ต้อเนื้อ ต้อลม เกิดจากผังผืดที่เยื่อบุตาและการระคายเคืองตาเป็นเวลานานจนเกิดเนื้อเยื่อสีขาว ทำให้ความสามารถการมองเห็นน้อยลง สายตาพล่ามัว สามารถรักษาด้วยการผ่าตัด

ต้อเนื้อ ต้อลม โรคตา ตาต้อ

ต้อลม หรือ ตาลม ลักษณะเป็นก้อนเนื้อนูนบนเยื่อบุตาขาว จะอยู่ข้างกระจกตาดำ เป็นแผ่นหนานูนกลมสีขาวเหลือง มักพบบริเวณหัวตามากกว่าหางตา เมื่อเกิดอาการอักเสบจะแสบตา เคืองตา และ ตาแดง

ต้อเนื้อ หรือ ตาลิ้นหมา ลักษณะเป็นก้อนเนื้อนูนบนเยื่อบุตาขาวที่ขยายตัวใหญ่และหนาขึ้นจนลามเข้าไปในกระจกตาดำ อาจเกิดได้ทั้งด้านหัวตาและหางตา แต่มักพบได้บ่อยบริเวณด้านหัวตา

สาเหตุของต้อเนื้อต้อลม

สาเหตุของการเกิดต้อเนื้อต้อลม พบว่าเกิดจากดวงตาถูกรังสียูวีนานอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลาหลายปี ส่งผลต่อเซลล์เยื่อบุตาขาวสร้างโปรตีนและไขมันมากกว่าปกติ จนเกิดเป็นก้อนหรือแผ่นหนาบนเยื่อบุตาขาว ต้อเนืิ้อต้อลมเป็นโรคเกี่ยวกับดวงตาที่พบบ่อยเนื่องจากประเทศไทยมีแสงแดดจัดตลอดทั้งปี

สถานณ์การโรคต้อเนื้อในประเทศไทย

ต้อเนื้อ เป็นโรคที่พบได้มากในประเทศเขตร้อนที่ค่อนข้างแห้งแล้ง กันดาร และมีฝุ่นลมจัด ( ประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายนั่นแหละครับ ส่วนประเทศที่มีอากาศหนาวจะไม่ค่อยพบคนเป็นโรคนี้ ) โรคนี้จึงเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากโรคหนึ่งในบ้านเราแทบทุกภาคของประเทศ แต่จะพบเป็นกันมากที่สุดในภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดบุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ฯลฯ เป็นต้น มักพบหรือเกิดกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป และจะพบได้มากในผู้ที่มีอายุระหว่าง 30-55 ปี ( ยังไม่ค่อยพบโรคนี้ในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี คือ พบได้เหมือนกันแต่น้อยมาก และยังไม่พบโรคนี้เลยในเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี ) ส่วนอัตราการเกิดโรคนี้ในผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเกิดได้พอ ๆ กัน

อาการของโรคต้อเนื้อ

โรคต้อลมและต้อเนื้อสามารถเกิดกับดวงตาเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ และเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย ผู้ป่วยโรคต้อลมและต้อเนื้อที่ยังเป็นไม่มาก มักไม่มีอาการใดๆ เพียงแต่จะเห็นเป็นเนื้อเยื่อผิดปกติบริเวณเยื่อบุตาขาวเท่านั้น แต่หากมีการอักเสบ ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บตา เคืองตา คันตา ตาแดง แสบตา น้ำตาไหล รู้สึกเหมือนมีเศษผงอยู่ในตา ในกรณีของต้อเนื้อที่เป็นมากจนลุกลามเข้าไปกลางกระจกตาและบดบังการมองเห็น ผู้ป่วยจะมีอาการตามัว และอาจเกิดสายตาเอียงได้เนื่องจากต้อเนื้อดึงกระจกตาทำให้ความโค้งของกระจกตาเปลี่ยนไป

การรักษาโรคต้อเนื้อ

สำหรับแนวทางการรักษาโรคต้อเนื้อต้อลม ปัจจุบันสามารถรักษาด้วยการผ่าตัดลอกต้อเนื้อ ซึ่งมีความปลอดภัยสูง ซึ่งการผ่าตัดลอกต้อเนื้อมี 3 วิธีที่ใช้ในการรักษาในปัจจุบัน ดังนี้

  1. การลอกต้อเนื้อ เรียก Bare sclera เป็นการตัดเนื้อออกจากเยื่อตาขาว และ ลอกต้อส่วนที่ติดอยู่บนตาดำออก ใช้ในผู้ป่วยที่มีอายุมากๆ หรือในผู้ป่วยที่ไม่มีการอักเสบ
  2. การลอกต้อเนื้อ และ นำเยื่อบุตามาแปะ เรียก Conjunctival graft โดยวิธีนี้จะทำตามการลอดต้อเนื้อ ร่วมกับการตัดเอาเยื่อตาขาวจากด้านบนของลูกตา มาแปะที่ตาขาว และเย็บด้วยไหม วิธีนี้จะสามารถป้องกันการกลับมาเกิดของต้อเนื้อได้
  3. การลอกต้อเนื้อ และเอาเยื่อหุ้มรกมาแปะ เรียก Amnion graft จะใช้เยื่อหุ้มรกมาแปะแทนเยื่อบุตา วิธีนี้จะใช้ในกรณีที่ต้อเนื้อมี่ขนาดใหญ่มาก ซึ่งการใช้เยื่อบุตามาแปะอาจจะไม่เพียงพอ

การดูแลตัวเองไม่ให้เป็นโรคต้อเนื้อต้อลม คือ หลีกเลี่ยงการทำงานในที่ทีกลางแจ้งหรือแสงแดดจ้า ใช้แว่นกันแดด เพื่อให้สายตาและป้องกันฝุ่น หลีกเลี่ยงการให้ลมกระแทกตา

ภาวะแทรกซ้อนของโรคต้อเนื้อ

  • โรคนี้ส่วนมากจะไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงเกิดขึ้นแต่อย่างใด ยกเว้นแต่ว่าต้อเนื้อจะยื่นเข้าไปปิดตาดำจนมิด ก็อาจจะบังสายตาทำให้มองไม่ถนัดได้ ซึ่งมักจะใช้เวลานานหลายปี เนื่องจากต้อเนื้อจะค่อย ๆ งอกลุกลามขึ้นอย่างช้า ๆ (โดยปกติก่อนจะถึงขั้นเป็นมากจนปิดตาดำ ผู้ป่วยจะต้องไปพบแพทย์ก่อนแล้ว เว้นแต่ในคนแก่ที่มักรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็อาจปล่อยปละละเลยจนปิดตามิดทั้ง 2 ข้าง ทำให้ตาบอดได้ ซึ่งการผ่าตัดลอกออกในกรณีนี้จะทำได้ยากและมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีก)
  • ต้อเนื้อนี้อาจทำให้ดวงตารู้สึกระคายเคืองต่อฝุ่น ลม ได้มากขึ้น และทำให้เกิดอาการไม่สบายตา เช่น แสบร้อน และน้ำตาไหลได้บ้างเป็นครั้งคราว (การใช้ยาสามารถช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองนี้ได้)
  • ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยมาก คือ การเกิดแผลเป็นที่กระจกตา ซึ่งอาจพบในรายที่เป็นมากและปล่อยให้มีการอักเสบบ่อย ๆ ซึ่งจะต้องได้รับการแก้ไขด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา

การป้องกันโรคต้อเนื้อต้อลม

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดโรคควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค คือ ลดการอยู่ในที่แสงแดดจ้าตลอดเวลา ลดการถูกระคายเคืองดวงตาจากสิ่งแวดล้อม แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • ควรสวมแว่คตากันแดดเวลาต้องออกไปอยู่ในสถานที่ที่มีแสงแดดจ้าตลอดเวลา
  • สำหรับผู้อยู่ในงานอุตสาหกรรมที่มีการเชื่อมโลหะ ซึ่งได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต (รังสียูวี) ในระดับสูงมาก ควรสวมแว่นตากรองรังสีตลอดเวลา และควรใช้หน้ากากพิเศษกรองรังสีขณะปฏิบัติงานด้วยทุกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการถูกลมกรรโชกกระทบดวงตา
  • ป้องกันการถูกสารละคายเคืองกระทบดวงตา เช่น แสงแดด ลม ฝุ่น และควัน
  • ควรพักสายตาเมื่อต้องใช้สายตาหนักๆ
  • หากเกิดอาการแสบตา ให้ล้างตาและใบหน้าให้สะอาด

ต้อกระจก เลนส์ตาขาวขุ่น ทำให้มองเห็นภาพไม่ชัด โรคเสี่ยงผู้สูงอายุ เกิดจากโปรตีนที่เลนส์ตาเสื่อมตามวัย อาการมองไม่ชัด แนวทางการรักษาต้อกระจกต้องทำอย่างไรโรคต้อกระจก โรคตา โรคไม่ติดต่อ การรักษาต้อกระจก

โรคต้อกระจก ( Cataract ) คือ ภาวะที่เลนส์ตาขุ่นมัว ซึ่งมีสาเหตุจากหลายอย่าง เช่น ภาวะโดยกำเนิด การได้รับอุบัติเหตุ ความผิดปรกติของดวงตาเอง เป็นต้น มักเกิดกับคนอายุมากกว่า 70 ปี ซึ่งการที่เลนส์ตาขุ่นมัว ทำให้แสงไม่สามารถเข้าไปในตาได้ตามปกติ การมองเห็นภาพจึงไม่ชัดเจน โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย

สถานการณ์โรคต้อกระจกในประเทศไทย

สำหรับสถานการณ์ผู้ป่วยตาต้อกระจกในประเทศไทย เหมือนกับประเทศอื่นๆทั่วไป ประชากรที่มีอายุมากตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงและอัตราการเกิดต้อกระจกสูง เช่น ในพื้นที่ห่างไกลจากตัวเมืองจะพบผู้ป่วยต้อกระจกในระดับรุนแรง คือ พบว่ามีลักษณะต้อสุก ประมาณร้อยละ 20 ถึง 30 ของคนผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา สำหรับการรักษาต้อกระจกในประเทศไทย มีโครงการลดการตาบอดจากต้อกระจก ทำให้อัตราการตาบอดจากโรคต้อกระจกลดจำนวนลงอย่างเห็นได้ชัด

สาเหตุของการเกิดต้อกระจก

สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดต้อกระจก คือ ภาวะความเสื่อมของโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของเลนส์ตา ส่งผลให้เลนส์ตาขุ่น ซึ่งพบว่าความเสื่อมตามอายุขัยมีผลต่อความเสื่อมนี้ พบว่าร้อยละ 80 ของผู้ป่วยทั้งหมดเกิดจากการเสื่อมสภาพของดวงตาตามวัย แต่ร้อยละ 20 มีสาเหตุของการเกิดโรคมาจากสาเหตุอื่น ซึ่งเราสามารถสรุปปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดต้อกระจก มีรายละเอียด ดังนี้

  • ภาวะการเกิดต้อกระจกโดยกำเนิด เกิดจากมารดาติดหัดเยอรมันในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ หรือบางทีเป็นกรรมพันธ์ และ โภชนาการของเด็กไม่ดี เรียกว่า ขาดสารอาหาร
  • ภาวะต้อกระจกจากการได้รับอุบัติเหตุ การถูกกระทบกระเทือนดวงตาอย่างรุนแรง ในบางครั้งต้อกระจกจะเกิดขึ้นหลังจากเกิดอุบัติเหตุแล้ว 2-3 ปี
  • ภาวะความผิดปรกติของดวงตาเอง เช่น ต้อหิน ม่านตาอักเสบ ตาติดเชื้อ เป็นต้น
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาลดความอ้วน ยาหยอดตา เป็นต้น
  • การได้รับรังสีต่างๆกระทบดวงตาเป็นเวลานาน เช่น ช่างเชื่อม การอยู่ในที่แสงจ้านานๆ เป็นต้น
  • การสูบบุหรี่และการดื่มสุรา ทำให้ร่างกายเสื่อมเร็วกว่าปรกติ รวมถึงสุขภาพดวงตาด้วย
  • ภาวะแทรกซ้อนจากโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน เป็นต้น

อาการผู้ป่วยโรคต้อกระจก

สำหรับผู้ป่วยโรคต้อกระจกจะแสดงอาการที่สายตา และ ประสิทธิภาพการมองเห็นภาพ โดยไม่มีอาการปวดตา ไม่มีอาการตาแดง แต่อย่างใด สามารถสรุปลักษณะของอาการโรคต้อกระจกได้ดังนี้

  • สายตาพล่ามัวมากขึ้นเมื่ออยู่ในที่ๆมีแสงสว่างจัด แต่มองเห็นภาพปรกติในที่มืด
  • การมองเห็นผิดปรกติ เช่น การอ่านหนังสือต้องใช้แว่นช่วยอ่าน มองเห็นภาพซ้อน มองเห็นแสงกระจายตอนขับรถกลางคืน เป็นต้น
  • สามารถสังเกตเห็นต้อสีขาวตรงรูม่านตาอย่างชัดเจน

การรักษาโรคต้อกระจก

แนวทางการรักษาโรคต้อกระจกในปัจจุบันสามารถรักษาได้โดยลอกต้อกระจกและการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาเทียม เนื่องจากมีเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย และ มีความปลอดภัยสูง การรักษาโรคต้อกระจก มีแนวทางที่ต้องพิจารณาก่อนทำการรักษา ดังนี้

  • หากต้อกระจกยังน้อยอยู่ และไม่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตในประจำวันมาก อาจสามารถรอให้ต้อกระจกแก่และสุกก่อนก็ได้
  • หากมีความผิดปรกติกับดวงตา เช่น ตาแดง ปวดตา ตาพล่ามัวรวดเร็ว ให้รีบพบแพทย์ทันที
  • หากเกิดต้อกระจกในระยะปานกลาง สามาถรับการรักษาด้วยการผ่าตัดได้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของคนไข้เอง
  • หากเกิดในระยะที่เป็นมากแล้ว ระยะนี้เรียก ว่า ต้อกระจกแก่ หรือ ต้อกระจกสุกแล้ว หากพร้อมสำหรับการผ่าตัด ให้สามารถเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดลอกต้อกระจกได้

การป้องกันโรคต้อกระจก

สำหรับโรคต้อกระจก สามารถป้องกันการเกิดโรคได้ด้วยการดูแลสุขภาพดวงตา ไม่ให้อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค แนวทางการป้องกันโรคต้อกระจก มีรายละเอียด ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มยาสเตียรอยด์เป็นเวลานานๆ
  • ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดกับดวงตา ควรใส่เครื่องป้องกันดวงตาหากจำเป็น
  • สวมแว่นตากันแดด หากจำเป็นต้องออกนอกสถานที่ที่มีแสงแดดจัด
  • หากใช้สายตาอย่างหนัก ควรแบ่งเวลาในการพักการใช้สายตาเป็นระยะๆ
  • ไม่ควรสูบบุหรี่และการดื่มสุรา
  • ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • หากอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพตาประจำปีอย่างต่อเนื่อง

โรคต้อกระจก ภาวะเลนส์ตาขาวขุ่น ทำให้มองเห็นภาพไม่ชัด โรคเสี่ยงสำหรับผู้สูงอายุ สาเหตุของต้อกระจกเกิดจากโปรตีนที่เลนส์ตาเสื่อมตามวัย อาการของโรค เช่น มองไม่ชัด แนวทางการรักษาต้อกระจกต้องทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove