เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ( Meningitis ) โรคอันตราย เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังติดเชื้อจากไวรัส แบคทีเรีย รา อาการมีไข้สูง ปวดหัวรุนแรง คอแข็ง คลื่นไส้อาเจียน ชักหมดสติ

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคสมอง โรคติดเชื้อ

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นภาวะการอักเสบของเยื่อที่อยู่รอบสมองและไขสันหลัง ซึ่งโดยรวมเรียกว่า เยื่อหุ้มสมอง ซึ่งการอักเสบเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือจุลชีพต่างๆ แต่ในบางครั้งก็สามารถเกิดจากการใช้ยาบางชนิด โรคนี้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เนื่องจากการอักเสบ เกิดขึ้นใกล้กับเนื้อสมองและไขสันหลัง

เยื่อหุ้มสมอง ภาษาอังกฤษ เรียก Meninges เป็นเนื้อเยื่อบางๆ ที่มีความแข็งแรง หุ้มสมองทุกส่วน โดยทำหน้าที่ปกป้องสมอง การเกิดการติดเชื้อที่เนื้อเยื่อของสมอง เป็นโรคทีีสามารถเกิดขึ้นได้ แต่ไม่ได้พบบ่อยมาก แต่อาการของโรคนี้ค่อนข้างรุนแรง จากสถิติในประเทศแถบตะวันตก พบผู้ป่วยโรคนี้ 100,000 คน พบได้ 3 คน และพบว่าสาเหตุของโรคเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ที่ 10 คน ต่อประชากร 100,000 คน โรคนี้พบได้ในประเทศกำลังพัฒนาได้มากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนในทุก เพสและทุกวัย

การเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้อย่างไร

เราพบว่า สาเหตุของการเกิดโรค จากการติดเชื้อไวรัส มากเป็นอันดับหนึ่ง และรองลงมา เป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา ตามลำดับ  เชื้อต่างๆสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายช่องทาง เราได้รวบรวม เชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีดังนี้

  • เชื้อไวรัสเอนเทโร ภาษาอังกฤษ เรียก Enterovirus เป็นชื้อโรคที่ทำให้เกิด โรคมือ เท้า ปาก และโรคหวัด
  • เชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์  ภาษาอังกฤษ เรียก Varicella zoster virus เป็นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส
  • เชื้อไวรัสคางทูม ภาษาอังกฤษ เรียก Mumps virus เป้นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคคางทูม
  • เชื้อแบคทีเรียนัยซ์ซีเรีย เมนิงไจติดิส ภาษาอังกฤษ เรียก Neisseria meningitidis
  • เชื้อแบคทีเรียมัยโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คุโลสิส ภาษาอังกฤษ เรียก Mycobacterium tuberculosis เป็นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรควัณโรค
  • เชื้อแบคทีเรียเลปโตสไปรา ภาษาอังกฤษ เรียก Leptospira เป็นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคฉี่หนู

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ สามารถรับเชื้อโรคเข้าสู่เยื่อหุ้มสมองทางกระแสเลือดมากที่สุด นอกจากการรับเชื้อโรคทางกระแสเลือดแล้ว การรับเชื้อโรคจากการฉีกขาดของเนื้อเยื้อโดยอุบัตติเหตุ นอกจากนี้การสัมผัสเชื้อโรค ผ่านทาง อื่นๆ เช่น การหายใจ การไอ การจาม สัมผัสอุจจาระ สัมผัสปัสสาวะ และแผล ก็สามารถเป็นช่องทางการที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งหมด

ปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงของการเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

มีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้ รายละเอียด ดังนี้

  1. ภูมิคุ้มกันร่างกายที่ต่ำ สามารถพบได้ในเด็กและผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรังของโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง โรคตับแข็ง และโรคเอดส์ เป็นต้น
  2. การติดสุรา เนื่องจากผู้ติดสุรามักจะมีภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ
  3. ผู้ป่วยที่ผ่าตัดม้าม เนื่องจากม้ามเป็นอวัยวะที่สร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  4. ผู้ป่วยที่ผ่าตัดทางเดินน้ำไขสันหลัง เนื่องจากน้ำไขสันหลังเป็นช่องทางที่เข้าสู่สมอง จึงเป็นช่องทางที่ทำให้เชื้อโรคสามารถเข้าสู่สมองได้
  5. ผู้ป่วยที่มีโรคเกี่ยวกับการติดเชื้อที่หูเรื้อรัง
  6. คนที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน

อาการของผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

โดยอาการของโรค อาการอาจเหมือนหรือต่างกันได้ ตามช่วงอายุ โดยรายละเอียด ดังนี้

  1. เด็กอายุไม่เกิน 1 เดือนสามารถพบได้บ่อย โดยอาการที่พบ คือ มีไข้สูง กระสับกระส่าย ร้องโยเย ร้องไห้เสียงสูง ไม่ดูดนม อาเจียน อาจชัก บริเวณกระหม่อมนูน
  2. เด็กวัยทั้วไป และคนทั่วไป อาการที่พบ คือ มีไข้สูง ปวดหัวอย่างรุนแรง คอแข็ง คลื่นไส้ อาเจียน ตากลัวแสง อาจชัก ซึม มึนงง สับสน และอาจหมดสติ
  3. ผู้สูงอายุและคนที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานร่างกายต่ำ อาการที่พบ คือ ไม่ค่อยมีไข้ มึนงง และง่วงซึม

การตรวจโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

สามารถทำได้โดย ตรวจสอบประวัติการติดเชื้อ การเกิดอุบัติเหตุ การตรวจน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง และตรวจเชื้อโรคจากน้ำหล่อเลี้ยงสมองไขสันหลัง การตรวจเลือด เพื่อดูภูมิต้านทานต่างๆ   เป็นต้น

การรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

การรักษาสามารถทำได้โดยการรักษาตามสาเหตุ และประคับประคองตามอาการ เช่น เมื่อติดเชื้อแบคทีเรีย ก็จะทำการให้ยาปฏิชีวนะ ตามชนิดของเชื้อ เมื่อติดเชื้อไวรัส ประคับประคองตามอาการ
เมื่อเกิดจากเชื้อโรคอื่นๆ ก็ให้ยาฆ่าเชื้อโรคนั้นๆ ส่วนการประคับประคองโรคให้รักษาตามอาการ เช่น มีไข้สูง ก็ให้ยาลดไข้ ปวดหัว ก็ให้ยาแก้ปวด หากมีการอาเจียนก็ให้น้ำเกลือ เป็นต้น

การป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

สามารถทำได้โดย การป้องกันการติดเชื้อต่างๆ ที่จะเข้าสู่ร่างกาย เช่น รักษาสุขอนามัย หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้ป่วยติดเชื้อต่างๆ ใช้หน้ากากอนามัยป้องกันตัว ล้างมือให้สะอาด กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ เช่น วัคซีนโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบบางชนิด วัคซีนโรคคางทูม และวัคซีนโรคอีสุกอีใส เป็นต้น

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ( Meningitis ) ภาวะการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง เกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือ เชื้อ อาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ คือ มีไข้สูง ปวดหัวรุนแรง คอแข็ง คลื่นไส้ อาเจียน กลัวแสง ชัก หมดสติ โรคนี้เป็นอันตรายถึงชีวิต การรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

ไวรัสตับอักเสบบี ( Hepatitis B ) การติดเชื้อไวรัสHBVที่ตับ อาการของโรค มีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีผื่นไวรัสตับอักเสบ โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ โรคตับ

โรคไวรัสตับอักเสบบี ( Hepatitis B ) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอักเสบบี ( HBV ) ที่ตับ ส่งผลให้เกิดโรค เช่น ตับวาย ตับแข็ง มะเร็งตับได้ อาการของโรค คือ มีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีผื่น ปวดตามข้อ

สาเหตุของโรคไวรัสตับอักเสบบี

หากพูดถึงโรคตับอักเสบ โรคนี้มีหลายชนิด เช่น โรคไวรัสตับอักเสบเอ โรคไวรัสตับอักเสบซี เป็นต้น ตับอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น การดื่มสุรา การเสพยาเสพติด การติดเชื้อไวรัส เป็นต้น โรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถติดต่อได้หลายช่องทาง รายละเอียด ดังนี้

  1. การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ โดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
  2. การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ
  3. การใช้เข็ม สักตามตัวและการเจาะหู ร่วมกันกับผู้ติดเชื้อ
  4. การใช้แปรงสีฟัน มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ
  5. ติดเชื้อจากแม่สู่ลูกขณะคลอด เราพบว่าลูกมีโอกาสติดเชื้อได้ถึงร้อยละ 90
  6. การสัมผัส เลือด น้ำคัดหลั่ง ของผู้ติดเชื้อ

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เราสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ ระยะฉับพลัน และ ระยะเรื้อรัง รายละเอียด ดังนี้

  • อาการของผู้ป่วยติดเชื้อไวรับตับอักเสบบี ระยะเฉียบพลัน พบว่า ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภายใน 4 เดือน หลังจากได้รับเชื้อ โดยอาการจะมีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีผื่น ปวดตามข้อ มีโอกาสเกิดภาวะตับวายได้ แต่อาการจะดีขึ้นภายใน 4 สัปดาห์ หากสามารถควบคุมและกำจัดเชื้อไวรัสได้ แต่พบว่าร้อยละ 5 ของผู้ป่วยชนิดฉับพลัน จะเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี เรื้อรัง
  • อาการของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี ระยะเรื้อรัง เราสามารถแบ่งอาการของโรคนี้ได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ระยะพาหะ และระยะตับอักเสบเรื้อรัง
    • ระยะพาหะ ผู้ป่วยจะพบอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อให้อื่นได้
    • ระยะอักเสบเรื้อรัง ระยะนี้การทำงานของตับผิดปกติ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการให้เห็นอย่างชัดเจน แต่ในผู้ป่วยบางรายมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร

โรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถตรวจสอบการติดเชื้อได้จากการ ตรวจเลือด และการตัดชิ้นเนื้อตับไปตรวจ

ไวรัสตับอักเสบบี โรคตับ โรคติดเชื้อ ติดเชื้อไวรัส

การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับการรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี สามารถใช้ยารักษา แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยของไวรัสบี ปัจจัยทางผู้ป่วย และระยะของโรค โดยในปัจจุบัน ยาที่ใช้รักษาไวรัสตับอักเสบบี มีทั้งชนิดฉีดและชนิดรับประทาน แนวทางการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี ยังเป็นการรักษาประคับประคองตามอาการ ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะเพราะยาปฏิชีวนะฆ่าไวรัสไม่ได้ แต่ใช้ฆ่าแบคทีเรีย ซึ่งที่สำคัญ คือ พักการทำงานของตับ โดยการพักผ่อนให้มากๆ (ควรต้องหยุดงานอย่างน้อยประมาณ 3-4 สัปดาห์) นอกจากนั้น คือ

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน(สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง ฟื้นตัวได้เร็ว ลดโอกาสติดเชื้อซ้ำซ้อน ลดการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น
  • ดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ ไม่ควรต่ำกว่าวันละ 6-8 แก้ว(เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม)
  • กินอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ ทุกวัน
  • งดบุหรี่ และ แอลกอฮอล์ เพราะสารพิษในบุหรี่และแอลกอฮอล์ทำลายเซลล์ตับโดยตรง
  • กินยาแต่ที่เฉพาะได้รับจากแพทย์ ไม่ซื้อยากินเอง เพราะเพิ่มโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยาต่อเซลล์ตับสูงขึ้น อาจส่งผลให้ตับอักเสบมากขึ้น

อนึ่ง ในการรักษาโรคในระยะเรื้อรัง ปัจจุบันมีตัวยาหลายชนิด ทั้งฉีด และกิน ใช้เพื่อชะลอการแบ่งตัวของไวรัส ส่วนจะเลือกใช้ยาตัวใด ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ในปัจจุบันสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกัน สำหรับคนที่มีคนในครอบครัวเป็นพาหะของไวรัสชนิดนี้ ให้ตรวจเลือดเพื่อให้ทราบถึงภาวะของเชื้อ

  • ฉีดวัคซีนป้องกัน โดยผู้ที่ควรฉีดวัคซีนมากที่สุดคือ เด็กแรกเกิด สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่โดยทั่วไปมีความจำเป็นน้อยในการฉีดวัคซีน เนื่องจากส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อแล้ว หากต้องการฉีดวัคซีนควรได้รับการตรวจเลือด ผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้วหรือมีภูมิต้านทานแล้วไม่ต้องฉีดวัคซีน
  • ผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่เป็นพาหะ ควรตรวจเลือดเพื่อทราบถึงภาวะของการติดเชื้อก่อนการฉีดวัคซีน การฉีดวัคซีนต้องฉีดให้ครบชุดจำนวน 3 เข็ม หลังจากนั้นวัคซีนจะกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานขึ้นในร่างกาย

ข้อควรปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบี

  1. ควรขอรับคำแนะนำจากแพทย์ และระมัดระวังการแพร่เชื้อไปสู่คนใกล้ชิด
  2. ไม่ใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์
  3. ตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ
  4. เวลามีเพศสัมพันธ์ต้องสวมถุงยางอนามัย
  5. ไม่บริจาคเลือด
  6. งดการดื่มสุรา
  7. พักผ่อนให้เพียงพอ
  8. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  9. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  10. หากต้องรับการผ่าตัดหรือทำฟัน ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบว่ามีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove