ไข้หวัดหมู เกิดจาดเชื้อไวรัสสายพันธ์ H1N1 โรคระบาดในหมู ถ่ายทอดสู่คนจากการสัมผัสน้ำลายของหมู ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนล้า เจ็บคอ ไอ ไข้สูง อาเจียนโดยไม่ทราบสาเหตุไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ ไข้หวัด2009 โรคติตต่อ โรคทางเดินหายใจ
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ ( H1N1 ) คือ โรคติดต่อ เป็นไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ เกิดขึ้นจากการผสมสายพันธุ์ ของไวรัสไข้หวัดหมู และไวรัสไข้หวัดใหญ่ของมนุษย์ โดยการระบาดครั้งแรก ที่ประเทศสเปน ในปี พ.ศ. 2461 – 2462 โดยขณะนั้น เราเรียกโรคนี้ว่า “ไข้หวัดสเปน” การระบาดของโรคในช่วงเวลานั้น ทำให้เกิดการสียชีวิตของคนมากกว่า 20 ล้านคน

โรคนี้กลับมาระบาดอีกครั้ง ในปี 2009 โดยเริ่มระบาดครั้งแรกที่ประเทศเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา และได้ระบาดไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งผู้ติดเชื้อเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว

การระบาดของไข้หวัดใหญ่ทั่วโลก

การระบาดใหญ่เกิดขึ้นจากการอุบัติของไวรัสชนิดใหม่ เรียงลำดับดังนี้

  • พ.ศ. 2461-2462 (ค.ศ.1918-1919) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ A ชนิดย่อย (subtype) H1N1 (ในยุคนั้นยังไม่สามารถตรวจแยกเชื้อได้ การตรวจชนิดของเชื้อไวรัสเกิดขึ้นภายหลัง) มีชื่อว่าไข้หวัดใหญ่สเปน (Spainish flu) เป็นการระบาดทั่วโลกครั้งร้ายแรงที่สุด คร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 50 ล้านคน (มากกว่าผู้คนที่เสียชีวิตจากสงครามโลกครั้งที่ 1 เสียอีก) เป็นผู้ที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาถึงกว่า 500,000 คน
  • พ.ศ. 2500-2501 (ค.ศ.1957-1958) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ A ชนิดย่อย H2N2 มีชื่อว่าไข้หวัดใหญ่เอเชีย (Asian flu) เริ่มที่ตะวันออกไกลก่อนระบาดไปทั่วโลก มีผู้เสียชีวิต 70,000 คนในสหรัฐอเมริกา การระบาดในครั้งนี้สามารถตรวจพบและจำแนกเชื้อได้รวดเร็ว และผลิตวัคซีนออกมาฉีดป้องกันได้ทัน จึงมีผู้เสียชีวิตไม่มากนัก
  • พ.ศ. 2511-2512 (ค.ศ.1968-1969) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ A ชนิดย่อย H3N2 มีชื่อว่าไข้หวัดใหญ่ฮ่องกง (Hong Kong flu) รายงานผู้ป่วยรายแรกเป็นชาวฮ่องกง แล้วจึงแพร่กระจายออกไป มีผู้เสียชีวิตประมาณ 34,000 คนในอเมริกา เป็นชนิดย่อยที่มีลักษณะทางพันธุกรรมคล้ายไข้หวัดใหญ่เอเชีย (H2N2) จึงมีผู้ป่วยจำนวนไม่มากนัก เพราะมีภูมิคุ้มกันอยู่บ้างแล้ว
  • พ.ศ. 2520-2521 (ค.ศ.1977-1978) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ A ชนิดย่อย H1N1 กลับมาระบาดใหม่ มีชื่อว่าไข้หวัดใหญ่รัสเซีย (Russian flu) เริ่มระบาดที่ประเทศจีนตอนเหนือแล้วกระจายไปทั่วโลก ทราบภายหลังว่าเป็นไวรัสชนิดเดียวกับที่กระจายอยู่ทั่วไปก่อนปี พ.ศ. 2500 คือ ไข้หวัดใหญ่สเปน (H1N1) ที่ระบาดเมื่อปี พ.ศ. 2461-2462 (ก่อนถูกแทนที่ด้วยไข้หวัดใหญ่เอเชีย คือชนิดย่อย H2N2 ในปี พ.ศ. 2500) ผู้ที่อายุเกิน 23 ปีในขณะนั้น ส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานโรคแล้วจากการระบาดครั้งก่อน จึงเกิดโรครุนแรงเฉพาะผู้ที่อายุน้อยกว่า 23 ปี ที่ไม่มีภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสชนิดนี้เท่านั้น
  • พ.ศ. 2552 (ค.ศ.2009) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ A ชนิดย่อย H1N1 เป็นไวรัสที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมระหว่างไวรัสไข้หวัดใหญ่นก ไข้หวัดใหญ่หมูและไข้หวัดใหญ่มนุษย์ เกิดเป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่พันธุ์ผสม กลับมาระบาดอีกครั้ง มีชื่อว่าไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก (Mexican flu) หรือชื่อใหม่ว่าไวรัสไข้หวัดใหญ่ A ชนิดย่อย H1N1 2009 เริ่มระบาดที่ประเทศเม็กซิโกเมื่อเดือน มี.ค.แล้วกระจายสู่สหรัฐอเมริกา แคนาดา นิวซีแลนด์ ฯลฯ

สาเหตุของโรคไข้หวัดสายพันธ์ใหม่

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรค เกิดจาก การติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เป็นไวรัสที่มีเปลือกหุ้มมีสารพันธุกรรมเป็นอาร์เอ็นเอ ปัจจุบันสามารถแบ่งเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ได้เป็น 3 ชนิด คือ A B และ C เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ที่เกิดการติดเชื้อในมนุษย์และสัตว์ จะอยู่ในกลุ่ม ชนิด A (Influenza A virus)

กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดเชื้อ

เราสามารถแยกกลุ่มคนที่มีโอกาสการติดเชื้อได้  คือ

  • ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป
  • บุคคลที่เข้ารับการบำบัดและสถานที่รับดูแลโรคเรื้อรัง
  • คนที่มีโรคปอดเรื้อรัง โรคระบบหัวใจไหลเวียน รวมทั้งเด็กที่เป็นโรคหอบหืดด้วย
  • คนที่ต้องไปโรพาบาลเป็นประจำ
  • แพทย์ พยาบาล และบุคลากรในโรงพยาบาล

อาการของผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธ์เอ

สำหรับอาการของโรคไข้หวัด สามารถสรุปอาการได้ ดังนี้

  • มีอาการปวดเมื่อย ตามกล้ามเนื้อ
  • รู้สึกอ่อนล้า ไม่มีแรง
  • มีอาการเจ็บคอ
  • มีอาการไอ
  • มีไข้สูง
  • มีน้ำมูกไหล
  • มีอาการท้องเสีย และอาเจียน โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีอาการปวดหัว
  • หายใจหอบ เหนื่อยง่าย

การรักษาโรคไข้หวัดสายพันธ์ใหม่

สำหรับการรักษาโรคไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ สามารถทำได้โดย การให้ยาพื่อรักษาและการให้ยาเพื่อป้องกัน วิธีการให้ยาเพื่อการรักษาโรค ต้องให้ย่ารักษาภายใน 4 วันหลังเกิดอาการติดเขื้อ และจะให้ยาเป็นเวลา 5 วัน วิธีการให้ยาเพื่อการป้องกัน จะให้ยาเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและจะให้ยาเป็นเวลา 10 วัน

  • ให้นอนพักไม่ควรออกกำลังกาย
  • ให้ดื่มน้ำ หรือ น้ำผลไม้ หรือน้ำซุป หรืออาจจะดื่มน้ำเกลือแร่ ร่วมด้วย แต่ไม่ควรดื่มน้ำเปล่าอย่างเดียว เพราะจะทำให้ท่านขาดเกลือแร่ได้ หรืออาจจะเตรียมโดยใช้น้ำข้าวใส่เกลือ และน้ำตาลก็ได้
  • ให้การดูแลปฏิบัติตัว และรักษาตามอาการเหมือนไข้หวัด คือ นอนพักผ่อนมากๆ ห้ามตรากตรำทำงานหนัก ห้ามอาบน้ำเย็น ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้สูง กินอาหารอ่อน ดื่มน้ำและน้ำหวาน หรือน้ำผลไม้ ให้ยาแก้ปวด Paracetamol ผู้ใหญ่ ครั้งละ 1-2 เม็ด (500 มิลลิกรัม) วันละ 2-3 ครั้ง ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน
  • ยาปฏิชีวนะ ไม่จำเป็นต้องให้เพราะเป็นโรคที่เกิดจากไวรัส จะให้ก็ต่อเมื่อมีภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น น้ำมูกหรือเสลดเป็นสีเหลืองหรือเขียว ยาปฏิชีวนะที่มีให้เลือกใช้ ได้แก่ เพนวี ขนาดผู้ใหญ่ ให้ครั้งละ 4 แสนยูนิต ก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง วันละ4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน ในเด็กให้ครั้งละ 50,000 ยูนิต ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แบ่งให้วันละ 4 ครั้ง หรืออิริโทรไมซิน ผู้ใหญ่ ให้ครั้งละ 250-500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง ในเด็ก ให้วันละ 30-50 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แบ่งให้ทุก 6 ชั่วโมง
  • ถ้ามีอาการหอบหรือสงสัยปอดอักเสบ ควรส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

การป้องกันโรคไข้หวัดสายพันธ์ใหม่

สำหรับการป้องกันโรคนั้น ให้หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับผู้ป่วย ใส่หน้ากากอนามัยป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย รักษาสุขอนามัยให้สะอาดเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หากท่านมีไข้ เจ็บคอ ไอ และมีประวัติการได้เดินทางไปในสถานที่ที่มีการระบาดของโรค ในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน อาจมีความเสี่ยงต่อโรคนี้  เพื่อป้องกันการเกิดโรค มีข้อควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ดังนี้

  • รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
  • รักษาความสะอาด เช่น ล้างมือฟอกสบู่บ่อยๆ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ เมื่อสัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ ใน ที่สาธารณะ
  • ควรหลีกเลี่ยงการพบปะกับคนที่กำลังป่วย
  • ควรหลีกเลี่ยงการไปสถานที่ ที่มีคนจำนวนมาก เช่น โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า
  • หากมีอาการป่วย ควรเก็บตัวอยู่บ้านและใส่หน้ากากอนามัยป้องกันการแพร่เชื้อให้กับคนในบ้าน
  • ให้ปิดปากและจมูก เพื่อไม่ให้เชื้อโรคสัมผัสกับมือหรือแพร่กระจายในอากาศ
  • ไม่ควรซื้อยากินเอง โดยปราศจากคำแนะนำของแพทย์

ไข้หวัด H1N1  โรคไข้หวัดหมู เกิดจาดเชื้อโรค สายพันธ์ H1N1, H1N2, H3N2, และ H3N1 โรคระบาดในหมู ถ่ายทอดสู่ คน จากการสัมผัสน้ำลายของหมู ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนล้าไม่มีแรง เจ็บคอ ไอ ไข้สูง อาเจียนโดยไม่ทราบสาเหตุ

โรคซาร์ส SARS ไข้หวัดมรณะ เกิดจากเชื้อไวรัส 2 ชนิด คือ โคโรนาไวรัส และ พาราไมโซไวรัส ทำให้ปอดติดเชื้ออย่างรุนแรง พบครั้งแรกที่ประเทศจีน ยังไม่มียารักษาโรค

โรคซาร์ส ปอดติดเชื้ออย่างรุนแรง โรคทางเดินหายใจ โรคติดต่อ
ซาร์ส หรือ SARS ย่อมาจาก Severe acute respiratory distress syndrome หรือบางคนเรียกว่า กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง คือ โรคติดต่อร้ายแรงที่เกิดจากเชื้อไวรัส ชื่อ SARS coronavirus โดยผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการทางระบบหายใจ ซึ่งอาจรุนแรงจนมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง เป็นโรคที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ โดยเกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศจีนในปี พ.ศ. 2545 ติดต่อกันได้ง่าย จึงทำให้เกิดการระบาดไปยังอีกหลายประเทศทั่วโลก องค์การอนามัยโลกร่วม กับองค์การต่างๆ จึงได้พยายามควบคุมโรค และสามารถหยุดการระบาดได้ในปีต่อมาคือ พ.ศ.2546 ซึ่งในปัจจุบันก็ยังไม่พบการระบาดขึ้นมาอีก

สถานการณ์โรคซาร์สในปัจจุบัน

หลังจากวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2546 ที่องค์การอนามัยโลกได้ประกาศสิ้นสุดการระบาดของโรคซาร์ส ในช่วงปลายปี พ.ศ.2546 พบการติดเชื้อโรคซาร์สอีกครั้ง ในห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยาที่ไต้หวันและสิงคโปร์ แต่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ และในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ.2547 เกิดการแพร่ระบาดเข้าไปในชุมชนที่ประเทศจีน ซึ่งทางรัฐบาลจีนจึงได้ออกมาตรการห้ามจำหน่าย และ บริโภคเนื้อชะมด และให้ทำลายชะมดกว่า 10,000 ตัว ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่พบมีการกลับมาแพร่ระบาดของโรคซาร์สอีก

สาเหตุของการเกิดโรคซาร์ส

สาเหตุของโรคไข้หวัดมรณะ (SARSโรคซาร์สนี้ เกิดจากเชื้อไวรัส 2 ชนิด คือ  ไวรัสในกลุ่ม “โคโรนาไวรัส” และ ไวรัสอยู่ในกลุ่ม “พาราไมโซไวรัส” สาเหตุของโรคซาร์ส ได้ถูกค้นพบในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2546 จากการนำเนื้อเยื่อของผู้ป่วยไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ทำให้ทราบว่าสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส และการตรวจสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสทำให้ทราบว่าเป็นไวรัสที่อยู่ในกลุ่มที่ชื่อว่า Coronaviridae ซึ่งไวรัสที่อยู่ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะทำให้เกิดเป็นโรคหวัด หรืออาการทางระบบหายใจส่วนล่าง (ปอด และหลอดลม) ได้ แต่มักไม่รุนแรง สำหรับไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคซาร์สนี้ได้ถูกตั้งชื่อว่า SARS coronavirus (SARS-CoV)

อาการของผู้ป่วยโรคซาร์ส

โรคนี้ มีระยะของการเกิดโรคที่ ภายใน 7 วัน หลังจากเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอาการ มีไข้สูงมาก หนาวสั่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เบื่ออาหาร บางคนอาจมีถ่ายอุจจาระเหลว แล้วจะตามมาด้วยอาการไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ หอบเหนื่อย หายใจลำบาก และหากตรวจดูระดับออกซิเจนในเลือดก็จะพบว่ามีค่าลดลง (Hypoxemia) ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรง คือเกิดภาวะหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้ในที่สุด

ภาวะแทรกซ้อนของโรคซาร์ส

  • ประมาณร้อยละ 10 ถึง 20 ของผู้ป่วย ที่อยู่ในโรงพยาบาล จะมีภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อย (Hypoxia) และจำเป็นต้องใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจ
  • ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง ได้แก่ ภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute respiratory distress syndrome : ARDS) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่สำคัญ
  • สำหรับผู้ป่วยที่รอดชีวิต ในบางรายอาจพบว่า หากทดสอบการทำงานของปอดอาจยังมีผิดปกติบ้าง หรือหากเอกซเรย์ปอดยังพบความผิดปกติเล็กน้อย อยู่ได้นานถึงประมาณ 12 เดือน

การรักษาโรคซาร์ส

การรักษาโรคไข้หวัดมรณะ SARS ) หากพบว่าผู้ป่วยต้องสงสัยว่าจะป่วยเป็นไข้หวัดมรณะ ต้องรีบรับนำตัวส่งโรงพยาบาล เพื่อควบคุมาการระบาดของโรคและเฝ้าติดตามอาการ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคนี้ และไม่มีคำแนะนำที่แน่นอนในการเลือกใช้ยาสำหรับการรักษาโรคนี้ เพราะยังไม่มียาที่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสซาร์สได้ การรักษาจึงทำได้เพียงการประคับประคองตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้แก้ปวด ให้ยาแก้ไอ ให้น้ำเกลือ ใช้เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น

  • ผู้ป่วยที่มีอาการหนัก หรือเป็นผู้สูงอายุ หรือมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ (เช่น มีโรคประจำตัว) จะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและแยกผู้ป่วยอย่างรัดกุม
  • ผู้ป่วยที่มีอาการน้อย ร่างกายแข็งแรง อาจทำการแยกตัวโดยให้อยู่ที่บ้านได้ แต่ภายในบ้านต้องไม่มีเด็กอ่อน หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว รวมทั้งต้องมีห้องน้ำและห้องนอนแยกเป็นส่วนตัว และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำในการป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นอย่างเคร่งครัด เช่น การใส่ผ้าปิดปากปิดจมูก ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน รวมถึงแก้วน้ำ จาน ชาม ช้อน ส้อม และแยกทำความสะอาด แยกรับประทาน ส่วนขยะที่เกิดจากผู้ป่วยควรแยกถุงและแยกทิ้งแบบเป็นขยะติดเชื้อ ห้ามให้ผู้ป่วยออกจากบ้าน โดยต้องหยุดงาน หยุดเรียน หยุดทำธุระต่าง ๆ รวมทั้งต้องมีการติดตามอาการและการปฏิบัติตัวจากเจ้าหน้าที่ทุกวัน เช่น การโทรศัพท์สอบถาม
  • เมื่ออาการต่าง ๆ ทั้งไข้ ไอ หายใจหอบ หรืออื่น ๆ หายสนิทไปแล้วจนครบ 10 วัน ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำงาน ไปเรียน และใช้ชีวิตตามปกติได้โดยไม่ต้องแยกห้อง

การป้องกันโรคไข้หวัดมรณะSARS )

ต้องปิดปากและจมูก สวมหน้ากากป้องกัน เชื้อโรคเช้าสู่ร่างกาย ดูแลสุขอนามัย ให้สะอาด ไม่ให้มีเชื้อโรค ในพื้นที่ที่มีการระบาดก็ได้มีการควบคุมป้องกันการแพร่กระจายของโรคอย่างเข้ม งวด โดยมาตรการสำคัญคือ การแยกผู้ป่วยและผู้ที่มีประวัติสัมผัสโรค ในบางพื้นที่ต้องมีการสั่งปิดโรงเรียนและมหาวิทยาลัยนานนับเดือน รวมถึงโรงพยาบาลอีกหลายแห่งด้วย

  1. ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคซาร์สจะต้องมีการควบคุมป้องกันการแพร่กระจายของโรคอย่างเข้มงวด
  2. แพทย์และพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยซาร์สจะต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด เช่น สวมถุงมือ ใส่เสื้อกาวน์ ใส่แว่นตาป้องกันการติดเชื้อ หมั่นล้างมือด้วยน้ำกับสบู่ เป็นต้น
  3. หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศหรือเขตพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคซาร์ส
  4. ดูแลสุขภาพร่างกายทั่วไปให้แข็งแรง โดยการหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
  5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  6. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  7. งดการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์

โรคซาร์ส ( SARS ) ไข้หวัดมรณะ โรคติดต่อเกิดจากการติดเชื้อไวรัส 2 ชนิด คือ โคโรนาไวรัส และ พาราไมโซไวรัส ทำให้ปอดติดเชื้ออย่างรุนแรง โรคติดเชื้อ พบครั้งแรกที่ประเทศจีน แพร่ระบาด ฮ่องกง เวียดนาม สิงคโปร์ แคนาดา สหรัฐ ฝรั่งเศส อังกฤษ ไต้หวัน และ เยอรมนี


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove