การศึกษาระดับปฐมวัย การให้การศึกษากับเด็ก วัย 3 ถึง 5 ขวบ เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา เตรียมความพร้อมก่อนประถมศึกษาศิลปะ สำหรับ เด็กปฐมวัย

การศึกษาระดับปฐมวัย คือ การให้การศึกษากับเด็ก วัย 3 ถึง 5 ขวบ เพื่อเป้าหมายหลักๆ ประกอบด้วย การเสริมสร้างพัฒนาการ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเข้าศึกษาในระดับประถมศึกษา

การเรียนศิลปะในเด็ก เป็นการนำเอาศิลปะมาใช้เสริมสร้างพัฒนาการเด็ก เพื่อฝึกการใช้จินตนการ และฝึกสมาธิให้กับเด็ก สมองซีกขวา เป็นสมองที่ใช้เกี่ยวกับ จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ดีมาก ถ้ามีการส่งเสริมการเรียนและการใช้ศิลปะอย่างถูกต้อง จะเป็นสิ่งที่ดีมากสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ในอนาคต

หากกล่าวถึง ศิลปะกับความคิดสร้างสรรค์  แล้วนักจิตวิทยาทั่วโลก เชื่อกันว่าเด็กทุกคนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสิ่งนี้สามารถพัฒนาได้ หากศิลปะนั้นถูกการเสริมและสนับสนุนภายใต้เสรีภาพ ลูกหลานของเราก็จะมีความสุขในการเรียนหรือทำกิจกรรมต่างๆ ทำให้เด็กมีความคิดร้างสรรค์ มีความมั่นใจรู้จักปรับตัวเข้ากับสังคม รู้จักคิด รู้จักพูด รู้จักแก้ไขปัญหา รู้จักค้นหาคำตอบหรือมีความพร้อมทั้งกาย ใจ สังคมและสติปัญญา พร้อมที่จะเรียนในระดับสูงขึ้นอย่างมีคุณภาพและศักยภาพ

เรามาดูว่าเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในตัว เป็นอย่างไร และสังเกตุอย่างไร

  1. เด็กมีความกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา
  2. เด็กสามารถสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ด้วยความคิดของตนเอง
  3. เด็กมีชอบสำรวจและตรวจสอบความคิดใหม่ ๆ
  4. เด็กมีความเชื่อมั่นในความคิดของตัวเอง
  5. เด็กชอบสอบสวนถามหาเหตุผลของสิ่งต่างๆ
  6. มีประสาทสัมผัสที่ดีต่อความงาม

ศิลปะ จะเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุด ในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เนื่องจาก กระบวนการทางศิลปะ ไม่มีขอบเขตจำกัดสร้างความเพลิดเพลิน ช่วยให้เกิดความคิดต่อเนื่อง ศิลปะสำหรับเด็ก เราจำแนก ได้ดังนี้

  1. การวาดรูประบายสี
  2. การปั้น
  3. การพับกระดาษ
  4. การฉีกกระดาษ
  5. การทำสิ่งประดิษฐ์

การจัดการศึกษาให้กับเด็กปฐมวัย ไม่ใช่จับเด็กมาเขียนมาอ่านอย่างจริงจังเหมือนกับเด็กประถม เด็กมัธยม เพราะ นั่นคือ การทำร้ายพัฒนาการด้านต่างๆของเด็ก และ สร้างความเครียด อย่างคาดไม่ถึง การศึกษาปฐมวัย มิใช่การบังคับให้เด็ก หรือ ลูก หลานของตน ต้องอ่านออก เขียนได้ ตั้งแต่วัยอนุบาล โดยมีการเรียนพิเศษ มีการบ้าน มีแบบฝึกหัดเป็นเล่มๆ ซึ่งไม่ได้คำนึงถึงความพร้อมของเด็กเลยว่าเด็กมี พัฒนาการด้านร่างกายเป็นอย่างไร เด็กมีการใช้มือ ควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก ได้ดีแล้วหรือยังที่บังคับให้เขาจับดินสอเขียนตามที่ผู้ใหญ่กำหนด ซึ่งเด็กบางคนยังหยิบจับอะไรได้ไม่ดีเลย

การศึกษาระดับเริ่มแรกนี้ สำคัญมาก น่าเสียดายที่คนมักจะเข้าใจผิด วัยเจ็ดปีแรกของมนุษย์นั้น กำหนดคุณสมบัติของคนเราเกือบจะทั้งหมด การให้การศึกษาในเจ็ดปีแรกของคนเราจึงสำคัญที่สุด เราอยากจะให้ลูกหลานของเราเป็นเด็กและเติบโตเป็นผู้ใหญ่แบบไหน การเรียนรู้การศึกษาในเจ็ดปีแรกนี่แหละ มีความหมายที่สุด

การเลี้ยงลูก ตั้งแต่เริ่มต้นตั้งแต่ปัญหาจนถึงการเลี้ยงลูกให้มีพัฒนาการที่ดี แข็งแรง สมบรูณ์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ การเลี้ยงลูกนั้น มีรายละเอียดที่แตกต่างกันตามช่วงอายุของลูก การจะสร้างลูกให้เจริญเติบโตขึ้มมาพร้อมกับพัฒนาการที่ดี เป็นคนเก่ง มีพัฒนาการด้านร่างกาย สมองและอารมณ์ ที่ดี จำเป็นต้องเข้าใจเด็ก อย่างถูกต้อง

งาดำ สมุนไพร เมล็ดงาดำนิยมนำมาบริโภค ลักษณะของต้นงาดำเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของงาดำ สรรพคุณช่วยชะลอวัย บำรุงผิวพรรณ บำรุงผม โทษของงาดำ มีอะไรบ้าง

งาดำ สมุนไพร สรรพคุณของงาดำ

งาดำ ( Sesamum ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของงาดำ คือ Sesamum indicum L สมุนไพร คุุณค่าทางโภชนาการของงาดำ สรรพคุณของงาดำ ช่วยชะลอความแก่  ช่วยบำรุงผิว ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ช่วยซ่อมแซมผิวพรรณ ช่วยบำรุงรากผม ช่วยให้ผมดกเงางาม ช่วยป้องกันการเกิดผมหงอก ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยสลายไขมัน ใช้ลดความอ้วน ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในร่างกาย

นอกจากนั้น งาดำยังมีสรรพคุณ ช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยบำรุงสมอง ช่วยบำรุงโลหิต ลดความดันโลหิต ช่วยขยายหลอดเลือด ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว ช่วยให้นอนหลับสบาย  ป้องกันโรคหวัด ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยบรรเทาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยป้องกันโรคข้อเสื่อม เป็นยาระบายอ่อนๆ  งาดำสามารถช่วยบำรุงร่างกาย ได้มากมาย เช่น ผม ผิว กระดูก เล็บ การขับถ่าย ระบบเลือด บำรุงหัวใจ หรือผู้หญิงวัยทอง ซึ่งงาดำช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ได้ดี

งาดำ ถือเป็นพืชชนิดพืชล้มลุก งาดำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Sesamum indicum L งาเป็นพืชท้องถิ่นของเอเชีย และแถบตะวันออกของทวีปแอฟริกา ในปัจจุบันสามารถพบงานได้ในประเทศเขตร้อน ต้นงา จะมีความสูงประมาณ 2 เมตร เมื่อผลของงาเแห้งจะมีเมล็ดเล็กๆสีดำ สามารถนำมารับประทานได้ งาถือว่าเป็นพืชที่มีประโยชน์มาก หากรับประทานอย่างต่อเนื่องจะทำให้ร่างกายแข็งแรง ในงาดำ จะมาสารอาหารมากมายประกอบด้วย วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินบี9 ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุสังกะสี และธาตุเหล็ก

ลักษณะของต้นงาดำ

ต้นงาดำ เป็นพืชล้มลุก เป็นไม้เนื้ออ่อน มีขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรงถึงยอด ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมสีเขียวเข้มปนม่วง มีร่องตามยาวและมีขนปกคลุม อวบน้ำ สูงประมาณ 0.5-2 เมตร ใบมีลักษณะคล้ายกับใบหญ้างวงช้าง มีขนตลอดทั้งใบ เป็นใบเดียวรูปไข่ หรือรูปหอก ขอบใบเป็นจัก ใบมีสีเขียวอ่อนไปจนถึงเขียวเข้ม บางพันธุ์ใบอาจเป็นสีเหลือง ก้านใบยาว 5 เซนติเมตร ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลุ่มละ 1-3 ดอก ก้านดอกสั้น กลีบรองดอกมี 5 แฉก กลีบดอกมีสีขาว ขาวอมชมพู หรือม่วงอ่อน ผลหรือฝักขนาดค่อนข้างกลม รูปทรงกระบอกหรือแบน มีขนสั้น ๆ ปกคลุมรอบฝัก ปลายฝักมีจงอยแหลม เมล็ดมีรูปไข่ งาดำจะมีเมล็ดเป็นสีดำขนาดใหญ่กว่าเม็ดแมงลักเล็กน้อย ส่วนงาขาวจะมีสีนวล

คุณค่าทางโภชนาการของงาดำ

นักวิชาการได้ศึกษางาดำขนาด 100 กรัม พบว่า คุณค่าทางโภชนาการของงาดำต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 573 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 23.45 กรัม กากใยอาหาร 11.8 กรัม โปรตีน 17.73 กรัม น้ำ 4.69 กรัม น้ำตาล 0.30 กรัมไขมันรวม 49.67 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 18.759 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 21.773 กรัม กรดไขมันอิ่มตัว 6.957 กรัม
กรดกลูตามิก 3.955 กรัม กรดแอสพาร์ติก 1.646 กรัม เมไธโอนีน 0.586 กรัม ทรีโอนีน 0.736 กรัม ซีสทีอีน 0.358 กรัม ซีรีน 0.967 กรัม ฟีนิลอะลานีน 0.940 กรัม อะลานีน 0.927 กรัม อาร์จินีน 2.630 กรัม โปรลีน 0.810 กรัม ไกลซีน 1.215 กรัม ฮิสทิดีน 0.522 กรัม ทริปโตเฟน 0.388 กรัม ไทโรซีน 0.743 กรัม วาลีน 0.990 กรัม ไอโซลิวซีน 0.763 กรัม ลิวซีน 1.358 กรัม ไลซีน 0.569 กรัม
ไฟโตสเตอรอล 714 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 5 ไมโครกรัม วิตามินเอ 9 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.791 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.247 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 4.515 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.050 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.790 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 97 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 975 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 14.55 มิลลิกรัม ธาตุซีลีเนียม 5.7 ไมโครกรัม ธาตุโซเดียม 11 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 629 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 7.75 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 468 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 351 มิลลิกรัม
ธาตุแมงกานีส 2.460 มิลลิกรัม และธาตุทองแดง 4.082 มิลลิกรัม

สรรพคุณของงาดำ

สำหรับ สรรพคุณทางยาของงาดำ ประกอบด้วย ช่วยชะลอความแก่  ช่วยบำรุงผิว ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ช่วยซ่อมแซมผิวพรรณ ช่วยบำรุงรากผม ช่วยให้ผมดกเงางาม ช่วยป้องกันการเกิดผมหงอก ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยสลายไขมัน ใช้ลดความอ้วน ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยบำรุงสมอง ช่วยบำรุงโลหิต ลดความดันโลหิต ช่วยขยายหลอดเลือด ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว ช่วยให้นอนหลับสบาย  ป้องกันโรคหวัด ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยบรรเทาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยป้องกันโรคข้อเสื่อม

ข้อควรระวังในการบริโภคงาดำ

  1. สำหรับคนที่ลดน้ำหนักโดยการกินงาดำ เนื่องจากงาดำมีน้ำหนักเบา ซึ่งทำให้น้ำหนักตัวลดมาก อาจไม่ดีต่อสุขภาพ
  2. การบริโภคเมล็ดงาดำ มากเกินไปทำให้ลำไส้ใหญ่ถูกทำลายได้ และเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
  3. เมล็ดงา ทำให้ลำไส้ใหญ่อักเสบได้ และอาจทำให้ท้องผูก ปวดท้องได้
  4. อาการแพ้งาดำ ในการบริโภคงาดำสามารถทำให้แพ้ได้ อาการการแพงงาดำ เช่น ระบบย่อยอาหารผิดปกติ ตาอักเสบ น้ำมูกไหล หายใจลำบาก เป็นต้น หรือบางรายมีอาการแพ้อย่างรุนแรง คือ หอบ ความดันโลหิตต่ำ รู้สึกแน่นหน้าอก และทางเดินหายใจตีบตัน อาจเสียชีวิตได้ในที่สุด
  5. การบริโภคงาดำมากเกินไปอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ไส้ติ่งได้
  6. คุณสมบัติหนึ่งของาดำคือ เป็นยาระบาย ซึ่งถ้าบริโภคมากเกินไปจะทำให้มีการถ่ายท้องมากเกินไป
  7. งาดำมีสรรพคุณในการบำรุงผม แต่ถ้าหากใช้มากเกินไป จะทำให้ผมร่วงได้
  8. ในสตรีมีครรภ์ ช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ไม่ควรรับประทานงาดำ อาจทำให้แท้งบุตรได้