โรคกาลี แอนแทรกซ์ Anthrax ภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย Bacillus anthracis อาการมีไข้ ปวดตัว เจ็บหน้าอก หายใจเสียงดัง หายใจลำบาก เหงื่อออกมาก ตัวเขียว เสียชีวิตในที่สุดโรคกาลี โรคแอนแทรกซ์ โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

แอนแทรกซ์ ไม่ใช่โรคใหม่ เป็นโรคที่เกิดกับ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น วัว แพะ และแกะ เป็นต้น มักไม่ค่อยทำให้เกิดโรคในคน เกิดจากเชื้อโรคชื่อ Bacillus anthracis ซึ่งสามารถอยู่ในที่ต่างๆเป็นระยะเวลานาน ทำให้สัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารได้รับเชื้อได้ง่าย เมื่อเชื้อแอนแทรกซ์เข้าสู่ร่างกาย จะขยายตัวอย่างรวดเร็ว และทำให้ร่างกายสร้างสารทอกซิน โดยมันจะช่วยทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้

โรคแอนแทรกซ์ในคน

เชื้อโรคแอนแทรกซ์ สามารถสร้างเกาะตัวได้ เมื่ออยู่นอกร่างกายคนหรือสัตว์ ทำให้มีความทนทานอยู่ได้นานนับ 10 ปี สัตว์ติดโรคนี้โดยการกินหรือการหายใจเอาเชื้อเข้าไปเชื้อจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเร็วมาก สัตว์จึงมักตายภายใน 1 ถึง 2 วัน หลังได้รับเชื้อ โดยไม่แสดงอาการให้เห็น อาจพบเลือดสีดำคล้ำไหลออกจากจมูก ปากหรือทวารหนักของซากสัตว์

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคแอนแทรกซ์

คนมีปัจจัยความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแอนแทรก เป็นกลุ่มคนที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • ผู้ที่ทำงานในปศุสัตว์ เลี้ยงสัตว์กลุ่มกินหญ้า
  • ผู้ทำงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับสัตว์กินหญ้าเช่น หนัง ขน กระดูก (ในสหรัฐอเมริกามีรายงานติดต่อจากการตีกลองที่ทำจากหนังสัตว์ที่ติดเชื้อนี้)
  • ผู้ทำงานในห้องปฏิบัติการที่ศึกษาเกี่ยวกับเชื้อนี้
  • เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ในประเทศที่มีการก่อการร้าย
  • สัตวแพทย์ที่ดูแลสัตว์กลุ่มนี้
  • ทหารที่ทำสงครามกับประเทศที่ใช้อาวุธชีวภาพ
  • ผู้ฉีด (เข้ากล้ามเนื้อ) สารเสพติดผิดกฏหมาย

อาการของโรคแอนแทรกซ์

สำหรับโรคแอนแทรกซ์ จะมีการแสดงอาการ แบ่งได้ 3 อาการ คือ โรคแอนแทรกซ์ที่ผิวหนัง โรคแอนแทรกซ์ที่ทางเดินหายใจ โรคแอนแทรกซ์ที่ทางเดินอาหาร

  • โรคแอนแทรกซ์ที่ผิวหนัง ผู้ป่วยจะมีตุ่มนํ้าใส แต่หลังจากนั้น 2 – 6 วัน ตุ่มจะยุบตรงกลาง และแผลจะเป็นสีดำเหมือนโดนบุหรี่จี้ มักไม่ปวดแผล
  • โรคแอนแทรกซ์ที่ระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดเมื่อย มีอาการไอ เจ็บที่หน้าอก หายใจมีเสียงดัง หายใจลำบาก เหงื่อออกมาก และตัวจะเขียว ทำให้เสียชีวิตในที่สุด
  • โรคแอนแทรกซ์ที่ระบบทางเดินอาหาร พบว่าผู้ป่วยจะเกิดการอักเสบที่ลำไส้ และตัวบวมทำให้เลือดไปอุดตันระบบทางเดินอาหาร มีน้ำในช่องท้องมาก อาจทำให้เกิดอาการเลือดเป็นพิษ ช็อก และเสียชีวิตในที่สุด

อาการแทรกซ้อนของโรคแอนแทรกซ์ 

อาจพบติดเชื้อในกระแสเลือด การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง ซึ่งจะเกิดลักษณะความผิดปรกติจากสมอง เช่น ปวดหัว สับสน กระวนกระวาย เอะอะอาละวาด จนกระทั่งซึมหมดสติ เป็นต้น

การรักษาโรคแอนแทรกซ์ 

เราสามารถรักษาโรคแอนแทรกซ์ โดยการให้ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) เตตราซัยคลิน (Tetracycline), อีริโทรมัยซิน(Erythromycin) และคลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol) ก็ให้ผลดีเช่นกัน ในปี พ.ศ. 2544  พบว่ามีการใช้ยาซิโปรฟล็อกซาซิน (Ciprofl oxacin) ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพที่ระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วยแอนแทรกซ์ แต่ไม่มีผลการศึกษาชัดเจนว่าได้ผลดี

  • การให้ยาปฏิชีวนะ จะได้ผลดีกว่าเมื่อเริ่มให้ยาตั้งแต่รู้ว่าสัมผัสโรคโดยยังไม่เกิดอาการเรียกว่าเป็นการรักษาแบบป้องกัน แต่เมื่อมีอาการแล้วการรักษาได้ผลไม่ดีเท่าที่ควรและผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง ซึ่งยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาโรคนี้มีหลายตัว โดยการรักษาอาจใช้ยาฯเพียงตัวเดียวหรือหลายตัวร่วมกันทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของโรคเช่น ยา Cyprofloxacin, Doxycycline, Erythromycin, Penicillin
  • การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำกรณีกินอาหารได้น้อย การให้ออกซิเจนกรณีมีอาการทางการหายใจ การให้เลือดถ้ามีภาวะซีดจากเลือดออกมาก รวมไปถึงการให้ยาแก้อักเสบในกลุ่มสเตียรอยด์

ในปัจจุบันได้มีการศึกษานำยาที่เป็นสารภูมิต้านทาน (Monoclonal antibody therapy) เช่น ยา Raxibacumab มาใช้ทั้งในการป้องกันและในการรักษาการติดเชื้อแอนแทรกจากการสูดดม ซึ่งได้ผลดีในระดับหนึ่ง

การป้องกันโรคแอนแทรกซ์

  1. หากพบว่าสัตว์ที่เลี้ยงไว้ เช่น วัว ควายติดเชื้อแอนแทรกซ์ ให้เผาทำลายซากสัตว์อย่าให้เชื้อโรคแพร่กระจาย
  2. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคแอนแทรกซ์ให้แก่สัตว์เลี้ยง ทุกปี
  3. รักษาสุขอนามัยในการทำอาหาร โรงงานขนสัตว์ และ อาหารสัตว์

เชื้อโรคชนิดนี้ไม่สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ ดังนั้น การการรักษาและดูแลผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องแยกผู้ป่วย นอกจากจะสงสัยว่าอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกันนี้อาจมีเชื้อโรคจึงจะป้องกัน เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตลง ต้องระวังการแพร่เชื้อจากศพ

โรคกาลี โรคแอนแทรกซ์ ( Anthrax ) คือ โรคติดต่อ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bacillus anthracis อาการโรคแอนแทรกซ์ คือ มีไข้ ปวดเมื่อย ไอ เจ็บหน้าอก หายใจมีเสียงดัง หายใจลำบาก เหงื่อออกมาก และ ตัวจะเขียว ทำให้เสียชีวิตในที่สุด โรคนี้เป็นโรคที่เกิดในสัตว์ แต่แพร่สู่คนจากการกินเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อโรค

บาดทะยัก Tetanus ภาวะติดเชื้อบาดทะยัก Clostridium tetani อาการชักแข็ง หลังแอ่น ทำให้กล้ามเนื้อ หดเกร็งตลอดเวลา เชื้อโรคจะอยู่ในดิน สนิมตามมีด เข็ม หรือ ตะปู

บาดทะยัก โรคติดเชื้อ แผลจากสนิม

โรคบาดทะยัก เป็นโรคติดต่อ เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน เกิดและพบได้ทุกที่ทั่วโลก เกิดได้กับคน ในทุกเพศและทุกวัย การตัดสายสะดือ ในเด็กทารกแรกเกิด หากไม่รักษาความสะอาด ก็สามารถทำให้เกิด บาดทะยัก ได้ สาเหตุหนึ่งของการตาย  สูงในหลายประเทศ อาทิเช่น ประเทศในแถบเอเชีย อาฟริกา อเมริกาใต้ โดยเฉพาะประเทศกลุ่มด้อยการพัฒนา

บาดทะยักในทารกแรกเกิดอาการมักจะเริ่มเมื่อทารกอายุประมาณ 3-10 วัน อาการแรกที่จะสังเกตได้คือ เด็กดูดนมลำบาก หรือไม่ค่อยดูดนม ทั้งนี้เพราะมีขากรรไกรแข็ง อ้าปากไม่ได้ บาดทะยัก เป็นโรคที่เกิดจากตัวเชื้อโรคบาดทะยัก เข้าสู่แผล ทำให้มีอาการกระตุกและชักแข็ง หลังแอ่น โดยมากสามารถทำให้เสียชีวิตได้

สาเหตุของการเกิดบาดทะยัก

เกิดจากเชื่อโรคบาดทะยัก ซึ่งพบว่าเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายโดยทาง ตะปู เข็ม หรือกิ่งไม้ ตำร่างกาย หรือแผลไฟไหม้ แผลกดทับ สัตว์กัด(สุนัข แมว ค้างควา หนู) แผลเรื้อรัง แผลเบาหวาน ฟันผุ หูชั้นกลางอักเสบ  ซึ่งเชื้อบาดทะยักนั้นสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง คือ

  • ผ่านทางแผลสด โดยส่วนใหญ่จะเป็นแผลขนาดเล็กๆแต่ลึก เช่น แผลจากตะปู หรือเศษไม้ตำ แผลอื่นๆ เช่น แผลถูกสัตว์กัด แผลถลอก แผลฉีกขาด แผลถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือแม้แต่แผลผ่าตัดก็พบได้ ถ้าระบบปลอดเชื้อของห้องผ่าตัดไม่มาตรฐาน หรือการดูแลแผลผ่าตัดที่ไม่สะอาด รวมทั้งแผลจากการถอนฟัน รักษารากฟัน ก็มีโอกาสติดเชื้อนี้ได้เช่นกัน
  • ผ่านทางแผลเรื้อรัง เช่นแผลเบาหวาน และแผลเป็นฝี
  • ผ่านทางการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน พบในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติด หรือการสักลาย (Tattoo)
  • ผ่านทางสายสะดือในเด็กแรกคลอด เกิดจากมารดาที่ไม่เคยฉีดวัคซีนบาดทะยัก และการใช้อุปกรณ์ที่ไม่สะอาดตัดสายสะดือเด็ก
  • จากการเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบ
  • มีบางกรณีที่ไม่พบสาเหตุว่า เชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางไหน

อาการของโรคบาดทะยัก

สำหรับผู้ที่ติดเชื้อบาทยักนั้น พบว่าจะมีอาการเกร็งที่เนื้อรอบแผล หลังจากนั้นผู้ป่วยจะเกร็งอ้าปากไม่ได้ กลืนน้ำลายไม่ได้ คอและหลังมีการเกร็ง ปวดตามตัว หายใจลำบาก และอาจจะเสียชีวิตในที่สุด

ซึ่งสำหรับระยะการเกิดโรคนั้น ระยะฟักตัวของโรค จะอยู่ที่ประมาณ 4 ถึง 21 วัน แต่โดยส่วนมาก 10 วัน โดยขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม และตำแหน่งของแผล และเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย ส่วนระยะติดต่อ เชื้อบาดทะยักจะไม่ติดต่อจากบุคคลหนึ่งไปสู่บุคคลหนึ่งโดยตรง  โรคบาดทะยักมักจะเกิดกับกล้ามเนื้อลายและเส้นประสาท ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่เราสั่งได้

ผู้ป่วยจะเกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อรอบแผล หลังจากนั้นภายใน 1 สัปดาห์ จะเกิดอาการเกร็งตัวที่กล้ามเนื้อ ทำให้อ้าปากไม่ได้ กลืนน้ำลายลำบาก คอและหลังมีอาการเกร็ง มีอาการปวดทั่วร่างกาย ทำให้หายใจลำบาก และอาจจะเสียชีวิตด้วยภาวะหายล้มเหลว อาการที่สำคัญของโรคบาดทะยักนั้น มีดังนี้

  • ปวดหัว
  • ปวดบริเวณกราม
  • เกรงตามกล้ามเนื้อ
  • ปวดตัว
  • กลืนน้ำลายไม่ได้
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • มีไข้สุงและเหงื่อออก
  • หัวใจเต้นเร็วและความดันโลหิตสูงขึ้น

การรักษาโรคบาดทะยัก

ผู้ป่วยต้องรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ ชื่อ penicillin ให้ยาคลายกล้ามเนื้อ ฉีดวัคซีน Toxoid และทำความสะอาดแผลไม่ให้ติดเชื้ออีก ผู้ป่วยที่เริ่มแสดงอาการของโรคบาดทะยักแล้ว โดยทั่วไปจำเป็นจะต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลในห้องไอซียูเพื่อให้แพทย์เฝ้าดูอย่างใกล้ชิด และอาจได้รับการรักษาต่อไปนี้

  • ให้ยา Tetanus Immunoglobulin และยาปฏิชีวนะ
  • นำเอาเนื้อเยื่อแผลที่ตายแล้วหรือสิ่งแปลกปลอม เช่น ฝุ่นและสิ่งสกปรกต่าง ๆ ออกจากบาดแผล
  • ให้ยาที่ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยและชักกระตุกของกล้ามเนื้อ เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อและยาระงับประสาท
  • ผู้ป่วยอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหากมีอาการหายใจลำบาก
  • ส่วนบางรายที่รับประทานอาหารไม่ได้จะต้องใช้หลอดให้อาหารเชื่อมต่อไปยังท้องหรือการหยดสารอาหารเข้าเส้นเลือด

ส่วนใหญ่อาการของโรคบาดทะยักที่ได้รับการรักษาจะค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้น แม้ว่าจะต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน ๆ แต่ก็มีผู้ป่วยบางรายที่เสียชีวิตจากโรคบาดทะยักได้เช่นกัน

การป้องกันการเกิดโรคบาดทะยัก

แนวทางการป้องกันการเกิดโรคบาดทะยัก สามารถปฏิบัติได้ดังนี้

  • ในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงในการทำงานใกล้กับสิ่งที่เป็นต้นเหตุของการเกิดบาดทะยัก เช่น คนที่คลุกคลีต่อของที่มีสนิม ของสกปรก มีโอกาสได้รับการบาดเจ็บ ควรฉีดยาป้องกันโรคบาดทะยัก ป้องกันเอาไว้
  • ในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ ควรซีนวัคซีนป้องกันบาดทะยักตามคำสั่งของแพทย์
  • ให้ทำความสะอาดแผลให้สะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • หมั่นรักษาความสะอาดของสิ่งแวดล้อมให้สะอาดเสมอ

โรคบาดทะยัก ( Tetanus ) คือ โรคติดเชื้อบาดทะยัก Clostridium tetani อาการโรคบาดทะยัก ชักแข็ง หลังแอ่น ทำให้กล้ามเนื้อ หดเกร็ง ตลอดเวลา โรคนี้อันตรายถึงชีวิต เชื้อโรคจะอยู่ในดิน ในฝุ่น ที่ติดอยู่ใน มีด เข็ม หรือ ตะปู


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove