กระเทียม สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม ประโยชน์และสรรพคุณเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ลดความดัน รักษาแผล ช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ

กระเทียม พีชสวนครัว สมุนไพร สรรพคุณของกระเทียม

ต้นกระเทียม มีชื่อสามัญ ว่า Garlic ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเทียม คือ Allium sativum L. จัดว่าเป็นพืชในวงศ์พลับพลึง ( AMARYLLIDACEAE ) และอยู่ในวงศ์ย่อย ALLIOIDEAE การปลูกกระเทียมในประเทศไทยนั้น นิยมปลูกมากในทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่กระเทียมที่ขึ้นชื่อว่ามีคุณภาพดี ต้องกระเทียมศรีสะเกษ กระเทียม นั้น ช่วยรักษาโรคกลากเกลื้อน ใช้น้ำคั้นหัวกระเทียมผสมน้ำอุ่นและเกลือ ใช้กลั้วคอใช้รักษาโรคทอนซิลอักเสบ กระเทียม นิยมปลูกมากในทางภาคอีสานและภาคเหนือ

ลักษณะของกระเทียม

กระเทียม เป็นพืชล้มลุก ลำต้นสูง 2 ฟุต หัวกระเทียมมีลักษณะกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 เซ็นติเมตร ด้านนอกเป็นกลีบเล็กๆ จำนวน 10-15 กลีบ ส่วนเนื้อของกระเทียมมีสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นฉุนจัด

คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระเทียมสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้ลังงาน 149 กิโลแคลอรี มีสารสำคัยประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 33.06 กรัม น้ำตาล 1 กรัม กากใยอาหาร 2.1 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม โปรตีน 6.36 กรัม วิตามินบี 1 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.7 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.596 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 1.235 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 3 ไมโครกรัม วิตามินซี 31.2 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 181 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.672 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 153 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 401 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 1.16 มิลลิกรัม และธาตุซีลีเนียม 14.2 ไมโครกรัม

สรรพคุณของกระเทียม

สมุนไพร กระเทียม นิยมนำมาทำอาหาร กระเทียมมีกลิ่นฉุน ให้ความหอมในอาหาร และมีรสหวานหากนำมาต้ม การบริโภคกระเทียมก็เหมือนการกินยา เป็นอาหารสุมนไพร อาหารสุขภาพ บำรุงร่างกายมากมาย เราได้รวบรวม สรรพคุณของกระเทียมมาให้เพื่อนๆได้เป็นข้อมูล การนำกระเทียมมาใช้ประโชยน์

  1. กระเทียมใช้ช่วยบำรุงผิวหนัง ให้มีสุขภาพผิวดี
  2. กระเทียมนำมาใช้ ช่วยการเจริญอาหารให้อยากกินอาหารจะได้เจริญเติบโต ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อ บำรุงข้อต่อและกระดูกในร่างกาย
  3. การบริโภคกระเทียมช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้
  4. กระเทียมกินดี ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย
  5. สรรพคุณบำรุงเลือด หากต้องการลดไขมันในเส้นเลือด และลดน้ำตาลในเส้นเลือดควรกินกระเทียม ช่วยป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว ช่วยในการละลายลิ่มเลือด มีสารต่อต้านไม่ให้เม็ดเลือดแดงแตก
  6. ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย คือ ประโยชน์ของกระเทียมอีกข้อหนึ่ง
  7. กระเทียมช่วย ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
  8. เพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้โดย กระเทียมจะช่วยในเรื่องระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินปัสสาวะ เพราะกระเทียมมีสารบางตัวที่ควบคุมฮอร์โมนทั้งหญิงและชาย ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว เพิ่มพละกำลังให้มีเรี่ยวแรง ช่วยป้องกันการเกิดโรคไต
  9. กระเทียมช่วยรักษาความดันโลหิตสูง ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
  10. กระเทียม มีประโยชน์ด้านผมและหนังศีรษะโดยช่วยแก้ปัญหาผมบาง ยาวช้า มีสีเทา
  11. กระเทียมบำรุงโลหิต ช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง
  12. ช่วยในการขับพิษ และสารพิษอันตรายที่ปนเปื้อนในเม็ดเลือด
  13. สรรพคุณป้องกัน อาการไอ น้ำมูกไหล ป้องกันหวัด โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ กระเทียมช่วยแก้อาการหอบ หืด ช่วยรักษาโรคหลอดลม ช่วยระงับกลิ่นปาก ช่วยในการขับเหงื่อ
  14. กระเทียมช่วย ขับเสมหะ ช่วยควบคุมโรคกระเพาะ ด้วยสารที่ช่วยยับยั้งไม่ให้น้ำย่อยอาหารมาย่อยแผลในกระเพาะ มีสรรพคุณช่วยในการขับลม ช่วยรักษาอาการจุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก โรคบิด
  15. กระเทียม สรรพคุณช่วยในการขับปัสสาวะ ช่วยในการขับพยาธิได้หลายชนิด เช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน เป็นต้น ช่วยรักษาโรคตับอ่อนอักเสบชนิดรุนแรงได้
  16. กระเทียมมีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อรา แบคทีเรีย เชื้อราตามหนังศีรษะและเล็บ และการยับยั้งเชื้อ เช่น เชื้อฝีหนอง คออักเสบ เชื้อปอดบวม เชื้อวัณโรค เป็นต้น
  17. กระเทียมช่วย บรรเทาอาการปวดข้อและปวดเมื่อยตามร่างกาย กระเทียมมีกลิ่นฉุนจึงสามารถช่วยไล่ยุงได้เป็นอย่างดี

ข้อควรคำนึงในการบริโภคกระเทียม

  1. การบริโภคกระเทียม เนื่องจากกลิ่นฉุนของกระเทียมหากบริโภคมากเกินไปจะเสียรสชาติของอาหาร การ
  2. ใช้กระเทียมในการบริโภคสดให้ใส่ในปริมาณที่เหมาะสม
  3. สารอาหาร จำพวกอาหารเสริมที่เป้นสารสกัดมาจากกระเทียม จำเป็นต้องศึกษาอย่างละเอียดถึงปริมาณในการบริโภคที่เหมาะสมต่อร่างกาย

การกินกระเทียมวันละ 5 กลีบ นั้นเป็นยาวิเศษ จะบรรเทาอาการแสบแน่นอกจากกรดไหลย้อน ลดแก็สในลำใส้ และป้องกันอาการท้องใส้ปั่นป่วน การกินกระเทียม เหมือนการกินแอสไพรินช่วยลดไข้ ที่มีประโยชน์สูงสุดคือ ช่วยต้านการแข็งตัวของเลือด กระเทียมแห้งมีฤทธิ์น้อยกว่ากระเทียมสด ไม่กินกระเทียมแทนยา แต่การกินกระเทียมต่อเนื่องในปริมาณที่เหมาะสมจะดีต่อสุขภาพ

กระเทียม สมุนไพร พืชล้มลุก นิยมนำมาทำอาหาร คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม ประโยชน์ของกระเทียม สรรพคุณของกระเทียม เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยลดความดัน รักษาแผลสด เป็นยาฆ่าเชื้อ ช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ  

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

รากสามสิบ ( Shatavari ) สมุนไพร เขตร้อน ต้นรากสามสิบเป็นอย่่างไร ประโยชน์และสรรพคุณลดความดัน ลดไขมันในเลือด บำรุงกำลัง ว่านสาวร้อยผัว สามร้อยราก โทษรากสามสิบรากสามสิบ ต้นรากสามสิบ สรรพคุณของรากสามสิบ ประโยชน์ของรากสามสิบ

รากสามสิบ ภาษาอังกฤษ เรียก Shatavari ชื่อวิทยาศาสตร์ของรากสามสิบ คือ Asparagus racemosus Willd. พืชตระกูลเดียวกับหน่อไม้ฝรั่ง ชื่อเรียกอื่นๆของรากสามสิบ เช่น สามร้อยราก ผักหนาม ผักชีช้าง จ๋วงเครือ เตอสีเบาะ พอควายเมะ ชีช้าง ผักชีช้าง จั่นดิน ม้าสามต๋อน สามสิบ ว่านรากสามสิบ ว่านสามสิบ ว่านสามร้อยราก สามร้อยผัว สาวร้อยผัว ศตาวรี เป็นต้น

รากสามสิบ เจริญเติบโตได้ดีในประเทศเขตร้อน พบมากในเขตป่าร้อนชื้น ป่าเขตร้อนแห้งแล้ง เขาหินปูน ป่าผลัดใบ และ ป่าโปร่ง มีต้นกำเนิดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทย พม่า ลาว มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย

คุณค่าทางโภชนาการของรากสามสิบ

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาสารอาหารในรากสามสิบ พบว่ารากสามสิบมีองค์ประกอบทางเคมีสารที่สำคัญ ประกอบด้วย ได้แก่ asparagamine cetanoate daucostirol sarsasapogenin shatavarin racemosol rutin alkaloid steroidal และ saponins

ลักษณะของต้นรากสามสิบ

ต้นรากสามสิบ เป็น ไม้เถา จัดเป็นไม้เนื้อแข็ง การขยายพันธุ์ของรากสามสิบ ใช้ เหง้า หน่อ และ เมล็ด การปลูกรากสามสิบให้ปลูกในช่วงฤดูฝนจะเหมาะสมที่สุด ปลูกเป็นไม้ประดับ โดยลักษณะของต้นรากสามสิบมีลักษณะ ดังนี้

  • ลำต้นรากสามสิบ ลำต้นเป็นเถา ไม้เนื้อแข็ง ความสูงประมาณไม่เกิน 4 เมตร ลำต้นเป็นสีเขียว หรือ สีขาวแกมเหลือง เถาของรากสามสิบมีขนาดเล็ก เรียบ เรียว ลื่น และ มีลักษณะผิวมัน ตามข้อเถามีหนามแหลม
  • ใบรากสามสิบ มีลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว แข็ง มีสีเขียว ลักษณะของใบเป็นรูปเข็มขนาดเล็ก ปลายใบแหลม
  • ดอกรากสามสิบ ดอกของรากสามสิบออกดอกเป็นช่อ ดอกออกที่ปลายกิ่ง และ ตามซอกใบ รวมถึง ข้อของเถา ดอกมีสีขาวและ ดอกมีกลิ่นหอม ดอกของรากสามสิบจะออกดอกช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ของทุกปี
  • ผลรากสามสิบ ลักษณะของผลกลม ผิวเรียบ ลักษณะมัน ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีแดงอมม่วง ภายในผลมีเมล็ดสีดำ ผลของรากสามสิบจะออกผลช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม ของทุกปี

ประโยชน์ของรากสามสิบ

สำหรับประโยชน์ของต้นรากสามสิบนั้น โดยหลักๆนั้นนำมาทำเป็นยาบำรุงร่างกายและรักษาโรค ซึ่งจะกล่าวในส่วนของสรรพคุณของรากสามสิบ นอกจากนั้น สามารถทำมาทำอาการ เป็นผักสดนำมาลวกกินเป็นเครื่องเคียง สามารถนำทำทำอาหารแปรรูปจากรากสามสิบ เช่น รากสามสิบแช่อิ่ม รากสามสิบเชื่อม เป็นต้น รากสามสิบสามารถนำมาทำสบู่ และ ใช้ซักเสื้อผ้า รากสามสิบช่วยบำรุงดิน ทำให้ดินชุ่มน้ำ

สรรพคุณของรากสามสิบ

สำหรับการใช้ประโยชน์ของรากสามสิบในด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้น สามารถใช้ได้ทั้งตน ใบ ผล และ รากของรากสามสิบ โดยรายละเอียดของสรรพคุณของรากสามสิบ มีดังนี้

  • ใบรากสามสิบ สรรพคุณเป็นยาระบาย ช่วยขับน้ำนม ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  • ทั้งต้นของรากสามสิบ นำมาต้มกับน้ำดื่มใช้รักษาโรคคอพอก แก้อาการตกเลือด
  • ผลของรากสามสิบ เป็นยาแก้พิษไข้ รักษาอาการบิดเรื้อรัง
  • รากของรากสามสิบ สรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง แก้กระษัย กระตุ้นระบบประสาท แก้วิงเวียนศรีษะ ลดความดันโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคคอพอก แก้กระหายน้ำ แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ รักษาการติดเชื้อที่หลอดลม ช่วยขับลม ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้อาการอาหารไม่ย่อย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้อาการท้องเสีย รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการประจำเดือนผิดปกติ แก้อาการตกเลือด รักษาภาวะหมดประจำเดือน  แก้ปวดประจำเดือน แก้ตกขาว ทำให้มีบุตร กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ช่วยบำรุงครรภ์ บำรุงน้ำนม ป้องกันการแท้ง แก้พิษจากแมลงป่องกัดต่อย ช่วยถอนพิษฝี แก้อาการปวดเมื่อย แก้อาการปวดข้อและปวดคอ

ข้อควรระวังในการใช้รากสามสิบ

รากสามสิบมีช่วยกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย เป็นยาสมุนไพรที่ไม่ปลอดภัยนักต่อเพศหญิง มีความเสี่ยงเป็นเนื้องอกในมดลูก หรือ ก้อนเนื้อที่เต้านม เป็นต้น ดังนั้นการใช้สมุนไพรรากสามสิบต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อน

น้ำรากสามสิบ

ส่วนผสมของน้ำรากสามสิบ ประกอบด้วย รากของรากสามสิบ 2.5 กิโลกรัม และ น้ำเปล่า 10 ลิตร วิธีทำน้ำรากสามสิบ นำรากสามสิบไปล้างให้สะอาด ปอกเปลือก และ ดึงไส้ของรากออก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปต้มในน้ำเดือด เคี่ยวประมาณ 3 ชั่วโมง เติมน้ำตาลเพิ่มรสชาติให้ทานง่าย

รากสามสิบแช่อิ่ม

ส่วนผสมสำหรับทำรากสามสิบแช่อิ่ม ประกอบด้วย รากของรากสามสิบ 2.5 กิโลกรัม น้ำตาลทราย 1.5 กิโลกรัม น้ำเปล่า 5 ลิตร วิธีทำรากสามสิบแช่อิ่ม นำรากสามสิบล้างให้สะอาด ปอกเปลือกและดึงไส้ออก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปต้มในน้ำเดือด เติมน้ำตาลทรายลงไป เคี่ยวจนน้ำตาลทรายละลายหมด เคี่ยวจนรากสามสิบเป็นสีเหลืองทอง

รากสามสิบ ( Shatavari ) คือ สมุนไพร ลดความดัน ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงกำลัง กระตุ้นระบบประสาท ต้นรากสามสิบ ถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน นิยมนำรากมาใช้ประโยชน์ ว่านสาวร้อยผัว สามร้อยราก ประโยชน์และสรรพคุณของรากสามสิบ โทษของรากสามสิบ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove