กระเพาะอาหารอักเสบ เกิดจากกระเพาะอาหารเป็นแผล มีอาการบวมแดง เกิดได้ทุกเพศทุกวัย กินอาหารไม่เป็นเวลา อาการปวดท้อง เมื่อเป็นโรคกระเพาะอักเสบต้องทำอย่างไรโรคกระเพาะอักเสบ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคไม่ติดต่อ ปวดท้อง

กระเพาะอาหารอักเสบ เป็น โรคระบบทางเดินอาหาร โรคยอดฮิต สำหรับคนทำงานหนัก รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา หากมีอาการปวดท้อง ให้สันนิษฐานก่อนเลยว่าเป็น โรคกระเพาะอาหาร แล้ว แต่อาการปวดท้องมีหลายสาเหตุ มาทำความรู้จักกับ โรคกระเพาะอาหาร โรคกระเพาอาหารอักเสบ กันว่า โรคกระเพาะอาหารเกิดจากอะไร อาการของโรคกระเพาะอาหารมีอะไรบ้าง แล้วจะรักษาได้อย่างไร

โรคกระเพาะอาหาร คือ การเกิดแผลที่เยื่อบุกระเพาะอาหารหรือลำไส้ ซึ่งโรคกระเพาะอาหารสามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ คือ อาการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร เป็นลักษณะของการเกิด แผล การบวม แดงภายในกระเพาะอาหาร โรคนี้สามารถพบได้ในทุกอายุ ทุกเพศ

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ นั้นเป็นโรคที่พบบ่อย แต่จากสถิติสาเหตุของการเกิดโรคนั้นไม่ชัดเจน เมื่อผู้ป่วยพบแพทย์ จะได้รับการรักษาตามอาการ และเมื่ออาการดีขึ้น ก็จะไม่ตรวจหาสาเหตุอย่างละเอียด ซึ่งจะส่งผลให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง สำหรับโรคกระเพาะอาหารนั้นมีรายงานว่าประเทศสหรัฐอเมริกา มีผู้เป็นโรคนี้สูงถึงประมาณปีละ 2 ล้านคน

สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร

สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะอาหาร นั้นเกิดจากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุหลักๆ คือ การรักประทานอาหารไม่ตรงเวลา และนิยมรับประทานอาหารรสจัด ที่มีกรดสูง เราได้รวมสาเหตุของการเกิดโรคกระเพา มีรายละเอียดดังนี้

  • การหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากก่าวปกติ ซึ่งการหลังกรดนั้นเกิดจากการถูกกระตุ้นให้เกิดการหลั่ง
  • ความเครียด ซึ่งความเครียดจะกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดมากขึ้น
  • การดื่มเครื่องดื่มมี่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ และน้ำอัดลม
  • การสูบบุหรี่ บุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรดของกระเพราอาหาร
  • โรคแทรกซ้อนบางอย่าง เช่น โรคในกลุ่มอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน(Zollinger-Ellisson syndrome)
  • การกินยาบางชนิด กินยาแก้ปวด ลดไข้ แก้ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ยาชุดที่มีแอสไพริน และยาสเตียรอยด์ ยาในกลุ่มนี้จะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารทำใหเเกิดแผลที่กระเพาะอาหาร
  • การกินอาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด และเปรี้ยวจัด
  • การดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มเหล่านี้จะกระตุ้นการหลังกรดในกระเพาอาหาร
  • การกินอาหารไม่เป็นเวลา เมื่อถึงเวลาระบประทานอาหารกระเพาอาหารจะหลังกรดออกมา หากไม่รับประทานอาหารก็จะทำให้เกิดการหลั่งกรดในกระเพาอาหารโดยไม่มีอาหารสำหรับย่อย กรดเลยไปทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดแผล
  • การติดเชื้อโรค ซึ่งเชื้อโรคที่อันตรายคือ เชื้อแบคทีเรีย เอชไพโลไร ซึ่งเชื้อตัวนี้ทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหาร เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารได้
  • กรรมพันธุ์ จากสถิติพบว่าผู้ป่วยที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคกระเพาะอาหาร คนในครอบครัวนั้นก็จะมีโอกาสเกิดโรคกระสูง

อาการของผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหา โรคกระเพาะอาหารอักเสบ นั้นจะมีอาการ คือ ปวดท้องในบริเวณกระเพาะอาหาร อาการเป็นๆหายๆ ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอบ่อย รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อาจอาเจียนเป็นเลือดได้ เบื่ออาหาร และผอมลง และเลือดออกจากเยื่อบุกระเพาะอาหาร อุจจาระเป็นสีดำ

การรักษาโรคกระเพาะอาหาร

การรักษาโรคกระเพาอาหาร นั้น มีวิธีรักษาอยู่ 3 วิธีหลักๆ คือ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การใช้ยารักษาและการผ่าตัด ซึ่งเราจะอธิบายให้ฟังรายละเอียดของการรักษาโรคกระเพาะอาหารมีดังนี้

  1. การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เนื่องจากสาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะอาหารหลักๆเกิดจาก การใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้อง จนเกิดผลเสียต่อกระเพาะอาหาร ซึ่งการปรับพฤติกรรม คือ เลิกพฤติกรรมที่ทำให้อาการของโรคกระเพาะอาหารรุนแรงขึ้นไปอีก เช่น การกินอาหารไม่เป็นเวลา การรับประทานอาหารรสจัด การดืมสุรา การดื่มชา กาแฟ การสูบบุหรี่ ความเครียด เป็นต้น
  2. การรักษาด้วยการใช้ยารักษา การกินยาต้องกินอย่างสม่ำเสมอ ตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด โดยปรกติแล้วแผลในกระเพาะอาหารจะหายภายใน 6 สัปดาห์ ซึ่งยาที่ใช้ในการรักษาโรคกระเพาะอาหารนั้น มีอยู่ 4 ชนิด ประกอบด้วย
    • ยาลดกรด ( antacid ) ให้รับประทานก่อนกินอาหาร 120 นาที หรือหลังรับประทานอาหาร 60 นาที และรับประทานก่อนนอน
    • ยาลดการหลั่งกรด ( acid-suppressing drugs ) รับประทานวันละครั้งก่อนนอน
    • ยาปฏิชีวนะ เป็นยาที่ใช้รักษาแผลกระเพาะอาหารจากการติดเชื้อโรค ซึ่งขึ้นอยู่กับเชื้อโรคที่พบ
    • ยาเคลือบกระเพาะ ( Stomach-lining protector ) ใช้สำหรับเคลือบแผลในกระเพาะ
  3. การผ่าตัด เป็นวิธีรักษาที่ไม่คอยได้ใช้ ซึ่งจะใช้วิธีนี้ในเฉพาะกรณีที่มีความรุนแรงมาก เช่น เลือดไหลไม่หยุด กในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ผลกระเพาะอาหารทะลุและลำไส้เล็กเกิดการทะลุ กระเพาะอาหารมีการอุดตัน
    การรักษาโรคกระเพาะอาหารในปัจจุบันมียาที่ใช้รักษาจำนวนมาก และได้ผลดี การผ่าตัดจะใช้ในกรณีที่หนักมากเท่านั้น

การดูแลตัวเองสหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

การดูแลตัวเองสำหรับ ผู้ป่วยโรคกระเพาะ นั้น ต้องมีข้อควรปฏิบัตติ ดังนี้

  • กินยาตามคำสั่งแพทย์ อย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ
  • งดอาหารที่กระตุ้นอาการปวดท้อง เช่น อาหารรสจัด อาหารที่มีกรด
  • เลิกบุหรี่
  • เลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ลดการดื่มเครื่องดื่มประเภทคาเฟอีน
  • ดูแลความสะอาดเกี่ยวกับอาหารและภาชนะในการใส่อาหาร
  • ผ่อนคลาย ลดความเครียด
  • หากมีอาการอาเจียนเป็นเลือด หรือ มีเลือดปนให้พบแพทย์

การป้องกันการเกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

การป้องกันโรคกระเพาะ นั้นสำคัญที่สุด คือ การปรับพฤติกรรมส่วนตัว เพื่อไม่ให้กระตุ้นสาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะ โดยสามารถสรุปเป็นข้อๆได้ ดังนี้

  • รักษาความสะอาด โดยเฉพาะอาหารที่จะบริโภค เพื่อป้องกันการติตเชื้อ
  • ผ่อนคลาย เนื่องจากความเครียด ช่วยกระตุ้นให้เกิดกรดในกระเพาะอาหาร
  • หลีกเลี้ยงการกินยากลุ่มยาแก้ปวด หรือ ยาสเตียรอยด์
  • เลิกบุหรี่
  • เลิกดื่มสุรา
  • ลดการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน
  • รักษาและควบคุมโรค ที่มีความเสี่ยงต่อโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

สมุนไพรรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

ฟักทอง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของฟักทองฟักทอง ขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรไทยขมิ้น
เดือย ลูกเดือย สมุนไพร ประโยชน์ของเดือยลูกเดือย ฟ้าทลายโจร สมุนไพร สมุนไพรไทย ประโยชน์ของฟ้าทะลายโจรฟ้าทะลายโจร

โรคกระเพราะอาหารอักเสบ ความสำคัญของโรคนี้ อยู่ที่ต้องกินข้าวให้ตรงเวลา และ อาหารที่กิน ต้องไม่ระคายเคือง กระเพาะอาหาร ก็เพียงเท่านี้ แต่หลายคนทำไม่ได้

โรคกระเพาะอาหาร คือ อาการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดจากหลายสาหตุ กระเพาะอาหารเป็นแผล มีอาการบวมแดงภายในกระเพาะอาหาร โรคนี้เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย โรคทางเดินอาหาร โรคยอดฮิต สำหรับคนเครียดและคนทำงานหนัก กินอาหารไม่เป็นเวลา อาการของโรคกระเพาะอาการ คือ ปวดท้อง สาเหตุ อาการ การรักษา และ การดูแล เมื่อเป็นโรคกระเพาะ

พาร์กินสัน อาการสั่นควบคุมร่างกายไม่ได้ โรคระบบประสาทและสมอง เซลล์สมองสร้างสารโดพาไมน์ไม่เพียงพอ ปัจจัยของการเกิดโรค เช่น กรรมพันธ์ุ สมองอักเสบ และ อายุโรคสมอง โรคระบบประสาท โรคพาร์กินสัน พาร์กินสัน

โรคพาร์กินสัน โรคเกี่ยวกับระบบประสาท โรคไม่ติดต่อ ถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมได้ มีการสั่นของมือและการเคลื่อนไหวตัวได้น้อย จากการศึกษาพบว่าเซลล์สมองไม่สามารถสร้างสารโดพาไมน์ ( dopamine ) อย่างเพียงพอ ในสมองส่วนหน้า( forebrain ) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ จดจำ คิด คำนวน การควบคุมการเคลือนไหว และสมองน้อย(cerebellum) มีหน้าที่ช่วยประสานงานของการทำงานกล้ามเนื้อ และช่วยการทรงตัว ในส่วนเนื้อสมองส่วนที่3และส่วนที่4 จะช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อ โดยเมื่อกล้ามเนื้อหดตัว จะมีกลุ่มกล้ามเนื้ออีกส่วนหนึ่งคลายตัว จะช่วยรักษาสมดุลการทำงานของระบบกล้ามเนื้อของมนุษย์

อาการของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

สำหรับอาการผู้ป่วยจะมีอาการสั่นโดยเฉพาะที่ มือ แขน ขา กรามและหน้า มีอาการเกร็งที่แขนและลำตัว การเคลื่อนไหวตัวทำได้ช้า ทรงตัวได้ไม่ดี ไม่สามารถแสดงออกของหน้าได้ พูดลำบาก ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

สาเหตุของการเกิดโรคพาร์กินสัน

โรคพากินสัน เกิดจากเซลล์สมองในส่วน substantia nigra ซึ่งมีหน้าที่สร้างสารโดพาไมน์(dopamine) ซึ่งเป็นสารที่ทำหน้าเชื่อมไปยังสมองส่วนที่ทำหน้าที่ให้การทำงานของกล้ามเนื้อ เซลล์ส่วนนี้ไม่สามารถสร้างได้อย่างเพียงพอ ทำให้การควบคุมกล้ามเนื้อผิดปรกติ จะมีอาการ สั่นและกระตุก สาเหตุอื่นๆที่เป็นปัจจัยทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน เช่น กรรมพันธ์ุ การได้รับสารพิษบางชนิด โรคเส้นเลือดสมองตีบ สมองอักเสบ อายุที่มากขึ้น

โรคแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นเมื่อป่วยโรคพาร์กินสัน

สำหรับผู้ป่วยโรคพากินสัน มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคซึมเศร้า โรคความดันต่ำ ภาวะท้องผูก ปัสสาวะคั่ง ความต้องการทางเพศลดลง

การรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

สามารถทำได้โดยการทำกายภาพบำบัด การใช้ยาและการผ่าตัด ซึ่งรายละเอียด ดังนี้

  1. การทำกายภาพบำบัด เป็นวิธีเพื่อช่วยให้ผู้ป่วย สามารถช่วยเหลือตนเองได้ การรักษาด้วยวิธีทำกายภาพบำบัด จะช่วยให้การเคลื่อนไหว ของผู้ป่วยถูกต้อง เช่น การเดิน การนั่ง การทรงตัว รวมมถึงอวัยวะอื่นๆที่เคลื่อนไหวลำบาก
  2. รักษาโดยการให้ยา แต่ยาที่ให้ จะไม่สามารถทำให้เซลล์สมองที่ตาย คืนสภาพกลับมาได้ แต่ยาที่ให้จะช่วยเรื่องการเพิ่มสารโดพาไมน์ ที่เป็นสาเหตุของโรคพาร์กินสัน มีปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  3. รักษาโดยการผ่าตัด เป็นวิธีรักษาแบบใหม่ เป็นการผ่าตัดฝังสายเพื่อกระตุ้นไฟฟ้าอย่างอ่อน ในสมอง ส่วนที่เรียกว่า Globus Pallidus หรือ Subthalamic mucleus ส่งผลให้อาการสั่นของผู้ป่วยลดลง การเคลื่อนไหวทำได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถปลูกถ่ายเซลเนื้อเยื่อจากต่อมหมวกไต หรือปมประสาทที่อยู่บริเวณคอ โดยนำไปปลูกในโพรงสมอง โดยเนื้อเยื่อเหล่านี้ จะช่วยสร้างสารโดพามีน การใช้วิธีนี้รักษาผู้ป่วยจะไม่ต้องกินยา หรือรับยาในปริมาณที่ลดลง แต่วิธีนี้มีค่าใช้จ่ายที่สูง และแนะนำให้รักษาในผู้ป่วยที่ยังมีอายุน้อยอยู่

การดูแลตัวเองในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

จำเป็นต้องดูแลไม่ว่าจะเป็นส่วนการรับประทานอาหาร การเดิน หารออกกำลังกาย และการนอน เป็นต้น

  1. การรับประทานอาหาร ควรให้รับประทานอาหารจำพวก ผัก ผลไม้และธัญพืช เป็นอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง ช่วยป้องกันอาการท้องผูก หลีกเลียงอาหารที่ทำให้ท้องผูก เช่น กาแฟ ชา เป็นต้น และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ๆ เช่น เนื้อสัตว์ นม เนย กะทิและไอศกรีม เป็นต้น ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน จะมีปัญหาเรื่องการเคี้ยวอาหาร ดังนั้นอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ต้องช่วยลดภาระการเคี้ยวอาหาร
  2. การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน แนะนำให้ผู้ป่วยว่ายน้ำ ทำสวน เต้นรำ หรือยกน้ำหนัก ซึ่งจะช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง การทรงตัวดี การเคลื่อนไหวดีขึ้น และอารมณ์ดี
  3. การเดินสำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน เมื่อรู้สึกว่าการเดินเริ่มลากเท้า เดินได้ช้าลง แนะนำให้ใส่รองเท้าที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีขนาดกว้างและยาวขึ้น เพื่อช่วยป้องกันการล้ม เนื่องจากผู้ป่วยจะทรงตัวได้ไม่ดีทรงตัวทำให้หกล้มบ่อย
  4. การนอนหลับสำหรับผู้ป่วยดรคพาร์กินสัน เป็นปัญหามาก โดยผู้ป่วยจะผู้เข้าหลับง่าย แต่ตื่นเช้ามืด เพราะจะรู้สึกนอนไม่หลับ การขยับตัวทำได้ยาก ในบางราย จากลุกขึ้นมาปัสสาวะบ่อย แต่เคลื่อนไหวตัวลำบาก อาจจะต้องให้ยาเพื่อช่วยควบคุมอาการเหล่านี่ในตอนกลางคืน
  5. ปรับสภาพแวดล้อมเพื่อช่วยผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ให้สะดวกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ภายในตัวบ้าน ห้องน้ำ ห้องนอน
    ห้องครัว แนะนำให้ติดราวบันได เพื่อในการทรงตัว ในส่วนของพื้นให้เรียบ และป้องกันพื้นลื่น

การดูแลผู้ป่วยพาร์กินสัน

  • คนรอบข้างควรช่วยผู้ป่วยในการบริหารร่างกาย ป้องกันการเกิดข้อยึดติด เช่น การแกว่งแขวน การเดินก้าวเท้ายาว ยกเท้าสูงขึ้น
  • แนะนำการบริหารลูกตาด้วยการกลอกลูกตาไปมา โดยการดูกีฬาที่มีการโต้ตอบไปมา เช่น เทนนิส ปิงปอง เป็นต้น
  • ในระยะแรก หากผู้ป่วยยังสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ เช่น การปั่นจักรยาน ก็อาจให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมดังกล่าวได้
  • ระวังเรื่องอุบัติเหตุ ปัญหาการกลืน การพูด
  • ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารที่มีกากใย เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
  • ผู้ดูแลต้องทำความเข้าใจผู้ป่วยและดูแลสภาพจิตใจอยู่เสมอ เนื่องจากในผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหาการนอนไม่หลับ วิตกกังวล หรือซึมเศร้า

สมุนไพรที่บำรุงสมอง สามารถช่วยบรรเทาและลดการเกิดโรคต่างๆ เกี่ยวกับระบบสมองได้ เราจึงขอแนะนำสมุนไพร สรรพคุณบำรุงระบบสมอง มีดังนี้

หอมหัวใหญ่ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพรหอมหัวใหญ่  ทำอาหารก็อร่อย ช่วยรักษาเบาหวาน รักษาโรคหัวใจได้ สรรพคุณของหอมหัวใหญ่ ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยละลายลิ่มเลือด บำรุงระบบโลหิตได้ดี มะละกอ สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้มะละกอ ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณ ช่วยดูแลช่องปาก ดูแลเหงือกและฟัน ช่วยยาถ่ายพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย บำรุงสายตาและระบบประสาท
ดอกชมจันทร์ สมุนไพร สรรพคุณของชมจันทร์ชมจันทร์ สรรพคุณ เป็นยาระบายอ่อนๆ มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็งได้ บำรุงสมอง บำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันโรคดีซ่าน ขับปัสสาวะ งาดำ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพรงาดำ สมุนไพร สรรพคุณ ช่วยชะลอความแก่  ช่วยบำรุงผิว ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ช่วยซ่อมแซมผิวพรรณ ช่วยบำรุงรากผม ช่วยให้ผมดกเงางาม
หญ้าคา สมุนไพร สมุนไพรไทยหญ้าคา สรรพคุณของหญ้าคา เราสามารถนำหญ้าคามาใช้สำหรับ ต้านอาการอัดเสบ ต้านเลือดเหนียว ขยายหลอดเลือด ลดความดันโลหิต บำรุงสมอง มะพร้าว สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชยืนต้นมะพร้าว สมุนไพร ผลไม้ที่มีประโยน์ ประกอบด้วย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับสารพิษในร่างกาย ช่วยสมานแผล บำรุงผิว แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้ปวดเมื่อย
กระเจี๊ยบเขียว สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมนุไพรกระเจี๊ยบเขียว สมุนไพร สรรพคุณ ขับสารพิษในร่างกาย บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสมอง ยาระบาย รักษาโรคกระเพาะ ลำไส้อักเสบ ลดความดันโลหิต ถ่ายพยาธิ ตะไคร้ สมุนไพร พืชสมุนไพร สมุนไพรไทยตะไคร้ นิยมนำมาประกอบอาหาร สรรพคุณของคะไคร้ เช่น ยาบำรุงธาตุ ช่วยในการเจริญอาหาร ขับสารพิษในร่างกาย ลดไข้ ลดความดัน บรรเทาอาหารปวด

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove