เกลื้อน ติดเชื้อราที่ผิวหนัง อาการมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง เกิดมากกับกลุ่มคนที่มีเหงื่อมาก เช่น คนใช้แรงงานกลางแจ้ง นักกีฬา คนที่ใส่เสื้อที่อับชื้น รักษาและป้องกันเกลื้อน โรคผิวหนัง ผิวหนังติดเชื้อรา เกิดผื่น

โรคเกลื้อน เป็นโรคที่พบมากในประเทศที่มีอากาศเย็น แต่มักมักพบโรคนี้ในฤดูร้อนมากกว่าฤดูหนาว สามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งเพศหญิงและเพศชาย พบในวัยรุ่น วัยหนุ่มสาว มากที่สุด สำหรับปัจจัยและสาเหตุของการเกิดโรค มีดังนี้

ปัจจัยของการเกิดโรคเกลื้อน

สำหรับปัจจัยการเกิดโรคเกลื้อน สามารถพบเห็นได้จากปัจจัยต่างๆ ดังนี้

  • อายุ เนื่องจากอายุของคนวัยหนุ่มสาว สามารถขับเหงื่อได้มาก ทำให้มีโอกาสเกิดความอับชื้นของเสื้อผ้าได้ง่าย กว่าคนในวัยอื่นๆ หากการรักษาความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้าไม่ดี ทำให้เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคมากที่สุด
  • ลักษณะทางพันธุกรรม ในกลุ่มคนที่มีความมันของผิวหนังมากกว่าปรกติ สามารถทำให้เกิดปัจจัยความเสี่ยงการเกิดโรคเกลื้อนได้ง่ายกว่าปรกติ
  • ลักษณะการบริโภคที่ไม่สมดุลย์ หากมีการกินอาหารที่มีไขมันสูง ทำให้ร่างกายมีการสะสมไขมันในร่างกายมาก ความมันของผิวหนังก็มีมากกว่าปรกติ ทำให้เกิดการสะสมของเชื้อราได้ง่ายขึ้น
  • ลักษณะการทำงานที่ส่งผลให้มีเหงื่อออกมาก เช่น คนทำงานกลางแดด คนทำงานแบกหาม คนทำงานในโรงงาน คนที่ทำงานที่ต้องใส่แต่งเครื่องแบบที่ร้อนอบ และ นักกีฬา เป็นต้น
  • การใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน
  • ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องของร่างกาย เช่น ผู้ป่วยเอดส์
  • ภาวะความเครียด
  • ภาวะโลหิตจาง
  • เกิดภาวะวัณโรค
  • อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์
  • การรับประทานยาคุมกำเนิด
  • ภาวะโรคเบาหวาน

สาเหตุของการเกิดโรคเกลื้อน

การเกิดโรคเกลื้อนเกิดจากเชื้อรา ชื่อ “ มาลาสซีเซีย ” ( Malassezia spp. ) เป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ที่ผิวหนังชั้นนอกของคน โดยปรกติแล้วเชื้อราชนิดนี้ไม่ทำให้เกิดโรค ซึ่งเชื้อรานี้จะทำให้เกิดริ้วรอยบนผิวหนัง สามารถติดต่อจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง แต่ก็ติดต่อยาก หากมีภาวะอื่นๆ ร่วมจะส่งเสริมให้เกิดโรคง่ายขึ้น เช่น ภาวะความเครียด ภาวะโลหิตจาง การเกิดโรควัณโรค การตั้งครรภ์ เป็นต้น สำหรับบางคนที่มีเหงื่อออกมาก เชื้อราชนิดนี้จะเจริญเติบโตได้ดี

อาการของโรคเกลื้อน

สำหรับอาการของโรคเกลื้อน จะเริ่มจากการมีรอยักษณะจุด มีขุย ต่อมารอยจะมีสีอ่อนลง และอาจมีสีเข้มขึ้นบริเวณผิวหนังโดยรอบ ลักษณะผื่นที่ขึ้นจะมีขอบเขตที่ชัดเจน ผื่นจะไม่เข้มขึ้นหากโดนแสงแดด ผื่นที่เกิดขึ้นนั้นสามารถเกิดขึ้นและหายไปได้เอง สรุปลักษณะของโรคเกลื้อน มีดังนี้

  • พื้นที่ที่เกิดผื่น จะเกิดขึ้นบริเวณที่มีเหงื่อออกมาก เช่น หน้าอก หลัง ไหล่ ซอกคอ ลำคอ ต้นแขน หน้าท้อง เป็นต้น แต่พบมากบริเวณแผ่นหลังและหน้าอก
  • รูปร่าง ขนาด และ จำนวน เกลื้อน เป็นลักษณะผื่น กลม ๆ หรือ รูปวงรี ขนาดเล็กๆ ซึ่งผื่นมักจะขึ้นแยกจากกันเป็นดวง ๆ และอาจเชื่อมต่อกันได้จนเป็นแผ่นขนาดใหญ่
  • สีของผื่นจะมีสีที่แตกต่างกัน เช่น สีขาว สีชมพู หรือ สีน้ำตาล ขึ้นอยู่กับสีของผิวหนังแต่ละคน
  • ลักษณะผื่นที่ขึ้นจะมีลักษณะแบนราบและมีขอบเขตของผื่นที่ชัดเจน บริเวณที่เกิดผื่นผิวจะไม่เรียบและมีเกล็ดสีขาว น้ำตาล หรือแดงบนผิว

วิธีรักษาโรคเกลื้อน

สำหรับการรักษาโรคเกลื้อนนั้นการรักษาใช้ยาทารักษาเพื่อหยุดการเจริญเติบโตของเชื้อรา ซึ่งยาที่ใช้ในการรักษานั้นขึ้นอยู่กับลักษณะความรุนแรงของการอาการ โดยการรักษามีรายละเอียด ดังนี้

  • สำหรับอาการผื่นที่ไม่มาก สามารถใช้ยาทารักษาโรคเชื้อราได้ โดยให้ทาวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นหลังจากอาบน้ำเสร็จ ทาติดต่อกันประมาณ 30 วัน
  • สำหรับอาการผื่นลักษณะกว้างที่หนังศรีษะ ให้ใช้ยาสระผมเซลซัน เป็นยาสะผมที่มีตัวยาซีลีเนียมซัลไฟด์ แต่ควรระวังเรื่องการแพ้ยา หากมีอาการบวม แดง คัน หรือ แสบร้อน ให้เลิกใช้ทันที
  • สำหรับอาหารผื่นที่เกิดมากและกินบริเวณกว้าง หรือ เกิดโรคเกลื้อน ชนิดเรื้อรัง แพทย์จะให้กินยา คีโตโคนาโซล ( Ketoconazole ) หรือ ไอทราโคนาโซล ( Itraconazole ) เนื่องจากอาการผื่นขนาดใหญ่การใช้ยาทาจะไม่สะดวก และใช้เวลานานในการรักษา การใช้ยากินช่วยให้รักษาได้เร็วกว่า

สมุนไพรที่มีสรรพคุณรักษาโรคเกลื้อน

สำหรับสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคเกลื้อน มีสมุนไพรหลายชนิดสามารถรักษาโรคเกลื้อนได้ โดยแนะนำได้ เช่น กุ่มบก (Crateva adansonii subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs) ข่า (Alpinia galanga (L.) Willd. ) ชุมเห็ดเทศ (Senna alata (L.) Roxb.) มะคำดีควาย (Sapindus trifoliatus L.) ทองพันชั่ง (Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz) อัคคีทวาร (Rotheca serrata (L.) Steane & Mabb.) กระเทียม (Allium sativum Linn.)

การดูแลตนเองและป้องกันโรคเกลื้อนเพื่อไม่ให้กลับมาเกิดโรคซ้ำอีก

สำหรับการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการเกิดเกลื้อน มีคำแนะนำดัง ต่อไปนี้

  • ดูและความสะอาดเล็บมือเล็บเท้า โดยให้ตัดเล็บมือเล็บเท้าให้สั้น และหมั่นล้างมือให้สะอาด
  • ต้องรักษาความสะอาดของร่างกายอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เกิดเหงื่อไคลหมักหมม สะสมจนเกิดโรคเกลื้อน
  • ควรใช้เสื้อผ้าที่สะอาด รวมถึงผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ต้องไม่ให้ผ้าที่สัมผัสตัวเรามีเชื้อโรคหมักหมม
  • ไม่สวมเสื้อผ้าที่ม่ความหนา และ คับเกินไป
  • ควรใช้ชีวิตอยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่อากาศถ่ายเทสะดวก
  • หลังจากการออกกำลังกาย หรือ การทำงานที่มีเหลื่อออกมาก ให้ทำความสะอาดและเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ ไม่ควรใส่เสื้อที่มีความชื้นสะสม
  • ในเด็กที่มีโรคเกลื้อน ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษา ไม่ควรหายามารักษาเอง เนื่องจากยาของผุ้ใหญ่กับเด็กไม่ควรใช้ร่วมกัน

เกลื้อน โรคผิวหนัง ติดเชื้อราที่ผิวหนัง ลักษณะอาการ คือ มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง เกิดมากกับกลุ่มคนที่มีเหงื่อมาก เช่น คนใช้แรงงานกลางแจ้ง นักกีฬา คนที่ใส่เสื้อที่อับชื้น ปัจจัย สาเหตุ วิธีการรักษา และ การป้องกันทำอย่างไร

การกรน Snoring ภาวะกล้ามเนื้อคอคลายตัวขณะหลับ ทำให้ช่องคอแคบ เมื่อหายใจจึงเกิดแรงสั่นสะเทือนเป็นเสียงนอนกรน อาจทำให้เกิดภาวะการหยุดหยาใจ ไหลตาย ได้ รักษาอย่างไรรักษาการนอนกรน การนอนกรน แก้การนอนกรน ใหลตาย

การนอนกรน นี้จะเกิดกับคนอ้วน และ คนสูงวัย มากนอกจากนี้ ในคนที่ดื่มเหล้า หรือ สูบบุหรี่จัด ก็พบว่ามีอตราการนอนกรนสูงเช่นกัน การหยุดหายใจขณะหลับ คือ ภาวะเสี่ยงของคนนอนกรน ซึ่งทราบว่าตนมีปัญหาเรื่องการนอนกรน ควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางแก้ไข หากปล่อยเอาไว้อาจเป็นบ่อเกิดของโรคอื่นตามมา เช่น ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด อัมพาต เป็นต้น

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เรียก obstructive sleep apnea เรียกย่อว่า OSA คือ ในขณะที่หลับอยู่นั้นมีภาวะการนอนกรนเกิดขึ้นและ มีอาการหยุดหายใจร่วมด้วย จากการที่เนื้อเยื่อคอ หรือ ลิ้น ปิดทางเดินหายใจ เมื่อเกิดการปิดกั้นอากาศเข้าสู่ร่างกายนานเกินไป ทำให้สมองขาดออกซิเจน และตายในที่สุด

อาการนอนกรน

สำหรับอาการนอนกรน สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ การกรนธรรมดา และกรนแบบก่ำกึ่งระหว่างธรรมากับอันตราย โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • อาการนอนกรนธรรมดา ( primary snoring ) ผู้ป่วยมักไม่เดือดร้อน เพราะ ไม่มีผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยเองมากนัก แต่จะมีผลกระทบต่อคนรอบข้าง โดยเฉพาะกับคู่นอน
  • อาการนอนกรนแบบก้ำกึ่งระหว่างกรนธรรมดาและกรนอันตราย ( upper airway resistance syndrome ) คือ มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย มีอาการง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวัน อาจเกิดอุบัติเหตุในท้องถนนได้หากขับรถ

การนอนกรนจัดว่าเป็นปัญหาของการนอนหลับ นอกจากเสียงกรนที่สร้างความรำคาญแก่คนรอบข้างแล้ว ยังทำให้เกิดความผิดปกติกับร่างกายมากมาย เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย ความสามารถในการใช้ความคิด ความสามารถในการจดจำ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น จะลดความเสี่ยงต่อการนอนกรน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเรียนรู้สำหรับคนที่นอนกรน โดยวิธีการลดความเสี่ยงต่อการนอนกรน มีดังนี้

วิธีหลีกเลี่ยงการนอนกรน

  • การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในภาวะปรกติ คนอ้วนจะนอนกรน เกิดจากไขมันที่สะสมบริเวณช่องทางเดินหายใจบริเวณคอ ถูกเบียดให้เล็กลง ทำให้การหายใจต้องใช้พลังงานมากขึ้น
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลักกายช่วยให้กล้ามเนื้อเกี่ยวกับช่องทางเดินหายใจแข็งแรงขึ้น
  • การจัดท่านอนให้เหมาะสม ช่วยปกป้องการหายใจ โดยการนอนตะแคงงอข้อศอก เพื่อให้มือข้างหนึ่งยันคางไว้เป็นการปิดปาก หรือการใช้หมอนหนุนหลังเอาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้พลิกมานอนหงาย
  • การยกศีรษะให้สูงขึ้น ในกรณีที่นอนตะแคงไม่ถนัดนัก สามารถนอนหงายและใช้หมอนเล็กๆ หนุนที่บริเวณหลังคอด้านบน ยกศีรษะให้สูงจากเตียง เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ้นหย่อนลงไปในลำคอจนทำให้เกิดเสียงกรน
  • ให้รักษาความสะอาดในบริเวณสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะที่นอน การเกิดหอบหืดหรือภูมิแพ้เป็นสาเหตุหนึ่งของการกรน
  • หมั่นรักษาความสะอาดของช่องจมูก พยายามอย่าให้มีขี้มูกมากเกินไป เพราะอาจจะไปปิดกั่นการหายใจ
  • ปรับระดับความชื้นของห้องนอนให้เหมาะสม ห้องนอนที่มีความชื้นต่ำมาก อากาศภายในห้องจะแห้ง ทำให้เยื่อบุต่างๆในระบบทางเดินหายใจแห้งตามไปด้วย ภาวะสภาพแวดล้อมนี้อาจเกิดการบวมของทางเดินหายใจ จนทำให้เกิดการนอนกรน

การรักษาการนอนกรน

การรักษาอาการนอนกรนนั้นมี 2 ทางเลือกหลักๆ คือ การรักษาโดยไม่ใช้วิธีผ่าตัด และ การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ซึ่งผู้ป่วยสามารถเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับอาการของโรคได้ โดยรายละเอียดการรักษา มีดังนี้

  • การรักษาการนอนกรนโดยวิธีไม่ผ่าตัด คือ การลดน้ำหนักตัว ออกกำลังกาย และ ปรับวิธีการนอนที่เหมาะสม
  • การรักษาการนอนกรนด้วยวิธีผ่าตัด  การผ่าตัดทำให้ขนาดของทางเดินหายใจกว้างขึ้น ทำให้อาการนอนกรน หรือ ภาวะการหยุดหายใจขณะหลับ หายไป การผ่าตัดขึ้นอยู่กับตำแหน่งของสาเหตุการนอนกรน หลังจากผ่าตัดแล้วผุ้ป่วยมีโอกาสกลับมานอนกรนได้อีก ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ลักษณะการนอน การออกกำลังกาย และ น้ำหนักตัว

การกรน ภาษาอังกฤษ เรียก Snoring คือ ภาวะกล้ามเนื้อคอคลายตัวขณะหลับ ส่งผลให้ช่องคอแคบ เมื่อหายใจขณะหลับนอนจึงทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือน เป็น เสียงนอนกรน ความอันตรายของการนอนกรน คือ ภาวะการหยุดหยาใจ หรือ ไหลตาย สาเหตุของการนอนกรนคืออะไร รักษาการนอนกรนได้อย่างไร จากสถิติพบว่าเพศชายนอนกรนมากกว่าเพศหญิง