ไขมันทรานส์ ( trans fat ) คือ ไขมันประเภทหนึ่ง เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ราคาถูก ทนความร้อน และ ไม่เหม็นหืน ประโยชน์และโทษมีอะไรบ้างไขมันทรานส์ ประโยชน์ของไขมันทรานส์ โทษของไขมันทรานส์ คุณสมบัติไขมันทรานส์

ไขมันทรานส์ คือ ไขมันที่ได้จากการสังเคราะห์ระหว่างกระบวนการผลิตอาหารโดยการเติมไฮโดรเจนเข้าไปในน้ำมันพืช เพื่อทำให้น้ำมันพืชแข็งตัวมากขึ้น ทำให้ไขมันช่วยยืดอายุของอาหารได้ เพิ่มความคงตัวของรสชาติอาหารได้ ไขมันทรานส์ ราคาถูกกว่าไขมันทั่วไป นิยมใช้ไขมันทรานส์ในอุตสาหกรรมอาหาร

คุณสมบัติของไขมันทราน์ คือ เก็บไว้ได้นาน ทนทานต่อความร้อน มีความใกล้เคียงกับไขมันจากสัตว์ ไม่เหม็นหืน เวลานำมาทำเป็นส่วนประกอบของอาหารอร่อย ไขมันทรานส์จึงเป็นส่วนประกอบของอาหารต่างๆ เช่น โดนัท ไก่ทอด เป้นต้น

ประโยชน์ของไขมันทรานส์

จากสรรพคุณของไขมันทรานส์ สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานโดยไม่เหม็นหืน ไม่เป็นไข สามารถทนความร้อนได้สูง มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับไขมันกสัตว์ ราคาถูกกว่าไขมันประเภทอื่นๆ

  • ไขมันทรานส์ราคาถูก
  • คุณสมบัติของไขมันทรานส์ใกล้เคียงไขมันจากสัตว์
  • ไขมันทรานส์สามารถเก็บได้นานขึ้น ไม่มีกลิ่นเหม็นหืน
  • สามารถลดความเหม็นหืนของอาหารได้
  • เพิ่มไขมันในร่างกายตามผิวหนัง จะช่วยลดแรงกระแทกต่อร่างกาย ช่วยป้องกันการบาดเจ็บจากการกระแทกได้
  • ช่วยปกป้องร่างกาย ทำให้ร่างกายอบอุ่นได้
  • อาหารที่มีปริมาณไขมันพอดี ทำให้อยู่ท้อง ทำให้อิิ่มท้อง

ไขมันทรานส์ จึงมักนิยมนำมาใช้ประกอบอาหาร เช่น กลุ่มอาหารฟาสต์ฟู้ด ทอดไก่ มันฝรั่งทอด โดนัท เบเกอรี่ ขนมขบเคี้ยว ครีมเทียม และ วิปปิ้งครีม เป็นต้น

อาหารที่มักใช้ไขมันทรานส์เป็นสวนประกอบและใช้ในการผลิต มีดังนี้ โดนัท ขนมขบเคี้ยวต่างๆ เฟรนซ์ฟรายส์ คุกกี้ เนยขาว เนยเทียม ครีมเทียม เค้ก แคร็กเกอร์ วิปครีม นักเก็ต ไก่ทอด หมูทอด อาหารประเภททอดๆ ที่ต้องใช้น้ำมันหรือไขมันทั้งหลาย

โทษของไขมันทรานส์

การใช้ไขมันทารส์มาทำอาหารและเป็นส่วนประกอบของอาหารนั้น ต้องบริโภคไขมันทรานส์ในปริมาณที่ไม่มากเกินไป ซึ่งหากในอาหารมีไขมันทรานส์เกินกว่าปริมาณที่เหมาะสม อาจส่งผลเพิ่มความเสี่ยงอันตรายต่อร่างกายได้ ดังนี้

  • การบริโภคอาหารที่มีไขมันทรานส์ มากเกินกว่าปริมาณที่เหมาะสม จะทำให้ทำงานของเอนไซม์ Cholesterol Acyltranferase มากขึ้น ทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้น
  • ไขมันทรานส์ ย่อยสลายได้ยากกว่าไขมันประเภทอื่นๆ ทำให้ตับทำงานหนักขึ้น อาจส่งผลต่อโรคที่เกี่ยวกับตับ เช่น นิ่วในถุงน้ำดี
  • ทำให้น้ำหนักตัวและไขมันส่วนเกินเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความเสี่ยงโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด เป็นต้น

องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดว่า อาหารทุกประเภทที่จัดจำหน่ายภายในประเทศ ต้องระบุปริมาณของกรดไขมันทรานส์ บนฉลากผลิตภัณฑ์ ซึ่งต้องมีปริมาณกรดไขมันทรานส์ไม่เกิน 0.5 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค กระทรวงสาธารณะสุข ประเทศไทย ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ห้ามผลิต นำเข้า และ จำหน่าย นำมันที่ผ่านกระบวนการผลิตไฮโดรเจนบางส่วน อาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการผลิตไฮโดรเจนเป็นบางส่วน ( ไขมันทรานส์ )

ไขมันทรานส์ ( trans fat ) คือ ไขมันประเภทหนึ่ง กรดไขมันไม่อิ่มตัว นิยมนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหาร เนื่องจากราคาถูก ทนความร้อน และ ไม่เหม็นหืน ประโยชน์ของไขมันทรานส์ และ โทษของไขมันทรานส์ มีอะไรบ้าง

มะเร็งปอด Lung Cancer เนื้อเยื้อของปอดผิดปรกติเกิดเนื้องอก โรคมะเร็งปอดมักเกิดกับคนสูบบุหรี่ อาการไอเรื้อรัง หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก น้ำหนักลดลงโดยไม่มีสาเหตุมะเร็งปอด โรคมะเร็งปอด การรักษามะเร็งปอด โรคมะเร็ง

มะเร็งปอด ( Lung cancer ) คือ ภาวะเซลล์ของเนื้อเยื้อปอด เกิดการแบ่งตัวผิดปกติไม่สามารถควบคุมได้ ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมักไม่แสดงอาการในระยะแรก ซึ่งการดูแลรักษาร่างกายสามารถทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวมากขึ้นได้ หากตรวจพบตั้งแต่ในระยะแรก สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการผ่าตัด

ชนิดของโรคมะเร็งปอด

โรคมะเร็งปอด สามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก ( Non-small cell lung cancer – NSCLC ) และ  มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก ( Small cell lung cancer – SCLC )

  • มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก ( Non-small cell lung cancer – NSCLC ) มะเร็งปอดชนิดนี้พบได้ประมาณร้อยละ  80 ของมะเร็งปอดทั้งหมด มะเร็งปอดชนิด มี 3 ชนิดย่อย คือ ชนิดสะความัสเซลล์ ( Squamous cell carcinoma ) ชนิดเซลล์ขนาดใหญ่ ( Large cell carcinoma ) ชนิดอะดีโน ( Adenocarcinoma )
  • มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก ( Small cell lung cancer – SCLC ) มะเร็งปอดชนิดนี้พบได้ประมาณร้อยละ 20 ของมะเร็งปอดทั้งหมด มะเร็งชนิดนี้มีความรุนแรง แพร่กระจายได้เร็ว หากมะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง และ แพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด จะทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปอด

สำหรับสาเหตุของโรคมะเร็งปอด ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดมะเร็งที่ชัดเจน แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การสูบบุหรี่ สำหรับการสูบบุหรี่ทำลายปอด เป็นปัจจัยสำคัญของโรคมะเร็งปอด ร้อยละ 90 ของคนสูบบุหรี่เป็นโรคมะเร็งปอด
  • การสูดดมควันบุหรี่ พบว่าร้อยละ 5 ของผู้ป่วยมะเร็งปอด ไม่ได้สูบบุหรี่แต่สูดดมควันจากบุหรี่ ตามสถานที่เที่ยวตอนกลางคืน
  • การสูดดมฝุ่นระอองจากสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานาน เช่น การทำงานในเหมืองแร่ สถานที่ก่อสร้าง ทำงานตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นต้น
  • การสูดดมก๊าซต่างๆเป็นเวลานาน เช่น ก๊าซเรดอน ( Radon ) เป็นก๊าซกัมมันตรังสีที่เกิดจากการสลายตัวของแร่ยูเรเนียม (Uranium)ในหินและดิน เป็นต้น
  • พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ทที่การกินผักและผลไม้น้อย
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ในกรณีทีมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
  • ภาวะความเสื่อมของร่างกาย ตามอายุที่มากขึ้น
  • ภาวะการรติดเชื้อเอชไอวี หรือ ป่วยโรคเกี่ยวกับปอดอย่างเรื่องรัง เช่น วัณโรค ถุงลมปอดโป่งพอง ภาวะเยื่อพังผืดในปอด เป็นต้น

อาการของโรคมะเร็งปอด

สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด นั้นส่วนมากจะไม่ค่อยแสดงอาการในระยะแรก แต่จะมีสัญญาณบางอย่างบ่งบอกว่าอาจการเกิดโรคมะเร็งปอดได้ สามารถสังเกตอาการต่างๆ ได้ดังนี้

  • มีอาการไอเรื้อรังเป็นเวลานาน
  • ไอเป็นเลือด
  • หายใจเหนื่อยหอบ
  • หายใจลำบาก
  • เจ็บหน้าอก
  • เบื่ออาหาร กลืนอาหารลำบาก
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่มีสาเหตุ
  • เจ็บและปวดเวลาหายใจหรือไอ
  • หายใจมีเสียงวีด
  • เสียงแหบ
  • ใบหน้าและคอบวม

การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด

ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์พัฒนาไปมาก การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด ทำได้แม่นยำมากขึ้น โดยเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรค มีดังนี้

  • การเอกซเรย์ทรวงอก ( Chest X-ray )
  • การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ ซีทีสแกน ( CT-scan )
  • การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพทซีทีสแกน ( Positron Emission Tomography – Computerised Tomography : PET-CT Scan )
  • การส่องกล้อง และ การตัดชิ้นเนื้อ ( Bronchoscopy และ Biopsy )
  • การเจาะตัดชิ้นเนื้อผ่านผิวหนังด้วยเข็มขนาดเล็ก ( Percutaneous Needle Biopsy )
  • การส่องกล้องในช่องอก ( Mediastinoscopy )

การรักษาโรคมะเร็งปอด

สำหรับแนวทางการรักษาโรคมะเร็งปอด นั้น ใช้การรักษาด้วยการผ่าตัด การทำเคมีบำบัด และ การฉายแสง ซึ่งการรักษามักใช้ทั้ง 3 วิธีร่วมกัน โดยขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแพทย์ จากความรุนแรงของโรค ชนิดของมะเร็งปอด และ วิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละบุคคล

  • การผ่าตัด ( Surgery ) จะผ่าเอาเนื้อเยื่อปอดบางส่วนที่มีเซลล์มะเร็งออก
  • การรักษาด้วยเคมีบำบัด ( Chemotherapy ) เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก และ ทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกาย
  • การฉายแสง ( Radiation Therapy ) เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็ง มักจะใช้ควบคู่กับวิธีการรักษาอื่น ๆ เช่น การผ่าตัด การทำเคมีบำบัด

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งปอด

โรคมะเร็งปอด ไม่มีวิธีป้องกันการเกิดโรคได้อย่างเด็ดขาด แต่เป็นแนวทางการปฏิบัติ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยแนวทางการปฏิบัติ มีดังนี้

  • ไม่สูบบุหรี่ และ เลิกสูบหรี่
  • หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อม ที่ต้องสูดดมควันบุหรี่ ควันพิษ หรือ ฝั่น ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ผ่อนคลายความตึงเครียด ฝึกคิดในแง่บวก

โรคมะเร็งปอด ( Lung Cancer ) คือ ความผิดปรกติของเนื้อเยื้อของปอด เกิดเนื้องอกผิดปรกติ จากสาเหตุต่างๆ โรคมะเร็งปอดมี 2 ชนิด อาการของโรคมะเร็งปอด การรักษามะเร็งปอดต้องทำอย่างไร การป้องกันการเกิดโรค