ไข้หวัด Common cold ติดเชื้อไวรัสที่ทางเดินหายใจ ทำให้เยื่อบุจมูกอักเสบ บวม แดง มีน้ำมูกใสขาว มีไข้สูง สามารถหายเองได้ใน 7 วัน ไม่มียารักษาโรค แนวทางการรักษาโรคโรคหวัด ติดเชื้อที่ทางเดินหายใจ โรคติตต่อ โรคทางเดินหายใจ

ไข้หวัด เป็น โรค ชนิดหนึ่งทาง การติดเชื้อ คือ การติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจ เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายผ่านทาง จมูกและคอ จะทำให้เยื่อบุจมูกเกิดอาการบวมและแดงและมีน้ำมูกใสขาวออกมาว ซึ่งโรคนี้จะหายเองได้ใน 7 วัน

สาเหตุของการเกิดไข้หวัด

ไข้หวัด มักจะพบในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยน สามารถติดโรคจากน้ำลายและเสมหะผ่านทางลมหายใจ การแพร่กระจายของเชื้อจากคนหนึ่งสู่คนหนึ่ง มักจะแพร่กระจายก่อน ผู้ป่วยมีอาการไข้ 2 วัน ไข้หวัดจะติดง่ายในผู้ป่วยเด็ก เนื่องจากภูมคุ้มกันยังไม่มากเท่าผู้ใหญ่

อาการของไข้หวัด

จะพบว่า ผู้ป่วยจะมีอาการจาม และมีน้ำมูก อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ มีไข้ ในผู้ป่วยบางคนจะปวดหู หรือเยื่อแก้หูมีเลือดคั่ง เยื่อบุตาอักเสบ มีอาการเจ็บคอ จะกลืนน้ำลายลำบาก

การรักษาไข้หวัด

ไข้หวัด ไม่มียารักษาเฉพาะทาง เราสามารถทำได้เพียงรักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก ยาแก้อักเสบ ยาแก้ปวด เป็นต้น แล้วร่างกายจะขับเชื้อไวรัสออกจากร่างกายเองได้ ใน 2-4 วัน

การป้องกันไข้หวัดสามารถทำได้อย่างไร

ในปัจจุบันโรคหวัดยังไม่มียาที่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคหวัด คือ การทำร่างกายให้แข็งแรง เมื่อมีเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายสามารถกำจัดได้ก่อนที่จะเกิดโรคหวัดได้ ข้อแนะนำในการป้องกันโรคหวัดมีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชนเป็นเวลานาน เช่นโรงภาพยนตร์ ภัตราคาร สนามกีฬา ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น เนื่องจากเราไม่ทราบว่าใครกำลังเป็นไข้หวัด และสามารถแพร่กระจายโรคตากการหายใจได้
  • ใช้ผ้าปิดจมูก เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่กระกายสู่ผู้อื่นและติดสู่เราได้
  • รักษาสุขอนามัย ทำความสะอาดข้าวของเครื่องใช้ที่ต้องสัมผัส และล้างมือบ่อยๆ เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายสู่ร่างกายเราได้ง่าย
  • ไม่เอามีเข้าปาก หรือการขยี้ตา เนื่องจากเราไม่ทราบได้ว่าที่มีของเรามีเชื้อโรคหรือไม่
  • หลีกเลี้ยงการอยู่ใกล้กับผู้ป่วยโรคหวัด

ความแตกต่างระหว่างไข้หวัดกับไข้หวัดใหญ่

มีหลายคนสงสัยว่าไข้หวัดกับไข้หวัดใหญ่มีความแตกต่างกันอย่างไร เราได้ทำตารางเปรียบเทียบความแต่งต่างระหว่างไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ โดยมีรายละเอียดดังนี้

อาการ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่
การมีไข้ มีไข้สูงในเด็ก และไม่มีไข้สูงในผู้ใหญ่ จะมีไข้สูงมากถึง 38 องศาเซลเซียส นานติดต่อกัน 3 วัน
อาการปวดศีรษะ น้อย ปวดหัวมาก
อาการปวดเมื้อยตามตัว น้อย ปวดมาก
อาการอ่อนแรง น้อย อ่อนแรงนานถึง 2-3 สัปดาห์
อาการอ่อนเพลีย ไม่พบอาการอ่อนเพลีย อ่อนเพลียมาก
อาการจาม บ่อย จามบ้างบางครั้ง
อาการคัดจมูก บ่อย คัดจมูกบางครั้ง
โรคแทรกซ้อน โรคไซนัสอักเสบ และโรคหูชั้นกลางอักเสบ โรคหลอดลมอักเสบ และโรคปอดบวม
อาการไอและแน่นหน้าอก ไม่ไอมากแต่ไอแห้งๆ บ่อยและอาการรุนแรง
อาการเจ็บคอ บ่อย พบบ้างบางครั้ง
การป้องกันโรค ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค มีฉีดวัคซีนป้องกันโรค
การรักษาโรค รักษาตามอาการของโรค ต้องรับการรักษาภายใน 48 ชั่วโมง

สมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยลดไข้

โรคหวัดยังไม่มียาสำหรับรักษาโรคแต่ ดรคหวัดต้องรักษาโรคตามอาการ ซึ่งอาหารหนึ่งของไข้หวัดคือการมีไข้สูง การกินยาลดไข้ ช่วยลดปัญหาการช็อค เนื่องจากอุณหภูมิร่างกายสูงเกินไปได้ ดังนั้น สมุนไพรที่ช่วยลดความร้อนในร่างกายสามารถช่วยบรรเทาโรคหวัดได้ มีรายละเอียดดังนี้

หญ้าปักกิ่ง สมุนไพร หญ้าเทวดา สรรพคุณหญ้าเทวดาหญ้าปักกิ่ง ตรีผลา สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตรีผลาตรีผลา
ตะลิงปลิง ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของตะลิงปลิงตะลิงปลิง ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพรถั่วเขียว
อะโวคาโด ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของอะโวคาโดอะโวคาโด ทองพันชั่ง สมุนไพร พืชท้องถิ่น สรรพคุณของทองพันชั่งทองพันชั่ง

ไข้หวัด (Common cold) คือ ภาวะการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจ ทำให้เยื่อบุจมูกอักเสบ บวม แดง มีน้ำมูกใสขาว มีไข้สูง สามารถหายเองได้ใน 7 วันโรคติดต่อจากเชื้อไวรัส อาการของไข้หวัด มีไข้ มีน้ำมูก เจ็บคอ ปวดหัว การรักษาหวัด นั้นไม่มียารักษา ทำได้เพียงบรรเทาอาหารของโรค โรคหวัด

ปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม เกิดจากปอดติดเชื้อ อาการอาจรุนแรงทำให้เสียชีวิตได้ อาการไอ มีเสมหะ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก มีไข้ อ่อนเพลีย รักษาและป้องกันอย่างไร
ปอดบวม ปอดอักเสบ โรคทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อ

โรคปอดอักเสบ ( pneumonitis ) ภาวะการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจในส่วนของปอด โรคนี้พบบ่อย ในเด็ก คนแก่ และ คนที่มีภูมิต้านทานต่ำ สำหรับกลุ่มเสี่ยง สามารถป้องกันโรคด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคได้

สาเหตุของโรคปอดอักเสบ

โรคปอดอักเสบ สามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้ 2 สาเหตุ คือ ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ และ ปอดอักเสบจากการไม่ติดเชื้อ แต่โรคปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อพบได้มากกว่าโรคปอดอักเสบจากการไม่ติดเชื้อโรค โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ เกิดจากการรับเชื้อโรคต่างๆเข้าสู่ปอด จนเกิดการอักเสบของถุงลมปอดและเนื้อเยื่อปอด ซึ่งอาการของโรคแตกต่างกันตามสภาพร่างกายของผู้ติดเชื้อ
  • ปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ โดยลักษณะของการเกิดกระแทกที่ปอดอย่างรุนแรง หรือ การระคายเคืองที่ระบบทางเดินหายใจนานๆ นอกจากนี้ การใช้ยาปฏิชีวนะ อาจทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบได้

ปัจจัยเสี่ยงของโรคปอดอักเสบ

สำหรับกลุ่มคนที่มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคปอดอักเสบ มีรายละเอียด ดังนี้

  • คนอายุน้อยที่อายุต่ำกว่า 2 ปี
  • กลุ่มคนอายุมากกว่า 65 ปี
  • กลุ่มผู้ป่วยหนักที่เข้ารับการรักษาในห้องไอซียู
  • กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจ เป็นต้น
  • กลุ่มคนที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์  คนที่ปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  • กลุ่มคนสูบบุหรี่

ปอดอักเสบในผู้สูงอายุ

สำหรับการติดเชื้อที่ปอดของผู้สูงอายุ เกิดจากการเชื้อโรค เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือ เชื้อรา โดยการรับเชื้อโรคเกิดจากการหายใจเข้าสู้ระบบทางเดินหายใจ เป็นอาการต่อเนื่องจากโรคไข้หวัดใหญ่

ปอดอักเสบในเด็ก

ภาวะปอดอักเสบในเด็ก เกิดจากสาเหตุทั้ง การติดเชื้อโรคและการไม่ติดเชื้อโรค เนื่องจากเด็กภูมิต้านทานโรคต่ำ ทำให้โอกาสการติดเชื้อโรคง่ายขึ้น

อาการของโรคปอดอักเสบ

สำหรับอาการของโรคปอดอักเสบ ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุการติดเชื้อโรคและไม่ติดเชื้อโรคนั้น มีการแสดงอาการที่ระบบทางเดินหายใจ แต่โรคปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อพบได้มากกว่าโรคปอดอักเสบจากการไม่ติดเชื้อโรค สำหรับอาการของโรคปอดอักเสบ แสดงอาการ ดังต่อไปนี้

  • มีอาการไอและมีเสมหะ
  • เจ็บหน้าอกเวลาไอ
  • เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ
  • หายใจลำบาก หายใจเร็ว และหายใจหอบ
  • มีไข้สูง มีเหงื่อออก และมีอาการหนาวสั่น
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • มีอาการท้องเสีย
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • มีอาการซึม

การรักษาโรคปอดอักเสบ

สำหรับการรักษาโรคปอดอักเสบ มีแนวทางการรักษาโรคโดยการใช้ยารักษาโรค การรักษาด้วยการประคับประคองโรค และ การรักษาภาวะแทรกซ้อน ของโรค โดยรายละเอียดของการรักษาโรคปอดอักเสบ มีดังนี้

  • การให้ยาปฏิชีวนะ ใช้สำหรับผู้ป่วยในกรณีติดเชื้อแบคทีเรีย การรักษาในปัจจุบันมีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างแพร่หลาย ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เกิดการดื้นยา
  • การรักษาด้วยการประคับประคองตามอาการของโรค ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ สามารถใช้การรักษาเพื่อบรรเทาอาการของโรค เช่น การให้ยาลดไข้ การใช้ยาขยายหลอดลม การให้ยาละลายเสมหะ เป็นต้น
  • การรักษาภาวะแทรกซ้อนของโรค ภาวะแทรกซ้อนที่น่ากลัว เช่น การติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด อาการฝีในปอด ภาวะน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด ผู้ป่วยบางรายมีความรุนแรงของโรคมาก ส่งผลต่อการเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

การป้องกันโรคปอดอักเสบ

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดโรคปอดอักเสบ มีแนวทางการปฏิบัติตน ต่อไปนี้

  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรค การฉีดวัคซีนที่ให้อัตราการเกิดโรคปอดอักเสบลดลง วัคซีนที่ป้องกันโรคปอดอักเสบ เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารทที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • รักษาสุขอนามัย สิ่งแวดล้อม ให้สะอาด
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค

โรคปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม คือ การอักเสบของเนื้อเยื่อปอด เกิดจากการติดเชื้อโรค บางครั้งอาจรุนแรงทำให้เสียชีวิตได้ อาการของปอดบวม ไอ มีเสมหะ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก มีไข้ อ่อนเพลีย การรักษาโรค และ การป้องกันโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove