ต้นนุ่น ต้นงิ้ว นิยมนำเนื้อจากผลแห้งทำปุยนุ่น ทำเครื่องนุ่งห่ม ที่นอน ต้นนุ่นเป็นอย่างไร สรรพคุณของนุ่น บำรุงกำลัง ลดไข้ ช่วยขับปัสสาวะ โทษของนุ่นมีอะไรบ้าง

นุ่น สมุนไพร

ต้นนุ่น ( White silk cotton tree ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของนุ่น คือ Ceiba pentandra (L.) Gaertn. ต้นนุ่นเป็นพืชตระกลูเดียวกับชบา สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของนุ่น เช่น ง้าว งิ้วสาย งิ้วสร้อย งิ้วน้อย งิ้ว ปั้งพัวะ ต่อเหมาะ เป็นต้น

ลักษณะของต้นนุ่น

ต้นนุ่น ไม้ยืนต้น ลักษณะของต้นสูงใหญ่ เป็นไม้ผลัดใบ โดยจะผลัดใบในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนของทุกปี สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ชื่อท้องถิ่น คือ ต้นงิ้ว มีหนามแหลมคมที่ลำต้น เป็นเอกลักษณ์ของต้นงิ้ว ลักษณะของต้นนุ่น เป็นอย่างไร

  • ลำต้นงิ้ว ลักษณะลำต้นสูงใหญ่ ตั้งตรง ความสูงประมาณ 10 เมตร ลักษณะของต้นเป็นพุ่มกว้าง ลำต้นมีสีเขียว มีหนามขึ้นทั่วบริเวณโคนต้น
  • ใบนุ่น เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันตามลำต้น ปลายใบแหลม คล้ายรูปหอก ขอบใบเรียบ ใบมีสีเขียว
  • ดอกนุ่น ลักษณะของดอกนุ่นเป็นช่อ ออกตามซอกใบ มีดอกย่อยจำนวนมาก ลักษณะของดอกคล้ายรูปถ้วย กลีบดอกสีขาว มีขน ดอกนุ่นจะออกช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม ของทุกปี
  • ผลนุ่น เจริญเติบดตมาจาดอกนุ่น ลักษณะผลรียาว ปลายและโคนแหลม เปลือกผลแข็ง เมื่อผลแก่และแห้งเนื้อผลจะเป็นใยนุ่นสีขาว ลักษณะนุ่มซับน้ำได้ดี และ มีเมล็ดจำนวนมาก
  • เมล็ดนุ่น อยู่ภายในผลนุ่น ลักษณะกลม สีดำ และ แข็ง

สรรพคุณของนุ่น

สำหรับการใช้ประโยชน์ของนุ่น ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ราก ยางไม้ เปลือก ใบ ดอกแห้ง น้ำมันเมล็ดนุ่น รายละเอียดของสมุนไพร สรรพคุณนุ่น มีดังนี้

  • รากนุ่น สรรพคุณบำรุงกำลัง รักษาเบาหวาน แก้ไอ แก้อาเจียน แก้ท้องเสีย รักษาลำไส้อักเสบ แก้ปวดท้อง ช่วยขับปัสสาวะ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย
  • ยางไม้นุ่น สรรพคุณบำรุงกำลัง แก้ไอ แก้ท้องร่วง แก้ระดูขาว
  • เปลือกนุ่น สรรพคุณแก้ร้อนใน ลดไข้ แก้ไอ แก้อาเจียน แก้หืด แก้อาหารเป็นพิษ ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงกำหนััด เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
  • ดอกแห้งนุ่น สรรพคุณลดไข้ แก้ไอ
  • ใบนุ่น สรรพคุณช่วยลดไข้ แก้ไอ รักษาท่อปัสาวะอักเสบ รักษาโรคเรื้อน รักษาแผลฝี แก้ฟกช้ำ แก้ปวด
  • เมล็ดนุ่น สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ
  • น้ำมันเมล็ดนุ่น สรรพคุณเป็นยาระบาย ช่วยขับปัสสาวะ

โทษของนุ่น

ต้นนุ่น หรือ ต้นงิ้ว เป็นพืชที่มีหนามแหลมตามกิ่งก้านลำต้น ซึ่งหนามแหลมเหล่านี้ เป็นอันตรายต่อร่างกายหากตำร่างกาย ทำให้เกิดอาการเจ็บ และ อักเสบได้ ปุยนุ่น ก็มีลักษณะนุ่มและเป็นฝุ่น หากหายใจเข้าไปอาจทำให้ระบบทางเดินหายใจอุดตัน หรือ ระคายเคือง การหายใจได้

นุ่นในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย ต้นงิ้ว หรือ ต้นนุ่น อยู่คู่สังคมไทยมาช้านาน คนไทยนิยมปลูกต้นนุ่นตามบ้านเรือน และ สวนใกล้บ้าน เพื่อการใช้ประโยชน์ต่างๆ ข้อมูลทางสถิติ ศึกษานุ่นในปี พ.ศ. 2531 ประเทศไทยสามารถส่งออกปุยนุ่นมากถึง 37,000 ตัน จัดว่าเป็นประเทศที่ส่งออกนุ่นมากที่สุดในโลก นอกจากนี้ มีการนำเปลือกนุ่น มาใช้ทำยาเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ โดยนำเปลือกมาต้มดื่มเป็นยาขับปัสสาวะและเป็นยาบำรุงเพศ เป็นเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์ต่อจิตและประสาท

ฝักอ่อนของนุ่น สามารถนำมาทำอาหาร เช่น แกง เมี่ยง หรือกินเป็นผักสด ใยนุ่นในมาใช้ยัดหมอน ใช้เป็นเชื้อไฟ  นุ่น เป็นพืชที่มีประโยชน์หลากหลาย คู่ควรต่อการเป็นพืชที่อู่คู่ครัวเรือน

ต้นนุ่น ต้นงิ้ว คือ พืชชนิดหนึ่ง นิยมนำปุยนุ่น มาทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม ลักษณะของต้นนุ่น เป็นอย่างไร สรรพคุณของนุ่น เช่น บำรุงกำลัง ลดไข้ ช่วยขับปัสสาวะ โทษของนุ่น มีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.

แมงลัก นิยมนำมาบริโภคใบและเมล็ด ต้นแมงลักเป็นอย่างไร สรรพคุณของแมงลัก เช่น ช่วยควบคุมน้ำหนัก เป็นยาระบายอ่อนๆ คุณค่าทางโภชนาการและโทษของแมงลักมีอะไรบ้างแมงลัก เมล็ดแมงลัก ใบแมงลัก สมุนไพร

ต้นแมงลัก ( Hairy Basil ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของแมงลัก คือ Ocinum canum . Sim. ชื่อเรียกอื่นๆของแมงลัก เช่น มังลัก ขาวมังลัก ผักอี่ตู่ กอมก้อขาว เป็นต้น ใบแมงลัก มีกลิ่นหอม นิยมนำมาทำอาหาร ช่วยดับคาว และ เพิ่มความหอมของอาหารได้ดี เมนูอาหาร ที่นำใบแมงลักมาทำอาหาร เช่น แกงเลียง แกงหน่อไม้ เป็นต้น

แมงลักในประเทศไทย

สำหรับแมงลักในประเทศไทย จัดว่าเป็นพืชเศรษบกิจชนิดหนึ่ง มีการปลูกแมงลัก เพื่อผลิตใบสดและเมล็ดแมงลักในเชิงพาณิชย์ สามารถพบเห็นแมงลักได้ทั่วไปตามตลาด สายพันธุ์แมงลัก ที่นิยมปลูก คือ แมงลักสายพันธ์ศรแดง ที่มีลักษณะใบใหญ่ แหล่งปลูกต้นแมงลัก พบได้ทั่วไปทั่วประเทศ

ลักษณะของต้นแมงลัก

ต้นแมงลัก เป็นพืชล้มลุก  อายุสั้นไม่ถึง 1 ปี นิยมกินเป็นอาหาร ต้นแมงลัก สามารถขยายพันธ์ได้โดยการปักชำและการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นแมงลัก มีดังนี้

  • ลำต้นของแมงลัก เนื้อไม้ของต้นแมงลักอ่อน อวบน้ำ ความสูงประมาณ 50 เซ็นติเมตร ลักษณะลำต้นและกิ่งก้านค่อนข้างเป็นทรงเหลี่ยม เปลือกลำต้นสีเขียว มีระบบรากเป็นแก้วและรากฝอย รากของต้นแมงลักสามารถลึกได้ถึง 30 เซ็นติเมตร
  • ใบแมงลัก ลักษณะเป็นใบเดี่ยว สีเขียว ออกตามกิ่งของต้นแมงลัก ใบเป็นทรงรี ปลายใบแหลม โคนใบโค้งมน มีขนอ่อนปกคลุมทั่วใบ
  • ดอกแมงลัก ลักษณะของดอกออกเป็นช่อ ดอกออกเป็นกระจุก กลีบดอกสีเขียว
  • เมล็ดแมงลัก อยู่ภายในดอกแก่ของต้นแมงลัก เมล็ดแมงลักมีลักษณะรีแบน สีดำ สามารถนำมาขยายพันธ์ได้

คุณค่าทางโภชนาการของแมงลัก

ต้นแมงลัก นั้นนำมาใช้ประโยชน์บริโภคใบสดและเมล็ด โดยนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของแมงลัก มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเม็ดแมงลัก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 420 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 54 กรัม โปรตีน 15 กรัม ไขมัน 16 กรัม กากใยอาหาร 54 กรัม

คุณค่าทางโภชนาการของใบแมงลัก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 32 แคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย แคลเซียม 350 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 86 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.9 มิลลิกรัม วิตามินเอ 10,666 มิลลิกรัม ไทอามีน 0.30 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.14 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.0 มิลลิกรัม วิตามินซี 78 มิลลิกรัม กากใยอาหาร 2.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 11.1 กรัม ไขมัน 0.8 กรัม และ โปรตีน 2.9 กรัม

น้ำมันหอมระเหยจากแมงลัก

สำหรับน้ำมันหอมระเหยจากแมงลัก มีมากในใบแมงลัก ซึ่งน้ำมันหอมระเหยจากแมงลัก ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด มี 3 ชนิด ประกอบด้วย

  • น้ำมันหอมระเหยที่มี methyl cinnamate
  • น้ำมันหอมระเหยที่มี d-camphor
  • น้ำมันหอมระเหยที่มี polyuronide

สรรพคุณของแมงลัก

สำหรับการใช้ประโยชน์จากแมงลัก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้นใช้ประโยชน์จาก ใบแมลงลัก และ เมล็ดแมงลัก โดยรายละเอียดของ สรรพคุณของแมงลัก มีดังนี้

  •  เมล็ดแมงลัก สรรพคุณยาระบายอ่อนๆ ทำให้อุจจาระอ่อนตัว ลดอาการท้องผูก ช่วยย่อยอาหาร ทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น เสริมการสร้างกระดูก ป้องกันโรคกระดูกเสื่อม ช่วยอาการของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยลดน้ำหนัก
  • ใบแมงลัก สรรพคุณช่วยบำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง บำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา ป้องกันโรคมะเร็ง แก้เจ็บคอ แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ รักษาไข้หวัด แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องผูก ป้องกันโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยรักษากลากน้ำนม

โทษของเม็ดแมงลัก

สำหรับการรับประทานแมงลัก ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม หากรับประทานเม็ดแมงลักมากเกินไป อาจทำให้เกิดโทษได้ โดย ข้อควรระวังในการรับประทานแมงลัก มีรายละเอียด ดังนี้

  • หากรับประทานเมล็ดแมงลักมากเกินไป จะทำให้รู้สึกแน่นท้อง ไม่สบายตัว
  • เม็ดแมงลัก ที่ยังไม่พองตัวอย่างเต็มที่ หากรับประทานเข้าไป เมล็ดแมงลักอาจดูดน้ำจากกระเพาะอาหาร จนเกิดเป็นก้อนภายในกระเพาะอาหาร ทำให้อุดตันในลำไส้ ทำให้ท้องผูก
  • เม็ดแมงลัก ไม่ครวรับประทานพร้อมกับยาอื่น ๆ เพราะ เมล็ดแมงลักอาจดูดสรรพคุณของยา เหล่านั้นได้

แมงลัก คือ พืชสมุนไพร ตระกูลเดียวกับโหระพาและกระเพรา นิยมนำมาบริโภคใบและเมล็ด ลักษณะของต้นแมงลักเป็นอย่างไร สรรพคุณของแมงลัก เช่น ช่วยควบคุมน้ำหนัก เป็นยาระบายอ่อนๆ คุณค่าทางโภชนาการและโทษของแมงลัก มีอะไรบ้าง