ต้อเนื้อ ต้อลม เกิดจากผังผืดที่เยื่อบุตาและการระคายเคืองตาเป็นเวลานานจนเกิดเนื้อเยื่อสีขาว ทำให้ความสามารถการมองเห็นน้อยลง สายตาพล่ามัว สามารถรักษาด้วยการผ่าตัด

ต้อเนื้อ ต้อลม โรคตา ตาต้อ

ต้อลม หรือ ตาลม ลักษณะเป็นก้อนเนื้อนูนบนเยื่อบุตาขาว จะอยู่ข้างกระจกตาดำ เป็นแผ่นหนานูนกลมสีขาวเหลือง มักพบบริเวณหัวตามากกว่าหางตา เมื่อเกิดอาการอักเสบจะแสบตา เคืองตา และ ตาแดง

ต้อเนื้อ หรือ ตาลิ้นหมา ลักษณะเป็นก้อนเนื้อนูนบนเยื่อบุตาขาวที่ขยายตัวใหญ่และหนาขึ้นจนลามเข้าไปในกระจกตาดำ อาจเกิดได้ทั้งด้านหัวตาและหางตา แต่มักพบได้บ่อยบริเวณด้านหัวตา

สาเหตุของต้อเนื้อต้อลม

สาเหตุของการเกิดต้อเนื้อต้อลม พบว่าเกิดจากดวงตาถูกรังสียูวีนานอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลาหลายปี ส่งผลต่อเซลล์เยื่อบุตาขาวสร้างโปรตีนและไขมันมากกว่าปกติ จนเกิดเป็นก้อนหรือแผ่นหนาบนเยื่อบุตาขาว ต้อเนืิ้อต้อลมเป็นโรคเกี่ยวกับดวงตาที่พบบ่อยเนื่องจากประเทศไทยมีแสงแดดจัดตลอดทั้งปี

สถานณ์การโรคต้อเนื้อในประเทศไทย

ต้อเนื้อ เป็นโรคที่พบได้มากในประเทศเขตร้อนที่ค่อนข้างแห้งแล้ง กันดาร และมีฝุ่นลมจัด ( ประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายนั่นแหละครับ ส่วนประเทศที่มีอากาศหนาวจะไม่ค่อยพบคนเป็นโรคนี้ ) โรคนี้จึงเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากโรคหนึ่งในบ้านเราแทบทุกภาคของประเทศ แต่จะพบเป็นกันมากที่สุดในภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดบุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ฯลฯ เป็นต้น มักพบหรือเกิดกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป และจะพบได้มากในผู้ที่มีอายุระหว่าง 30-55 ปี ( ยังไม่ค่อยพบโรคนี้ในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี คือ พบได้เหมือนกันแต่น้อยมาก และยังไม่พบโรคนี้เลยในเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี ) ส่วนอัตราการเกิดโรคนี้ในผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเกิดได้พอ ๆ กัน

อาการของโรคต้อเนื้อ

โรคต้อลมและต้อเนื้อสามารถเกิดกับดวงตาเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ และเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย ผู้ป่วยโรคต้อลมและต้อเนื้อที่ยังเป็นไม่มาก มักไม่มีอาการใดๆ เพียงแต่จะเห็นเป็นเนื้อเยื่อผิดปกติบริเวณเยื่อบุตาขาวเท่านั้น แต่หากมีการอักเสบ ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บตา เคืองตา คันตา ตาแดง แสบตา น้ำตาไหล รู้สึกเหมือนมีเศษผงอยู่ในตา ในกรณีของต้อเนื้อที่เป็นมากจนลุกลามเข้าไปกลางกระจกตาและบดบังการมองเห็น ผู้ป่วยจะมีอาการตามัว และอาจเกิดสายตาเอียงได้เนื่องจากต้อเนื้อดึงกระจกตาทำให้ความโค้งของกระจกตาเปลี่ยนไป

การรักษาโรคต้อเนื้อ

สำหรับแนวทางการรักษาโรคต้อเนื้อต้อลม ปัจจุบันสามารถรักษาด้วยการผ่าตัดลอกต้อเนื้อ ซึ่งมีความปลอดภัยสูง ซึ่งการผ่าตัดลอกต้อเนื้อมี 3 วิธีที่ใช้ในการรักษาในปัจจุบัน ดังนี้

  1. การลอกต้อเนื้อ เรียก Bare sclera เป็นการตัดเนื้อออกจากเยื่อตาขาว และ ลอกต้อส่วนที่ติดอยู่บนตาดำออก ใช้ในผู้ป่วยที่มีอายุมากๆ หรือในผู้ป่วยที่ไม่มีการอักเสบ
  2. การลอกต้อเนื้อ และ นำเยื่อบุตามาแปะ เรียก Conjunctival graft โดยวิธีนี้จะทำตามการลอดต้อเนื้อ ร่วมกับการตัดเอาเยื่อตาขาวจากด้านบนของลูกตา มาแปะที่ตาขาว และเย็บด้วยไหม วิธีนี้จะสามารถป้องกันการกลับมาเกิดของต้อเนื้อได้
  3. การลอกต้อเนื้อ และเอาเยื่อหุ้มรกมาแปะ เรียก Amnion graft จะใช้เยื่อหุ้มรกมาแปะแทนเยื่อบุตา วิธีนี้จะใช้ในกรณีที่ต้อเนื้อมี่ขนาดใหญ่มาก ซึ่งการใช้เยื่อบุตามาแปะอาจจะไม่เพียงพอ

การดูแลตัวเองไม่ให้เป็นโรคต้อเนื้อต้อลม คือ หลีกเลี่ยงการทำงานในที่ทีกลางแจ้งหรือแสงแดดจ้า ใช้แว่นกันแดด เพื่อให้สายตาและป้องกันฝุ่น หลีกเลี่ยงการให้ลมกระแทกตา

ภาวะแทรกซ้อนของโรคต้อเนื้อ

  • โรคนี้ส่วนมากจะไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงเกิดขึ้นแต่อย่างใด ยกเว้นแต่ว่าต้อเนื้อจะยื่นเข้าไปปิดตาดำจนมิด ก็อาจจะบังสายตาทำให้มองไม่ถนัดได้ ซึ่งมักจะใช้เวลานานหลายปี เนื่องจากต้อเนื้อจะค่อย ๆ งอกลุกลามขึ้นอย่างช้า ๆ (โดยปกติก่อนจะถึงขั้นเป็นมากจนปิดตาดำ ผู้ป่วยจะต้องไปพบแพทย์ก่อนแล้ว เว้นแต่ในคนแก่ที่มักรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็อาจปล่อยปละละเลยจนปิดตามิดทั้ง 2 ข้าง ทำให้ตาบอดได้ ซึ่งการผ่าตัดลอกออกในกรณีนี้จะทำได้ยากและมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีก)
  • ต้อเนื้อนี้อาจทำให้ดวงตารู้สึกระคายเคืองต่อฝุ่น ลม ได้มากขึ้น และทำให้เกิดอาการไม่สบายตา เช่น แสบร้อน และน้ำตาไหลได้บ้างเป็นครั้งคราว (การใช้ยาสามารถช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองนี้ได้)
  • ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยมาก คือ การเกิดแผลเป็นที่กระจกตา ซึ่งอาจพบในรายที่เป็นมากและปล่อยให้มีการอักเสบบ่อย ๆ ซึ่งจะต้องได้รับการแก้ไขด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา

การป้องกันโรคต้อเนื้อต้อลม

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดโรคควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค คือ ลดการอยู่ในที่แสงแดดจ้าตลอดเวลา ลดการถูกระคายเคืองดวงตาจากสิ่งแวดล้อม แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • ควรสวมแว่คตากันแดดเวลาต้องออกไปอยู่ในสถานที่ที่มีแสงแดดจ้าตลอดเวลา
  • สำหรับผู้อยู่ในงานอุตสาหกรรมที่มีการเชื่อมโลหะ ซึ่งได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต (รังสียูวี) ในระดับสูงมาก ควรสวมแว่นตากรองรังสีตลอดเวลา และควรใช้หน้ากากพิเศษกรองรังสีขณะปฏิบัติงานด้วยทุกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการถูกลมกรรโชกกระทบดวงตา
  • ป้องกันการถูกสารละคายเคืองกระทบดวงตา เช่น แสงแดด ลม ฝุ่น และควัน
  • ควรพักสายตาเมื่อต้องใช้สายตาหนักๆ
  • หากเกิดอาการแสบตา ให้ล้างตาและใบหน้าให้สะอาด

ภาวะตาแห้ง Dry Eyes อาการน้ำที่ตาไม่เพียงพอที่จะหล่อลื่นลูกตา ทำให้ระคายเคืองตา แสบตา ไม่สบายตา เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ ดูมือถือนานๆ รักษาและป้องกันอย่างไร

โรคตาแห้ง โรคตา โรคไม่ติดต่อ ไม่มีน้ำตา

โรคตาแห้ง ภาษาอังกฤษ เรียก Dry Eyes สามารถพบได้ในทุกเพศและทุกวัย แต่ที่พบมากในเพศหญิง ที่หมดประจำเดือนเดือนแล้ว และกลุ่มคนที่ใช้สายตามมาก เช่น กลุ่มคนทำงานออฟฟิต และ คนที่ดวงตาต้องกระทบกับลมมากๆ โรคตาแห้ง เป็นภาวะน้ำตาที่มาหล่อเลี้ยงดวงตาไม่เพียงพอทำให้ดวงตาขาดความชุ่มชื่น สำหรับน้ำหล่อเลี้ยงดวงตา หรือ ฟิล์มน้ำตา สร้างจากเซลล์ในเยื่อบุตา ประกอบด้วย 3 ชั้น คือ ชั้นไขมัน ชั้นสารน้ำ และ ชั้นน้ำเมือก

คนที่มีภาวะตาแห้ง บางครั้งไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคตาแห้ง เนื่องจากการระคายเคืองดวงตาจนเกิดความเคยชิน อาจทำให้เป็นแผลที่กระจกตา กระจกตาไม่เรียบใส  ผิวกระจกตาอักเสบ บางรายอาจร้ายแรงจนเกิดการติดเชื้อทำให้ตาบอดได้

สาเหตุของโรคตาแห้ง

โรคตาแห้งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ทั้งจากสภาพแวดล้อมและความผิดปรกติของร่างกายเอง เราสามารถสรุปสาเหตุของการเกิดภาวะตาแห้ง ได้ดังนี้

  1. ความผิดปรกติของฮอร์โมนเพศหญิง
  2. ผลค้างเคียงจากการใช้ยาในบางกลุ่ม เช่น ยากลุ่มแอนตี้ฮิสตามีน ยากล่อมประสาท ยารักษาไข้หวัดและภูมิแพ้ ยาทางจิตเวช และยาลดความดันโลหิตสูง เป็นต้น
  3. ภาวะเยื่อบุตาอักเสบอย่างรุนแรง ทำให้การสร้างน้ำตาลดลง
  4. ภาวะการสร้างน้ำตาน้อยผิดปกติ รวมถึงส่วนประกอบของน้ำตาผิดปกติ เช่น น้ำตาระเหยเร็ว เป็นต้น
  5. ภาวะการเสื่อมของร่างกายตามวัย
  6. ภาวะโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ทำให้เกิดต่อมน้ำตาอักเสบ
  7. ผลข้าวเคียงจากการรักษาดวงตาด้วยการทำเลสิก ทำให้ร่างกายไม่มีการถูกกระตุ้นให้สร้างน้ำตา
  8. ผลข้างเคียงจากการใช้คอนแทคเลนส์
  9. การเกิดอุบัตติเหตุกับดวงตา

อาการของโรคตาแห้ง

สำหรับโรคตาแห้ง ผู้ป่วยจะแสดงอาการที่ดวงตาและส่งผลกระทบต่อการมองเห็นพอสมควร ผู้ป่วยจะระคายเคืองดวงตาเหมือนมีเศษฝุ่นอยู่ในตาตลอดเวลา ขี้ตาเหนียว บางครั้งมีอาการน้ำตาไหล เราสามารถสรุปลักษณะอาการของโรคตาแห้ง ได้ดังนี้

  • รู้สึกไม่สบายตา มีอาการฝืดๆดวงตา ระคายเคืองตา เหมือนมีอะไรอยู่ที่ดวงตาตลอดเวลา
  • การมองเห็นผิดปรกติ เช่น อาการตาพร่า อาการแพ้แสงแดด และอาการสายตามัว บางครั้งการมองเห็นภาพเหมือนมีภาพซ้อน
  • น้ำตาไหล
  • ขี้ตาเป็นเมือกเหนียว
  • อาจรู้สึกปวดหัว หรือ ปวดตา บางครั้ง

ลักษณะอาการต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น จะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น หากใช้สายตาหนักขึ้น เช่น อ่านหนังสือ ขับรถ ทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ หรือ ดูทีวีนานๆ

การรักษาโรคตาแห้ง

สำหรับทางการรักษาโรคตาแห้ง มีหลายระดับขึ้นอยู่กับปัจจัยของการเกิดโรค ตั้งแต่ การปรับการใช้ชีวิต การใช้ยาหยอดตาลดการระคายเคือง การให้ยารักษาตามอาการ รวมถึงการผ่าตัดเพื่อรักษา สรุปแนวทางการรักษาโรคตาแห้ง ดังต่อไปนี้

  1. สำหรับกลุ่มคนที่มีปัจจัยตาแห้งจากสภาพแวดล้อมและการใช้ชีวิต ให้หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองดวงตา เช่น ไม่อยู่ในที่ที่มีฝุ่นละออง ควัน หลีกเลี่ยงการใช้พัดลม แต่หากจำเป็นให้ใส่แว่นตาเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนต่อดวงตา รวมถึงให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพดวงตา
  2. สำหรับกลุ่มคนที่มีอาการตาแห้งจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ให้รักษาโรคที่เป็นสาเหตุของการเกิดตาแห้ง เช่น โรคเปลือกตาอักเสบ โรคเบาหวาน เป็นต้น
  3. ใช้น้ำตาเทียมช่วยลดอาการขาดน้ำหล่อเลี้ยงดวงตา และลดการอักเสบของดวงตา
  4. สำหรับในบางกรณีหากจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด มีแนวทางการผ่าตัด 3 ลักษณะ คือ การทำ Punctual plug คือ การผ่าตัดเพื่ออุดช่องทางการไหลออกของน้ำตาลงสู่โพรงจมูก การทำ Punctal cautery คือ การผ่าตัดโดยการจี้บริเวณช่องทางที่น้ำตาไหล เพื่ออุดการไหลออกของน้ำตาแบบถาวร และ การเย็บเปลือกตาหรือหนังตา เพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปรกติของเปลือกตาและหนังตา

วิธีการป้องกันโรคตาแห้ง

สำหรับโรคตาแห้ง สามารถป้องกันโอกาสการเกิดโรคในส่วนของปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ แนวทางการป้องกันโรคตาแห้ง มีดังนี้

  • ให้ใส่เครื่องป้องกันดวงตา เช่น ใส่แว่นช่วยป้องกันแสงสีฟ้า จากคอมพิวเตอร์
  • พักสายตาจากการใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์บ่อยๆ หากจำเป็นต้องใช้สายตานานๆ ควรพักสายตาทุก 30 – 60 นาที ด้วยการหลับตา 1 – 2 นาที
  • หมั่นบริหารดวงตา เพื่อกระตุ้นต่อมน้ำตาให้หลั่งน้ำตาออกมามากขึ้นโดยอัตโนมัติ
  • ควรสวมแว่นกันแดดหรือกันลม หากจำเป็นต้องอยู่ในบริเวณที่อากาศแห้ง ร้อน หรือมีลมพัดแรง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ช่วยบำรุงสายตา
  • หมั่นตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำทุกปี

ภาวะตาแห้ง ( Dry Eyes ) คือ อาการน้ำที่ตาไม่เพียงพอที่จะหล่อลื่นลูกตา ส่งผลให้ระคายเคืองตา แสบตาไม่สบายตา โรคจากการใช้คอมพิวเตอร์มาก ดูมือถือนานๆ แนวทางการรักษาและการป้องกันโรคตาแห้ง ทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove