มะเร็งตับ ( Liver Cancer ) เนื้อร้ายที่ตับเกิดจากการติดเชื้อมีก้อนที่ตับ อาการปวดท้องข้างขวาส่วนบนปวดร้าวหลัง ท้องบวม น้ำหนักลด อ่อนเพลีย มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุมะเร็งตับ โรคตับ โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อ

มะเร็งตับ เป็น โรคที่มีอัตราการเสียชีวิตที่สูง โรคหนึ่งของโลก เป็น โรคที่พบบ่อย ผู้ป่วย โรคมะเร็งตับในระยะแรก ยังไม่มีอาการแสดง ส่วนมากจะได้รับการวินิจฉัยโรคเมื่ออาการกำเริบ ทำให้เราต้องให้ความสำคัญกับการ สังเกตุโรคมะเร็ง ชนิดนี้ว่ามีลักษณะอาการอย่างไร สาเหตุของโรคนี้เป็นอย่างไร การรักษามะเร็งตับ และ การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยมะเร็งตับ

โรคมะเร็งตับ ภาษาอังกฤษ เรียก liver cancer เป็น โรคที่พบมากในคนวัยทำงาน มีการศึกษาสถิติในปี พ.ศ. 2543 พบว่ามีผู้ป่วยโรคนี้ สูงถึง 564,000 คน แบ่งเป็นเพศหญิงร้อยละ 34 และเพศชาย ร้อยละ 66  สำหรับประเทศไทย มีการสำรวจในช่วง พ.ศ. 2554 ถึง 2546  พบว่า มีผู้ป่วยสูงถึง 47,439 8 คน เป็น โรคมะเร็ง ที่มีผู้ป่วยมาก เป็นอันดับ 3 รองจาก มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหาร

ชนิดของมะเร็งตับ

สำหรับ ชนิดของมะเร็งตับ ที่พบ มี 2 ชนิด คือ  มะเร็งของเซลล์ตับ ภาษาอังกฤษ เรียก hepatocellular carcinoma และ มะเร็งของท่อน้ำดีในตับ ภาษาอังกฤษ เรียก cholangiocarcinoma

สาเหตุของการเกิดมะเร็งตับ

สำหรับ สาเหตุของโรคมะเร็งตับ เรายังไม่สามารถสรุปสาเหตุได้อย่างชัดเจนนัก แต่สามารถสรุปเป็น ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อตับ และ โรคมะเร็งตับ มีดังนี้

  • ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี
  • ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี
  • โรคตับแข็ง
  • การกินอาหารปนเปื้อน เชื้อรา ชนิดอะฟลาทอกซิน (aflatoxin) เชื้อราชนิดนี้ พบได้ในธัญพืช ที่มีความชื้น
  • ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ
  • ท่อน้ำดีในตับอักเสบเรื้อรัง

โรคมะเร็งตับ เป็นลักษณะของการถูกกระทบกระเทือนต่อตับ ทำให้ตับถูกทำร้าย เป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ

สำหรับ ผู้ป่วยมะเร็งตับ ในระยะแรก จะยังไม่แสดงอาการให้เห็นอย่างเด่นชัดนั้น อาการทั่วไป คือ ปวดท้องข้างขวาส่วนบน อาการปวดร้าวหลัง อาการปวดร้าวที่ไหล่ ท้องบวมขึ้น น้ำหนักลด เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ มีก้อนบริเวณตับ ตัวเหลือง ตาเหลือง หายใจเหนื่อยหอบจากน้ำในท้องดัน คันตามตัวมาก เป็นต้น

ระยะของโรคมะเร็งตับ

มีการแบ่ง ระยะของโรคมะเร็งตับ ได้เป็น 4 ระยะ รายละเอียด ดังนี้

  • มะเร็งตับ ระยะที่ 1 จะพบก้อนเนื้อขนาดเล็กที่ตับ มีเพียงก้อนเนื้อก้อนเดียว
  • มะเร็งตับ ระยะที่ 2 ก้อนเนื้อมีการลุกลามเข้าสู่หลอดเลือดที่ตับ ก้อนเนื้อมีจำนวนมากขึ้น แต่ยังมีขนาดเล็กอยู่
  • มะเร็งตับ ระยะที่ 3 ก้อนเนื้อมะเร็งมีขนาดโตขึ้น และลามไปยังอวัยวะข้างเคียง ลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งตับ ระยะที่ 4 มะเร็งเข้าสู่กระแสเลือด และกระจายเข้าสู่อวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย เช่น สมอง กระดูก ต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ

การตรวจวินิจฉัยโรค มะเร็งตับ นั้น เริ่มจากการ การซักประวัติ อาการที่พบในผู้ป่วย จากนั้นตรวจร่างกายอย่างละเอียด การตรวจเลือด เพื่อ ดูการทำงานของตับ และ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ตรวจรังสีที่ตับและช่องท้อง ทำการตรวจอัลตราซาวนด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) และการตัดชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษามะเร็งตับ

สำหรับ การรักษาโรคมะเร็งตับ นั้นจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ขนาดของเซลล์มะเร็ง และการแพร่กระจายของมะเร็ง ซึ่ง การรักษา จะต้องอยู่ในวินิจฉัยของแพทย์อย่างใกล้ชิด ซึ่ง การรักษา ประกอบด้วย การผ่าตัด การฉายรังสีรักษา การทำเคมีบำบัด และการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ แต่สำหรับการปลูกถ่ายตับนั้นเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่า 70 ปี

แต่สำหรับ การรักษาโรคมะเร็งตับ ที่ดีที่สุด คือ การลดภาวะเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งตับ และ หมั่นตรวจคัดกรองหามะเร็งตับ เนื่องจากร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ มาจาก การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี การตรวจการทำงานของตับและ ตรวจคัดกรองมะเร็งตับ ด้วยการเจาะเลือด จะช่วยป้องกันการเกิดโรคได้ดีที่สุด

ข้อควรปฏิบัตสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ

ผู้ป่วยมะเร็งตับ ต้องดูแลตัวเองมากเป็นพิเศษ เราแยกการดูแลตัวเอง 3 ส่วน คือ การดูแลตัวเองในด้านทั่วไป ด้านอาหาร และการออกกำลังกาย รายละเอียดดังนี้

  • ด้านการดูแลตนเองทั่วไป
    • ให้รักษาภาพสุขอนามัยพื้นฐาน ของผู้ป่วยอย่างเคร่งครัด ตลอดชีวิต เนื่องจากผู้ป่วยโรคมะเร็ง มีกจะติดเชื้อได้ง่ายกว่าปรกติ เนื่องจากภูมิต้านทานโรคค่อนข้างต่ำกว่าคนปรกติ
    • ควบคุมการเกิดโรค เช่น โรคความดัน โรคเบาหวาน เนื่องจากโรคเหล่านี้จะมีผลต่อสุขภาพโดยรวม
    • หากเกิดกับหญิงสาวหรือผู้หญิงวัยเจริพันธ์ แนะนำให้ คุมกำเนิด เพื่อสุขภาพมารดา แต่หากจำเป็นต้องมีการตั้งครรภ์ ให้ปรึกษาแพทย์ อย่างใกล้ชิด
    • ไปพบแพทย์ตามนัดห้ามขาด
    • หลังจากรักษาโรคมะเร็งแล้ว ช่วง 8 สัปดาห์แรกหลังการรักษา ถือว่าเป็นช่วงพักฟื้น ค่อยๆปรับตัวให้เข้าสู่ภาวะปกติ ปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์
  • ด้านการรับประทานอาหาร
    • เลิกการบุหรี่และดื่มสุรา และสารเสพติดทุกชนิด เนื่องจาก สารเหล่านั้นมีพิษเป็นสารก่อมะเร็ง รวมถึงการจำกัดการดื่มกาเฟ ด้วย
    • การรับประทานอาหาร ให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทาน ผักและผลไม้ให้มากๆ  ลดอาหารที่มี ไขมัน แป้ง น้ำตาลและอาหารรสเค็มจัด
  • ด้านการออกกำลังกาย
    • ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอตลอดชีวิต ค่อยๆปรับจนเข้าภาวะปกติ โดยควรออกกำลังกายให้เหมาะสมตามสุขภาพของตนเอง และเลือกประเภทการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับโรค เช่น เลือกการว่ายน้ำเมื่อมีโรคของข้อต่างๆ เป็นต้น และพยายามเคลื่อนไหวร่างกายสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตทั่วร่างกาย

โรคมะเร็งตับ ( Liver Cancer ) คือ การเกิดเนื้อร้าย เกิดจากาการติดเชื้อที่ตับแบบเรื้อรัง จนเกิดพังผืดและมะเร็งที่ตับ โรคนี้มีอัตราการตายสูง มะเร็งตับ ระยะแรกไม่แสดงอาการ อาการที่พบ คือ ปวดท้องข้างขวาส่วนบนปวดร้าวหลัง ไหล่ ท้องบวม น้ำหนักลด เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ มีก้อนที่ตับ ตัวเหลือง ตาเหลือง หายใจเหนื่อยหอบ คันตามตัว เป็นต้น สาเหตุของมะเร็งตับ การรักษามะเร็งตับ การดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับ

กลุ่มอาการซีแฮน ต่อมใต้สมองขาดเลือดทำให้ฮอร์โมนน้อย มักเกิดกับสตรีหลังคลอดลูก เสียเลือดมาก ทำให้น้ำนมไม่ไหล ไม่มีประจำเดือน ผมร่วง เหนื่อยอ่อนเพลีย เบื่ออาหารกลุ่มอาการซีแฮน โรคต่อมใต้สมอง โรคต่อมไร้ท่อ ภาวะขาดฮอร์โมนหลังจากคลอดลูก

โรคซีแฮน หรือ โรคกลุ่มอาการชีแฮน ภาษาอังกฤษ เรียก Sheehan Syndrome เกิดจากการที่ ต่อมใต้สมองรขาดเลือด ไปเลี้ยงสมองอย่างเฉียบพลัน ทำให้ ต่อมใต้สมอง เกิดการ ทำงานผิดปรกติ มักจะเกิดกับสตรีที่ เสียเลือดมากหลังจากการคลอดลูก การเสียเลือดมาก เป็นภาวะที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็น โรคกลุ่มอาการซีแฮน การเสียเลือด จำนวนมากจะ ทำให้ผู้ป่วยช็อก ทำให้ ความดันเลือดต่ำลง ทำให้ เลือดไปไม่ถึงสมอง และส่วนต่างๆของร่างกาย ต่อมใต้สมอง ก็จะเกิดผลกระทบจากการที่ เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ  ซึ่ง ต่อมใต้สมอง ใช้ ผลิตฮอร์โมน หลายชนิด เช่น ฮอร์โมนเพศ ( Follicular stimulating hormone / FSH , Lutienizing hormone / LH ) ฮอร์โมนการสร้างน้ำนม ( Prolactin ) ฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ ( Thyroid stimulat ing hormone / TSH )  เป็นต้น โรค นี้จะเกิดกับกับ สตรีหลังคลอดลูก 5 ใน 100,000 ราย

ภาวะที่มีผลต่อการเสี่ยงการเกิดโรคกลุ่มอาการชีแฮน

  1. การตกเลือดหลังการคลอดลูก การเสียเลือดมาก จากการ คลอดลูก หากไม่ได้รับเลือดและสารอาหารทดแทนการเสียเลือดทันต่อความเสี่ยง ภาวะความดันเลือดต่ำ อาจทำให้เกิด โรคซีแฮน ได้
  2. ภาวะเลือดแข็งตัวผิดปรกติ การที่มี เลือดออก แล้วเกิด เลือดแข็งตัวผิดปรกติ จะทำให้ การแข็งตัวของเลือดช้ากว่าปรกติ ทำให้เสียเลือดมาก การเสียเลือดมาก เป็นสาเหตุของการเกิด โรคกลุ่มอาการซีแฮน
  3. ภาวะเบาหวานในสตรี โรคเบาหวาน ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลต่อ การขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ได้

จะเห็นได้ว่า โรคซีแฮนเ กิดจากสาเหตุหลักคือ เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำให้ ต่อมไร้ท่อใต้สมอง ทำงานผิดปรกติ  ดังนั้น ทุกภาวะที่ ทำให้ความดันเลือดต่ำลง การเสียเลือดมาก ส่งผลกระทบกระตุ้นให้เกิด โรคกลุ่มอาการซีแฮน ทั้งหมด

อาการของโรคกลุ่มอาการชีแฮน

ลักษณะของผู้ป่วยที่กำลังมี อาการโรคกลุ่มอาการซีแฮน มีดังนี้

  1. สำหรับสตรีหลังคลอด น้ำนมไม่ไหล เกิดจาก ต่อมใต้สมอง ไม่สามารถสร้างฮอร์โมน ในการผลิตน้ำนม ได้
  2. ไม่มีประจำเดือน ซึ่งการไม่มาของประจำเดือน เกิดจากต่อมใต้สมอง ไม่สามารถผลิตฮอร์โมน ไป กระตุ้นรังไข่  เพื่อ สร้างฮอร์โมนเพศหญิง ได้
  3. เดินช้า พูดช้า คิดช้า เซื่องซึม กินจุ ผมร่วง เป็น อาการของภาวะขาดออร์โมนไทรอยด์ เกิดจาก ต่อมใต้สมองไม่สามารถสร้างฮอร์โมนต่อมไทรอยด์ ได้มากพอต่อความต้องการ
  4. ขาดเกลือแร่ เนื่องจาก ต่อมหมวกไตทำงานผิดปกติ ซึ่งเป็น อันตรายต่อชีวิต ได้
  5. เหนื่อย ล้า อ่อนเพลีย และ เบื่ออาหาร

การตรวจภาวะโรคกลุ่มซีแฮน

ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจสาเหตุของการเกิดโรค จากการสืบประวัติของผุ้ป่วย การสังเกตุการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และ การตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมนในเลือด รายละเอียด ดังนี้

  1. การตรวจประวัติทางการแพทย์ ดู ประวัติการเสียเลือดหลังคลอด และ ความผิดปรกติของร่างกาย ต่างๆ
  2. การตรวจร่างกาย ดูความผิดปรกติต่างๆ ที่มี อาการจากการขาดฮอร์โมน เช่น น้ำนมมาปรกติหรือไม่ ร่างกายบวม หรือไม่ ช่องคลอดแห้ง หรือไม่ และ ผนังช่องคลอดบาง หรือไม่ ซึ่งลักษณะต่างๆเหล่านี้เกิดจาก การขาดฮอร์โมน ทั้งสิ้น
  3. การตรวจเลือด เพื่อดู ระดับฮอร์โมนในเลือด เป็นการตรวจที่มีความแม่นยำที่สุด

การรักษาโรคกลุ่มอาการชีแฮน

การรักษาสามารถทำได้โดยการให้ฮอร์โมน เพิ่มฮอร์โมนในร่างกาย เพื่อ ชดเชยฮอร์โมนที่ไม่เพียงพอ เช่น หากฮอร์โมนไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ ก็ ให้ฮอร์โมนไทรอยด์เสริม ให้ฮอร์โมนเพศหญิงเพิ่มหากฮอร์โมนเพศไม่เพียงพอ

การดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคกลุ่มอาการซีแฮน

ผู้ป่วยต้องรับประทานยาและฮอร์โมนเสริมตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร็งครัด และพบแพทย์ตามนัดของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ นอกจากการพบแพทย์และรับประทานยาตามคำสั่งแพทย์แล้ว การออกกำลังกายและการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เป็นวิธีการดูแลตัวเองที่ดีที่สุด

การป้องกันการเกิดโรคกลุ่มอาการชีแฮน

การป้องกันโรคซีแฮน โรค นี้เป็น โรคที่เกิดจากการเสียเลือด มาก หลังคลอดบุตร การป้องกันการเกิดโรค คือ การบำรุงร่างกายเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารและแร่ธาตุ ที่ ช่วยบำรุงร่างกายหลังจากการเสียเลือดหลังคลอด

สมุนไพรสำหรับสตรีหลังคลอดมีอะไรบ้าง สมุนไพรสำหรับการอยู่ไฟ ของ สตรีหลังคลอด มีดังนี้

แคนา ต้นแคนา สมุนไพร ประโยชน์ของแคนาแคนา
ฟักทอง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของฟักทองฟักทอง
ขิง สมุนไพร สรรพคุณของขิง ประโยชน์ของขิงขิง
หอมหัวใหญ่ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพรหอมหัวใหญ่
มะขาม สมุนไพร สรรพคุณของมะขาม ประโยชน์ของมะขามมะขาม
กานพลู สมุนไพร เครื่องเทศ สรพคุณของกานพลูกานพลู
มะละกอ สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้มะละกอ
กระชาย สมุนไพร สมุนไพรไทย ต้นกระชายกระชาย

กลุ่มอาการชีแฮน โรคซีแฮน โรคกลุ่มอาการชีแฮน คือ ภาวะการเกิดโรคที่เกิดจากการขาดฮอร์โมน เกิดกับต่อมใต้สมองขาดเลือด ทำให้เกิดความผิดปรกติต่างๆของร่างกาย เกิดกับสตรีหลังคลอดลูก ส่งผลให้เกิดอาการ น้ำนมไม่ไหล ไม่มีประจำเดือน เดินช้า พูดช้า คิดช้า เซื่องซึม กินจุ ผมร่วง เหนื่อย ล้า อ่อนเพลีย และ เบื่ออาหาร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove