มะกอก มะกอกป่า ผลมีรสเปรี้ยว ให้ผลตลอดปี ผลนำมะสกัดทำน้ำมันมะกอกได้ สรรพคุณของมะกอก ช่วยขับปัสสาวะ แก้กระหาย ลดความดัน ลดความอ้วน บำรุงผิว โทษของมะกอกมีอะไรบ้ามะกอก สรรพคุณของมะกอก น้ำมันมะกอก โทษของมะกอก

ต้นมะกอก เป็นไม้ยืนต้น พืชท้องถิ่นที่มีถิ่นกำเนิดในเขตเอเชีย เช่น อินเดีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย มะกอกเป็นพืชที่ให้ผลได้ตลอดทั้งปี สำหรับมะกอกในประเทศไทย สามารถพบได้ทุกภูมิภาค พบมากในป่าเบญจพรรณและป่าแดง สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ต้นมะกอก มีชื่อสามัญ ว่า Hog plum ชื่อวิทยาศาสาตร์ของมะกอก คือ Spondias pinnata (L. f.) Kurz จัดเป็นพืชตระกูลเดียวกับมะม่วง ชื่อเรียกอื่นๆของมะกอก เช่น กูก กอกกุก กอกเขา ไพแซ กอกหมอง กราไพ้ย ไพ้ย ตะผร่าเหมาะ กอกป่า มะกอกไทย มะกอกป่า สือก้วยโหยว โค่ยพล่าละ แผละค้อก เพี๊ยะค๊อก ลำปูนล ตุ๊ดกุ๊ก ไฮ่บิ้ง เป็นต้น

ชนิดของมะกอก

สำหรับมะกอกในประเทศไทย พบว่ามีมะกอก 4 ชนิด คือ มะกอกป่า มะกอกฝรั่ง มะกอกน้ำ และ มะกอกโอลีฟ ซึ่งมะกอกฝรั่ง เป็นมะกอกที่มีผลรสหวาน นิยมนำมารับประทานสดเป็นผลไม้ ส่วนมะกอกน้ำนิยมนำมาดองและแช่อิ่ม และ มะกอกโอลีฟจะนำมาสกัดเอาน้ำมันมะกอก

ลักษณะของต้นมะกอก

ต้นมะกอก พืชตระกลูมะม่วง สามารถขยายพันธ์ได้โดยการเพาะเมล็ด มีถิ่นกำเนิดในเขตประเทศแถบเอเชียรวมถึงประเทศไทย มักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าแดง และ ป่าดิบแล้งทุกภาคของประเทศไทยด้วย เป็นไม้ยืน ลักษณะของต้นมะกอก มีดังนี้

  • ลำต้นมะกอก ลำต้นตั้งตรง ลักษณะกลม ความสูงประมาณ 25 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้าน เปลือกของลำต้นเป็นสีเทา ลักษณะเปลือกหนา เรียบ มีปุ่มปมเล็กน้อย มีรูอากาศตามลำต้น
  • ใบมะกอก เป็นใบประกอบ ลักษณะแบบขนนก มีชั้นเดียว เรียงสลับตามกิ่ง เนื้อใบหนา เป็นมัน ท้องใบเรียบ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบไม่เท่ากัน ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง
  • ดอกมะกอก ออกเป็นช่อ ลักษณะเป็นรูปถ้วย ดอกมะกอกออกที่ปลายกิ่ง และ ซอกใบ ดอกย่อยเป็นสีครีม กลีบดอกเป็นรูปรี ปลายกลีบดอกแหลม ดอกมะกอกจะออกในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
  • ผลมะกอก ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ ผลสดมีเนื้อฉ่ำน้ำ เป็นสีเขียว ผลแก่เป็นสีเหลืองอมสีเขียว หรือ สีเหลืองอ่อน รสเปรี้ยวจัด มีเมล็ดเดี่ยวขนาดใหญ่และแข็งมาก ภายในผล ผิวเมล็ดลักษณะเป็นเสี้ยนและขรุขระ

คุณค่าทางโภชนาการของมะกอก

สำหรับมะกอก มีรสเปรี้ยว สามารถนำมารับประทานแต่งรสชาติอาหาร และ นำมาสกัดทำน้ำมันมะกอก ซึ่ง ในมะกอกมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ประกอบด้วย พลังงาน กากใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 ไนอาซิน และ วิตามินซี

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะกอก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 46 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 16.7 กรัม สารต้านอนุมูลอิสระ ( เบตาแคโรทีน ) 2,017 ไมโครกรัม วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม วิตามินซี 53 มิลลิกรัม และ แคลเซียม 49 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของใบอ่อนมะกอก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 46 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 16.7 กรัม แคลเซียม 49 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 2017 ไมโครกรัม วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม และ วิตามินซี 53 มิลลิกรัม ยอดอ่อนของมะกอกนิยมนำมารับประทานเป็นผักสด สรรพคุณของใบอ่อนมะกอก ใช้แก้โรคบิด แก้โรคธาตุพิการ แก้ท้องเสีย เป็นต้น

สรรพคุณของมะกอก

มะกอกสามารถนำมาใช้ประโยชน์มากมาก ทั้งด้านาการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย รวมถึงนำมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์บำรุงร่างกายและความสวยงาม สามารถใช้ประโยชน์จาก เปลือก ใบ ผล เมล็ด โดยสรรพคุรของมะกอก มีดังนี้

  • เปลือกลำต้นมะกอก มีรสฝาดเย็นเปรี้ยว สรรพคุณบำรุงร่างกาย แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยทำให้ชุ่มคอ ช่วยแก้อาเจียน ช่วยแก้อาการสะอึก แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงทางเดินอาหาร แก้ท้องเสีย ช่วยสมานแผล แก้ปวดข้อ
  • ใบมะกอก มีรสฝาดเปรียว สรรพคุณบำรุงร่างกาย แก้หูอักเสบ แก้ปวดหู แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยทำให้ชุ่มคอ รักษาอาการปวดท้อง รักษาอาการท้องเสีย
  • ผลมะกอก รสเปรี้ยว สรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยแก้โรคขาดแคลเซียม แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยทำให้ชุ่มคอ รักษาเลือดออกตามไรฟัน ช่วยขับปัสสาวะ ลดไข้ แก้โรคน้ำกัดเท้า
  • เนื้อผลมะกอก มีรสเปรี้ยว สรรคุณช่วยแก้ธาตุพิการ รักษาอาการน้ำดีไม่ปกติ รักษากระเพาะอาหารพิการ
  • รากมะกอก มีรสฝาดเย็น สรรพคุณแก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยทำให้ชุ่มคอ ช่วยขับปัสสาวะ
  • เมล็ดของมะกอก สรรพคุณ แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ ช่วยแก้อาการสะอึก ช่วยขับปัสสาวะ

ประโยชน์ของมะกอก

การใช้ประโยชนืจากมะกอก โดยหลักๆจะนำมาใช้ประโยชน์ในการเป็นอาหารใช้รับประทานใบอ่อนเป้นผักสด และ ผลมะกอก ให้รสเปรี้ยว ใช้แต่งรสชทติของอาหาร นอกจากการนำมาทำเป็นอาหารรับประทานแล้ว ยางจากต้นมะกอกเป็นเมือก สามารถนำมาใช้ติดของแทนกวาได้ และ เนื้อไม้ของมะกอก เป็นไม้เนื้ออ่อน นำมาทำไม้จิ้มฟัน ทำกล่องไม้ขีด ทำกล่องใส่ของ หีบศพ เป็นต้น และผลของมะกอกสามารถนำมาสกัดทำ น้ำมันมะกอก ได้

น้ำมันมะกอก

น้ำมันมะกอก ( Olive Oil ) คือ น้ำมันี่สามารถสกัดจากผลมะกอก สามารถนำน้ำมันมะกอก ใช้ทำอาหารได้ และ ยังนำน้ำมันมะกอกมาเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น สบู่ พลาสเตอร์ น้ำมันนวด วัสดุอุดฟัน เป็นต้น

น้ำมันมะกอก ชนิดบริสุทธิ์พิเศษ ( Extra Virgin Olive Oil ) มีคุณสมบัติมากกว่าน้ำมันมะกอกทั่วไป เนื่องจาก กระบวนการผลิตที่แตกต่าง ทำให้คงคุณค่าและสารอาหารจากมะกอกได้มาก น้ำมันมะกอก มีประโยชน์ต่อร่างกาย สารอาหารสำคัญที่พบในน้ำมันมะกอก เช่น กรดไขมันต่างๆ กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว

ประโยชน์ของน้ำมันมะกอก

สำหรับการใช้นำมันมะกอกมีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยประโยชน์ของน้ำมันมะกอก มีดังนี้

  • ช่วยลดความเสี่ยงโรคไขมันในเลือดสูง และ โรคหลอดเลือดหัวใจ น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ เป็นผลดีต่อผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
  • ช่วยลดน้ำหนัก น้ำมันมะกอกมีไขมันต่ำ ผู้ที่บริโภคอาหารที่มีน้ำมันมะกอกมีน้ำหนักตัวที่ลดลงมากกว่าผู้ที่บริโภคอาหารไขมันต่ำตามมาตรฐานทั่วไป
  • ช่วยลดความดันโลหิต ในน้ำมันมะกอกช่วยลดความดันโลหิต และช่วยปรับปรุงการทำงานของหลอดเลือดหัวใจให้ดีขึ้นได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงระดับที่ไม่รุนแรงมาก
  • รักษาอาการท้องผูก น้ำมันมะกอกใช้รักษาภาวะท้องผูก การถ่ายอุจจาระไม่สุด อุจจาระเป็นก้อนแข็ง ขับถ่ายลำบาก
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ มี สารไลโคปีน ( Lycopene ) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการต้านอนุมูลอิสระในระบบทางเดินปัสสาวะ ช่วยป้องกันโรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเครียด
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ รักษาผิวแตกลาย น้ำมันมะกอกสามารถทำให้ผิวพรรณเกิดความชุ่มชื่น ทำให้การบำรุงผิวพรรณดี ให้เต่งตึงลดการเกิดผิวแตกลายในผู้หญิงตั้งครรภ์

โทษของมะกอก

การใช้ประโยชน์จากมะกอก โดยเฉพาะน้ำมันมะกอก หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมและใช้อย่างถูกวิธีจะช่วยให้ร่างกายดีแต่หากใช้ไม่เหมาะสมก็เกิดโทษต่อร่างกายได้ ข้อควรระวังในการใช้มะกอก มีดังนี้

  • น้ำมันมะกอก สามารถรับประทานได้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย หากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม คือ วันละ 2 ช้อนโต๊ะ สูงสุดไม่เกิน 1 ลิตรต่อสัปดาห์
  • การใช้น้ำมันมะกอกบำรุงผิวหนัง หากใช้มากเกิดไป อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนัง ผิวหนังอักเสบ เป็นต้น
  • สำหรับสตรีมีครรภ์และกำลังให้นมบุตร ควรระมัดระวังในการใช้น้ำมันมะกอก และ ไม่บริโภคน้ำมันมะกอกมากเกินไป
  • สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน น้ำมันมะกอกสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจากระดับน้ำตาลในเลือดที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลง ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นระยะๆ
  • สำหรับผู้ป่วนที่เข้ารับการผ่าตัด น้ำมันมะกอกอาจส่งผลต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดลด ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งระหว่างการผ่าตัด ควรหยุดใช้น้ำมันมะกอกประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนเข้ารับการผ่าตัด

มะกอก มะกอกป่า คือ พืชพื้นเมืองของไทย ผลมีรสเปรี้ยว ให้ผลตลอดปี สามารถนำมะสกัดทำน้ำมันมะกอกได้ สรรพคุณของมะกอก เช่น ขับปัสสาวะ แก้กระหาย ลดความดัน ลดความอ้วน บำรุงผิว โทษของมะกอกมีอะไรบ้าง

การดูดซึมสารอาหารผิดปรกติ ( malabsorption syndrome ) ความผิดปกติของลำไส้เล็กดูดสารอาหารและของเหลวไม่เพียงพอ ทำให้เกิดการขาดสารอาหาร การคลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้นการดูดซึมสารอาหารผิดปรกติ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคขาดสารอาหาร โรคไม่ติดต่อ

ความผิดปกติของระบบการย่อยและการดูดซึมอาหาร เกิดได้จากอวัยวะในระบบทางเดินอาหารที่ทำหน้าที่ในการย่อยและการดูดซึมสารอาหารผิดปรกติจากสาเหตุต่างๆ เช่น การติดเชื้อ หรือสาเหตุต่างๆ ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจต่างๆ มากมาย  โรคการดูดซึมสารอาหารผิดปรกติ พบมากที่สุดในประเทศแถบทะเลแคริบเบียน อินเดีย และ ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โรคนี้อาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมไม่ดี เช่น มีสารพิษเจือปนในอาหาร ทำให้ติดเชื้อโรคต่างๆ

ผลกระทบจากการไม่ดูดซึมสารอาหาร

สามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ ผลกระทบต่อร่างกาย และ ผลกระทบต่อจิตใจ โดยรายละเอียด ดังนี้

ผลกระทบการไม่ดูดซึมสารอาหารต่อร่างกาย

  • เกิดอาการอาเจียนหลังรับประทานอาหาร หากว่าเกิดภาวะกล้ามเนื้อหูรูดทำงานไม่ปกติ จะทำให้เกิดการอาเจียนได้หากมีอาหารเข้าไปและไม่สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารได้จะถูกผลักดันออกทางเดิม
  • เกิดอาการคลื่นไส้ เมื่อกระเพาอาหารมีน้ำย่อยออกมามากจะกระตุ้นระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดการคลื่นไส้
  • เกิดภาวะขาดสารอาหาร เมื่อร่างกายไม่สามารถดูดสารอาหารเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ทำให้ร่างกายจะขาดสารอาหาร
  • ส่งผลต่อสุขภาพของตับทำให้ตัวเหลือง และ มีไข้สูง การสูญเสียการทำหน้าที่ของอัยวะย่อยและดูดซึม ส่งผลกระทบต่อตับและน้ำดี

ผลกระทบการไม่ดูดซึมสารอาหารต่อจิตใจ เมื่อร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้ ก็ทำให้ร่างกายผอม บุคลิกภาพไม่ดี ส่งผลต่อภาพลักษณ์ และร่างกายอ่อนแอเจ็บป่วยง่าย ส่งผลต่อความสามารถการเข้าสังคม

ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการไม่ดูดซึมสารอาหาร

สาเหตุของการเกิดภาวะการดูดซึมสารอาหารผิดปรกติ หาสาเหตุที่แท้จริงยาก สาเหตุของการไม่ดูดซึมสารอาหาร มีหลายสาเหตุ หลายปัจจัย ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย สามารถสรุปปัจจัยของการเกิดโรค ได้ดังนี้

  • ภาวะการติดเชื้อที่ลำไส้
  • การอักเสบและการบาดเจ็บที่ลำไส้
  • การผ่าตัดลำไส้
  • การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน
  • ภาวะการเกิดโรคที่ตับ เช่น โรคตับอ่อนอักเสบชนิดเรื้อรัง เป้นต้น
  • ความบกพร่องของร่างกายดดยกำเนิด เกี่ยวกับ ทางเดินน้ำดี โรคของถุงน้ำดี โรคตับ โรคตับอ่อน ดาวน์ซินโดรม เป็นต้น

อาการของภาวะการดูดซึมสารอาหารผิดปรกติ

อาการของโรค เกิดจากการไม่ได้สารอาหารผ่านระบบทางเดินอาหาร ซึ่งอาการของโรคทั่วไป คือ ร่างกายซูบผอม จากการขาดสารอาหาร แต่อาการของโรคแสดงออกต่างกันในสารอาหารที่ขาด โดยการสารอาหาร เช่น ไขมัน โปรตีน น้ำตาล หรือ วิตามิน นั้นจะแสดงอาการของโรคที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • การขาดสารอาหารประเภทไขมัน จะแสดงอาการ คือ อุจจาระยาก อุจจาระเหม็น อุจจาระนุ่ม อุจจาระลอยน้ำ เป็นต้น
  • การขาดสารอาหารประเภทโปรตีน จะแสดงอาการ คือ ผมแห้ง ผมร่วง เป็นต้น
  • การขาดสารอาหารประเภทน้ำตาล จะแสดงอาหาร คือ ท้องร่วง ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นต้น
  • การขาดสารอาหารประเภทวิตามิน จะแสดงอาการ คือ มีภาวะโลหิตจาง ความดันโลหิตต่ำ การลดน้ำหนัก กล้ามเนื้ออ่อนแอ เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อนของความผิดปรกติของการดุดซึมสารอาหาร

หากร่างกายไม่ดูดซึมสารอาหาร ไปเลี้ยงร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอาการท้องร่วงบ่อยๆ น้ำหนักตัวลด และ อาการปวดท้อง การขาดวิตามินอาจทำให้เกิดภาวะต่างๆ เช่น โรคโลหิตจาง มือเท้าชา และ มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ ร่างกายของคนต้องการรับสารอาหารที่เหมาะสมแบะถูกต้อง ซึ่งการขาดสารอาหาร ส่งผลต่อระบบในร่างกายทุกระบบ เช่น หัวใจ สมอง กล้ามเนื้อ เลือด ไต และ ผิวหนัง

การดูดซึมสารอาหารผิดปรกติ ( malabsorption syndrome ) คือ ความผิดปกติที่ลำไส้เล็กที่ไม่สามารถดูดซับสารอาหารและของเหลวได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้เกิดปัญหาการขาดสารอาหาร การคลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น