หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการปวดหลัง ปวดร้าวลงที่ขา ปวดไปถึงน่อง ปวดหลังเท้า เจ็บข้อพับ นิ้วเท้าชา เกิดจากการนั่งนานๆ หรือ การกระแทกที่กระดูกสันหลังหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคระบบประสาท โรคกระดูก

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หากท่านมีอาการ อาการปวดหลัง อาการปวดร้าวลงที่ขา ปวดไปถึงน่อง หรือ หลังเท้าข้างใดข้างหนึ่ง เจ็บข้อพับเข่าด้านหลัง ปวดน่อง นิ้วเท้าชา เป็นอาการเริ่มต้นเตือนให้ท่านรู้ว่า อาจเป็น โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความก้าวหน้า สามารถทานยา ทำกายภาพบำบัด โดยไม่ต้องผ่าตัด ก็สามารถทำได้ เรามาทำความรู้จักกับโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทให้ละเอียดมากกว่านี้ เพื่อใหรู้เท่าทันโรคนี้ ว่า สาเหตุของการเกิดโรค อาการ และการรักษา ต้องทำอย่างไร ป้องกันการเกิดเส้นประสาทสันหลังเสื่อม และกระดูกสันหลังเคลื่อนไปทับเส้นประสาทที่คอหรือเอวได้

โรคนี้เป็นโรคเสี่ยงของคนวัยทำงาน หรือ เป็นโรคหนึ่งของออฟฟิตซินโดรม ทำไมคนวัยทำงานจึงมีความเสี่ยงเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เนื่องจาก คนในวัยทำงานใช้ร่างหนัก ในขณะที่ไม่สัมพันธ์กับการพักผ่อน รวมถึงการออกเดินทาง ไปในสถานที่ต่างๆ การเคลื่อนไหวร่างกายมีมากกว่าคนในทุกวัย เราได้รวมพฤติกรรมเสี่ยงที่มีโอกาสให้หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไขสันหลัง มีดังนี้

  1. มีกิจกรรมที่ต้อง ก้มๆ เงยๆ มากเกินไป
  2. การยกของหนัก ในท่าทางไที่ไม่ถูกต้อง และต้องยกของหนักในเวลานานๆ
  3. อาชีพบางอาชีพที่ต้องใช้ความแข็งแรงของร่างกายสูง ที่ร่างกายต้องรองรับการกระแทกสูง เช่น งานก่อสร้าง
  4. การมีน้ำหนักตัวมากเกินกว่าที่ร่างกายจะรับไหว ทำให้ร่างกายต้องใช้ร่างกายและกล้ามเนื้อมาก มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเช่นกัน
  5. การนั้งในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป โดยไม่มีการปรับอิริยาบถ เช่น การนั้งทำงานบนโต้ะทำงานนานเกินไป

พฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไขสันหลังได้ เรามาดูว่าอาการของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นอย่างไร

อาการของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท

การที่หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไขสันหลัง อาจทำให้เกิดอาการอักเสบอย่างรุนแรง แบบฉับหลัน ได้ แต่ลักษณะอาการจะเกิดขึ้น บริเวณ หลังและขา โดยสามารถสรุปอาการได้ดังนี้

  • ปวดหลังในส่วนเอวตอนล่าง อาจปวดทั้งสองข้างหรือข้างเดียวก็ได้ อาการปวนนี้จะปวดเวลานั่ง เนื่องจากท่านั้นหมอนรองกระดูกจะถูกกระทบกระเทือนมากที่สุด
  • มีอาการปวดที่ขา มีอาการขาชา และบางครั้งกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง
  • มีอาการปวดหรือชา ตามแนวกระดูกสันหลัง ปวดตั้งแต่ นิ้วเท้า เท้า น่อง ต้นขา ไปถึงเอว มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ

สาเหตุของโรคหมอนรองกระดูกเส้นประสาท

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท นั้นตามที่กล่าวในข้างต้นถึงปัจจัยที่มีความเสียงในการเกิดโรคแล้วนั้น เราจะสรุป สาเหตุของการเกิดโรคนี้ ให้ละเอียดมากขึ้น มีดังนี้

  • การยกของหนัก ในท่าทางการยกที่ไม่ถูกต้อง
  • โรคอ้วน และน้ำหนักตัวที่มากเกิน
  • การนั่งทำงานท่าเดิมนานๆ โดยไม่มีการขยับตัว
  • การเกิดอุบัติเหตุ ที่มีการกระทบกระเทือนต่อกระดูกสันหลัง

สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุของการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท การป้องการการเกิดโรคเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ยิ่งกว่าการรักษา การเกิดโรคนี้ยังมีสิ่งที่ต้องระวังให้มากกว่านี้ คือ การเกิดโรคแทรกซ้อนที่มาจากการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โดยโรคแทรกซ้อนของการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมีดังนี้

  • การรักษามีโอกาสในการเกิดอุบัตติเหตุ ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของ หลอดลม หลอดอาหาร และเส้นเลือดใหญ่
  • มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ ที่มีผลต่อเส้นประสาทกล่องเสียง ทำให้อาจเสียงแหบได้
  • การผ่าตัด อาจทำให้ข้อกระดูกไม่เชื่อม
  • การรักษาด้วยการผ่าตัดอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ ภายหลังการผ่าตัดได้

การรักษาโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท

สำหรับการรักษาโรคนี้ ด้วยเทคโลดลยีทางการแพทย์มีมากขึ้น มีการรักษาด้วยการผ่าดับ ด้วยเทคนิค MIS เป็นการผ่าตัดกระดูกสันหลัง โดยส่องกล้องจุลทรรศน์ แบบแผลเล็ก เป็นการรักษาที่มีความปลอดภัยสูง และลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัตติเหตุต่อเส้นประสาท โดยการรักษาโรคนี้ยังสามารถรักษาได้หลายวิธี ดังนี้

  • รับประทานยา เป็นการรับประทานยา แก้ปวด แก้อักเสบ และยาคลายกล้ามเนื้อ
  • การรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด
  • การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาท
  • การผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
  • การผ่าตัดหมอนรองกระดูกด้วยกล้องจุลทรรศน์
  • การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกโดยใช้คอมพิวเตอร์นำวิถี

การป้องกันการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

การป้องกันการเกิดโรคทำได้โดยการหลีกเลี่ยง ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคทั้งหมด เช่น ไม่ยกของหนัก ยกของในท่าที่ถูกต้อง ไม่ยกของหนักเป็นเวลานาน ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ สำหรับการนั่งทำงานบ่อยๆ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และออกกำลักกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง และหน้าท้องอยู่เป็นประจำ

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ปวดหลัง ปวดร้าวลงที่ขา ปวดไปถึงน่อง ปวดหลังเท้า เจ็บข้อพับด้านหลัง นิ้วเท้าชา โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เกิดจากการนั่งอยู่กัยที่นานๆ หรือ การกระแทกที่กระดูกสันหลัง สาเหตุ อาการ การรักษาโรค

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งทวารหนัก ( Colon Cancer ) เนื้อร้ายที่ลำไส้ใหญ่หรือทวารหนัก เกิดจากพฤติกรรมการกิน อาการปวดท้องเป็นๆหายๆ ท้องผูกสลับท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือดมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็ง

มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งทวารหนัก ( Colon Cancer ) เนื้อร้ายที่ลำไส้ใหญ่หรือทวารหนัก โรคอันดับ 3 ของโลก อาการปวดท้องเป็นๆหายๆ ท้องผูกสลับท้องเสีย ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน เกิดจากพฤติกรรมการกินที่ไม่ดีต่อสุขภาพ จากสถิติของผู้ป่วย โรคมะเร็ง พบว่ามีผู้ป่วย โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย เพศชายมีอัตราการเกิดโรคสูงกว่าเพศหญิง และแนวโน้มการเกิดโรคพบว่ามีเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สัญญาณอะไรบ้างบ่งบอกว่าท่านควรตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อ คัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

  • ปวดท้องเป็นพักๆ การปวดแบบเป็นๆหายๆ ปวดตามจังหวะการบีบตัวของลำไส้ อาการปวดจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆและปวดบ่อยมากขึ้น
  • ท้องผูกสลับท้องเสีย ระบบการขับถ่ายผิดปกติ มีอาการท้องผูกต่อเนื่องกันหลายวัน สลับกับท้องเสียจากการติดเชื้อ
  • อุจจาระมีเลือดปด เป็นมูก เป็นผลมาจากตัวเนื้องอก ที่ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
  • ก้อนอุจจาระมีขนาดเล็ก เนื่องจากรูของลำไส้ใหญ่มีขานดแคบลง
  • ปวดท้องถ่ายอุจจาระตลอดเวลา แต่ถ่ายไม่ออก ไม่มีอุจจาระแต่ปวดท้อง เนื่องมาจากการมีก้อนเนื้องอกในทวารหนัก ทำให้ร่างกายมีความรู้สึกเหมือนมีอุจจาระในทวารหนักตลอดเวลา

เรามาทำความรุ้จักกับ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ กันว่าเป็นอย่างไร

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นอีก โรคมะเร็ง ที่พบว่าเกิดกับ คนอายุ 55 ปีขึ้นไป โอกาสในการเกิดในเพศชายและหญิงมีอัตราเท่าๆกัน ลำไส้ใหญ่ เป็นอวัยวะในช่องท้อง

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ พบว่าปัจจัยด้านพฤติกรรมการกิน เป็นสาเหตุหลักของปัญหา และปัจจัยด้านการถ่ายทอดทางพันธุกรรม มีผลต่อการเกิดโรค เรามีปัจจัยการเกิดโรคมาให้ดังนี้

  • การกินอาหารที่มีไขมันสูง บ่อยและเป็นเวลานานสะสมหลายปี เนื่องจาก ไขมัน เป็นอาหารที่ไม่มีกากใยอาหาร ส่งผลเสียต่อระบบลำไส้ โดยเฉพาะ คนที่กิยอาหารที่มีกากาใยอาหารน้อย
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม จากสถิติ มีการพบว่าในผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เคยมี่บุคคลในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เหมือนกัน
  • ป่วนโรคติ่งเนื้อเมือกที่ลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นเนื้องอกที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

สำหรับอาหารของผู้ป่วยที่เป็น โรคโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ พบว่ามีอาการผิดปรกติ เกี่ยวกับระบบการย่อยอาหารและขับถ่ายเริ่มมีอาการผิดปรกติ อาการผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มี ดังนี้

  • อุจจาระเป็นเลือด มีมูกปนเลือดในอุจจาระ
  • ท้องผูกสลับกับท้องเสีย โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ปวดท้องเรื้อรัง

ระยะของอาการโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

สำหรับ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เราพบว่ามีระยะการเกิดโรค 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ถึง ระยะที่ 4 ซึ่ง รายละเอียดของ โรคมะเร็ง ระยะต่างๆ มีดังนี้

  • โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ระยะที่ 1 จะมีก้อนเนื้อ และแผลขนาดเล็กที่ผนังลำไส้ใหญ่
  • โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ระยะที่ 2 ก้อนเนื้อและแผล ลุกลามไปจนถึงเยื่อหุ้มลำไส้ใหญ่
  • โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ระยะที่ 3 ก้อนเนื้อและแผล ลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง ที่อยู่ใกล้กับลำไส้ใหญ่
  • โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ระยะที่ 4 เชื้อมะเร็งเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง และลามสู่อวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย และกระแสเลือด

สำหรับ การวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เริ่มจากการ ตรวจสอบประวัติของผู้ป่วย และอาการผิดปรกติของร่างกาย ตรวจร่างกาย ตรวจทวารหนัก ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ และตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา

การตรวจเพื่อคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ นั้นสามารถตรวจเพื่อ คัดกรองโรคมะเร็ง ได้ เหมือน มะเร็งเต้านม การตรวจ คัดกรองโรคมะเร็ง มีความจำเป็น เนื่องจาก มะเร็งลำไส้ใหญ่ ส่วนมากจะตรวจพบในระยะที่มากกว่าระยะที่ 2 แล้ว การรักษาจะยาก

การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เราใช้การ ผ่าตัดชิ้นเนื้อออก และรักษาร่วมกับอาหารทำเคมีบำบัด การฉายแสง เพื่อให้เนื้อร้ายฝ่อ แต่การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่จะได้ผลดมากน้อย ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเนื้อร้าย และระยะของโรค

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ให้หลีกเลี้ยงปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อระบบการย่อยอาหารและการขับถ่าย หมั่นตรวจคัดกรอง โรคมะเร็ง เป็นระยะๆ

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove