ตับแข็ง cirrhosis ภาวะตับเสียหาย ทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ท้องโต ตัวเหลือง ตาเหลือง คันที่ผิวหนัง การรักษาและการป้องกันโรคตับแข็งทำอย่างไร

ตับแข็ง โรคตับ ภาวะตับแข็ง

ตับ คือ อวัยวะของร่างกายที่ใหญ่ที่สุด โดยทำหน้าที่ คือ ทำลายสารพิษในร่างกายหรือของเสียออกร่างกายและจากเลือด สร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย เพื่อต่อต้านเชื้อโรคเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ตับจะสร้างสารบางอย่างเพื่อทำให้เลือดแข็งตัว สร้างน้ำดี เพื่อย่อยอาหารและดูดซึมวิตามิน

ภาวะตับแข็ง คือ ภาวะตับเสียหายหรือเป็นแผล ซึ่งลักษณะแผลมีพังผืดในเนื้อตับ ทำให้ตับทำงานได้ลดลง ซึ่งส่งผลกระทบต่างๆต่อร่างกายมากมาย เช่น ความสามารถในการผลิตโปรตีน การเก็บสะสมสารสำคัญและแร่ธาตุ การทำลายสารพิษ ทำได้ลดลงหรือไม่สามารถทำได้ตามปรกติ ที่สำคัญ คือ การปิดกั้นการไหลเวียนของเลือดที่ไหลเวียนผ่านตับ ไม่สามารถทำได้

โรคต่างๆที่มีผลต่อความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับแข็ง เช่น โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคไวรัสตับอักเสบซี โรคไวรัสตับอักเสบดี โรคตับอักเสบที่เกิดจากภูมิต้านทานของตนเอง โรคเนื้อเยื่อสะสมธาตุเหล็กผิดปกติ  โรควิลสัน ภาวะท่อน้ำดีอุดตัน ภาวะไขมันพอกตับ การรับประทานยาบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน การได้รับสารพิษบางชนิด และภาวะหัวใจล้มเหลวหลายครั้งติดต่อกัน

สาเหตุของการเกิดโรคตับแข็ง

สาเหตุของโรตับแข็ง คือ ภาวะตับทำงานหนักจนหยุดทำงาน ซึ่งสาเหตุที่เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคตับแข็ง มีหลายสาเหตุแต่เป็นสาเหตุที่ส่งผลต่อการทำงานของตับ ประกอบด้วยสาเหตุต่างๆ ดังนี้

    1. การดื่มสุราในปริมาณมาก หรือภาวะพิษสุราเรื้อรัง เราพบว่าผู้หญิงมีดอการเกิดตับแข็งได้ง่ายกว่าผู้ชาย
    2. ไวรัสตับอักเสบ หากได้รับเชื้อไวรัสเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดภาวะตับแข็งได้
    3. เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายการทำลายเนื้อตับ
    4. เกิดจากกรรมพันธุ์ หากมีผู้ใด้เป็นโรคตับแข็ง มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคตับแข็ง ได้
    5. การสร้างไขมันในตับมากเกิดไป ทำให้เกิดภาวะตับแข็ง จะพบมากใน ผู้ป่วยโรคเบาหวานและคนอ้วน
    6. การใช้ยาและได้รับสารพิษบางชนิดเป็นเวลานาน
    7. เนื้อเยื่อสะสมธาตุเหล็กผิดปกติ
    8. โรควิลสัน ( Wilson’s disease ) เกิดจากการมีการสะสมทองแดงมากเกินไปในตับ
    9. ภาวะท่อน้ำดีอุดตัน ทำให้น้ำดีที่ไหลย้อนกลับไปที่ตับส่งผลทำลายเนื้อตับจนเป็นตับแข็งได้
    10. ภาวะหัวใจล้มเหลวหลายครั้งติดต่อกัน

อาการผู้ป่วยโรคตับแข็ง

สำหรับอาการของผู้ป่วยภาวะตับแข็ง จะพบว่าผู้ป่วยจะ อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ไม่อยากอาหาร ในบางครั้งคลื่นไส้ และน้ำหนักตัวลด ในเพศหญิงอาจมีประจำเดือนมาผิดปกติ ในผู้ชายอาจมีเต้านมขยายใหญ่ และปวดบริเวณหัวนม สมรรถภาพทางเพศลดลง ขาบวม ท้องโตขึ้น ตัวเหลืองตาเหลือง มีอาการทางสมอง เนื่องจากการกรองสารพิษ ทำได้น้อย สารพิษจึงเข้าสู่เลือด มีเลือดออกอย่างรุนแรงในกระเพาะอาหาร อาหารของโรคตับแข็งสามารถสรุปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

  • อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ไม่อยากอาหาร ในบางครั้งอาจเกิดร่วมกับอาการคลื่นไส้ น้ำหนักลด
  • อาจมีประจำเดือนผิดปกติ
  • ในผู้ชายอาจมีเต้านมขยายใหญ่ขึ้นพร้อมอาการปวด สมรรถภาพทางเพศลดลง
  • ขาบวมหรือท้องโตขึ้น เนื่องจากโปรตีนอัลบูมินถูกผลิตน้อยลง ส่งผลให้มีน้ำสะสมในขาหรือท้องฟกช้ำหรือเลือดออกได้ง่าย เนื่องจากมีการผลิตโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบในการทำให้เลือดแข็งตัวลดลง
  • อาการดีซ่าน หรืออาการตัวเหลืองตาเหลือง ซึ่งเกิดจากการสะสมเม็ดสีของน้ำดี
  • มีอาการคันที่ผิวหนังอย่างรุนแรง เนื่องจากสารประกอบของน้ำดีถูกฝังอยู่ในผิวหนัง
  • มีอาการทางสมอง เนื่องจากตับไม่สามารถกรองสารพิษออกมาได้ จึงเริ่มสะสมในเลือด โดยสัญญาณแรกของการสะสมสารพิษในสมองอาจสังเกตได้จากการที่ผู้ป่วยละเลยการดูแลตนเอง ไม่มีอาการตอบโต้ ลืมง่าย ไม่มีสมาธิ
  • มีความไวต่อยาและผลข้างเคียง เนื่องจากในผู้ป่วยโรคตับแข็งตับจะไม่สามารถกรองยาออกจากเลือดได้ในอัตราปกติ ตัวยาจึงออกฤทธิ์นานขึ้นและสะสมอยู่ในร่างกาย
  • มีเลือดออกอย่างรุนแรงในกระเพาะอาหารส่วนบนหรือหลอดอาหาร เนื่องมาจากการไหลเวียนของเลือดผิดปกติ ซึ่งจัดเป็นอาการที่รุนแรงและอันตราย แพทย์ต้องรีบหยุดเลือดโดยเร็ว

เราสามารถตรวจวินิจฉัยภาวะตับแข็ง ได้อย่างไร เราสามารถทำได้ 5 วิธี ประกอบด้วย

  1. การตรวจเลือด
  2. การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
  3. การตรวจอัลตราซาวนด์
  4. การตรวจตับและม้ามด้วยรังสี
  5. การเจาะผ่านผิวหนัง เพื่อเอาตัวอย่างจากเนื้อตับไปตรวจ

การรักษาโรคตับแข็ง

สำหรับการรักษาภาวะตับแข็ง จะต้องทำให้เนื้อเยื่อในตับหยุดพัฒนาตัวเอง และป้องกันภาวะโรคแทรกซ้อนต่างๆ และหลีกเลี่ยงการกระทำที่จะทำให้เกิดภาวะตับแข็ง ทั้งหมด เช่น งดการดื่มสุรา หลีกเลี่ยงการใช้ยา และการรับสารที่เป็นอันตรายต่อตับ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดิบ รับประทานโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสมต่อร่างกาย ลดอาหารที่มีรเค็ม และเข้าพบแพทย์ เพื่อรักษาอย่างสม่ำเสมอ แนวทางการรักษาโรคตับแข็งมี ดังนี้

  • งดการดื่มแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาและสารที่เป็นอันตรายต่อตับ
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดิบ โดยเฉพาะอาหารทะเล เนื่องจากอาจมีเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรง
    รับประทานโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสม โดยควรรับประทานโปรตีนที่ย่อยง่าย เช่น ปลา หรือโปรตีนจากพืช (เช่น ถั่วเหลือง) เป็นต้น
  • หากมีอาการบวมที่ข้อเท้าและท้อง ควรจำกัดเกลือและอาหารรสเค็ม
  • เข้ารับการฉีดวัคซีนสำหรับโรคไวรัสตับอักเสบเอและบี ไข้หวัดใหญ่ และโรคปอดบวม เนื่องจากผู้ป่วยโรคตับแข็งมีความเสี่ยงในการติดเชื้อที่รุนแรงมากกว่าผู้ที่มีสุขภาพดี
  • พบแพทย์เพื่อติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ

โรคแทรกซ้อนที่สามารถเกิดได้เมื่อเป็นภาวะตับแข็ง เช่น มีน้ำในท้อง หลอดเลือดหน้าท้องพอง หลังเท้าบวม ท้องบวม เลือดออกง่าย ตัวเหลืองและตาเหลือง คันตามตัว เป็นนิ่วในถุงน้ำดี ความจำเสื่อม อาเจียนเป็นเลือด ริดสีดวงทวาร

การป้องกันโรคตับแข็ง

โรคตับแข็งสามารถป้องกันการเกิดโรคได้ด้วยการดูแลสุขภาพและไม่สร้างปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้ตับเสียหลายหรือทำงานหนักเกินไป ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค มีรายละเอียดดังนี้

  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากหรือเลิกดื่มไปเลยได้ยิ่งดี
  • ไม่ใช้ยาหรือซื้อยาต่าง ๆ มารับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร โดยเฉพาะยาที่อาจมีพิษต่อตับ
  • หลีกเลี่ยงการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี
  • หลีกเลี่ยงการฉีดยาเสพติดเข้าเส้น
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีตั้งแต่แรกเกิด
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้ดีอยู่เสมอ เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อต่าง ๆ
  • สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี หรือตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

มะเร็งกระเพาะอาหาร ( Cancer of Stomach ) เนื้อร้ายที่กระเพาะอาหาร กินเค็มจัด ของหมักดอง อาการอุจจาระมีเลือด อุจจาระมีสีดำ น้ำหนักลด ปวดท้อง ก้อนเนื้อที่ลิ้นปี่มะเร็งกระเพาะอาหาร โรคระบบทางเดินอาหาร โรคไม่ติดต่อ การรักษามะเร็ง

มะเร็งกระเพาะอาหาร คือ โรคจากการเกิดเนื้อร้ายชนิดหนึ่ง ที่เซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหาร ซึ่งเนื้อร้ายหรือเซลล์นั้นเกิดการแบ่งตัวอย่างผิดปกติ จนเป็นเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณกระเพาะอาหาร แต่สามารถกระจายตัวไปยังอวัยวะสำคัญของร่างกายอื่นๆได้ ไม่ว่าจะเป็น ตับ ตับอ่อน ลำไส้ ปอด รังไข่ รวมถึงต่อมน้ำเหลืองได้ มะเร็งกระเพาะอาหารมีสาเหตุของโรคอย่างไร อาการของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร การตรวจวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคทำอย่างไร สำหรับคนที่กลัวโรคมะเร็งกระเพาะอาหารต้องทำอย่างไร

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

การเกิดโรคมะเร็งที่กระเพาะอาหาร มีสาเหตุและปัจจัยต่างๆ โดยสามารถแบ่งเป็นข้อๆได้ ดังนี้

  • พันธุกรรม ในกลุ่มคนที่มีญาติสายตรง เช่น พ่อ แม่ พี่น้อง ป่วยเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ ซึ่งหากพบว่าญาติสายตรงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารต้องหมั่นตรวจสุขภาพบ่อยๆ
  • การติดเชื้อแบตทีเรีย เฮลโคแบกเทอร์ไพโลรี (Helicobacter pylori) เป็นเชื้อโรคที่ทำใหเเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และสามารถลามเกิดเนื้อร้ายในกระเพาะอาหารได้
  • การดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่จัด เป็นสาเหตุของโรคร้ายทั้งหลายรวมถึงโรคมะเร็งกระเพาะอาหารด้วย
  • การกินอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น อาหารรสเค็มจัด อาหารหมักดอง อาหารรมควัน อาหารที่มีดินประสิวเจือปน เป็นต้น
  • กินผักและผลไม้น้อย เนื่องจากอาหารประเภทนี้มีกากใยอาหาร ที่ช่วยในการล้างและทำความสะอาดลำไส้ ช่วยลดการเกิดโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร
  • การมีประวัติการผ่าตัดกระเพาะอาหาร มานานกว่า ๒๐ ปี
  • การเกิดเนื้องอกที่กระเพาะและลำไส้ ซึ่งเนื้องอกบางชนิดสามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม

ระยะของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

สำหรับ โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร นั้น สามารถแบ่งระยะของโรคได้ เป็น 4 ระยะ ตามระดับความรุนแรงของโรค ซึ่งรายละเอียดของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารระยะต่างๆ มีดังนี้

  • มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 1 เนื้อร้ายอยู่ในชั้นเยื่อเมือกถึงชั้นกล้ามเนื้อของกระเพาะอาหาร ยังไม่มีการลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 2 เนื้อร้ายที่กระเพาะอาหารลุกลามเข้าเยื่อบุช่องท้อง แต่ยังไม่ลุกลามไปถึงต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 3 เนื้อร้ายที่กระเพาะอาหารลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียง เช่น ม้าม ลำไส้เล็ก ตับอ่อน และเยื่อบุช่องท้อง รวมถึงต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 4 เนื้อร้ายมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ทั่วอวัยวะภายในของร่างกาย

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

สำหรับ ผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร ในระยะเริ่มต้นนั้น มักจะไม่แสดงอาการให้เห็นอย่างเด่นชัด มีลักษณะอาการ คล้ายกับโรคกระเพาะอาหารธรรมดา หรือ โรคแผลที่กระเพาะอาหาร ซึ่งลักษณะ อาการ ดังนี้ อาหารไม่ย่อย รู้สึกไม่สบายท้อง ท้องอืดหลังกินข้าว คลื่นไส้เล็กน้อยแต่มักไม่อาเจียน เบื่ออาหาร แสบร้อนกลางอก เป็นต้น

เมื่อเกิด มะเร็ง รุนแรงมากขึ้น จะแสดงอาการให้เห็นอย่างชัดเจนมากขึ้น ลักษณะอาการ คือ มีเลือดปนในอุจจาระ อุจจาระมีสีดำ อาเจียนเป็นเลือด น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ปวดท้อง มีก้อนเนื้อบริเวณลิ้นปี่ หากเกิดการแพร่กระจายของเชื้อมะเร็ง จะพบว่าเกิดอาการต่อมน้ำเหลืองโต ตับโต ตาเหลือง ตัวเหลือง มีน้ำในช่องท้อง หายใจลำบาก เป็นต้น

วินิจฉัยมะเร็งกระเพาะอาหารของแพทย์ทำอย่างไร

เมื่อผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวมาข้างต้น และสงสัยว่าจะเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ทางแพทย์จะมีวิธีในการวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ดังต่อไปนี้

  • แพทย์จะซักประวัติ เช่น ลักษณะของอาการปวดท้อง สีของอุจจาระ ประวัติการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อประกอบการวินิจฉัย
  • ตรวจร่างกายด้วยการเอกซเรย์ทางเดินอาหารส่วนบน
  • ทำการเอกซเรย์กลืนแป้ง
  • อัลตราซาวน์ระบบภายในหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร เพื่อดูร่องรอยของโรค
  • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ช่องท้อง เพื่อดูร่องรอยของโรคที่บริเวณหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น
  • การตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิ
  • การตรวจเลือดซีบีซี (CBC) เพื่อประเมินสภาพร่างกายทั่วๆไป เบาหวาน การทำงานของไต การทำงานของตับ และดูระดับเกลือแร่ในเลือด การตรวจเลือดเพื่อหาสารมะเร็งชนิดซีอีเอ (CEA)
  • ทำการเอกซเรย์ปอด เพื่อดูความผิดปกติในช่องอกและปอด
  • ตรวจปัสสาวะ เพื่อประเมินสภาพร่างกายทั่วๆไปของผู้ป่วยก่อนการรักษา

รักษามะเร็งกระเพาะอาหารอย่างไร

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งที่กระเพาะอาหารนั้น มีวิธีการในการรักษาอยู่ 4 วิธี คือ การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด การฉายรังสีรักษา และการประคับประคองตามอาการของผู้ป่วย ซึ่งการรักษาด้วยวิธีการต่างๆนั้นขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ว่าจะใช้การรักษาอย่างไร ซึ่งรายละเอียดของการรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มีดังนี้

  • การรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร ด้วยการผ่าตัด เป็นวิธีแรกที่จะใช้ในการรักษา การผ่าตัดนั้นจะทำการผ่าตัดเนื้อร้ายที่กระเพาะอาหารออกจากร่างกายออกก่อน
  • การรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร ด้วยการใช้ยาเคมีบำบัด การใช้เคมีบำบัดนั้นทำเพื่อลดขนาดของก้อนเนื้อร้าย ซึ่งการใช้เคมีบำบัดจะทำร่วมกับการฉายรังสี
  • การรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร ด้วยการรังสี ทำเพื่อบรรเทาอาการและลดการแพร่กระจายของเนื้อร้าย
  • การรักษาด้วยการประคับประคองเพื่อบรรเทาอาการของผู้ป่วย เพื่อให้ร่างกายและอวัยวะอื่นๆที่ได้รับผลกระทบค่อยๆฟื้นตัวและหายเอง

ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

สำหรับการป้องกันโรคมะเร็งกระเพาะอาหารนั้นยังไม่มีวิธีใดที่มีประสิทธิภาพ 100 % แต่การลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค เช่น หลีกเลี้ยงการรับประทานอาหารปิ้งย่าง หลีกเลี่ยงการกินของหมักดอง หลีกเลี่ยงกินอาหารเค็มจัด เลิกการดื่มเหล้าและเลิกการสูบบุหรี่  รับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้เป็นประจำ

โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ( Cancer of Stomach ) คิือ การเกิดเนื้อร้ายที่กระเพาะอาหาร สาเหตุของโรคจากการกิน เค็มจัด ของหมักดอง อาหารเจือปนดินประสิว มะเร็งกระเพาะอาหาร ในระยะแรกคล้ายโรคกระเพาะอาหารธรรมดา เมื่อแสดงอาการชัดเจน จะมีเลือดปนในอุจจาระ อุจจาระมีสีดำ อาเจียนเป็นเลือด น้ำหนักลดลง ปวดท้อง มีก้อนเนื้อบริเวณลิ้นปี่ การรักษาและดูแลเมื่อเป็นมะเร็ง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove