โรคฉี่หนู เลปโตสไปโรซิส leptospirosis ภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย มีหนูเเป็นพาหะนำโรค ซึ่งมากับน้ำท่วม ทำให้ตับอักเสบ มีไข้ ปวดหัว ปวดตามตัว ตัวเหลือง ตาเหลือง โรคฉี่หนู เล็ปโตสไปโรซิส โรคติดเชื้อ โรคจากหนู

โรคฉี่หนู หรือ โรคเลปโตสไปโรซิส ภาษาอังกฤษ เรียก leptospirosis โรคที่มากับน้ำท่วม เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบททีเรียทำให้เกิดการอักเสบของตับ การอักเสบของไต อาการที่สำคัญของโรคฉี่หนู คือ มีไข้ ปวดหัว ปวดตามตัว หากเป็นมากจะมีอาการดีซ่านและปัสสาวะได้น้อย โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน โรคฉี่หนู เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในของโรคติดเชื้อที่ติดต่อจากสัตว์สู่มนุษย์ สัตว์ที่เป็นพาหะของโรค เช่น หนู กระรอก แมว หมา หมู กระบือ วัว กวาง ซึ่งโรคนี้สามารถพบได้ทั่วโลก

สาเหตุของการเกิดโรคฉี่หนู 

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม Leptospira ที่มีพาหะนำโรค คือ หนู ซึ่งสัตว์กลุ่มนี้จะมีเชื้อโรคที่ไต เมื่อ ฉี่ออกมาก เชื้อโรคก็ออกมาด้วย เมื่อเชื้อโรคปะปนกับน้ำและโคลน หากคนไปสัมผัส และ รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ก็จะเกิดโรคขึ้น โดยการรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย นั้นสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 2 ทาง คือ การเข้าสู่ร่างกายทางตรง และ การเข้าสู่ร่างกายทางอ้อม โดยรายละเอียดดังนี้

  1. การรับเชื้อโรคโดยตรง จากการสัมผัสสัตว์ที่มีเชื้ออยู่ หรือ โดนกัด เป็นต้น
  2. การรับเชื้อโรคทางอ้อม เช่น การรับเชื้อจากการสัมผัสน้ำหรือโคลนที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ โดยเชื้อโรคจะเข้าทางผิวหนังผ่านแผล นอกจากแผล เชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกาย ผ่านเยื่อบุในปาก ตา จมูก รวมถึงการรับประทานอาหารที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน

อาการของผู้ป่วยโรคฉี่หนู

สำหรับอาการของโรคฉี่หนู หลังจากผู้ป่วยได้รับเชื้อ 2-14 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการ มีไข้ ปวดศีรษะ ตาแดง ปวดตามตัว ตัวเหลือง ตาเหลือง หากไม่ได้รับการรักษา จะเกิด ภาวะไตวาย มีอาการทางสมองและระบบประสาท และ เสียชีวิตในที่สุด

  1. ภาวะเยื่อบุตาบวมแดงเกิดขึ้นในตาทั้งสองข้างภายใน 3 วันแรกของโรค และอยู่ได้นานตั้งแต่ 1-7 วัน อาจจะพบร่วมกับเลือดออกที่ตาขาวข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้
  2. กดเจ็บกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะที่น่อง
  3. มีเลือดออกแบบต่างๆ โดยเฉพาะในรายที่มีอาการรุนแรง เช่นจุดเลือดออกตามผิวหนัง petichae ผื่นเลือดออก purpuric spot เลือดออกใต้เยื่อบุตา conjunctival haemorrhage หรือเสมหะเป็นเลือด
  4. ผื่น อาจจะพบได้หลายแบบ ผื่นแดงราบ ผื่นแดง ผื่นลมพิษ
  5. อาการเหลือง อาการเหลืองมักเกิดวันที่4-6 ของโรค

ระยะของการเกิดโรคฉี่หนู นั้นมี 2 ระยะ คือ ระยะเชื้อเข้ากระแสเลือด และ ระยะร่างกายสร้างภูมิ หลังจากได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ภายใน 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะเกิดอาการ ซึ่งแบ่งออกได้เป็นสองระยะ รายละเอียด ดังนี้

  • ระยะเชื้อเข้ากระแสเลือด เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการ คือ ปวดหัว บริเวณหน้าผาก หรือ หลังตา ซึ่งบางรายปวดบริเวณขมับทั้งสองข้าง ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณ น่อง โคนขา กล้ามเนื้อหลัง และ มีไข้สูง ร่วมกับเยื่อบุตาแดง
  • ระยะร่างกายสร้างภูมิ  หลังจากมีไข้ประมาณ 1 สัปดาห์ จะเกิดอาการมีไข้ขึ้นอีกครั้ง และจะมีอาการปวดหัว เบื่ออาหาร เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบ ตรวจพบเชื้อในเลือดและน้ำไขสันหลังในระยะ1-2 วันของระยะโรคนี้ ระยะนี้ถ้าเจาะเลือดจะพบภูมิต่อเชื้อเพิ่ม ระยะนี้กินเวลา 4-30 วัน

การรักษาโรคฉี่หนู

สำหรับการรักษาโรคฉี่หนู หรือ โรคเล็ปโตสไปโรซิส ในปัจจุบันสามารถรักษาได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะ แต่ต้องเข้ารับการรักษาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งไม่ควรเกิน 4 วันหลังจากมีอาการ การใช้ยาปฏิชีวนะนั้นจะแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของอาการ แต่เนื่องจากโรคนี้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ แนะนำให้ผู้ป่วยอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

การป้องกันการเกิดโรคฉี่หนู

สำหรับการป้องกันโรคฉี่หนู สามารถทำได้โดย หลีกเลี่ยงการอยู่ในแหล่งน้ำที่สกปรก หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ใส่เครื่องมือป้องกัน เช่น รองเท้าบูท ถุงมือ และให้กำจัดหนูและสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค โดยการป้องกันการเกิดโรคฉี่หนูครับปฏิบัต ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการลุยน้ำ ลุยโคลน หากมีความจำเป็นต้องสวมรองเท้าบู๊ทยางกันน้ำ
  • หากมีบาดแผลที่ขา หรือส่วนที่สามารถสัมผัสน้ำได้ ต้องหาเครื่องป้องกัน
  • รีบล้างเท้าและร่างกายหลังจากสัมผัสน้ำหรือโคลน โดยให้ทำความสะอาดด้วยสบู่และเช็ดให้แห้ง
  • ให้ระมัดระวังการสัมผัสน้ำไม่สะอาด เช่น การกระเด็นเข้าปาก ตา หรือ จมูก
  • รับประทานอาหารที่สะอาด และ ปรุงสุก การเก็บอาหารต้องเก็บให้มิดชิด
  • พยายามลดปริมาณขยะเท่าที่ทำได้ ติดต่อหน่วยงานท้องถิ่น ให้นำขยะไปทำลายให้บ่อยที่สุดเท่าที่ทำได้

โรคฉี่หนู เลปโตสไปโรซิส ( leptospirosis ) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โรคติดต่อที่มีหนูเเป็นพาหะนำโรค โรคที่มากับน้ำท่วม ทำให้ตับอักเสบ ไตอักเสบ อาการสำคัญ คือ มีไข้ ปวดหัว ปวดตามตัว ตัวเหลือง ตาเหลือง การรักษาและการป้องกันโรคฉี่หนู

หัดญี่ปุ่น คาวาซากิ ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค อาการมีไข้สูง ปากแดง ตาแดง มือเท้าบวมลอก ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต มีผื่นขึ้นตามร่างกาย พบมากในเด็ก สามารถหายได้เองหัดญี่ปุ่น โรคคาวาซากิ โรคเด็ก โรคติดเชื้อ

โรคหัดญี่ปุ่น หรือ โรคคาวาซากิ ภาษาอังกฤษ เรียก Kawasaki disease เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อ และมักจะเกิดกับเด็กอายุไม่เกิน 4 ปี ผู้ป่วยจะมีไข้สูง เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังและเยื่อบุผิว รวมถึงต่อมน้ำเหลืองที่คอจะโต

สาเหตุของการเกิดโรค

โรคคาวาซากิเกิดจากสาเหตุอะไร โรคนี้ยังไม่สามารถบอกสาเหตุได้อย่างชัดเจน แต่ผู้ป่วยจะมีอาการกระทันหัน ประกอบด้วย มีไข้สูง มีผื่นตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต และตาแดง ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าเกี่ยวกับการติดเชื้อโรคบางอย่าง หรือเป็นโรคเกี่ยวกับภูมิต้านทานผิดปกติ

กลุ่มผู้เสี่ยงเกิดโรคคาวาซากิ

สำหรับผู้เสี่ยงเกิดโรคคาวาซากิ จะเป็นเด็กที่อายุไม่เกิน 5 ขวบ เนื่องจากภูมิต้านทานโรคยังไม่แข็งแรง เท่ากับคนที่มีอายุมากกว่า โดย ในคนอายุ 2 ถึง 3 ขวบ มีอัตราการเกิดโรคมากที่สุด และ เพศชายมีอัตรการเกิดโรค มากกว่าเพศหญิง

อาการของผู้ป่วยโรคคาวาซากิ

สำหรับโรคหัดญี่ปุน หรือ โรคคาวาซากิ สามาถสรุปอาการของผู้ป่วยให้เห็ยชัดมากขึ้น มีดังนี้

  1. มีไข้สูง มีไข้นาน 1-4 สับดาห์
  2. มีอาการตาแดง อาการตาแดงจะเกิดหลังจากผู้ป่วยมีไข้สูงประมาณ 1-2 วันและอาการตาแดงจะเป็นประมาณ 1-2 สัปดาห์
  3. ริมฝีปากแดง แห้ง และริมฝีปากแตก หลังจากนั้นบริเวณลิ้นแดง
  4. ฝ่ามือกับฝ่าเท้าจะมีอาการบวม ไม่มีอาการเจ็บ จากนั้นหนังโคนเล็บจะลอก และลามไปถึงฝ่ามือฝ่าเท้า บางรายถึงขั้นเล็บหลุดเลย
  5. เกิดผื่นตามตัว แขนและขา จะเกิดเมื่อมีไข้แล้ว 2-3 วัน รวมถึงมีอาการคันที่ผื่นด้วย
  6. ที่บริเวณคอ จะมีอาการโต เป็นอาการต่อมน้ำเหลืองที่คอโต

การรักษาอาการของโรคคาวาซากิ

สำหรับการรักษาโรคคาวาซากิ นั้นเนื่องจากโรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง จึงยังไม่มียาที่สามารถรักษา แต่มีการรักษาด้วยการฉีด อิมมูโนโกลบุลิน ( intravenous immunoglobulin, IVIG ) ซึ่งจะสามารถลดความรุนแรง และป้องกันอาการแทรกซ้อนของโรคที่จะมีต่อหัวใจและหลอดเลือดลงได้

โรคคาวาซากิ ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคแน่ชัด ซึ่งอาการของโรคที่สำคัญ คือ มีไข้สูง ปากแดง ตาแดง มือเท้าบวมลอก ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต และ มีผื่นขึ้นตามร่างกาย โดยโรคนี้สามารถหายได้เอง แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น การอักเสบของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจโป่งพองหรืออุดตัน ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ดังนั้น โรคนี้อันตราย หากบุตรหลานของท่านมีอาการเบื่องต้นตามที่กล่าวมา อย่าชะล่าใจ ควรพาไปพบแพทย์เพื่อให้ได้รับตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง

เนื่องจากโรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุ จึงยังไม่มียาเฉพาะใช้รักษาโรค แต่การรักษาด้วยอิมมูโนโกลบุลินชนิดฉีด (intravenous immunoglobulin, IVIG) สามารถลดความรุนแรงและอุบัติการโรคแทรกซ้อนที่หัวใจและหลอดเลือดลงได้ เหลือเพียง 5-7% เท่านั้น การรักษาแบ่งเป็น 2 ระยะ

  • การรักษาในช่วงเฉียบพลัน ให้การรักษาโดยให้ ้ IVIG ขนาด 2 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กก. ร่วมกับรับประทานยาแอสไพริน (aspirin) ขนาด 80-120 มก./กก./วัน
  • การรักษาในช่วงไม่เฉียบพลันและต่อเนื่อง ให้ aspirin ขนาด 3-5 มก./น้ำหนักตัว 1 กก./วัน  รับประทานหลังไข้ลดลงนานประมาณ 2 เดือน  ถ้าผู้ป่วยมีเส้นเลือดโป่งพอง จะต้องให้ติดต่อไปนานจนกว่าเส้นเลือดโป่งพองจะกลับเป็นปกติ บางรายต้องได้รับยานานหลายปี

ในรายที่มีเส้นเลือดโป่งพองขนาดใหญ่มาก เช่น ใหญ่กว่า 8 มม. อาจมีก้อนเลือดอยู่ภายใน หรือสงสัยว่าจะมีลิ่มเลือดอยู่ภายใน จะต้องให้ยาละลายลิ่มเลือดหรือยากันเลือดแข็งตัวร่วมด้วยกิน aspirin โดยให้จนกว่าจะหายหรือขนาดของเส้นเลือดโป่งพองลดลงอยู่ในขนาดที่ปลอดภัยจึงหยุดยากันเลือดแข็งตัว

การป้องกันโรคคาวาซากิ

  • ดูแลร่างกายให้แข็งแรง
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รวมถึงสารอาหารน้ำด้วย และให้ออกกำลังกายตามอายุ พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือด ส่วนใหญ่ก็ยังใช้ชีวิตได้เกือบปกติ เพียงแต่ต้องได้รับยาบางอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้องมีข้อปฏิบัติ หรือข้อระมัดระวังเพิ่มเติม ตลอดจนการปรับระยะเวลาการให้วัคซีนให้เหมาะสมบ้างในแต่ละรายเท่านั้น อย่างไรก็ตามภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือดเหล่านี้ไม่แสดงอาการให้เห็นจนกว่าจะรุนแรงมากแล้ว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพบกุมารแพทย์โรคหัวใจเป็นระยะๆตามนัดอย่างต่อเนื่อง
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

สมุนไพรช่วยลดไข้

ซึ่งโรคคาวาซากิ ผู้ป่วยจะมีไข้สูง การใช้สมุนไพรช่วยลดไข้ ป้องกันการช็อคของผู้ป่วยได้ดี สมุนไพรช่วยลดไข้ประกอบด้วย

รางจืด สมุนไพร สมุนไพรไทย ไม้ยืนต้นรางจืด
มะระ สมุนไพร พืชรสขม ประโยชน์ของมะระ
มะระ
โสน สะโหน สมุนไพร ดอกโสน
โสน
แตงกวา สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของแตงกวา
แตงกวา
ต้นมะลิ ดอกมะลิ สมุนไพร สมุนไพรไทย
ต้นมะลิ
กระเทียม สมุนไพร สมุนไพรไทย เครื่องเทศ
กระเทียม
ลูกยอ ต้นยอ สมุนไพร สมุนไพรไทย
ยอ
สับปะรด สมุนไพร ผลไม้ ประโยชน์ของสับปะรด
สับปะรด
พริกไทย สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
พริกไทย
ผักโขม สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของผักโขม
ผักโขม
กระเจี๊ยบ สมุนไพร สรรพคุณของกระเจี๊ยบ ประโยชน์ของกระเจี๊ยบ
กระเจี๊ยบ
กระทือ สมุนไพร ประโยชน์ของกระทือ สรรพคุณของกระทือ
กระทือ

โรคหัดญี่ปุ่น โรคคาวาซากิ ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค อาการมีไข้สูง ปากแดง ตาแดง มือเท้าบวมลอก ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต และ มีผื่นขึ้นตามร่างกาย พบมากในเด็ก แนวทางการรักษาอย่างไร โรคนี้สามารถหายได้เอง ต้องระวังภาวะแทรกซ้อนต่างๆ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove