรณีที่ต้อเนื้อมี่ขนาดใหญ่มาก ซึ่งการใช้เยื่อบุตามาแปะอาจจะไม่เพียงพอ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคต้อเนื้อ

  • โรคนี้ส่วนมากจะไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงเกิดขึ้นแต่อย่างใด ยกเว้นแต่ว่าต้อเนื้อจะยื่นเข้าไปปิดตาดำจนมิด ก็อาจจะบังสายตาทำให้มองไม่ถนัดได้ ซึ่งมักจะใช้เวลานานหลายปี เนื่องจากต้อเนื้อจะค่อย ๆ งอกลุกลามขึ้นอย่างช้า ๆ (โดยปกติก่อนจะถึงขั้นเป็นมากจนปิดตาดำ ผู้ป่วยจะต้องไปพบแพทย์ก่อนแล้ว เว้นแต่ในคนแก่ที่มักรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็อาจปล่อยปละละเลยจนปิดตามิดทั้ง 2 ข้าง ทำให้ตาบอดได้ ซึ่งการผ่าตัดลอกออกในกรณีนี้จะทำได้ยากและมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีก)
  • ต้อเนื้อนี้อาจทำให้ดวงตารู้สึกระคายเคืองต่อฝุ่น ลม ได้มากขึ้น และทำให้เกิดอาการไม่สบายตา เช่น แสบร้อน และน้ำตาไหลได้บ้างเป็นครั้งคราว (การใช้ยาสามารถช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองนี้ได้)
  • ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยมาก คือ การเกิดแผลเป็นที่กระจกตา ซึ่งอาจพบในรายที่เป็นมากและปล่อยให้มีการอักเสบบ่อย ๆ ซึ่งจะต้องได้รับการแก้ไขด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา

การดูแลตัวเองไม่ให้เป็นโรคต้อเนื้อต้อลม คือ หลีกเลี่ยงการทำงานในที่ทีกลางแจ้งหรือแสงแดดจ้า ใช้แว่นกันแดด เพื่อให้สายตาและป้องกันฝุ่น หลีกเลี่ยงการให้ลมกระแทกตา

การป้องกันการเกิดโรคต้อเนื้อ

สำหรับการป้องกันไม่ให้เกิดโรคต้อเนื้อต้องป้องกัน การถูกกระทบจากปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต้อเนื้อ รายละเอียด ดังนี้

  • การหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แสงแดดจัด ๆ
  • หลีกเลี่ยงการถูกลมกรรโชกกระทบดวงตา
  • ป้องกันการถูกสารละคายเคืองกระทบดวงตา เช่น แสงแดด ลม ฝุ่น และควัน
  • ควรพักสายตาเมื่อต้องใช้สายตาหนักๆ
  • หากเกิดอาการแสบตา ให้ล้างตาและใบหน้าให้สะอาด

ต้อเนื้อ ต้อลม ก้อนเนื้อที่เยื่อบุตาขาว อยู่ที่แสงแดดจ้าเป็นเวลานานหลายปี ทำให้มองภาพไม่ชัด ระคายเคืองดวงตา สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดลอกต้อเนื้อ โรคสำหรับเกษตรกรทำงานในที่แจ้ง

ตาแห้ง Dry Eyes น้ำตาที่หล่อลื่นดวงตาไม่พอ ทำให้ระคายเคืองตา แสบตา ไม่สบายตา ต้องไม่ขยี้ตา ใช้น้ำตาเทียมลดอาการตาแห้ง อาจเกิดจากผลข้างเคียงของยาลดความดันโรคตาแห้ง โรคตา โรคไม่ติดต่อ

โรคตาแห้ง คือ โรคเกี่ยวกับตา ภาษาอังกฤษ เรียก Dry Eyes เป็นภาวะน้ำตาที่มาหล่อเลี้ยง ดวงตาให้มีความชุ่มชื่นและเคลือบกระจกตาไม่พอ หรือมีปริมาณน้อยเกินไป อาการตาแห้ง สามารถพบได้ในทุกเพศและทุกวัย แต่ที่พบมากในเพศหญิง ที่หมดประจำเดือนเดือนแล้ว โรคตาแห้งถือเป็นโรคทางตาชนิดหนึ่ง

ตาแห้ง เป็นภาวะฟิล์มน้ำตา ที่ฉาบอยู่บริเวณส่วนหน้าของลูกตา ไม่เพียงพอที่จะหล่อลื่นลูกตา ทำให้เกิดการระคายเคือง ส่งผลต่อการแสบตา ตาแห้ง ระคายเคืองตา และไม่สบายตา โดย ฟิล์มน้ำตา นั้น มี 3 ชั้น ประกอบด้วย ชั้นไขมัน คือ ชั้นนอกสุด ชั้นสารน้ำ  เป็นน้ำที่สร้างจากต่อมน้ำตา และ ชั้นสุกท้าย คือ ชั้นน้ำเมือก สร้างจากเซลล์ในเยื่อบุตา

สาเหตุของโรคตาแห้ง

สาเหตุของการเกิดภาวะตาแห้งนั้น มีสาเหตุจากการเกิดโรคหลากหลายสาเหตุ โดยจะแยกเป็นข้อๆ รายละเอียด ดังนี้

  1. เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายเพศหญิง และผู้ป่วยเกี่ยวกับโรค Sjogren’s Syndrome จะพบว่ามีอาการตาแห้ง
  2. การใช้ยาในกลุ่ม ยากลุ่มแอนตี้ฮิสตามีน ยากล่อมประสาท ยารักษาหวัดและภูมิแพ้ ยาทางจิตเวช และยาลดความดันโลหิตสูงที่มีฤทธิ์ช่วยในการขับปัสสาวะ ยาชนิดดังกล่าวอาจทำให้การสร้างน้ำตาลดลง
  3. อาการเยื่อบุตาอักเสบอย่างรุนแรงจากการติดเชื้อ หรือการแพ้ยา ทำให้การสร้างน้ำตาลดลง
  4. ภาวะการสร้างน้ำตาน้อยกว่าปกติ เกิดจากความผิดปรกติของการสร้างน้ำตา
  5. ส่วนประกอบของน้ำตาผิดปกติ เช่น น้ำตาระเหยเร็วกว่าปกติ ทำให้ทำงานไม่ได้สมดุล จึงมีการสร้างน้ำตาน้อยลง
  6. การเสื่อมของร่างกายตามอายุ โดยส่วนที่เกิดการเสื่อม คือ ต่อมน้ำตา
  7. เกิดจากภาวะโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ซึ่งโรคเบาหวานทำให้เกิดการอักเสบต่อมน้ำตา
  8. การทำเลสิก ซึ่งเกิดการตัดเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกระจกตา ทำให้ไม่มีการถูกกระตุ้นให้สร้างน้ำตา
  9. การใช้คอนแทคเลนส์
  10. เกิดอุบัตติเหตุกับดวงตา ส่งผลต่อการทำงานของต่อมน้ำตา
  11. การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาหยอดตา ยาที่มีฤทธิ์ต้านการทำงานของระบบประสาท เป็นต้น

อาเการของโรคตาแห้ง

สำหรับ อาการของโรคตาแห้ง ผู้ป่วยจะรู้สึกฝืดที่ตา ระคายเคืองเหมือนมีเศษฝุ่นอยู่ในตา ในบางคนขี้ตาจะเป็นเหมือกเหนียวในผู้ป่วยที่ใช้คอนแทคเลนส์ ถ้ามีอาการตาแห้ง ก็จะระคายเคืองมากขึ้น บางครั้งมี อาการน้ำตาไหล เนื่องจากน้ำตาปกติน้อย ทำให้ต่อมน้ำตาทำการบีบน้ำตาออกมาจนมาก อาการของโรคตาแห้งนั้น เราได้แยกเป็นข้อๆ เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา มีดังนี้

  • มีอาการฝืดที่ดวงตา ลักษณะคล้ายกับว่าไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงที่ดวงตา
  • มีอาการระคายเคืองที่ดวงตา
  • มีความไม่สบายตา เหมือนมีอะไรอยู่ที่ดวงตาตลอดเวลา
  • มีอาการผิดปรกติของสายตา เช่น อาการตาพร่า อาการแพ้แสงแดด และอาการสายตามัว
  • มีความผิดปรกติของการมองเห็นภาพ เช่น มีอาการภาพซ้อน

โดยอาการต่างๆ เหล่านี้ ที่กล่าวมาในข้างต้น จะเป็นมากขึ้น เมื่อจำเป็นต้องใช้สายตาหนักขึ้น เช่น อ่านหนังสือ ขับรถ ทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ หรือ ดูทีวี รวมถึงการอยู่ในสิ่งแวดล้อม เช่น ที่มีลมพัดแรง อยู่บนเครื่องบิน อยู่ในห้องแอร์ เป็นต้น

การรักษาโรคตาแห้ง

สำหรับการรักษาโรคตาแห้งนั้น ต้องไม่ขยี้ตา ใช้น้ำตาเทียมหยอดตา เพื่อลดอาการตาแห้ง หมั่นกระพริบตาบ่อยๆ เพื่อลดอาการระคายเคือง และให้ดื่มน้ำเสมอ เพื่อรักษาสมดุลน้ำในร่างกาย ปิดท่อระบายน้ำตาจะช่วยให้น้ำตาหล่อเลี้ยงตาเพิ่มขึ้น เราจะสรุปแนวทางการรักษาโรคตาแห้งให้เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้

  1. หลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองดวงตา เช่น ไม่อยู่ในที่ที่มีฝุ่นละออง ควัน หลีกเลี่ยงการใช้พัดลม หรือ ปัจัยเสี่ยงที่ทำให้ลมโดนตา แต่หากจำเป็น ให้ใส่แว่นตาเพื่อป้องกัน
  2. ทำการรักษาโรคที่เป็นสาเหตุของการเกิดตาแห้ง เช่น โรคเปลือกตาอักเสบ เป็นต้น
  3. อาการตาแห้งเกิดอาการดวงตาขาดน้ำหล่อลื่นดวงตา ให้ใช้สารชดเชยน้ำตา เช่น น้ำตาเทียม และ ยาที่เป็นสารน้ำเหลืองจากเลือด ( Serum ) ของตัวเราเอง เรียก Autologus serum หรือ ใส่แว่นตาที่ทีให้ตาชุม่ชื่น เรียก Moist chamber
  4. ใช้ยาหยอดตาช่วยเพื่อลดการอักเสบของดวงตา แต่การใช้ยาหยอดตา ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
  5. ใช้ยากดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค เรียก Immunosuppressant ยากดภูมิคุ้มกันโรคจะช่วยลดการอักเสบของดวงตา
  6. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตาดวงตา เป็น อาหารที่มีโอเมกา 3 จะช่วยให้ภาวะตาแห้งดีขึ้นได้
  7. การผ่าตัดเื่อทำการลดการระเหยของน้ำตา มีการผ่าตัด 4 ลักษณะ เพื่อรักษาอาการตาแห้ง ประกอบด้วย
    1. การทำ Punctual plug คือ การผ่าตัดเพื่ออุดช่องทางการไหลออกของน้ำตาลงสู่โพรงจมูก
    2. การทำ Punctal cautery คือ การผ่าตัดโดยการจี้บริเวณช่องทางที่น้ำตาไหล เพื่ออุดการไหลออกของน้ำตาแบบถาวร
    3. การใช้คอนแทคเลนส์ ชนิดพิเศษ ที่เรียกว่า Scleral lens เป็นคอนแทคเลนส์ที่ช่วย อุ้มน้ำตาให้มากขึ้น
    4. การเย็บเปลือกตาหรือหนังตา เพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปรกติของเปลือกตาและหนังตา

การป้องกันโรคตาแห้ง

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคตาแห้งต้องลดปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของอาการตาแห้งทั้งหมด แนวทางการป้องกัน มีดังนี้

  • หากต้องให้สายตาอย่างหนัก ต้องหาเวลาพักสายตาในทุกๆ 60 นาที
  • กระพริบตาบ่อยๆให้ดวงตามีน้ำหล่อเลี้ยง
  • หากระคายเคืองตาให้ใช้น้ำตาเทียมหยอด เพื่อลดการระคายเคือง
  • ไม่ควรสวมคอนเทคเลนส์นานเกิน 8 ชั่วโมง
  • ดื่มน้ำมากๆ
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • สวมแว่นกันแดนเมื่อต้องออกแดดนานๆ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชนืต่อร่างกาย

สมุนไพรบำรุงสายตา ประกอบด้วย พืช ผัก ต้นไม้ ที่มีวิตามินเอ สูง สามารถช่วยบำรุงสายตาได้ดี มีดังนี้

เสาวรส สมุนไพร ผลไม้ ประโยชน์ของเสาวรส
เสาวรส
ฟักทอง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของฟักทอง
ฟักทอง
ชะอม สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ชะอม
เดือย ลูกเดือย สมุนไพร ประโยชน์ของเดือย
ลูกเดือย
ลูกยอ ต้นยอ สมุนไพร สมุนไพรไทย
ยอ
ผักโขม สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของผักโขม
ผักโขม

ตาแห้ง ( Dry Eyes ) น้ำตาที่หล่อลื่นดวงตาไม่พอ ทำให้เกิดการระคายเคือง แสบตา ไม่สบายตา วิธีรักษาโรคตาแห้งต้องไม่ขยี้ตา ใช้น้ำตาเทียมหยอดตา เพื่อลดอาการตาแห้ง อาจเกิดจากผลข้างเคียงของยาลดความดัน


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove