พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ คือชื่อของ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ซึ่งกรรมฐาน พระภิกษุฝ่ายวิปัสสนาธุระสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่มีชื่อเสียงหลวงปู่เทสก์ เทศรังสี พระกรรมฐาน ธรรมะ

หลวงปู่เทสก์ เกิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2445 และได้มรณภาพลงในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 รวมอายุ 92 ปี กับ 235 วัน พรรษา 71

หลวงปู่เทสก์เข้าอุปสมบท 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 ที่วัดหินหมากเป้ง จังหวัดหนองคาย หลวงปู่ได้บวช และสังกัดฝ่ายธรรมยุติก หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หรือ พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ เกิดที่บ้านนาสีดา ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2445 ปีขาล หลวงปู่เทสก์เกิดในครอบครัวชาวนา หลวงปู่เทสก์เป็นบุตรของนายอุส่าห์ นางครั่ง เมื่อหลวงปู่เทสก์อายุได้ 18 ปี ได้บวชเณรและติดตาม พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ออกธุดงค์ ได้มีโอกาสศึกษาธรรมที่วัดสุทัศนาราม จังหวัดอุบลราชธานี และวัดศรีทอง

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสีได้เข้าอุปสมบท ที่พัทสีมาวัดสุทัศนาราม ในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 โดยพระมหารัฐเป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาปิ่น ปัญญาพโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ระหว่างที่ท่ายออกธุดงค์ กับพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ได้มีโอกาสเข้ากราบนมัสการ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสีการจาริกธุดงค์ ของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ท่านได้จาริกธุดงที่ป่าเมี่ยง ดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่ และท่านได้ปฏิบัติกรรมฐานในแถบภาคเหนือ ถิ่นของชาวเผ่ามูเซอร์ ท่านหลวงปู่เทสก์ ได้จาริกโปรดคนบริเวณจังหวัดลำพูน หลังจาก ในปี พ.ศ. 2492 นั้นท่านได้กลับมาพำนักที่วัดอรัญญวาสี อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ท่านได้ไปเยี่ยมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตที่อาพาธ ณ วัดบ้านหนองผือนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จนกระทั่งท่านหลวงปู่มั่นได้มรณภาพลง ในปี พ.ศ. 2493 หลังจากที่หลวงปู่มั่นมรณภาพ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ก็ไปจำพรรษาที่ภาคใต้ ในแถบจังหวัดภูเก็ต พังงา และกระบี่ เป็นเวลา 15 ปี จากนั้นได้กลับมาจำพรรษาที่วัดถ้ำขาม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร และวัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ในเวลาต่อมา

สมณศักดิ์ของหลวงปู่เทสก์ เทศรังสี

  • ได้สมณศักดิ์ เป็น พระครูสัญญาบัตรที่ พระครูนิโรธรังสี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2498
  • ได้รับสมณศักดิ์ เป็น พระราชาคณะยกฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2500
  • ได้รับสมณศักดิ์ เป็น พระราชาคณะชั้นราชฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม อรัณยวาสี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2533

ในวาระสุดท้ายของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ท่านพำนัก ณ วัดถ้ำขาม และมาณภาพลงอย่างสงบ ในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 เวลา 21.45 น อายุได้ 93 ปี 71 พรรษา ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานน้ำหลวงสรงศพและทรงพระราชทานหีบทองทึบ และรับงานบำเพ็ญกุศลอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์

พิธีพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ได้จัดขึ้นที่วัดหินหมากเป้ง จังหวัดหนองคาย ในทุกๆ วันที่ 17 ธันวาคม ของทุกปี สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะให้ผู้แทนพระองค์นำแจกันดอกไม้วางหน้าพระอัฐิหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ณ วัดหินหมากเป้ง

คำสอนของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

“ชีวิตและเลือดเนื้อตลอดถึงข้อวัตร ที่หลวงปู่ทำอยู่ทั้งหมด ขอมอบบูชาพระรัตนตรัยเหมือนกับบุคคลเด็ดดอกไม้บูชาพระฉะนั้น”

“”คนเราเกิดมาในเมืองมนุษย์ ต้องพบมนุษย์อยู่ร่ำไป พระพุทธเจ้าสอนให้อยู่ด้วยความสงบวิเวกด้วยใจ อย่าไปยึดเอาเรื่องของคนอื่นมาไว้เป็นอารมณ์ของใจ แล้วก็จะวิเวกอยู่คนเดียว ถ้าใจไม่สงบแล้วจะอยู่ในป่าคนเดียวมันก็ไม่สงบอยู่ดีๆนั่นเอง””

โยคะท่านักรบ ช่วยทำให้กล้ามเนื้อส่วนต้นขา น่อง ข้อเท้าและหลังแข็งแรง แก้ปัญหาการปวดหลัง สร้างสมาธิและเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกายท่านักรบ โยคะ การฝึกโยคะ โยคะพื้นฐาน

โยคะท่านักรบ ช่วยทำให้กล้ามเนื้อ ส่วนต้นขา น่อง ข้อเท้า และหลังแข็งแรง ช่วยกระตุ้นอวัยวะภายใน และแก้ปัญหาการปวดหลัง เป็นท่าสำหรับสร้างสมาธิและความแข็งแรง พัฒนามาเพื่อให้คุณได้สร้างสัมพันธ์และรับพลังงานจากผืนโลก

โยคะง่ายๆ กับครูเอกโยคะในครั้งนี้ จะสอนท่านักรบ เมื่อเอ่ยถึงนักรบ สิ่งแรกที่นึกถึงคือ “ความแข็งแกร่ง” ฉะนั้นท่านี้จะช่วยในเรื่องของการลดไขมันในส่วนของต้นขา สะโพก และเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อบริเวณต้นขา สะโพก และหลัง ข้อควรระวังในการฝึกโยคะท่านักรบ ห้ามฝึกสำหรับคนท้องร่วง คนที่มีความดันดลหิตสูง และคนที่มีโรคที่คอ

ขั้นตอนการฝึกโยคะท่านักรบ

  • ยืนขึ้นทำท่าภูเขา จากนั้นหายใจออกอย่างช้าๆ จากนั้นแยกเท้าออกกว้างประมาณ 4 ฟุต กางแขนออกให้แขนขนานกับพื้น
  • ให้ทำการหมุนเท้าซ้ายไปทางซ้าย 90 องศา และเท้าขวาให้เฉียงไปทางซ้าย
  • ให้งอเข่าซ้ายลง เลือนลงจนถึงสะโพกซ้าย ให้อยู่ในระดับเข่า ภาพนี้เข่าซ้ายและส้นเท้าซ้ายจะอยู่ในแนวเดียวกัน
  • จากนั้นให้เหยียดแขนทั้งสองข้าง ให้แขนขวาไปทางขวา แขนซ้ายไปทางซ้าย โดยแขนทั้งสองข้างจะขนานกับพื้น จานนั้นให้หันหน้าไปทางซ้าย สายตามองไปที่ปลายนิ้ว
  • จานนั้นให้ยืดเอว ลำตัวและแขน ไปทางซ้าย พยายามทำให้ได้มากที่สุด
  • ทำท่านี้ค้างไว้ 30วินาที จากนั้นคลายท่า ทำสลับข้าง

วิธีทำท่าโยคะนักรบ 2

  • ยืนเต็มฝ่าเท้าด้วยเท้าทั้ง 2 ข้าง กางแขนออกไปด้านข้างตรงๆ กางขาออกทั้งสองข้าง ปลายเท้าชี้ตรงไปด้านหน้า ให้ได้ความกว้างใกล้เคียงกับแขนที่กางออกไป
  • ลดแขนลงมาจับเอว หมุนปลายเท้าด้านขวา 90 องศา หรือไปทางด้านข้าง ย่อเข่าขวาลง เอนตัวไปด้านข้างขวา น้ำหนักยังคงลงฝ่าเท้าเต็มๆ อยู่ เปิดขาออกให้เต็มที่ อย่าปล่อยให้เข่าพลิก หรือเอนไปด้านหน้าหรือด้านหลัง ให้หัวเข่าตรงกับข้อเท้า ไม่ล้ำหน้าปลายเท้า เพื่อรักษาสมดุลของขาเอาไว้ให้ทรงตัวอยู่ได้ ขาข้างซ้ายอีกข้างเหยียดตรง
  • ยืดลำตัวขึ้นตรง กางแขนทั้งสองข้างออก จนรู้สึกถึงต้นแขนที่ตึงๆ ค้างไว้ 10-15 วินาที หรือ 3-5 ลมหายใจ
  • สลับข้าง หันปลายเท้าด้านขวากลับมาที่เดิม เอียงปลายเท้าด้านซ้ายไปทางซ้าย 90 องศา ค่อยๆ ลดขางอเข่าลง น้ำหนักลงเต็มฝ่าเท้า งอเข่าแต่อย่าให้เข่าล้ำหน้าปลายเท้า แล้วกางแขนออก ค้างไว้ 10-15 วินาที หรือ 3-5 ลมหายใจ

ประโยชน์ของการฝึกโยคะ ท่านักรบ

  • ช่วยทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง โดยเฉพาะ กล้ามเนื้อส่วนต้นขา ส่วนน่อง ส่วนข้อเท้า และส่วนหลัง
  • ช่วยกระตุ้นการทำงานของอวัยวะในช่องท้อง
  • ช่วยลดอาการปวดหลัง

ข้อห้ามสำหรับการฝึกโยคะ ท่านักรบ

  • ผู้ที่มีอาการท้องร่วงอยู่ ห้ามทำท่านี้
  • ท่านักรบ ไม่เหมาะกับคนที่มีภาวะความดันโลหิตสูง
  • โยคะท่านักรบไม่เหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาที่คอ

โยคะ (สันสกฤต: योग) เป็นกลุ่มของการปฏิบัติหรือการประพฤติทางกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยถือกำเนิดที่ประเทศอินเดีย หลายพันปีมาแล้ว วิธีการฝึกโยคะนั้นมีการได้ถ่ายทอดจากอดีตถึงปัจจุบัน ในแถบหุบเขาอินดัส วอลเลย์ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยนักโบราณคดีได้ค้นพบไม้แกะสลัก และงานศิลปะประเภทรูปปั้น ที่มีการฝึกโยคะ นักปราชญ์ชาวฮิน ชื่อ ปตัญชลี ได้ปรับปรุงรูปแบบการฝึกโยคะขั้นพื้นฐาน และได้เขียนตำราสูตรการฝึกโยคะไว้ 8 ข้อ ผู้ที่ฝึกและปฏิบัติโยคะ หากเป็นชายจะเรียกว่า โยคี และหากเป็นสตรีจะเรียกว่า โยคินี โยคะมาเป็นการออกกำลังกาย จะเน้นความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกระดูกทำให้เลือดและสารอาหารไปเลี้ยงส่วนประสาท ทำให้การทำงานของต่อมต่างๆทำงานดีขึ้น ท่าต่างๆในการฝึกโยคะ จะยืดเหยียดกล้ามเนื้อตามแบบของโยคะสอดคล้องกับการหายใจ และการทำสมาธิ การฝึกโยคะจะทำให้สุขภาพจิตและสุขภาพกายดี

แหล่งอ้างอิง

  • Denise Lardner Carmody, John Carmody (1996), Serene Compassion. Oxford University Press US. p. 68.
  • Stuart Ray Sarbacker, Samādhi: The Numinous and Cessative in Indo-Tibetan Yoga. SUNY Press, 2005, pp. 1–2.
  • Tattvarthasutra [6.1], see Manu Doshi (2007) Translation of Tattvarthasutra, Ahmedabad: Shrut Ratnakar p. 102