ต้อกระจก เลนส์ตาขาวขุ่น ทำให้มองเห็นภาพไม่ชัด โรคเสี่ยงผู้สูงอายุ เกิดจากโปรตีนที่เลนส์ตาเสื่อมตามวัย อาการมองไม่ชัด แนวทางการรักษาต้อกระจกต้องทำอย่างไรโรคต้อกระจก โรคตา โรคไม่ติดต่อ การรักษาต้อกระจก

โรคต้อกระจก ( Cataract ) คือ ภาวะที่เลนส์ตาขุ่นมัว ซึ่งมีสาเหตุจากหลายอย่าง เช่น ภาวะโดยกำเนิด การได้รับอุบัติเหตุ ความผิดปรกติของดวงตาเอง เป็นต้น มักเกิดกับคนอายุมากกว่า 70 ปี ซึ่งการที่เลนส์ตาขุ่นมัว ทำให้แสงไม่สามารถเข้าไปในตาได้ตามปกติ การมองเห็นภาพจึงไม่ชัดเจน โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย

สถานการณ์โรคต้อกระจกในประเทศไทย

สำหรับสถานการณ์ผู้ป่วยตาต้อกระจกในประเทศไทย เหมือนกับประเทศอื่นๆทั่วไป ประชากรที่มีอายุมากตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงและอัตราการเกิดต้อกระจกสูง เช่น ในพื้นที่ห่างไกลจากตัวเมืองจะพบผู้ป่วยต้อกระจกในระดับรุนแรง คือ พบว่ามีลักษณะต้อสุก ประมาณร้อยละ 20 ถึง 30 ของคนผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา สำหรับการรักษาต้อกระจกในประเทศไทย มีโครงการลดการตาบอดจากต้อกระจก ทำให้อัตราการตาบอดจากโรคต้อกระจกลดจำนวนลงอย่างเห็นได้ชัด

สาเหตุของการเกิดต้อกระจก

สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดต้อกระจก คือ ภาวะความเสื่อมของโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของเลนส์ตา ส่งผลให้เลนส์ตาขุ่น ซึ่งพบว่าความเสื่อมตามอายุขัยมีผลต่อความเสื่อมนี้ พบว่าร้อยละ 80 ของผู้ป่วยทั้งหมดเกิดจากการเสื่อมสภาพของดวงตาตามวัย แต่ร้อยละ 20 มีสาเหตุของการเกิดโรคมาจากสาเหตุอื่น ซึ่งเราสามารถสรุปปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดต้อกระจก มีรายละเอียด ดังนี้

  • ภาวะการเกิดต้อกระจกโดยกำเนิด เกิดจากมารดาติดหัดเยอรมันในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ หรือบางทีเป็นกรรมพันธ์ และ โภชนาการของเด็กไม่ดี เรียกว่า ขาดสารอาหาร
  • ภาวะต้อกระจกจากการได้รับอุบัติเหตุ การถูกกระทบกระเทือนดวงตาอย่างรุนแรง ในบางครั้งต้อกระจกจะเกิดขึ้นหลังจากเกิดอุบัติเหตุแล้ว 2-3 ปี
  • ภาวะความผิดปรกติของดวงตาเอง เช่น ต้อหิน ม่านตาอักเสบ ตาติดเชื้อ เป็นต้น
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาลดความอ้วน ยาหยอดตา เป็นต้น
  • การได้รับรังสีต่างๆกระทบดวงตาเป็นเวลานาน เช่น ช่างเชื่อม การอยู่ในที่แสงจ้านานๆ เป็นต้น
  • การสูบบุหรี่และการดื่มสุรา ทำให้ร่างกายเสื่อมเร็วกว่าปรกติ รวมถึงสุขภาพดวงตาด้วย
  • ภาวะแทรกซ้อนจากโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน เป็นต้น

อาการผู้ป่วยโรคต้อกระจก

สำหรับผู้ป่วยโรคต้อกระจกจะแสดงอาการที่สายตา และ ประสิทธิภาพการมองเห็นภาพ โดยไม่มีอาการปวดตา ไม่มีอาการตาแดง แต่อย่างใด สามารถสรุปลักษณะของอาการโรคต้อกระจกได้ดังนี้

  • สายตาพล่ามัวมากขึ้นเมื่ออยู่ในที่ๆมีแสงสว่างจัด แต่มองเห็นภาพปรกติในที่มืด
  • การมองเห็นผิดปรกติ เช่น การอ่านหนังสือต้องใช้แว่นช่วยอ่าน มองเห็นภาพซ้อน มองเห็นแสงกระจายตอนขับรถกลางคืน เป็นต้น
  • สามารถสังเกตเห็นต้อสีขาวตรงรูม่านตาอย่างชัดเจน

การรักษาโรคต้อกระจก

แนวทางการรักษาโรคต้อกระจกในปัจจุบันสามารถรักษาได้โดยลอกต้อกระจกและการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาเทียม เนื่องจากมีเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย และ มีความปลอดภัยสูง การรักษาโรคต้อกระจก มีแนวทางที่ต้องพิจารณาก่อนทำการรักษา ดังนี้

  • หากต้อกระจกยังน้อยอยู่ และไม่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตในประจำวันมาก อาจสามารถรอให้ต้อกระจกแก่และสุกก่อนก็ได้
  • หากมีความผิดปรกติกับดวงตา เช่น ตาแดง ปวดตา ตาพล่ามัวรวดเร็ว ให้รีบพบแพทย์ทันที
  • หากเกิดต้อกระจกในระยะปานกลาง สามาถรับการรักษาด้วยการผ่าตัดได้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของคนไข้เอง
  • หากเกิดในระยะที่เป็นมากแล้ว ระยะนี้เรียก ว่า ต้อกระจกแก่ หรือ ต้อกระจกสุกแล้ว หากพร้อมสำหรับการผ่าตัด ให้สามารถเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดลอกต้อกระจกได้

การป้องกันโรคต้อกระจก

สำหรับโรคต้อกระจก สามารถป้องกันการเกิดโรคได้ด้วยการดูแลสุขภาพดวงตา ไม่ให้อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค แนวทางการป้องกันโรคต้อกระจก มีรายละเอียด ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มยาสเตียรอยด์เป็นเวลานานๆ
  • ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดกับดวงตา ควรใส่เครื่องป้องกันดวงตาหากจำเป็น
  • สวมแว่นตากันแดด หากจำเป็นต้องออกนอกสถานที่ที่มีแสงแดดจัด
  • หากใช้สายตาอย่างหนัก ควรแบ่งเวลาในการพักการใช้สายตาเป็นระยะๆ
  • ไม่ควรสูบบุหรี่และการดื่มสุรา
  • ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • หากอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพตาประจำปีอย่างต่อเนื่อง

โรคต้อกระจก ภาวะเลนส์ตาขาวขุ่น ทำให้มองเห็นภาพไม่ชัด โรคเสี่ยงสำหรับผู้สูงอายุ สาเหตุของต้อกระจกเกิดจากโปรตีนที่เลนส์ตาเสื่อมตามวัย อาการของโรค เช่น มองไม่ชัด แนวทางการรักษาต้อกระจกต้องทำอย่างไร

พังผืดที่จอตา ลักษณะเป็นวุ้นขาวที่ดวงตา ทำให้มองเห็นภาพไม่ชัด ลักษณะภาพบิดเบี้ยว มองเห็นเป็นแสงแฟรช หากขยายตัวจะรั้งจอตา รักษาได้ด้วยการผ่าตัด ป้องกันโรคอย่างไร

พังผืดที่จอตา โรคตา โรคไม่ติดต่อ มองภาพไม่ชัด

อาการพังผืดที่จอตา ทางการแพทย์เรียก เรียกว่า Macular pucker หรือ Epiretinal membrane คือ อาการที่เกิดขึ้นจากความผิดปรกติของพังผืดบริเวณผิวของดวงตา ซึ่งลักษณะเป็นพังผืด และพังผืดสามารถขยายตัวและไปรั้งจอตาที่อยู่ใกล้พังผืด หากไปรั้งจอตาส่วนกลาง ก็จะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการมองเห็น

สาเหตุของการเกิดพังผืดที่จอตา

สาเหตุของการเกิดพังผืดทีจอตา อาจจากผลข้างเคียงของบางภาวะ เช่น จอตาฉีกขาด หรือ จอตาหลุดลอก ภาวะหลอดเลือดในตาผิดปกติจาก เบาหวานขึ้นจอตา หลอดเลือดจอตาอักเสบ รวมไปถึงการเกิดอุบัติเหตุหรือการผ่าตัดตา เป็นภาวะต่างๆที่ทำให้ตาอักเสบ ลักษณะของพังผืด จะเป็นแผ่นขุ่มมัวเล็ดน้อยหรือลักษณะใส มีสีจางๆที่จอตาหรืออาจจะไม่มีสีก็ได้ โดยเฉพาะใกล้ๆ Macula

การเกิดพังผืดที่จอตา มักพบร่วมกับภาวะการหลุดลอกของน้ำวุ้นตาส่วนหลัง ซึ่งปกติแล้วน้ำวุ้นตาจะมีลักษณะใสคล้ายไข่ขาวแต่เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ส่วนหลังของน้ำวุ้นจะหลุดจนเกิดช่องว่าง ทำให้ร่างกายเกิดการสร้างเซลล์ขึ้นมาจนเป็นพังผืดที่จอตา เซลล์ที่สร้างขึ้นใหม่มีลักษณะยืดหยุ่นได้ หากเกิดการหดตัวจะทำให้การมองเห็นภาพผิดปรกติ

กลุ่มเสี่ยงในการเกิดภาวะพังผืดที่จอตา

สถิติของผู้ป่วยโรคพังผืดที่จอตา เราพบว่า พังผืดที่จอตาสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ แต่สตรีมีโอกาสในการเกิดพังผืดที่จอตามากกว่าบุรุษ แต่ พบการเกิดพังผืดตาได้กับตาทั้ง 2 ข้าง ร้อยละ 8 ของผู้ป่วยเคยมีประวัติการผ่าตัดเกี่ยวกับดวงตา และ ร้อยละ 2 เคนมีประวัติการรับการรักษาดวงตาด้วยแสงเลเซอร์ โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดพังผืดที่จอตา มีดังนี้

  • อายุ ซึ่งอายุที่มากขึ้นมีโอกาสของการเกิดพังผืดมากขึ้น
  • การมีเลือดออกในน้ำวุ้นตา
  • การเกิดจอตาหลุดลอก
  • การเกิดจอตาฉีกขาด
  • มีการผ่าตัดเกี่ยวกับดวงตาที่ใช้เวลานาน
  • การใช้ความเย็นจี้รักษาโรคในจอตา (Cryotherapy)

อาการของภาวะพังผืดที่จอตา

ลักษณะอาการของผู้ป่วยพังผืดที่จอตาจะแสดงอาการกับความผิดปรกติของสายตาเป็นหลัก โดยมองเห็นภาพไม่ชัด โดยเฉพาะตรงกลางภาพ และบางครั้งอาจจะมองเห็นภาพบิดเบี้ยว รูปร่างของภาพที่มองเห็นผิดไปจากปรกติ ในบางครั้งจะมองเห็นแสงแฟลชในตาเกิดขึ้น และบางครั้งจะมีเลือดออกที่ผิวของจอตาตลอด ส่งผลให้เลือดออกเข้ามาในน้ำวุ้นตา

การรักษาพังผืดที่จอตา

แนวทางการรักษาโรคพังผืดที่จอตาในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์สามารถรักษาอาการพังผืดที่จอตาด้วยการผ่าตัดน้ำวุ้นตา และ ผ่าตัดลอกพังผืดที่จอตา แต่การรักษาด้วยการผ่าตัดผู้ป่วยจะมีความสามารถในการมองภาพชัดขึ้น แต่สายตาจะไม่สามารถกลับดีเหมือนเดิมได้ ซึ่งผู้ป่วยต้องหมั่นตรวจดูความผิดปรกติของสายตาและดวงตา และ เข้ารับการตรวจสุขภาพดวงตาเป็นระยะๆ

การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคพังผืดที่จอตา

ผู้ป่วยให้สวมแว่นป้องกันสิ่งต่างๆที่จะกระทบดวงตา และ ใส่แว่นช่วยกรองแสงที่จะกระทบกับดวงตา ไม่ทำกิจกรรมต่างๆที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุ  เข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง ช่วยควบคุมอาการของโรค และลดโอกาสเสี่ยงตาบอด ควรต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของจักษุแพทย์

การป้องกันภาวะพังผิดที่จอตา

สำหรับการเกิดพังผืดที่จอตาเกิดจากหลายสาเหตุทั้งเกี่ยวกับสุขภาพโดยตรง หรือ การเกิดอุบัติเหตุที่ดวงตา ดังนั้นแนวทางการป้องกันสามารถทำได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยแนวทางมีดังนี้

  • หากต้องขี้จักรยาน หรือ มอเตอร์ไซตืที่ดวงตาต้องกระทบกับลมโดยตรง ควรใส่แว่นป้องกันการกระทบต่อดวงตา
  • ดูแลร่างกายไม่ให้เกิดเบาหวานจะเกิดภาวะเบาหวานขึ้นตา
  • ระมัดระวังการเกิดอุบัตติเหตุที่ดวงตา
  • การดูแลร่างกายให้มีสุขภาพจิตสุขภาพกายที่แข็ง
  • รักษาสุขภาพอนามัย
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • กินอาหารมีประโยชน์
  • รักษาน้ำหนักตัวอย่าให้อ้วนเกิน
  • ควบคุมโรคเรื้อรังต่างๆที่เป็นอยู่
  • งดการสูบบุหรี่และไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • เข้ารับการตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำทุกปี

พังผืดที่จอตา ลักษณะวุ้นขาวๆที่ดวงตา ทำให้มองเห็นภาพไม่ชัด และ ภาพมีลักษณะอาการบิดเบี้ยว บางครั้งมองเห็นเป็นแสงแฟรช สามารถขยายตัวแล้วไปรั้งจอตา รักษาได้ด้วยการผ่าตัด แนวทางการป้องกันโรคต้องทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove