ตำลึง ( Lvy Gourd, Coccinia ) สมุนไพร นิยมปลูกริมรั้วบ้าน ประโยชน์และสรรพคุณช่วยขับลม บำรุงสายตา บำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันมะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด ลดไข้ รักษาแผล

ตำลึง ผักสวนครัว สมุนไพร

ต้นตำลึง ภาษาอังกฤษ เรียก Lvy Gourd, Coccinia มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Cocconia grandis (L.) Voigt ชื่ออื่น ๆ ของผักตำลึง เช่น ผักแคบ แคเด๊าะ สี่บาท ผักตำนินตำลึงนิยมนำมาทำอาหาร

ลักษณะของต้นตำลึง

ตำลึง เป็นไม้เลื้อย ลำต้นจะเกาะตามหลัก เช่น แนวรั้วบ้าน ต้นไม้ เถาของตำลึงจะมีสีเขียว ใบของตำลึงเป็นใบเดี่ยว สลับกันไปมาตามเถา โคนของใบมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจ ดอกของตำลึง จะมีลักษณะเป็นดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ มีสีขาว ผลของตำลึง เหมือนแตงกวาแต่มีขนาดเล็กกว่า ผลสีเขียวมีลายสีขาว พอสุกจะกลายเป็นสีแดง

  • ต้นตำลึง เป็นไม้เถาเลื้อยขึ้นตามหลักเสา ตามรั้วบ้านหรือพันต้นไม้อื่น อายุยืนยาวหลายปี มีมือเกาะยึดออกตรงข้ามใบ ลำต้นเล็กยาว เมื่ออายุมากลำต้นหรือเถาจะใหญ่และแข็งแรงมากขึ้น
  • ใบตำลึง เป็นใบเดี่ยว สีเขียว รูปสามเหลี่ยม กว้าง 5 ซม. ยาว 6-7 ซม. สลับข้างกัน ตำลึงตัวผู้ใบหยักเว้าลึก 3-5 หยัก ต่างจากใบของต้นตำลึงตัวเมียที่เป็นรูปสามเหลี่ยม อยู่แยกต้นออกจากกัน
  • ดอกตำลึง สีขาวปลายกลีบ 5 แฉก ข้างในมีเกสรสีเหลืองอ่อน มองคล้ายรูประฆัง
  • ผลตำลึง เป็นรูปไข่คล้ายผลแตงกวาแต่เล็กกว่ามาก กว้าง 1 -2 ซม. ยาว 3-4 ซม. เมื่ออ่อนจะมีสีเขียวมีลายขาว ผลสุกเต็มที่สีแดงสด ภายในมีเมล็ดมากมาย ส่วนตำลึงตัวผู้มีแต่ดอกแต่ไม่มีผล

คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง

การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบและยอดอ่อนตำลึงขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 35 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน กากใยอาหาร 1 กรัม เบตาแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม  ธาตุฟอสฟอรัส และ ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม

นักโภชนาการได้ทำการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของตำลึง ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย วิตามินบี1 0.17 มิลลิกรัม โปรตีน 3.3 กรัม แคลเซียม 126 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 699.88 ไมโครกรัม  ไนอาซีน 1.2 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม  และใยอาหาร 2.2 กรัม

สรรพคุณของตำลึง

เราสามารถนำตำลึงมาใช้ได้ทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็น ใบ ดอก เมล็ด ราก เถา รายละเอียดการใช้ประโยชน์ของตำลึงมีดังนี้

  • ใบของตำลึง เป็นยาลดวามร้อนในร่างกาย นำมาบดเป็นยาพอกผิวหนัง แก้ผื่นคันจากหมามุ้ย ต้นตำแย แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้แมลงสัตว์กัดต่อย รักษาผื่นคันที่เกิดจาก หมามุ่ย ตำแย  นำมารับประทาน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้จุกเฉียด
  • ดอกของตำลึง นำมาใช้รักษาอาการคันผิวหนัง
  • เมล็ดของตำลึง นำมาผสมกับน้ำมันมะพร้าว ใช้ทาแก้หิด
  • รากของตำลึง นำมาใช้ ลดไข้ แก้อาเจียน ลดความอ้วน แก้ฝี แก้ปวดบวม แก้พิษร้อนใน แก้พิษแมลงป่องหรือตะขาบข่อย
  • เถาของตำลึง นำมาชงกับน้ำดื่มแก้อาการวิงเวียนศรีษะ  นำมาบดใช้พอกผิวหนังแก้โรคผิวหนัง เถาของตำลึงมีสรรพคุณ ลดระดับน้ำตาลในเลือด

นำตำลึงทั้งต้น มาใช้ทั้ง ราก ใบและเถา นิยมนำมาเป็นยารักษาแก้โรคผิวหนัง ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้หลอดลมอักเสบ กำจัดกลิ่นตัว

โทษของตำลึง

สำหรับการบริโภคตำลึงเป็นอาหารไม่พบประวัติการเป็นอันตรายจากการบริโภคตำลึงเป็นอาหาร หรือ การนำมารักษาโรค แต่ตำลึงมีฤทธิ์เป็นยาเย็น เมื่อทาน้ำตำลึงที่ผิวหนังแล้วไม่รู้สึกเย็นแปลว่าไม่ถูกโรค ให้หยุดใช้ทันที การทาน้ำตำลึงไม่ควรถูแรงจนเกินไปในบริเวณที่เป็นผิวบอบบาง เพราะจะทำให้เกิดอาการอักเสบเพิ่มมากขึ้น

ตำลึง ( Lvy Gourd, Coccinia ) คือ สมุนไพร พืชล้มลุก นิยมปลูกริมรั้วบ้าน ประโยชน์และสรรพคุณของตำลึง ช่วยแก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงสายตา รักษาหลอดลมอักเสบ รักษาเบาหวาน แก้แมงสัตว์กัดต่อย ช่วยบำรุงกระดูก บำรุงฟัน ป้องกันมะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงเลือด ใช้ลดไข้ รักษาแผล รักษาหิด

ชะอม ( Acacia pennata ) สมุนไพร สรรพคุณของชะอม แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ขับลม บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสายตา บำรุงโลหิต ยาระบาย ลดไข้ พืชมีกลิ่นฉุน นิยมนำมาทำอาหารชะอม ผักสวนครัว สมุนไพร สรรพคุณของชะอม

ชะอม ภาษาอังกฤษ เรียก Acacia pennata ชื่อทางวิทยาศาสตร์ชะอม คือ Acacia Pennata (L.) Willd.Subsp.InsuavisNielsen ชื่ออื่นๆของชะอม เช่น ผักหละ ผักลำ ผ้าห้า ผักป่า ผักแก่ ผักขา ต้นชะอม เป็นไม้พุ่ม ขนาดไม่สูง ก้านของชะอมจะมีหนามแหลม ใบมีขนาดเล็ก คล้ายใบกระถิน ใบอ่อนของชะอมมีกลิ่นฉุน ปลายใบแหลม ดอกของชะอม มีสีขาว ดอกขนาดเล็ก ผลของชะอมเป็นฝัก

ลักษณะของต้นชะอม

ต้นชะอม เป็นไม้พุ่มขนาดย่อม มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ สามารถขยายพันธุ์โดยการปักชำ ลักษณะของต้นชะอม มีดังนี้

  • ลำต้นและกิ่งก้านของชะอม จะมีหนามแหลม
  • ใบของชะอม ส่วนลักษณะของใบชะอมเป็นใบประกอบสีเขียวขนาดเล็ก มีก้านใบย่อยแตกออกจากแกนกลางใบ มีลักษณะคล้ายกับใบส้มป่อยหรือใบกระถิน ใบอ่อนจะมีกลิ่นฉุน ใบย่อยมีขนาดเล็กออกตรงข้ามกัน คล้ายรูปรีประมาณ 13-28 คู่ ปลายใบแหลมขอบใบเรียบ ใบย่อยจะหุบในเวลาเย็น และแผ่ออกเพื่อรับแสงในช่วงกลางวัน
  • ดอกชะอม มีขนาดเล็กออกตามซอกใบ มีสีขาวถึงขาวนวล

คุณค่าทางโภชนาการของชะอม

นักโภชนาการได้สำรวจคุณค่าทางอาหารของชะอม โดยพบว่า ยอดชะอม 100 กรัม สามารถให้พลังงานกับร่างกาย 57 กิโลแคลอรี่ มีเส้นใยอาหารอยู่ 5 กรัม แคลแซียม 58 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4 มิลลิกรัม วิตามินเอ 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.25 มิลลิกรัม ในอาซิน 1 มิลลิกรัม วิตามินซี 58 มิลลิกรัม

สรรพคุณของชะอม

การนำชะอมมาใช้ประโยชน์ สามารถนำมาใช้ได้ทั้ง ใบ และ ราก รายละเอียด ดังนี้

  • ใบชะอม สามารถช่วยลดความร้อนในร่างกายได้ ใช้ลดไข้
  • รากชะอม นำมาต้มรับประทาน จะช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ลดกรดในกระเพาะอาหาร จุกเสียดแน่นท้อง และช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร
  • ยอดชะอม มีคุณค่าทางอาหาร เช่น แคลเซียม วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี ธาตุเหล็ก สามารถใช้ บำรุงเลือด บำรุงกระดูก บำรุงสายตา ได้

โทษของชะอม

  1. สำหรับคุณแม่ที่เพิ่งมีบุตรอ่อน ไม่ควรรับประทานผักชะอม เพราะจะทำให้น้ำนมแม่แห้งได้
  2. ผักชะอม สำหรับคุณแม่ลูกอ่อน จะแพ้กลิ่นของผักชนิดนี้อย่างมาก ดังนั้นควรอยู่ห่าง ๆ
  3. การรับประทานผักชะอมในหน้าฝน อาจจะมีรสเปรี้ยว กลิ่นฉุน บางครั้งอาจทำให้มีอาการปวดท้องได้ (ปกตินิยมรับประทานผักชะอมหน้าร้อน)
  4. กรดยูริกเป็นตัวการที่ทำให้เกิดข้ออักเสบในผู้ป่วยโรคเกาต์ ซึ่งเกิดมาจากสารพิวรีน (Purine) โดยผักชะอมนั้นก็มีสารพิวรีนในระดับปานกลางถึงระดับสูง ผู้ป่วยโรคเกาต์สามารถรับประทานได้ แต่ควรรับประทานในปริมาณที่จำกัด หากเป็นมากก็ไม่ควรรับประทาน เพราะจะทำให้ปวดกระดูกได้
  5. อาจพบเชื้อก่อโรคอย่างซาลโมเนลลา (Salmonella) ซึ่งเป็นเชื้อที่สามารถพบได้ทั่วไปในสภาพแวดล้อม เช่น ดิน น้ำ อากาศ เมื่อเรานำผักชะอมที่ปนเปื้อนสารชนิดนี้มาประกอบอาหารโดยไม่ล้างทำความสะอาดหลาย ๆ ครั้ง หรือไม่นำมาปรุงให้สุกก่อนรับประทาน อาจมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อชนิดนี้ได้ โดยผู้ที่ได้รับเชื้อชนิดอาจจะมีอาการท้องเสีย ปวดท้อง ถ่ายเหลวเป็นน้ำสีเขียว หรือถ่ายเป็นมูกมีเลือดปน มีไข้ เป็นต้น