มังคุด ( Mangosteen ) ราชินีแห่งผลไม้ สมุนไพร นิยมรับประทานผล ประโยชน์และสรรพคุณช่วยสมานแผล แก้ท้องเสีย ลดอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรีย เปลือกทำเครื่องสำอางค์ได้มังคุด ราชินีแห่งผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของมังคุด

ต้นมังคุด ภาษาอังกฤษ เรียก Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ของมังคุด คือ Garcinia mangostana Linn.  สำหรับชื่อเรียกอื่นของมังคุด เช่น แมงคุด เมงค็อฟ เป็นต้น ซึ่งชื่อเรียกจะเรียกแตกต่างกันตามแต่ละพื้นที่ ต้นมังคุด ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณ ช่วยสมานแผล แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ลดอาการอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรีย

มังคุด เป็นพันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบเขตร้อนชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ที่หมู่เกาะซุนดาและหมู่เกาะโมลุกกะ แพร่กระจายพันธุ์ไปสู่หมู่เกาะอินดีสตะวันตกเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 24 แล้วจึงไปสู่ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส ปานามา เอกวาดอร์ ไปจนถึงฮาวาย ในประเทศไทยมีการปลูกมังคุดมานานแล้วเช่นกัน เพราะ มีกล่าวถึงในพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในสมัยรัชกาลที่ 1 นอกจากนั้น ในบริเวณโรงพยาบาลศิริราชยังเคยเป็นที่ตั้งของวังที่มีชื่อว่า ” วังสวนมังคุด ” ในจดหมายเหตุของราชทูตจากศรีลังกาที่เข้ามาขอพระสงฆ์ไทย ได้กล่าวว่ามังคุดเป็นหนึ่งในผลไม้ที่นำออกมารับรองคณะทูต

มังคุดในประเทศไทย

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกมังคุดมากเป็นอันดับต้นๆของโลก ไปสู่ในหลายๆประเทศทั่วโลกเช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และเนเธอแลนด์ โดยมีมูลค่าการส่งออกปีละมากกว่า 1,500 ล้านบาท มังคุดที่ถูกส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศมีทั้งในรูปของผลสดและมังคุดแปรรูป ภาคใต้จัดเป็นแหล่งปลูกมังคุดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สามารถผลิตมังคุดที่มีคุณภาพดีและมีรสชาติดีเมื่อเทียบกับมังคุดในภูมิภาคอื่นของประเทศ เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จากการที่มังคุดมีเอกลักษณ์ทั้งในรูปร่างของผลที่สวยงาม และมีรสชาติที่หวานอมเปรี้ยว เป็นที่ชื่นชอบของทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศจนได้รับฉายาว่า “ Queen of Fruits ”

ปัจจุบันมังคุดจึงจัดเป็นผลไม้ที่มีศักยภาพสูงในการส่งออกของประเทศไทย และในอนาคตมีแนวโน้มว่ามังคุดจะมีความสำคัญมากขึ้นอีกด้วย เนื่องจากว่าประเทศไทยได้ทำการขยายตลาดการส่งออกมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีนซึ่งมีประชากรสูง ก็ให้ความสนใจกับไม้ผลชนิดนี้ด้วย

คุณค่าทางโภชนาการของมังคุด

นักโภชานการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมังคุดขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 76 แคลอรี และ มีสามารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 0.5 กรัม คาร์โบไฮเดรท 18.4 กรัม ใยอาหาร 1.7 กรัม แคลเซียม 11 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 17 มิลลิกรัม เหล็ก 0.9 มิลิลกรัม วิตามินบี1 0.09 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.06 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.01 มิลลิกรัม  เปลือกของมัคคุด มีสารแทนนิน (tannin) ช่วยให้แผลหายเร็ว ช่วยลดอาการอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองได้

ลักษณะของต้นมังคุด

มังคุด เป็นไม้ยืนต้น ความสูงประมาณ 10-12 เมตร ลำต้นตรง เปลือกมีสีน้ำตาลเข้ม เปลือกของมังคุดมีน้ำยางสีเหลือง ใบของมังคุด เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงกัน รูปไข่หรือรูปวงรี มีขอบขนาน ความกว้างประมาณ 6-12 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร เนื้อของใบหนาและค่อนข้างเหนียวเหมือนหนัง ด้านหลังของใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบจะมีสีเขียวอ่อน ดอกของมังคุด เป็นดอกเดี่ยวออกตามซอกใบ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง กลีบดอกมีสีแดง ผลของมังคุด ลักษณะกลม เปลือกนอกสีเข้มแข็ง เมื่อผลแก่เต็มที่จะมีสีม่วงแดง มียางสีเหลือง เนื้อผลสีขาวฉ่ำน้ำ มีเมล็ดอยู่ในเนื้อผล

สรรพคุณของมังคุด 

นำเปลือกมาใช้ประโยชน์ ซึ่งสรรพคุณของเปลือกมังคุดมี ดังนี้

  1. รักษาโรคท้องเสียเรื้อรัง และโรคลำไส้ โดยใช้เปลือกมังคุดครึ่งผลต้มกับน้ำรับประทานครั้งละ 1 แก้ว
  2. รักษาอาการท้องเดิน ท้องร่วง โดยเปลือกมังคุต้มกับน้ำปูนใส ในเด็กให้รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชาทุก 4 ชั่วโมง ในผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะทุก 4 ชั่วโมง
  3. รักษาแผลน้ำกัดเท้า แผลพุพอง ใช้เปลือกผลสดหรือแห้ง ฝนกับน้ำปูนใส ทาแผลน้ำกัดเท้า แผลพุพอง วันละ 2-3 ครั้ง

ประโยชน์ของมังคุด

  • รับประทานสดเป็นผลไม้หรือทำเป็นน้ำผลไม้อย่าง น้ำมังคุดและน้ำเปลือกมังคุด
  • มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งมีส่วนช่วยในการชะลอวัยและการเกิดริ้วรอย
  • มีฤทธิ์ในการจับอนุมูลอิสระต่าง ๆ ได้มากกว่าผลไม้ชนิดอื่น ๆ
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส แข็งแรง
  • ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิต้านทานให้แข็งแรง
  • ช่วยลดกลิ่นปากอันไม่พึงประสงค์
  • เปลือกมังคุดมีสารช่วยป้องกันเชื้อราจึงเหมาะแก่การหมักปุ๋ย
  • นำมาประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน เช่น แกง ยำ มังคุดลอยแก้ว ซอสมังคุด เป็นต้น
  • นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่าง มังคุดกวน แยมมังคุด มังคุดแช่อิ่ม ทอฟฟี่มังคุด
  • มังคุดมีสารจีเอ็ม-1 ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง สำหรับผู้มีปัญหาสภาพผิวเรื้อรังจากสิวและอาการแพ้
  • นำมาแปรรูปเป็นสบู่เปลือกมังคุด ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยดับกลิ่นเต่า รักษาสิวฝ้า บรรเทาอาการของโรคผิวหนัง

โทษของมังคุด

ในมังคุดมีสารแซนโทน ( Xanthone ) ในปริมาณมาก แม้จะมีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบ ลดความดันโลหิต ช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง และอาการแพ้ต่าง ๆ แต่ก็ยังขาดข้อมูลในการสนับสนุนว่ามังคุดจะสามารถรักษาอาการต่าง ๆ เหล่านี้ได้จริง ถึงแม้ยังไม่มีรายงานการศึกษาความเป็นพิษในมนุษย์ แต่ก็พบอาการไม่พึงประสงค์หลายอย่างในแต่ละบุคคล เช่น มีอาการผิวหนังบวมแดง เป็นผื่นคันขึ้นตามตัว ปวดศีรษะ ปวดบริเวณข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ท้องเสีย ถ่ายเหลว ลำไส้แปรปรวน เป็นต้น

นอกจากนี้มังคุดยังมีสารแทนนิน ( Tannin ) ที่อยู่ในเปลือกของมังคุด หากบริโภคมากเกินไปและต่อเนื่อง อาจจะทำให้เกิดเป็นพิษต่อตับ ไต การเกิดมะเร็งในร่องแก้ม ในทางเดินอาหารส่วนบน และยังไปลดจำนวนของเม็ดเลือดขาวจนทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดต่ำลงจากปกติ

มังคุด ( Mangosteen ) ราชินีแห่งผลไม้ สมุนไพร นิยมรับประทานผลของมังคุด ประโยชน์ของมังคุด สรรพคุณของมังคุด ช่วยสมานแผล แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ลดอาการอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรีย เปลือกมังคุดนำมาทำเครื่องสำอางค์ได้ ข้อควรระวังในการกินมังคุด

แอสเปอร์จิลโลซิส โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เกิดจากการติดเชื้อรา ทำให้มีไข้ ไอมีเสมหะ น้ำมูกเหม็น ปอดอักเสบ การรักษาโรคแอสเปอร์จิลโลซิส และ การป้องกันการเกิดโรคแอสเปอร์จิโลสิส ติดเชื้อรา โรคจากนก โรคติดต่อ

แอสเปอร์จิลโลซิส ภาษาอังกฤษ เรียก Aspergillosis เป็นโรคระบาด คือ โรคติดต่อที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา โรคนี้พบว่าเกิดกับคนครั้งแรกปี พ ศ. 2390 ปัจจุบันโรคนี้มีอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นเรื่อยๆ โรคนี้เป็นโรคเกิดกับสัตว์ต่อมาได้ติดต่อสู่คน เชื้อราที่พบ คือ แอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส ( Aspergillus fumigatus ) ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆที่ระบบทางเดินหายใจ การรักษาโรคแอสเปอร์จิลโลซิส และ การป้องกันการเกิดโรค

โรคแอสเปอร์จิลโลซิส Aspergillosis โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

โรคแอสเปอร์จิลโลซิส พบว่ามี 3 แบบ คือ  โรคแพ้เชื้อรา (Allergic aspergillosis)  โรคเชื้อราชนิดอยู่เฉพาะที่ ( aspergilloma) และ โรคเชื้อราชนิดกระจายในเนื้อเยื่อปอด ( invasive aspergillosis )

  • โรคแพ้เชื้อรา ( Allergic aspergillosis ) คนไข้ จะมีอาการหอบ หืด พบว่ามีเม็ดเลือดขาว ชนิดอีโอซิโนฟิล ( eosinophils ) สูง เกิดจากการแพ้เชื้อรา ซึ่งเชื้อราเข้าไปในร่างกายและเจริญเติบโตบนเยื่อบุทางเดินลมหายใจ หลอดลม ผู้ป่วยมักมีอาการเช่นเดียวกับ โรค asthma แต่มีอาการเรื้อรังและรุนแรง  และอาจจะทำให้เกิดการอุดตันภายในหลอดลม
  • โรคเชื้อราชนิดอยู่เฉพาะที่ ( aspergilloma ) เกิดจากเชื้อราเข้าสู่ร่างกายและไปเจริญเติบดตในโพรงปอด จนทำให้ โพรงหลอดลมพอง และเกิดโรคภายในปอดตามมา ผู้ป่วยจะมีอาการ อาการไอ มีเสมหะ อาจไอเป็นเลือด
  • โรคเชื้อราชนิดกระจายในเนื้อเยื่อปอด ( invasive aspergillosis ) เชื้อราเข้าสู่ร่ายกายไปเจริญเติบโตที่ปอด ส่งผลให้เกิดโรคเกี่ยวกับปอด ทำให้ภูมิต้านทานร่างกายต่ำลง ผู้ป่วยมักมีอาการปอดบวม และมีไข้สูงไอ หายใจลำบาก มีเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ เชื้อโรคอาจลามไปสู่หัวใจและสมองได้

สาเหตุของการติดเชื้อแอสเปอร์จิลโลซิส

โรคแอสเปอร์จิลโลซิส เกิดจากการติดเชื้อรา แอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส ( Aspergillus fumigatus ) ที่พบในสัตว์ปีก คือ นก ซึ่งเกิดการระบาดทางการหายใจ ทำให้ระบบทางเดินหายใจมีปัญหา

อาการของโรคแอสเปอร์จิลโลซิส 

โรคแอสเปอร์จิลโลสิส จะแสดงอาการที่ระบบทางเดินหายใจ หายใจติดขัด ไอ และ มีเสมหะ ทำให้ปอดอักเสบ ซึงลักษณะของอาการโรคนี้มี 3 ลักษณะ ประกอบด้วย การแพ้เชื้อรา แบบก้อนเชื้อรา แบบทำลายปอดเรื้อรัง และ แบบลุกลาม โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • อาการแบบแพ้เชื้อรา ( ABPA ) เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่อการยึดครองพื้นที่ในทางเดินหายใจของเชื้อ Aspergillus fumigatus มักเกิดในผู้ป่วยที่เป็นโรคทางเดินหายใจอยู่ก่อน เช่น โรคซิสติคไฟโบรสิส (cystic fibrosis) หรือผู้ป่วยโรคหอบหืด (asthma) อาการ คือ มีไข้ ไอ เสมหะเหนียวอุดหลอดลม เอ็กซเรย์พบฝ้าในปอด บางรายมีอาการไอเป็นเลือด บางคนมีอาการคัดจมูกเรื้อรัง น้ำมูกเป็นหนองปนเลือด มีกลิ่นเหม็น แบบไซนัสอักเสบเรื้อรัง ไม่ดีขึ้นแม้จะรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
  • อาการแบบก้อนเชื้อรา ( aspergilloma )  เป็นเชื้อราที่รวมตัวกันเป็นก้อนอยู่ภายในปอด มักเกิดในปอดที่มีโพรงของถุงลมอยู่ก่อน ก้อนของเชื้อราจะอยู่ภายในโพรงถุงลม กลิ้งไปมาได้ภายในโพรง ในระยะแรกจะไม่มีอาการ อาจตรวจพบโดยบังเอิญจากการเอ็กซเรย์ ต่อมาจึงจะมีอาการไอเป็นเลือด และมักออกมาเป็นจำนวนมากจนถึงขั้นเสียชีวิต
  • อาการแบบทำลายปอดเรื้อรัง ( chronic necrotizing pulmonary aspergillosis, CNPA ) มักพบในผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง ( COPD ) ที่ต้องพึ่งยาสเตอรอยด์ ผู้ป่วยที่ติดสุรา อาการคือมีไข้ ไอ หอบ เจ็บหน้าอก เป็นสัปดาห์ถึงเดือน เสมหะมีเลือดปนหนอง น้ำหนักลด เอ็กซเรย์พบมีปอดอักเสบหรือเป็นฝีในปอด แต่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะโดยทั่วไป
  • อาการแบบลุกลาม ( invasive aspergillosis ) มักพบในผู้ป่วยที่มีระดับเม็ดเลือดขาวในเลือดต่ำ เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะและต้องรับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยที่เป็นลูคีเมีย มะเร็งของต่อมน้ำเหลือง เชื้อแอสเปอร์จิลลัสจะลุกลามจากปอดเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้มีไข้สูง หนาวสั่น ไอเป็นเลือด หายใจเร็ว หอบ เขียว และเกิดการติดเชื้อของอวัยวะต่าง ๆ ได้ทั่วรางกาย ในรายที่เริ่มเป็นที่ไซนัส เมื่อเชื้อลุกลามจะมีการทำลายกระดูกบริเวณใบหน้า ทำให้เจ็บปวด มีเลือดออกจากจมูก

การรักษาโรคแอสเปอรืจิลโลซิส

สำหรับการรักษาโรคนี้ สามารถรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคแอสเปอร์จิลโลสิสที่ได้ผลดี คือ Voriconazole , Posaconazole , Amphothericin B , Itraconazole , และ Caspofungin ในช่วงแรกที่ผลการตรวจยังไม่ยืนยันกลับมาทั้งหมดควรให้ยา Amphothericin B ไปก่อน เพราะเป็นยาครอบจักรวาลของโรคติดเชื้อราแทบบทุกชนิด แต่ยา Voriconazole ใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อ Zygomycetes ที่ทำให้เกิดโรค Mucormycosis ที่มีอาการคล้ายกันแบบไซนัสอักเสบ

โรคแอสเปอร์จิลโลสิสแบบก้อนเชื้อราที่ยังไม่แสดงอาการอะไรอาจยังไม่ต้องรักษา เพราะยารับประทานหรือฉีดโดยทั่วไปได้ผลเพียง 60% แต่เมื่อเริ่มมีอาการไอเป็นเลือดแล้วควรรักษาทันที เพราะบางครั้งเลือดออกมากจนหายใจไม่ทันและอาจเสียชีวิต การรักษามีทั้งการผ่าตัดและการใช้ยาฆ่าเชื้อราหยดเข้าไปในก้อนโดยตรง ขึ้นกับขนาดและตำแหน่งของก้อน

โรคแอสเปอร์จิลโลสิสแบบแพ้เชื้อราเป็นอาการที่เกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ การรักษาต้องใช้ยา Corticosteroids ชนิดรับประทาน (ชนิดสูดดมที่ใช้กันเป็นประจำในภาวะหลอดลมตีบไม่ได้ผล) และอาจให้ยา Itraconazole ร่วมด้วยก็ได้ นอกจากนั้นควรใส่ผ้าปิดจมูกกันฝุ่นละอองเมื่อเข้าไปในแหล่งกักตุนของเชื้อ เช่น ฟาร์มไก่ กรงนก และในห้องปรับอากาศ

โรคแอสเปอร์จิลโลซิสจะควบคุมและป้องกันอย่างไร ควรหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค ใส่ผ้าปิดจมูกกันฝุ่นละออง ในคนที่มีประวัติการแพ้เชื้อราควรหลีกเลี้ยงการทำงานใกล้กับสัตว์ปีก