มะรุม ( Horse radish tree ) สมุนไพร สารพัดประโยชน์ ลักษณะของต้นมะรุม โทษของมะรุม สรรพคุณของมะรุม แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงสายตา ป้องกันมะเร็ง

มะรุม สมุนไพร สรรพคุณของมะรุม

ต้นมะรุม มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Moringa oleifera Lam. ภาษาอังกฤษ เรียก Horse radish tree หรือ Drumstick ชื่ออื่นๆ เช่น กาเน้งเดิง ผักเนื้อไก่ ผักอีฮึม ผักอีฮุม มะค้อนก้อม เส่ช่อยะ ต้นมะรุม จัดเป็นพืชผักพื้นบ้านของไทยซึ่งเป็นพืชผักสมุนไพรโดยมีต้นกำเนิดในแถบทวีปเอเชีย อย่างประเทศอินเดียและศรีลังกา โดยเป็นไม้ยืนต้นที่โตเร็ว ปลูกง่ายในเขตร้อน ทนแล้ง สามารถรับประทานได้ทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นฝัก ใบ ดอก เมล็ด ราก เป็นต้น แต่ถ้านำมาใช้เป็นยาสมุนไพรนั้นจะใช้เกือบทุกส่วนของต้นมะรุมรวมทั้งเปลือกด้วย

ลักษณะของต้นมะรุม

มะรุม เป็นไม้ยืนต้น มีความสูงประมาณ 3-5 เมตร มีเปลือกสีขาว รากของมะรุมจะหนานุ่ม ใบสลับแบบขนนก รูปไข่ ใบจะมีสีเขียวอ่อน ดอกของมะรุม จะออกเป็นช่อแยกแขนง มีกลีบดอก 5 กลีบ สีขาวอมเหลือง

คุณค่าทางโภชนาการของมะรุม

  • คุณค่าทางโภชนาการของฝักมะรุม 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 32 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย แคลเซียม 9 มิลลิกรัม เส้นใย 1.2 กรัม เหล็ก 1.5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม  วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัม วิตามินเอ 532 IU วิตามินซี 262 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.6 มิลลิกรัม
  • คุณค่าทางโภชนาการของใบมะรุม 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 37 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 8.53 กรัม กากใยอาหาร 3.2 กรัม ไขมัน 0.20 กรัม โปรตีน 2.10 กรัม น้ำ 88.20 กรัม วิตามินเอ 4 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.0530 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.074 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.620 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.794 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.120 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 44 ไมโครกรัม วิตามินซี 141.0 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.36 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 45 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.259 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 461 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 42 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.45 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะรุม

นิยมใช้ฝักมะรุมมาใช้ประโยชน์ พบว่ามะรุมสามารถนำมาใช้ประโยชน์ เช่น

  1. ใช้รักษาโรคเบาหวาน นิยมให้ผู้ป่วยบริโภคมะรุม เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ไม่สูงเกินไป
  2. สามารถนำมาใช้รับประทาน เพื่อ ลดความดันโลหิต ในผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง
  3. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
  4. มะรุมมีสารต้านอนุมูลอิสระ หากรับประทานสม่ำเสมอ ในปริมาณที่เหมาะสมสามารถใช้ป้องกันมะเร็งได้
  5. มะรุมสามารถใช้รักษาโรคลำไส้อักเสบ หรือ โรคที่เกี่ยวข้องกับภายในช่องท้องได้ เช่น โรคพยาธิในลำไส้
  6. รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ
  7. มะรุมช่วยบำรุงสายตา เนื่องจาก ฝักของมะรุมมีวิตามินเอสูง

โทษของมะรุม

มะรุม ไม่ได้ปลอดภัยไปเสียทีเดียว เพราะ ในตัวของมะรุมเองนั้นก็มีพิษเหมือนกัน เนื่องจากมะรุมเป็นพืชในเขตร้อน สำหรับหญิงตั้งครรภ์หากรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไปก็อาจจะทำให้แท้งบุตรได้ และยังรวมไปถึงผู้ป้วยโรคเลือดก็ไม่ควรรับประทานมะรุมเช่นกัน เพราะจะทำให้เม็ดเลือดแตกง่าย นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคเกาต์ก็ไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไป เพราะมะรุมมีโปรตีนที่ค่อนข้างสูงมาก แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้ความว่ามันจะไม่ปลอดภัย เพราะคนไทยนิยมนำมาประกอบอาหารมานานมากแล้ว ซึ่งสำหรับผู้ที่คิดจะดูแลสุขภาพด้วยการหันไปซื้อมะรุมสกัดแคปซูลมารับประทานนั้น ก็ควรจะต้องระมัดระวังและควรเลือกซื้อมะรุมแคปซูลที่มี อย ด้วย

มะรุม ( Horse radish tree ) สมุนไพร สารพัดประโยชน์ ลักษณะของต้นมะรุม โทษของมะรุม สรรพคุณของมะรุม แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงสายตา ป้องกันมะเร็ง ยาถ่ายพยาธิ รักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิตสูง รักษาโรคกระเพาะ รักษาลำไส้อักเสบ สร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย รักษาโรคปอด รักษาโรคระบบทางเดินหายใจ ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะรุม Moringa oleifera Lam

ว่านหางจระเข้ ( Aloe ) ต้นว่านหางจระเข้เป็นอย่างไร โทษของว่านหางจรเข้ สรรพคุณของว่านหางจระเข้ เช่น สมานแผล บำรุงผิวพรรณ ชื่อเรียกอื่นๆ เช่น ว่านไฟไหม้ หางตะเข้

ว่านหางจระเข้ สมุนไพรบำรุงผิวพรรณ

ว่านหางจระเข้ ( Aloe ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของว่านหางจระเข้ คือ Aloe barbadenisi Mill. ลักษณะของต้นว่านหางจระเข้ โทษของว่านหางจรเข้ สรรพคุณของว่านหางจระเข้ ชื่ออื่นๆของว่านหางจระเข้ เช่น ว่านไฟไหม้ หางตะเข้ สมุนไพร สรรพคุณของว่านหางจระเข้ เช่น รักษาแผล บำรุงผิว รักษาแผลในกระเพาะอาหาร และ บำรุงเส้นผม ว่านหางจระเข้ นิยมนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำเครื่องสำอางค์ สำหรับบำรุงผิว

ว่านหางจระเข้ ( Aloe Vera ) คือ พืชชนิดหนึ่งที่ถูกจัดอยู่ในประเภทพืชล้มลุก สีเขียว มีลักษณะลำต้นเป็นข้อปล้อง ใบเดี่ยว ใบหนายาวและโคนใบใหญ่ ปลายแหลม ขอบใบมีหนามห่างกันเป็นระยะ เรียงเป็นชั้น ข้างในใบเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน มีเมือกเหนียว สามารถออกดอกสีแดงอมเหลืองที่ปลายยอดได้ มีถิ่นกำเนิดมาจากแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและตอนใต้ของทวีปแอฟริกา สามารถปลูกได้ง่ายในดินทราย หรือในกระถางก็ได้ เป็นพืชชอบน้ำ แต่ต้องมีทางระบายน้ำได้ดี ป้องกันไม่ให้อมน้ำมากเกินไปจนรากเน่า

ลักษณะของต้นว่านหางจระเข้

ต้นว่านหางจระเข้ เป็น ไม้ล้มลุก ความสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ลักษณะเป็นข้อและปล้องสั้น ใบของว่านหางจระเข้ เป็น ใบเดี่ยว ยาว อวบน้ำ มีสีเขียวอ่อน ภายในใบมีวุ้นใส ดอกว่านหางจระเข้ จะเป็นช่อออกตรงกลางต้น ดอกย่อยของว่านหางจระเข้ เป็นหลอดห้อยลง จะมีสีส้ม

สรรพคุณของว่านหางจระเข้

การใช้ประโยชน์จากว่านหางจระเข้ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค เราจะใช้น้ำยางที่ใบของว่านหางจระเข้มาใช้ ซึ่ง การใช้ว่านหางจระเข้ ทางสมุนไพร มีดังนี้

  • นำว่านหางจระเข้มารักษาแผลไฟไหม และน้ำร้อนลวก โดย ใช้น้ำยางมาทาผิวของแผล ช่วยรักษาแผล และสมานแผลได้
  • การรักษาสิว โดยใช้ยางว่านหางจระเข้ทาหน้า รักษาสิวให้แห้งและหลุดง่าย
  • บำรุงผมและหนังศีรษะ โดยใช้ยางว่านหางจระเข้ มาเป็นส่วนผสมของยาสระผม ทำให้ ลดอาการคันหนังศรีษะ ไม่มีรังแค
  • นำว่านหางจระเข้มารับประทาน ใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหาร

ผลิตภัณฑ์จากว่านหางจระเข้

เมื่อสรรพคุณของว่านหางจระเข้มีอยู่มากมายรอบด้านขนาดนี้ ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกิดจากว่านหางจระเข้ก็ย่อมต้องทยอยออกมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคมากขึ้น ปัจจุบันจึงมีผลิตภัณฑ์ที่ถูกแปรรูปจากว่านหางจระเข้อยู่หลากหลาย ดังนี้

  • เจลว่านหางจระเข้ สรรพคุณ ใช้ทาเพื่อลดอาการบวม เป็นครีมทาใต้ตา บำรุงผิวหน้า เพิ่มความชุ่มชื้น ใช้ผสมกับส่วนผสมต่าง ๆ พอกหน้าแทนวุ้นว่านหางจระเข้ได้ ทั้งยังใช้ทาแผลพุพอง แผลสด เพื่อบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อนได้อีกด้วย เหมาะสำหรับผู้ที่เพิ่งผ่านการยิงเลเซอร์ และมีรอยไหม้แดงบนใบหน้า จะทำให้บรรทาอาการลงและฟื้นตัวเร็วขึ้น
  • ครีมว่านหางจระเข้ ก็มีสรรพคุณเดียวกันกับเจลว่านหางจระเข้ แตกต่างกันที่เนื้อผลิตภัณฑ์ ที่มีส่วนผสมของมอยส์เจอไรเซอร์เข้มข้นกว่า อาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีหน้ามัน เพราะเนื้อครีมจะให้ความรู้สึกหนักกว่าเนื้อเจล แต่ค่อนข้างเหมาะกับผู้ที่มีหน้าแห้ง เพราะจะให้ความชุ่มชื้นที่มากกว่า

ทั้งนี้นอกจากเจลว่านหางจระเข้และครีมว่านหางจระเข้แบบทั่วไปแล้ว ยังถูกต่อยอดออกไปเป็นเจลล้างหน้าว่านหางจระเข้ เจลและครีมว่านหางจระเข้แบบผสมสารกันแดด นอกจากนี้ยังมีน้ำว่านหางจระเข้สำหรับดื่มอีกด้วย โดยสรรพคุณไม่แตกต่างจากว่านหางจระเข้สดมากนัก

คำแนะนำในการใช้ว่านหางจระเข้

  • การเลือกใช้ใบจากต้นว่านหางจระเข้ควรเลือกต้นที่มีอายุมากกว่า 1 ขึ้นไป และให้เลือกใบล่างสุดเพราะจะอวบโตและมีวุ้นมากกว่าใบที่อยู่ด้านบน
  • เนื่องจากวุ้นของว่านหางจระเข้ไม่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ควรปอกโดยใช้เทคนิคปลอดเชื้อ Aseptic technique เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • การนำวุ้นมาใช้เพื่อรักษาแผลจำเป็นต้องล้างน้ำให้สะอาด เพื่อป้องกันน้ำยางจากเปลือกที่มีสารแอนทราควิโนน (Anthraquinone) เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้
  • ว่านหางจระเข้จะมีคุณภาพสูงสุดเมื่อตัดมาแล้วใช้ทันที และจะมีสรรพคุณทางยาที่ดีกว่าผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
  • วุ้นของว่านหางจระเข้จะไม่คงตัวเท่าไหร่นัก ดังนั้นถ้าปอกแล้วจะเก็บไว้ได้เพียง 6 ชั่วโมงเท่านั้น
  • หากนำว่านหางจระเข้ไปแช่ในตู้เย็นจนเย็นก่อนการนำมาใช้ จะช่วยทำให้รู้สึกสดชื่นเย็นสบายมากยิ่งขึ้น
  • การใช้เพื่อใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ไม่ควรใช้กับหญิงตั้งครรภ์หรือหญิงที่กำลังจะมีประจำเดือน รวมไปถึงผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวารด้วย
  • การใช้วุ้นจากใบเพื่อใช้เป็นยาทาภายนอก สำหรับบางรายแล้วอาจจะเกิดอาการแพ้ได้ (จากงานวิจัยพบว่าไม่ถึง 1%) โดยลักษณะของอาการแพ้หลังจากหรือปิดวุ้นลงบนผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังเป็นผื่นแดงบาง ๆ หรืออาจมีอาการเจ็บแสบด้วย โดยอาการจะแสดงหลังจากทาไปแล้วประมาณ 2-3 นาที ถ้าคุณมีอาการแพ้หลังการใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ก็ให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาด และเลิกใช้ทันที

ว่านหางจระเข้ ( Aloe ) ลักษณะของต้นว่านหางจระเข้ เป็นอย่างไร โทษของว่านหางจรเข้ สรรพคุณของว่านหางจระเข้ เช่น สมานแผล บำรุงผิวพรรณ ชื่ออื่นๆของว่านหางจระเข้ เช่น ว่านไฟไหม้ หางตะเข้