ปากแห้ง ภาวะริมฝีปากแห้งขาดความชุ่มชื้น เกิดจากภาวะขาดน้ำ น้ำลายน้อย ต่อมน้ำลายไม่ผลิตน้ำลาย อาการมีแผลที่ริมฝีปาก เจ็บริมฝีปาก การรักษาและป้องกันโรคทำอย่างไร

ปากแห้ง ริมฝีปากแห้ง โรคเกี่ยวกับปาก โรคไม่ติดต่อ

สาเหตุของปากแห้ง

ปากแห้ง เป็นผลจากภาวะการขาดความชุ่มชื้นของริมฝีปาก จากสาเหตุต่างๆ เช่น ภาวะการขาดน้ำ ต่อมน้ำลายไม่ผลิตน้ำลาย ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของภาวะปากแห้ง สำหรับปัจจัยที่ทำให้ต่อมน้ำลายไม่ผลิตน้ำลาย เกิดจากสาเหตุต่างๆดังต่อไปนี้

  • ภาวะขาดน้ำ การดื่มน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือ อยู่ในภาวะที่ทำให้ร่างกายเสียน้ำจำนวนมาก เช่น เสียเหงื่อ ท้องเสีย เสียเลือด มีไข้ อาการเหล่านี้ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ และ ส่งผลต่อริมฝีปากแห้ง
  • การใช้ยา การใช้ยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิต ยาแก้แพ้ ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้ปวด ยาลดน้ำมูก ยาเหล่านี้ส่งผลต่ออาการปากแห้งได้
  • ผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็ง ด้วยการทำเคมีบำบัด ซึ่งอาจเกิดขึ้นในระหว่างการรักษา ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายแสงบริเวณศีรษะและคอ อาจเกิดความผิดปรกติของต่อมน้ำลายได้
  • ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดบริเวณศรีษะ หรือ ลำคอ ซึ่งอากเกิดความเสียหายที่เส้นประสาทจนทำให้เกิดภาวะปากแห้งได้ ซึ่งอาการนี้สามารถเกิดจากการได้รับบาดเจ็บที่ศรีษะหรือลำคอด้วย เช่นกัน
  • การใช้สารเสพติด รวมถึง การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ อาจทำให้เกิดความเสียหายของปากและอวัยวะภายในปาก ทำให้ปากแห้งอย่างรุนแรงได้
  • ความเสื่อมของร่างกายตามวัย สำหรับผู้สูงอายุมักมีภาวะปากแห้ง ด้วยปัจจัยต่างๆ จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย การเจ็บป่วย หรือ การขาดสารอาหารบางชนิด

อาการของภาวะปากแห้ง

สำหรับผู้ป่วยภาวะริมฝีปากแห้ง มักมีภาวะการขาดน้ำร่วม โดยอาการจพแสดงออกที่ริมฝีปาก ให้เห็นอย่างเด่นชัด และ ภาวะปากแห้งเป็นสัญญาณของโรคต่างๆ ที่จะตามมาด้วย อาการของโรคปากแห้ง มีปัจจัยที่จะเกิดร่วม หรือ เป็นสาเหตุของโรคต่างๆที่แสดงอาการ ดังนี้

  • รู้สึกคอแห้ง เจ็บคอ กระหายน้ำ
  • รุ้สึกปากแห้ง และน้ำลายเหนียว
  • มีแผลในปาก หรือ มีรอยแตกที่ริมฝีปาก
  • มีอาการลิ้นแห้ง แสบลิ้น และ มีอาการลิ้นแดง
  • มีอาการเสียงแหบ
  • มีกลิ่นปาก
  • ภายในจมูกแห้ง แสบจมูกเวลาหายใจ

การรักษาปากแห้ง

สำหรับแนวทางการรักษาริมฝีปากแห้ง สามารถรักษาได้โดย การดูแลสุขภาพ รักษาความอบอุ่นของร่างกาย และ ดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยแนวทางการรักษาริมฝีปากแห้ง มีดังนี้

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย วันละ 8 – 10 แก้วต่อวัน
  • อมลูกอม หรือ เคี้ยวหมากฝรั่ง เพื่อช่วยกระตุ้นให้ต่อมน้ำลายทำงานมากขึ้น
  • อมน้ำแข็ง เป็นการเพิ่มน้ำในปาก เพิ่มความชุ่มชื่นภายในปาก
  • ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปาก หรือ ทาวาสลีนช่วยรักษาความชุ่มชื้นของริมฝีปาก
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มผสมคาเฟอีน
  • เลิกสูบบุหรี่

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากปากแห้ง

สำหรับอาการปากแห้ง เป็นการเตือนว่าร่างกายเกิดความผิดปรกติ โดยภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากอาการปากแห้ง เช่น ฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ แผลในปาก ปากอักเสบ เป็นต้น

การป้องกันภาวะริมฝีปากแห้ง

สามารถป้องกันและบรรเทาอาการปากแห้ง ได้โดยมีแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
  • รักษาความอบอุ่นของร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่เกิดการระคายเคืองต่อปาก เช่น อาหารเผ็ดหรือเค็มจัด
  • กระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำลาย ด้วยการอมลูกอมหรือเคี้ยวหมากฝรั่ง
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มสุรา กาแฟ
  • ไม่สูบบุหรี่

ปากแห้ง คือ ภาวะริมฝีปากแห้ง ขาดความชุ่มชื้น เกิดจากภาวะขาดน้ำ น้ำลายน้อย ต่อมน้ำลายไม่ผลิตน้ำลาย เพื่อรักษาความชุ่มชื้นในปากอย่างปกติ ส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพ และ ทำให้เกิดการติดเชื้อ แผลที่ริมฝีปาก อาการของปากแห้ง การรักษาปากแห้งทำอย่างไร

เหงือกอักเสบ ภาวะการอักเสบของเหงือก ทำให้เกิดอาการปวด บวม ที่เหงือก ส่งผลต่างๆภายในช่องปาก เช่น มีกลิ่นปาก ปวดฟัน การรักษาและการป้องกันการเกิดโรคทำอย่างไรโรคเหงือกอักเสบ โรคในช่องปาก โรคเหงือก ปวดเหงือก

โรคเหงือกอักเสบ ( Gingivitis ) คือ โรคหนึ่งที่เกิดขึ้นภายในช่องปาก เกิดขึ้นกับเหงือก ทำให้เกิดอาการระคายเคือง ปวด และ บวมแดงที่เหงือก เหงือกมีความสำคัญ เมื่อเกิดภาวะเหงือกอักเสบ จึงควรให้ความสำคัญและควรรักษาอย่างทันท่วงที ป้องกันโทษที่เกิดจากการอักเสบของเหงือกที่จะส่งผลกระทบต่ออวัยวะที่เกี่ยวข้องตามมา

สัญญาณของการเกิดโรคเหงืออักเสบ

สำหรับอาการต่างๆที่แสดงถึงตัวบ่งชี้ว่า กำลังเกิดโรคเหงือกอักเสบกับตัวเรา คือ

  • เหงือกบวม
  • เหงือกนิ่มผิดปกติ
  • เหงือกร่น
  • มีเลือดออกจากเหงือกง่าย เช่น เวลาแปรงฟัน หรือ เวลาใช้ไหมขัดฟัน
  • เหงือกเกิดการเปลี่ยนสี จากปรกติเหงือกจะมีสีชมพู เปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มหรือมีสีคล้ำมากขึ้น
  • มีกลิ่นปาก
  • มีหนองออกมาจากเหงือก
  • ฟันโยก

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบ

สำหรับปัจจัยต่างๆที่ส่งผลกระบต่อเหงือก ที่ทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบ มีรายละเอียด ดังนี้

  • พฤติกรรมการดูแลดูแลสุขภาพภายในช่องปากไม่ดีเท่าที่ควร
  • ภาวะเกิดคราบหินปูน
  • ภาวะการเกิดฟันผุ
  • ภาวะปากแห้ง
  • การสูบบุหรี่
  • อายุที่เพิ่มขึ้น ภาวะความเสื่อมของอวัยวะตามการใช้งาน
  • ภาวะโรคเบาหวาน
  • ภาวะโรคจากระบบภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ เช่น โรคลูคีเมีย โรคเอชไอวี เป็นต้น
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยารักษาอาการชัก หรือ ยาไดแลนติน
  • ภาวะการติดเชื้อในช่องปาก เช่น เชื้อไวรัส หรือ เชื้อราบางชนิด เป็นต้น
  • ภาวะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย เช่น การมีประจำเดือด ภาวะการตั้งครรภ์ การใช้ยาคุมกำเนิด เป็นต้น
  • ภาวะการขาดสารอาหารบางชนิด รับประทานอาหารที่คุณค่าทางโภชนาการไม่ครบถ้วน

สาเหตุของโรคเหงือกอักเสบ

สำหรับสาเหตุหลักของการเกิดโรคเหงือกอักเสบ คือ พฤติกรรมส่วนตัวที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพเหงือกและฟัน การดูแลสุขภายในช่องปากไม่ดี การเกิดคราบหินปูนตามร่องเหงือก ซึ่งทำให้เกิดสารที่ทำให้เหงือกเกิดความระคายเคือง จนกลายเป็นภาวะเหงือกอักเสบในที่สุด นอกจาก การเกิดฟันผุ ก็เป็นสาเหตุของโรคเหงือกอักเสบ

อาการของโรคเหงือกอักเสบ

สำหรับอาการของโรคเหงือกอักเสบนั้น อาการที่พบเห็นจะแสดงออกอย่างชัดเจน ที่เหงือก มีการเปลี่ยนแปลงของเหงือกอย่างชัดเจน เช่น อาการบวมแดง อาการปวด อาการมีเลือดออก เป็นต้น สำหรับอาการของโรคเหงือกอักเสบ มีระยะของโรค 3 ระยะ คือ ระยะเหงือกอักเสบ ระยะเยื่อหุ้มฟันอักเสบ และ ระยะเยื่อหุ้มฟันอักเสบตอนปลาย โดยรายละเอียดของระยะของอาการเหงือกอักเสบ มีดังนี้

  • ระยะเหงือกอักเสบ เป็นระยะเริ่มต้นของการอักเสบ เกิดจากคราบที่ก่อตัวขึ้นมาตามรอยต่อระหว่างฟันและเหงือก การสะสมของคราบเหล่านี้จะทำให้เกิดสารพิษ ก่อความระคายเคืองให้แก่เนื้อเยื่อของเหงือก ทำให้เหงือกอักเสบในที่สุด อาการของเหงือกอักเสบระยะนี้ จะมีเลือดออกขณะแปรงฟัน สามารถกลับสู่ภาวะเหงือกสมบูรณ์เหมือนเดิมได้
  • ระยะเยื่อหุ้มฟันอักเสบ เป็นระยะกระดูกและเนื้อเยื่อ ที่มีหน้าที่ช่วยพยุงฟันถูกทำลาย จนไม่สามารถกลับมาสมบูรณ์เหมือนเดิมได้ ระยะนี้เหงือกจะร่นและเกิดโพรงใต้รอยต่อระหว่างเหงือกและฟัน ทำให้เกิดคราบและเศษอาหารติดฟันได้ง่าย การดูแลทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกวิธี สามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่เหงือกได้
  • ระยะเยื่อหุ้มฟันอักเสบตอนปลาย ในระยะนี้กระดูกและเนื้อเยื่อที่มีหน้าที่พยุงฟันถูกทำลายไปจนหมด ทำให้เกิดอาการฟันโยก ส่งผลต่อการเคี้ยวบกพร่อง อาจต้องถอนฟันออก

แนวทางการวินิจฉัยโรคเหงือกอักเสบ

สำหรับการวินิจฉัยโรคเหงือกของทันตแพทย์ นั้นขึ้นอยู่กับอาการที่แสดงออกกับ ฟัน เหงือก ปาก และ ลิ้น และ ตรวจความผิดปกติของเหงือก เช่น อาการบวมแดง อาการเลือดออกตามเหงือก เป็นต้น นอกจากนั้นสามารถวินิจฉัย จากเครื่องมือและแนวทางต่างๆ ดังนี้

  • ประเมินการเคลื่อนที่ของฟัน และ การตอบสนองต่อการเสียวฟัน
  • ตรวจดูตำแหน่งของฟัน
  • ตรวจสอบกระดูกขากรรไกร

การรักษาโรคเหงือกอักเสบ

สำหรับการรักษาอาการเหงือกอักเสบ นั้นควรต้องเริ่มจากการรักษาสาเหตุของสิ่งที่ทำให้เกิดอาการเหงือกอักเสบ เพื่อควบคุมอาการและป้องกันการลุกลามของภาวะเหงือกอักเสบ จนทำให้สูญเสียฟัน การรักษาภาวะเหงือกอักเสบที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องอาศัย การดูแลสุขภาพเหงือกและฟัน อย่างถูกวิธี โดยแนวทางการดูแลเหงือกและฟัน ที่ถูกต้อง มีดังนี้

  • ทำความสะอาดช่องปาก เพื่อกำจัดคราบพลัค และ คราบหินปูน
  • แปรงฟันอย่างถูกต้อง และ ใช้ไหมขัดฟัน ควบคู่กัน เพื่อลดการสะสมของคราบต่างๆ
  • เข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปากกับทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
  • หากมีปัญหาเกี่ยวกับฟันให้รีบรักษา เช่น ครอบฟัน อุดฟัน ขูดหินปุน เป็นต้น
  • ใช้น้ำยาบ้วนปาก ช่วยควบคุมการเกิดคราบพลัคได้

ภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดโรคเหงือกอักเสบ

โรคเหงือกอักเสบ หากไม่ทำการรักษาให้หาย อาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนต่างๆ อาจมีผลกับสุขภาพร่างกายโดยรวม แต่สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ โรคเหงือกอักเสบ อาจมีความเกี่ยวข้องกับโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคปอด เป็นต้น

การป้องกันการเกิดโรคเหงือกอักเสบ

การป้องกันการเกิดโรคเหงือกอักเสบ ที่ดีที่สุด คือ การดูแลสุขภาพภายในช่องปากที่ดี ซึ่งต้องปฏิบัติอย่างถูกต้องและปฏิบัติตลอดชีวิต คือ การทำความสะอาดช่องปาก ด้วยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟัน และ เข้ารับการตรวจสุขภาพในช่องปาก เหงือก และ ฟัน อย่างสม่ำเสมอ ทุก 6 – 12 เดือน

โรคเหงือกอักเสบ คือ ภาวะการอักเสบของเหงือก ทำให้เกิดอาการปวด บวม ที่เหงือก ส่งผลต่างๆภายในช่องปาก เช่น มีกลิ่นปาก ปวดฟัน สาเหตุของเหงือกอักเสบเกิดจากอะไร การรักษาเหงือกอักเสบ และ การป้องกันการเกิดโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove