นอนไม่หลับ ( Insomanai ) เกิดจากความผิดปรกติของร่างกายและสภาพจิตใจ ปัจจัยที่ทำให้นอนไม่หลับมีอะไรบ้าง การรักษาอาการนอนไม่หลับทำอย่างไร นอนไม่หลับทำอย่างไรดี

โรคนอนไม่หลับ isomanai

โรคนอนไม่หลับ ภาษาอังกฤษ เรียก Insomnia ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษา เราสามารถแบ่งการนอนไม่หลับได้จากความผิดปรกติได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

  1. ความผิดปกติภายในร่างกาย การผิดปรกติลักษณะนี้ จะนอนไม่หลับแค่ช่วงเวลาหนึ่ง หากกลับคืนสู่ภาวะปรกติก็จะกลับมานอนได้ตามปรกติ
  2. ความผิดปกติจากสภาพแวดล้อมภายนอก ความผิดปรกติแบบนี้ สามารถแก้ไขได้จากการลดความเคลียดจากสิ่งแว้ดล้อม
  3. ความผิดปรกติทางด้านจิตใจ เกิดจาก ความวิตกกังวล โรคซึมเศร้า เบื่อ เป็นต้น

ประเภทของโรคนอนไม่หลับ

เราสามารถแบ่งออกเป็นเป็น 3 ประเภท รายละเอียด ดังนี้

  1. ภาวะการนอนไม่หลับ แบบชั่วคราว คือ การนอนไม่หลับ ติดต่อกันเป็นหลายวันส่วนมากพบว่าเป็นเรื่องของความเครียด และความกังวลใจ บางประการ การนอนไม่หลับประเภทนี้จะหายได้เองเมื่อสิ่งกระตุ้นเหล่านี้ หายไป
  2. ภาวะการนอนไม่หลับ แบบต่อเนื่อง คือ การนอนไม่หลับต่อเนื่อง หลายสัปดาห์ พบว่าเกิดจากความเครียด หากเป็นเวลานาน ควรได้รับการปรึกษาจากแพทย์ ก่อนที่จะเป็นการนอนไม่หลับแบบเรื้อรัง
  3. ภาวะการนอนไม่หลับ แบบเรื้อรัง คือ การนอนไม่หลับ เป็นเวลานาน จนร่างกายปรับเวลา และส่งผลต่อการดำเนินชีวิต

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนอนไม่หลับ

  • ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม ( Environment Factors )
    • เสียงรบกวน  ทำห้องนอนให้เงียบที่สุดเท่าที่จะทำได้ เสียงจากการจราจร เครื่องบิน โทรทัศน์ และเสียงอื่นๆ สามารถรบกวนการนอนหลับของคุณ แม้ว่าจะไม่ได้ทำให้คุณตื่นก็ตาม บางทีการเปิดอุปกรณ์ เช่นพัดลม ให้มีเสียงดังต่อเนื่อง เพื่อกลบเสียงที่อาจดังขึ้นมารบกวนระหว่างคืนอาจทำให้การหลับดีขึ้ น (White noise)
    • แสงสว่างใช้ผ้าม่านบังแสงหรือสีเข้มเพื่อทำให้ห้องนอนของคุณไม่สว่างเกินไป แสงสว่างจะผ่านเปลือกตาของคุณแม้ว่าเปลือกตาของคุณจะปิดอยู่ก็ตาม แสงสว่างจะรบกวนการนอนหลับของคุณ
  • ความเจ็บป่วยทางร่างกายหรือจิตใจ ( Physical/Psychiatric Illness ) มีโรคทางกายหลายชนิดที่รบกวนการนอนหลับและทำให้มีอาการนอนไม่หลับได้ ปัญหาทางด้านจิตใจ โรคจากการนอนหลับชนิดอื่นๆ และความเจ็บป่วย อาจทำให้การนอนหลับเปลี่ยนไป ซึ่งง่ายที่จะวินิจฉัยโรคนอนไม่หลับผิดพลาดได้ การรักษาความเจ็บป่วยนั้นอาจจะรักษาอาการนอนไม่หลับด้วย
  • ปัญหาทางด้านจิตใจ ( Psychiatric problems ) โรคนอนไม่หลับชนิดหนึ่ง การตื่นนอนเร็วกว่าปกติ (Early morning awakening)  เป็นอาการหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ถ้าคุณมีโรคทางด้านจิตใจคุณอาจจะนอนหลับได้ไม่ดี การรักษาโรคประจำตัวนั้นจะสามารถช่วยทำให้การนอนหลับของคุณดีขึ้น ยาบางชนิดใช้เพื่อรักษาการเจ็บป่วยทางจิตใจอาจเป็นสาเหตุให้นอนไม่หลับ
  • โรคการหายใจที่ผิดปกติขณะหลับ ( Sleep Related Breathing Disorders ) เช่น ผู้ป่วยภาวะหยุดหายในจขณะหลับจากการอุดกั้นจะตื่นขึ้นมาหลายครั้งหรืออาจเป็นหลายร้อยครั้งในหนึ่งคืน เวลาที่หยุดหายใจจะเป็นช่วงสั้นประมาณ 10 วินาที ผู้ป่วยส่วนมากจะจำไม่ได้และหายใจเป็นปกติเมื่อตื่นนอน การตรวจการนอนหลับเพื่อวินิจฉัยภาวะหยุดหายในจขณะหลับจากการอุดกั้นโรคจากการนอนหลับที่สัมพันธ์กับการหายใจที่ผิดปกติมักพบในเพศชาย ผู้ที่มีน้ำหนักมาก และผู้สูงอายุ ผู้ป่วยภาวะหยุดหายในจขณะหลับจากการอุดกั้นมักจะได้ผลจากการรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (PAP) การรักษานี้จะช่วยให้ทางเดินหายใจเปิดด้วยแรงดันต่อเนื่องของอากาศไหลผ่านหน้ากากที่สวมเข้ากับจมูกของผู้ป่วยในขณะหลับ
  • ความผิดปกติของขากระตุกเป็นช่วงๆขณะหลับ ( Periodic Limb Movements ) ขากระตุกเป็นช่วงๆคือการที่กล้ามเนื้อมีการหดตัวเป็นระยะๆ การหดตัวของกล้ามเนื้อจะทำให้ขากระตุกเป็นเวลา 1-2 วินาทีการหดตัวนี้จะเกิดขึ้นเป็นช่วงๆทุก 30 วินาทีหรือเป็นชั่วโมงหรืออาจนานกว่านั้น บางคนอาจมีขากระตุกเกิดขึ้นหลายๆช่วงทุกคืน การเคลื่อนไหวของขานี้ทำให้รบกวนการนอนหลับได้หลายร้อยครั้งในแต่ละคืน เป็นผลให้นอนกระสับกระส่าย ความผิดปกติของขากระตุกเป็นช่วงๆจะเกิดบ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น การรักษามีทั้งการรักษาด้วยยา การรับประทานธาตุเหล็กเสริม ถ้าคุณมีระดับธาตุเหล็กในเลือดต่ำเป็นต้น โดยพบว่าการรักษาอาจช่วยได้อาการดีขึ้น
  • โรคกรดไหลย้อน ( Gastroesophageal Reflux ) ในขณะนอนหลับสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารอาจไหลย้อนขึ้นมาสู่ลำคอได้ ซึ่งทำให้ตื่นขึ้นมาหลายครั้งระหว่างกลางคืนได้ อาการที่พบบ่อยคือแสบร้อนบริเวณหน้าอก เพราะความเจ็บและความจุกแน่นเกิดขึ้นบริเวณกลางหน้าอก เมื่อกรดไหลย้อนเกิดขึ้นระหว่างวัน การกลืนและอยู่ในท่าตัวตรงมักจะแก้ปัญหานี้ได้ ในช่วงกลางคืนการกลืนจะลดลงและอยู่ในท่านอนจึงทำให้เกิดกรดไหลย้อนง่ายขึ้น ทำให้ตื่นขึ้นมาไอหรือสำลักได้บ่อยครั้ง ถ้าคุณมีปัญหานี้ พยายามนอนหนุนหมอนสูง ทำให้ศีรษะของคุณสูงขึ้นจากเตียงประมาณ 6-8 นิ้ว การรักษาด้วยยาก็สามารถรักษากรดไหลย้อนได้

อาการของโรคนอนไม่หลับ

ผู้ป่วยโรคนี้ จะมีอาการ หลับยาก หลับไม่ต่อเนื่อง อ่อนเพลีย ขาดสมาธิ อารมณ์เสีย

สาเหตุของโรคนอนไม่หลับ

เราพบว่าผู้ป่วยโรคนอนไม่หลับ สามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งความเครียด ความกังวล และสิ่งแว้ดล้อม เราได้รวบรวมสิ่งที่ทำให้นอนไม่หลับได้ มีรายละเอียดดังนี้

  1. สารคาเฟอีน หรือสารที่มีฤิทธิ์กระตุ้นระบบประสาท เช่น ชา กาแฟ หรือ ยาบางชนิด
  2. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่งผลให้ร่างกายหลับไม่ปกติ
  3. โรคบางชนิด เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคปวดไขข้อ โรคต่อมลูกหมากโต โรคไต โรคเบาหวาน เป็นต้น
  4. การออกกำลังหนักในช่วงบ่าย
  5. ภาวะตั้งครรภ์ ช่วงเดือนสุดท้ายคลอดลูก
  6. การสูบบุหรี่
  7. การรับประทานอาหาร มากหรือน้อยเกินไป
  8. สถานที่หลับนอนไม่เอื่ออำนวยต่อการนอน

อาหารอะไรบ้างที่ช่วยให้นอนหลับหรือหลับสบาย มีหลายอย่าง เช่น การดื่มเครื่องดื่มอุ่นๆ และเครื่องดื่มสมุนไพร เช่น แคโมไมล์วาเลอเรียน เก๊กฮวย มะตูม ไลม์บลอสซัม เป็นต้น ดื่มนมหวาน เนื่องจาก น้ำตาลจะช่วยทำให้เซลล์สมองดูดซึมกรดอะมิโน ทริปโตฟาน เข้าสู่กระแสเลือด ช่วยให้ผ่อนคลาย อาหารจำพวกแป้ง

ข้อแนะนำ 7 ข้อสำหรับผู้นอนไม่หลับ

  1. งดเครื่องดื่มกาแฟ หรือคาเฟอีนก่อนนอน
  2. อาบน้ำก่อนนอน การแช่ตัวในน้ำอุ่นก่อนนอน จะช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย
  3. จัดสถานที่นอนให้โล่ง หายใจสะดวก น่านอน
  4. ใช้สมุนไพรบางตัว ที่มีฤทธ์ ช่วยผ่อนคลาย
  5. กินในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากหรือน้อยเกินไป
  6. หากิจกรรมช่วยผ่อนคลายก่อนนอน เช่น เพลงเอนตัวลง
  7. ดื่มนมก่อนนอน

ไวรัสตับอักเสบบี ( Hepatitis B ) การติดเชื้อไวรัสHBVที่ตับ อาการของโรค มีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีผื่นไวรัสตับอักเสบ โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ โรคตับ

โรคไวรัสตับอักเสบบี ( Hepatitis B ) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอักเสบบี ( HBV ) ที่ตับ ส่งผลให้เกิดโรค เช่น ตับวาย ตับแข็ง มะเร็งตับได้ อาการของโรค คือ มีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีผื่น ปวดตามข้อ

สาเหตุของโรคไวรัสตับอักเสบบี

หากพูดถึงโรคตับอักเสบ โรคนี้มีหลายชนิด เช่น โรคไวรัสตับอักเสบเอ โรคไวรัสตับอักเสบซี เป็นต้น ตับอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น การดื่มสุรา การเสพยาเสพติด การติดเชื้อไวรัส เป็นต้น โรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถติดต่อได้หลายช่องทาง รายละเอียด ดังนี้

  1. การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ โดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
  2. การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ
  3. การใช้เข็ม สักตามตัวและการเจาะหู ร่วมกันกับผู้ติดเชื้อ
  4. การใช้แปรงสีฟัน มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ
  5. ติดเชื้อจากแม่สู่ลูกขณะคลอด เราพบว่าลูกมีโอกาสติดเชื้อได้ถึงร้อยละ 90
  6. การสัมผัส เลือด น้ำคัดหลั่ง ของผู้ติดเชื้อ

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เราสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ ระยะฉับพลัน และ ระยะเรื้อรัง รายละเอียด ดังนี้

  • อาการของผู้ป่วยติดเชื้อไวรับตับอักเสบบี ระยะเฉียบพลัน พบว่า ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภายใน 4 เดือน หลังจากได้รับเชื้อ โดยอาการจะมีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีผื่น ปวดตามข้อ มีโอกาสเกิดภาวะตับวายได้ แต่อาการจะดีขึ้นภายใน 4 สัปดาห์ หากสามารถควบคุมและกำจัดเชื้อไวรัสได้ แต่พบว่าร้อยละ 5 ของผู้ป่วยชนิดฉับพลัน จะเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี เรื้อรัง
  • อาการของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี ระยะเรื้อรัง เราสามารถแบ่งอาการของโรคนี้ได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ระยะพาหะ และระยะตับอักเสบเรื้อรัง
    • ระยะพาหะ ผู้ป่วยจะพบอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อให้อื่นได้
    • ระยะอักเสบเรื้อรัง ระยะนี้การทำงานของตับผิดปกติ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการให้เห็นอย่างชัดเจน แต่ในผู้ป่วยบางรายมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร

โรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถตรวจสอบการติดเชื้อได้จากการ ตรวจเลือด และการตัดชิ้นเนื้อตับไปตรวจ

ไวรัสตับอักเสบบี โรคตับ โรคติดเชื้อ ติดเชื้อไวรัส

การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับการรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี สามารถใช้ยารักษา แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยของไวรัสบี ปัจจัยทางผู้ป่วย และระยะของโรค โดยในปัจจุบัน ยาที่ใช้รักษาไวรัสตับอักเสบบี มีทั้งชนิดฉีดและชนิดรับประทาน แนวทางการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี ยังเป็นการรักษาประคับประคองตามอาการ ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะเพราะยาปฏิชีวนะฆ่าไวรัสไม่ได้ แต่ใช้ฆ่าแบคทีเรีย ซึ่งที่สำคัญ คือ พักการทำงานของตับ โดยการพักผ่อนให้มากๆ (ควรต้องหยุดงานอย่างน้อยประมาณ 3-4 สัปดาห์) นอกจากนั้น คือ

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน(สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง ฟื้นตัวได้เร็ว ลดโอกาสติดเชื้อซ้ำซ้อน ลดการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น
  • ดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ ไม่ควรต่ำกว่าวันละ 6-8 แก้ว(เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม)
  • กินอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ ทุกวัน
  • งดบุหรี่ และ แอลกอฮอล์ เพราะสารพิษในบุหรี่และแอลกอฮอล์ทำลายเซลล์ตับโดยตรง
  • กินยาแต่ที่เฉพาะได้รับจากแพทย์ ไม่ซื้อยากินเอง เพราะเพิ่มโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยาต่อเซลล์ตับสูงขึ้น อาจส่งผลให้ตับอักเสบมากขึ้น

อนึ่ง ในการรักษาโรคในระยะเรื้อรัง ปัจจุบันมีตัวยาหลายชนิด ทั้งฉีด และกิน ใช้เพื่อชะลอการแบ่งตัวของไวรัส ส่วนจะเลือกใช้ยาตัวใด ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ในปัจจุบันสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกัน สำหรับคนที่มีคนในครอบครัวเป็นพาหะของไวรัสชนิดนี้ ให้ตรวจเลือดเพื่อให้ทราบถึงภาวะของเชื้อ

  • ฉีดวัคซีนป้องกัน โดยผู้ที่ควรฉีดวัคซีนมากที่สุดคือ เด็กแรกเกิด สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่โดยทั่วไปมีความจำเป็นน้อยในการฉีดวัคซีน เนื่องจากส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อแล้ว หากต้องการฉีดวัคซีนควรได้รับการตรวจเลือด ผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้วหรือมีภูมิต้านทานแล้วไม่ต้องฉีดวัคซีน
  • ผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่เป็นพาหะ ควรตรวจเลือดเพื่อทราบถึงภาวะของการติดเชื้อก่อนการฉีดวัคซีน การฉีดวัคซีนต้องฉีดให้ครบชุดจำนวน 3 เข็ม หลังจากนั้นวัคซีนจะกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานขึ้นในร่างกาย

ข้อควรปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบี

  1. ควรขอรับคำแนะนำจากแพทย์ และระมัดระวังการแพร่เชื้อไปสู่คนใกล้ชิด
  2. ไม่ใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์
  3. ตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ
  4. เวลามีเพศสัมพันธ์ต้องสวมถุงยางอนามัย
  5. ไม่บริจาคเลือด
  6. งดการดื่มสุรา
  7. พักผ่อนให้เพียงพอ
  8. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  9. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  10. หากต้องรับการผ่าตัดหรือทำฟัน ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบว่ามีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี