มังคุด ผลไม้ สมุนไพร พร้อม 20 โทษและสรรพคุณของมังคุด

มังคุด ( Mangosteen ) ราชินีแห่งผลไม้ สมุนไพร นิยมรับประทานผล ประโยชน์และสรรพคุณช่วยสมานแผล แก้ท้องเสีย ลดอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรีย เปลือกทำเครื่องสำอางค์ได้มังคุด ราชินีแห่งผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของมังคุด

ต้นมังคุด ภาษาอังกฤษ เรียก Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ของมังคุด คือ Garcinia mangostana Linn.  สำหรับชื่อเรียกอื่นของมังคุด เช่น แมงคุด เมงค็อฟ เป็นต้น ซึ่งชื่อเรียกจะเรียกแตกต่างกันตามแต่ละพื้นที่ ต้นมังคุด ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณ ช่วยสมานแผล แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ลดอาการอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรีย

มังคุด เป็นพันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบเขตร้อนชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ที่หมู่เกาะซุนดาและหมู่เกาะโมลุกกะ แพร่กระจายพันธุ์ไปสู่หมู่เกาะอินดีสตะวันตกเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 24 แล้วจึงไปสู่ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส ปานามา เอกวาดอร์ ไปจนถึงฮาวาย ในประเทศไทยมีการปลูกมังคุดมานานแล้วเช่นกัน เพราะ มีกล่าวถึงในพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในสมัยรัชกาลที่ 1 นอกจากนั้น ในบริเวณโรงพยาบาลศิริราชยังเคยเป็นที่ตั้งของวังที่มีชื่อว่า ” วังสวนมังคุด ” ในจดหมายเหตุของราชทูตจากศรีลังกาที่เข้ามาขอพระสงฆ์ไทย ได้กล่าวว่ามังคุดเป็นหนึ่งในผลไม้ที่นำออกมารับรองคณะทูต

มังคุดในประเทศไทย

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกมังคุดมากเป็นอันดับต้นๆของโลก ไปสู่ในหลายๆประเทศทั่วโลกเช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และเนเธอแลนด์ โดยมีมูลค่าการส่งออกปีละมากกว่า 1,500 ล้านบาท มังคุดที่ถูกส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศมีทั้งในรูปของผลสดและมังคุดแปรรูป ภาคใต้จัดเป็นแหล่งปลูกมังคุดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สามารถผลิตมังคุดที่มีคุณภาพดีและมีรสชาติดีเมื่อเทียบกับมังคุดในภูมิภาคอื่นของประเทศ เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จากการที่มังคุดมีเอกลักษณ์ทั้งในรูปร่างของผลที่สวยงาม และมีรสชาติที่หวานอมเปรี้ยว เป็นที่ชื่นชอบของทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศจนได้รับฉายาว่า “ Queen of Fruits ”

ปัจจุบันมังคุดจึงจัดเป็นผลไม้ที่มีศักยภาพสูงในการส่งออกของประเทศไทย และในอนาคตมีแนวโน้มว่ามังคุดจะมีความสำคัญมากขึ้นอีกด้วย เนื่องจากว่าประเทศไทยได้ทำการขยายตลาดการส่งออกมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีนซึ่งมีประชากรสูง ก็ให้ความสนใจกับไม้ผลชนิดนี้ด้วย

คุณค่าทางโภชนาการของมังคุด

นักโภชานการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมังคุดขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 76 แคลอรี และ มีสามารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 0.5 กรัม คาร์โบไฮเดรท 18.4 กรัม ใยอาหาร 1.7 กรัม แคลเซียม 11 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 17 มิลลิกรัม เหล็ก 0.9 มิลิลกรัม วิตามินบี1 0.09 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.06 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.01 มิลลิกรัม  เปลือกของมัคคุด มีสารแทนนิน (tannin) ช่วยให้แผลหายเร็ว ช่วยลดอาการอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองได้

ลักษณะของต้นมังคุด

มังคุด เป็นไม้ยืนต้น ความสูงประมาณ 10-12 เมตร ลำต้นตรง เปลือกมีสีน้ำตาลเข้ม เปลือกของมังคุดมีน้ำยางสีเหลือง ใบของมังคุด เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงกัน รูปไข่หรือรูปวงรี มีขอบขนาน ความกว้างประมาณ 6-12 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร เนื้อของใบหนาและค่อนข้างเหนียวเหมือนหนัง ด้านหลังของใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบจะมีสีเขียวอ่อน ดอกของมังคุด เป็นดอกเดี่ยวออกตามซอกใบ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง กลีบดอกมีสีแดง ผลของมังคุด ลักษณะกลม เปลือกนอกสีเข้มแข็ง เมื่อผลแก่เต็มที่จะมีสีม่วงแดง มียางสีเหลือง เนื้อผลสีขาวฉ่ำน้ำ มีเมล็ดอยู่ในเนื้อผล

สรรพคุณของมังคุด 

นำเปลือกมาใช้ประโยชน์ ซึ่งสรรพคุณของเปลือกมังคุดมี ดังนี้

  1. รักษาโรคท้องเสียเรื้อรัง และโรคลำไส้ โดยใช้เปลือกมังคุดครึ่งผลต้มกับน้ำรับประทานครั้งละ 1 แก้ว
  2. รักษาอาการท้องเดิน ท้องร่วง โดยเปลือกมังคุต้มกับน้ำปูนใส ในเด็กให้รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชาทุก 4 ชั่วโมง ในผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะทุก 4 ชั่วโมง
  3. รักษาแผลน้ำกัดเท้า แผลพุพอง ใช้เปลือกผลสดหรือแห้ง ฝนกับน้ำปูนใส ทาแผลน้ำกัดเท้า แผลพุพอง วันละ 2-3 ครั้ง

ประโยชน์ของมังคุด

  • รับประทานสดเป็นผลไม้หรือทำเป็นน้ำผลไม้อย่าง น้ำมังคุดและน้ำเปลือกมังคุด
  • มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งมีส่วนช่วยในการชะลอวัยและการเกิดริ้วรอย
  • มีฤทธิ์ในการจับอนุมูลอิสระต่าง ๆ ได้มากกว่าผลไม้ชนิดอื่น ๆ
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส แข็งแรง
  • ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิต้านทานให้แข็งแรง
  • ช่วยลดกลิ่นปากอันไม่พึงประสงค์
  • เปลือกมังคุดมีสารช่วยป้องกันเชื้อราจึงเหมาะแก่การหมักปุ๋ย
  • นำมาประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน เช่น แกง ยำ มังคุดลอยแก้ว ซอสมังคุด เป็นต้น
  • นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่าง มังคุดกวน แยมมังคุด มังคุดแช่อิ่ม ทอฟฟี่มังคุด
  • มังคุดมีสารจีเอ็ม-1 ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง สำหรับผู้มีปัญหาสภาพผิวเรื้อรังจากสิวและอาการแพ้
  • นำมาแปรรูปเป็นสบู่เปลือกมังคุด ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยดับกลิ่นเต่า รักษาสิวฝ้า บรรเทาอาการของโรคผิวหนัง

โทษของมังคุด

ในมังคุดมีสารแซนโทน ( Xanthone ) ในปริมาณมาก แม้จะมีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบ ลดความดันโลหิต ช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง และอาการแพ้ต่าง ๆ แต่ก็ยังขาดข้อมูลในการสนับสนุนว่ามังคุดจะสามารถรักษาอาการต่าง ๆ เหล่านี้ได้จริง ถึงแม้ยังไม่มีรายงานการศึกษาความเป็นพิษในมนุษย์ แต่ก็พบอาการไม่พึงประสงค์หลายอย่างในแต่ละบุคคล เช่น มีอาการผิวหนังบวมแดง เป็นผื่นคันขึ้นตามตัว ปวดศีรษะ ปวดบริเวณข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ท้องเสีย ถ่ายเหลว ลำไส้แปรปรวน เป็นต้น

นอกจากนี้มังคุดยังมีสารแทนนิน ( Tannin ) ที่อยู่ในเปลือกของมังคุด หากบริโภคมากเกินไปและต่อเนื่อง อาจจะทำให้เกิดเป็นพิษต่อตับ ไต การเกิดมะเร็งในร่องแก้ม ในทางเดินอาหารส่วนบน และยังไปลดจำนวนของเม็ดเลือดขาวจนทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดต่ำลงจากปกติ

มังคุด ( Mangosteen ) ราชินีแห่งผลไม้ สมุนไพร นิยมรับประทานผลของมังคุด ประโยชน์ของมังคุด สรรพคุณของมังคุด ช่วยสมานแผล แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ลดอาการอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรีย เปลือกมังคุดนำมาทำเครื่องสำอางค์ได้ ข้อควรระวังในการกินมังคุด

Last Updated on March 25, 2024