หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการปวดหลัง ปวดร้าวลงที่ขา ปวดไปถึงน่อง ปวดหลังเท้า เจ็บข้อพับ นิ้วเท้าชา เกิดจากการนั่งนานๆ หรือ การกระแทกที่กระดูกสันหลังหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคระบบประสาท โรคกระดูก

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หากท่านมีอาการ อาการปวดหลัง อาการปวดร้าวลงที่ขา ปวดไปถึงน่อง หรือ หลังเท้าข้างใดข้างหนึ่ง เจ็บข้อพับเข่าด้านหลัง ปวดน่อง นิ้วเท้าชา เป็นอาการเริ่มต้นเตือนให้ท่านรู้ว่า อาจเป็น โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความก้าวหน้า สามารถทานยา ทำกายภาพบำบัด โดยไม่ต้องผ่าตัด ก็สามารถทำได้ เรามาทำความรู้จักกับโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทให้ละเอียดมากกว่านี้ เพื่อใหรู้เท่าทันโรคนี้ ว่า สาเหตุของการเกิดโรค อาการ และการรักษา ต้องทำอย่างไร ป้องกันการเกิดเส้นประสาทสันหลังเสื่อม และกระดูกสันหลังเคลื่อนไปทับเส้นประสาทที่คอหรือเอวได้

โรคนี้เป็นโรคเสี่ยงของคนวัยทำงาน หรือ เป็นโรคหนึ่งของออฟฟิตซินโดรม ทำไมคนวัยทำงานจึงมีความเสี่ยงเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เนื่องจาก คนในวัยทำงานใช้ร่างหนัก ในขณะที่ไม่สัมพันธ์กับการพักผ่อน รวมถึงการออกเดินทาง ไปในสถานที่ต่างๆ การเคลื่อนไหวร่างกายมีมากกว่าคนในทุกวัย เราได้รวมพฤติกรรมเสี่ยงที่มีโอกาสให้หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไขสันหลัง มีดังนี้

  1. มีกิจกรรมที่ต้อง ก้มๆ เงยๆ มากเกินไป
  2. การยกของหนัก ในท่าทางไที่ไม่ถูกต้อง และต้องยกของหนักในเวลานานๆ
  3. อาชีพบางอาชีพที่ต้องใช้ความแข็งแรงของร่างกายสูง ที่ร่างกายต้องรองรับการกระแทกสูง เช่น งานก่อสร้าง
  4. การมีน้ำหนักตัวมากเกินกว่าที่ร่างกายจะรับไหว ทำให้ร่างกายต้องใช้ร่างกายและกล้ามเนื้อมาก มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเช่นกัน
  5. การนั้งในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป โดยไม่มีการปรับอิริยาบถ เช่น การนั้งทำงานบนโต้ะทำงานนานเกินไป

พฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไขสันหลังได้ เรามาดูว่าอาการของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นอย่างไร

อาการของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท

การที่หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไขสันหลัง อาจทำให้เกิดอาการอักเสบอย่างรุนแรง แบบฉับหลัน ได้ แต่ลักษณะอาการจะเกิดขึ้น บริเวณ หลังและขา โดยสามารถสรุปอาการได้ดังนี้

  • ปวดหลังในส่วนเอวตอนล่าง อาจปวดทั้งสองข้างหรือข้างเดียวก็ได้ อาการปวนนี้จะปวดเวลานั่ง เนื่องจากท่านั้นหมอนรองกระดูกจะถูกกระทบกระเทือนมากที่สุด
  • มีอาการปวดที่ขา มีอาการขาชา และบางครั้งกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง
  • มีอาการปวดหรือชา ตามแนวกระดูกสันหลัง ปวดตั้งแต่ นิ้วเท้า เท้า น่อง ต้นขา ไปถึงเอว มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ

สาเหตุของโรคหมอนรองกระดูกเส้นประสาท

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท นั้นตามที่กล่าวในข้างต้นถึงปัจจัยที่มีความเสียงในการเกิดโรคแล้วนั้น เราจะสรุป สาเหตุของการเกิดโรคนี้ ให้ละเอียดมากขึ้น มีดังนี้

  • การยกของหนัก ในท่าทางการยกที่ไม่ถูกต้อง
  • โรคอ้วน และน้ำหนักตัวที่มากเกิน
  • การนั่งทำงานท่าเดิมนานๆ โดยไม่มีการขยับตัว
  • การเกิดอุบัติเหตุ ที่มีการกระทบกระเทือนต่อกระดูกสันหลัง

สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุของการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท การป้องการการเกิดโรคเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ยิ่งกว่าการรักษา การเกิดโรคนี้ยังมีสิ่งที่ต้องระวังให้มากกว่านี้ คือ การเกิดโรคแทรกซ้อนที่มาจากการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โดยโรคแทรกซ้อนของการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมีดังนี้

  • การรักษามีโอกาสในการเกิดอุบัตติเหตุ ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของ หลอดลม หลอดอาหาร และเส้นเลือดใหญ่
  • มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ ที่มีผลต่อเส้นประสาทกล่องเสียง ทำให้อาจเสียงแหบได้
  • การผ่าตัด อาจทำให้ข้อกระดูกไม่เชื่อม
  • การรักษาด้วยการผ่าตัดอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ ภายหลังการผ่าตัดได้

การรักษาโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท

สำหรับการรักษาโรคนี้ ด้วยเทคโลดลยีทางการแพทย์มีมากขึ้น มีการรักษาด้วยการผ่าดับ ด้วยเทคนิค MIS เป็นการผ่าตัดกระดูกสันหลัง โดยส่องกล้องจุลทรรศน์ แบบแผลเล็ก เป็นการรักษาที่มีความปลอดภัยสูง และลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัตติเหตุต่อเส้นประสาท โดยการรักษาโรคนี้ยังสามารถรักษาได้หลายวิธี ดังนี้

  • รับประทานยา เป็นการรับประทานยา แก้ปวด แก้อักเสบ และยาคลายกล้ามเนื้อ
  • การรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด
  • การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาท
  • การผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
  • การผ่าตัดหมอนรองกระดูกด้วยกล้องจุลทรรศน์
  • การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกโดยใช้คอมพิวเตอร์นำวิถี

การป้องกันการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

การป้องกันการเกิดโรคทำได้โดยการหลีกเลี่ยง ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคทั้งหมด เช่น ไม่ยกของหนัก ยกของในท่าที่ถูกต้อง ไม่ยกของหนักเป็นเวลานาน ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ สำหรับการนั่งทำงานบ่อยๆ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และออกกำลักกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง และหน้าท้องอยู่เป็นประจำ

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ปวดหลัง ปวดร้าวลงที่ขา ปวดไปถึงน่อง ปวดหลังเท้า เจ็บข้อพับด้านหลัง นิ้วเท้าชา โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เกิดจากการนั่งอยู่กัยที่นานๆ หรือ การกระแทกที่กระดูกสันหลัง สาเหตุ อาการ การรักษาโรค

กล้ามเนื้ออ่อนแรง ( Myasthenia gravis ) โรคเอ็มจี ทำให้กล้ามเนื้อสมองส่วนควบคุมกล้ามเนื้อผิดปรกติ อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถทำงานได้ตามปรกติโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคสมอง ระบบประสาท หลอดเลือด

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ภาษาอังกฤษ เรียก Myasthenia gravis เรียกย่อๆว่า MG หลายคนจะเรียกโรคนี้ว่า “โรคเอมจี” โรคนี้ เป็นโรคภูมิต้านทานตัวเอง ชนิดเรื้อรัง ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อลาย ที่เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ตรงสมองส่วนควบคุมกล้ามเนื้อภายนอกร่างกายที่มำหน้าที่ควบคุมการเคลือนไหวของแขน ขา ดวงตา ใบหน้า ช่องปาก กล่องเสียง และกล้ามเนื้อซี่โครงที่ใช้ในการหายใจ เป็นต้น เกิดอาการอ่อนแรง ไม่สามารถทำงานได้ตามปรกติ แต่ว่าหากได้พักกล้ามเนื้อก็จะกลับมามีแรงอีกครั้งหนึ่ง

โรคนี้ไม่ได้เกิดจากสมอง หลอดเลือด หรือ ไขสันหลัง เกิดการอักเสบ หรือได้รับบาดเจ็บ จากสถิติพบว่าโรคนี้มีโอกาสเกิดได้ 10 ใน 100,000 คน และสามารพบได้ในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ และเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

สาเหตุของการเกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

สาเหตุของการเกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดจากเส้นประสาท ในส่วนที่ใช้สั่งการจากสมองไปยังกล้ามเนื้อเกิดมีปัญหา ทำให้ เส้นประสาทกับกล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ซึ่ง สาเหตุเกิดจากการที่ร่างกายสร้างภูมิต้านทานร่างกาย ชนิดไอจีจี ( IgG ) ได้น้อยกว่าปรกติ ซึ่งส่งผลให้ ร่างกายไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ในรายที่หนักมากอาจจะ ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เลย  โดย ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค นี้ คือ ต่อมไทมัส ที่มีหน้าที่สร้างภูมต้านทานร่างกายในส่วนนี้

อาการของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

สำหรับอาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง คือ ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อย อ่อนล้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง และอาการจะค่อยๆเพิ่มขึ้น และอาการจะดีขึ้นเมื่อร่างกายได้พักผ่อน โดย อาการอ่อนแรง จะเกิดที่กล้ามเนื้อลาย เช่น ดวงตาตก มีอาการ กลืนข้าวลำบาก พูดไม่ชัด แขน ขาอ่อนแรง กล้ามเนื้อกระดูกซี่โครงอ่อนแรง หายใจได้ลำบาก

การตรวจโรคนี้ สามารถทำได้โดย การตรวจสอบประวัติ ทำการทดสอบเบื้องต้น เรียกการทำ Icd pack test ตรวจเลือด เพือคูค่าภูมต้านทานร่างกาย ตรวจสอบการทำงานของกล้ามเนื้อ และทำ การเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจดู ต่อมไทมัส

การรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

สำหรับการรักษาโรค สามารถทำได้โดยการให้ยาต้าน การทำงานของเอนไซม์ ที่ทำให้ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ( Acetylcholinesterase inhibitors )  และ ให้ยากดภูมิต้านทานของร่างกาย เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ หรือสามารถรักษาได้โดยการกรองภูมิต้านทานออกจากเลือด ( Plasmaphreresis ) และ ผ่าตัดต่อมไทมัส

การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง สามารถทำได้โดย กินยาตามแพทย์แนะนำ ออกแรงให้สม่ำเสมอในการใช้ชีวิตประจำวัน ทานอาหารอ่อนๆ ปรับสภาพแวดล้อมภายในบ้านและที่อยู่าศัยให้มีที่ช่วยยึดจับ หลีกเลี่ยง การสูบบุหรี่ ความเครียด และ การดื่มสุรา ในสตรีมีครรถ์ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

การพักผ่อน และ การผ่อนคลายความเครียด ช่วยให้อาการของโรคนี้ดีขึ้นได้ ดังนี้ เราได้รวบรวม สมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยให้ผ่อนคลาย และ หลับสบาย ช่วยให้หลับง่าย

ตะไคร้ สมุนไพร พืชสมุนไพร สมุนไพรไทย
ตะไคร้
หอมหัวใหญ่ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพร
หอมหัวใหญ่
ดอกชมจันทร์ สมุนไพร สรรพคุณของชมจันทร์ ชมจันทร์
งาดำ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพรงาดำ
ต้นมะลิ ดอกมะลิ สมุนไพร สมุนไพรไทย
ต้นมะลิ
ไมยราบ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุก
ไมยราบ
อินทนิน สมุนไพร สมุนไพรไทย ไม้ยืนต้น
อินทนิล
มะเฟือง สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้
มะเฟือง

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง สิ่งสำคัญ ของการป่วนโรคนี้ คือ ความเครียด เพราะรู้ดีว่า โรคนี้รักษาไม่ได้ ทำได้เพียงแค่ ประคับประคองอาการ เป็น โรคที่ได้รับความทุกข์ทรมาน ทางใจ เนื่องจาก ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ แม้ว่า สมอง ยังรับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นอยู่ สำหรับการดูแลผู้่วย ครอบครัว ต้องเป็นกำลังใจที่สำคัญ ที่จะทำให้ผู้ป่วยยอมรับ และ เข้าใจกับโรคนี้  เพื่อใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ให้มี ความสุข ได้มากที่สุด

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ( Myasthenia gravis ) โรคเอ็มจี คือ โรคภูมิต้านทานตัวเองชนิดเรื้อรัง ทำให้กล้ามเนื้อสมองส่วนควบคุมกล้ามเนื้อ ไม่สามารถทำงานได้ อาการของโรค คือ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถทำงานได้ตามปรกติ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove