ปากแห้ง ภาวะริมฝีปากแห้งขาดความชุ่มชื้น เกิดจากภาวะขาดน้ำ น้ำลายน้อย ต่อมน้ำลายไม่ผลิตน้ำลาย อาการมีแผลที่ริมฝีปาก เจ็บริมฝีปาก การรักษาและป้องกันโรคทำอย่างไร

ปากแห้ง ริมฝีปากแห้ง โรคเกี่ยวกับปาก โรคไม่ติดต่อ

สาเหตุของปากแห้ง

ปากแห้ง เป็นผลจากภาวะการขาดความชุ่มชื้นของริมฝีปาก จากสาเหตุต่างๆ เช่น ภาวะการขาดน้ำ ต่อมน้ำลายไม่ผลิตน้ำลาย ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของภาวะปากแห้ง สำหรับปัจจัยที่ทำให้ต่อมน้ำลายไม่ผลิตน้ำลาย เกิดจากสาเหตุต่างๆดังต่อไปนี้

  • ภาวะขาดน้ำ การดื่มน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือ อยู่ในภาวะที่ทำให้ร่างกายเสียน้ำจำนวนมาก เช่น เสียเหงื่อ ท้องเสีย เสียเลือด มีไข้ อาการเหล่านี้ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ และ ส่งผลต่อริมฝีปากแห้ง
  • การใช้ยา การใช้ยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิต ยาแก้แพ้ ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้ปวด ยาลดน้ำมูก ยาเหล่านี้ส่งผลต่ออาการปากแห้งได้
  • ผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็ง ด้วยการทำเคมีบำบัด ซึ่งอาจเกิดขึ้นในระหว่างการรักษา ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายแสงบริเวณศีรษะและคอ อาจเกิดความผิดปรกติของต่อมน้ำลายได้
  • ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดบริเวณศรีษะ หรือ ลำคอ ซึ่งอากเกิดความเสียหายที่เส้นประสาทจนทำให้เกิดภาวะปากแห้งได้ ซึ่งอาการนี้สามารถเกิดจากการได้รับบาดเจ็บที่ศรีษะหรือลำคอด้วย เช่นกัน
  • การใช้สารเสพติด รวมถึง การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ อาจทำให้เกิดความเสียหายของปากและอวัยวะภายในปาก ทำให้ปากแห้งอย่างรุนแรงได้
  • ความเสื่อมของร่างกายตามวัย สำหรับผู้สูงอายุมักมีภาวะปากแห้ง ด้วยปัจจัยต่างๆ จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย การเจ็บป่วย หรือ การขาดสารอาหารบางชนิด

อาการของภาวะปากแห้ง

สำหรับผู้ป่วยภาวะริมฝีปากแห้ง มักมีภาวะการขาดน้ำร่วม โดยอาการจพแสดงออกที่ริมฝีปาก ให้เห็นอย่างเด่นชัด และ ภาวะปากแห้งเป็นสัญญาณของโรคต่างๆ ที่จะตามมาด้วย อาการของโรคปากแห้ง มีปัจจัยที่จะเกิดร่วม หรือ เป็นสาเหตุของโรคต่างๆที่แสดงอาการ ดังนี้

  • รู้สึกคอแห้ง เจ็บคอ กระหายน้ำ
  • รุ้สึกปากแห้ง และน้ำลายเหนียว
  • มีแผลในปาก หรือ มีรอยแตกที่ริมฝีปาก
  • มีอาการลิ้นแห้ง แสบลิ้น และ มีอาการลิ้นแดง
  • มีอาการเสียงแหบ
  • มีกลิ่นปาก
  • ภายในจมูกแห้ง แสบจมูกเวลาหายใจ

การรักษาปากแห้ง

สำหรับแนวทางการรักษาริมฝีปากแห้ง สามารถรักษาได้โดย การดูแลสุขภาพ รักษาความอบอุ่นของร่างกาย และ ดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยแนวทางการรักษาริมฝีปากแห้ง มีดังนี้

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย วันละ 8 – 10 แก้วต่อวัน
  • อมลูกอม หรือ เคี้ยวหมากฝรั่ง เพื่อช่วยกระตุ้นให้ต่อมน้ำลายทำงานมากขึ้น
  • อมน้ำแข็ง เป็นการเพิ่มน้ำในปาก เพิ่มความชุ่มชื่นภายในปาก
  • ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปาก หรือ ทาวาสลีนช่วยรักษาความชุ่มชื้นของริมฝีปาก
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มผสมคาเฟอีน
  • เลิกสูบบุหรี่

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากปากแห้ง

สำหรับอาการปากแห้ง เป็นการเตือนว่าร่างกายเกิดความผิดปรกติ โดยภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากอาการปากแห้ง เช่น ฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ แผลในปาก ปากอักเสบ เป็นต้น

การป้องกันภาวะริมฝีปากแห้ง

สามารถป้องกันและบรรเทาอาการปากแห้ง ได้โดยมีแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
  • รักษาความอบอุ่นของร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่เกิดการระคายเคืองต่อปาก เช่น อาหารเผ็ดหรือเค็มจัด
  • กระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำลาย ด้วยการอมลูกอมหรือเคี้ยวหมากฝรั่ง
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มสุรา กาแฟ
  • ไม่สูบบุหรี่

ปากแห้ง คือ ภาวะริมฝีปากแห้ง ขาดความชุ่มชื้น เกิดจากภาวะขาดน้ำ น้ำลายน้อย ต่อมน้ำลายไม่ผลิตน้ำลาย เพื่อรักษาความชุ่มชื้นในปากอย่างปกติ ส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพ และ ทำให้เกิดการติดเชื้อ แผลที่ริมฝีปาก อาการของปากแห้ง การรักษาปากแห้งทำอย่างไร

แผลร้อนใน แผลเปื่อยในช่องปาก มีหลายปัจจัย เช่น การแปรงฟัน การกิน ไม่ใช่โรคร้ายแรง หายเองได้ภายใน 1 สัปดาห์ ใช้ยาทา หรือ บ้วนปาก เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นแผลร้อนใน แผลในปาก โรคไม่ติดต่อ

แผลร้อนใน ภาษาอังกฤษ เรียก Aphthous ulcer คือ โรคในช่องปาก โดยการ เกิดแผลเปื่อยในช่องปาก มีปัจจัยของการเกิดแผลหลายอย่าง แต่ปัจจัยจากการดำรงชีวิต เช่น การแปรงฟัน การรับประทานอาหาร ทำให้เกิดโรคได้มาก โรคนี้ไม่ใช่โรคร้ายแรง โดยปกติแล้วแผลร้อนใน สามารถหายเองได้ภายใน 1 สัปดาห์ หากพบแพทย์ใช้ยาทา หรือ บ้วนปาก เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น

สำหรับโรคแผลร้อนใน นั้นสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่ ร้อยละ 80 เกิดกับคนอายุต่ำกว่า 30 ปี ซึ่งเราพบว่า มีปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคนี้ หลายอย่าง โดยรายละเอียด ประกอบด้วย

  • ปัจจัยจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เนื่องจากพบว่า ร้อยละ 40 ของผู้ป่วย มีคนในครอบครัวมีประวัติเกิดแผลร้อนในปาก
  • ความเครียดและความวิตกกังวล
  • พฤติกรรมการชอบกัดลิ้น และ กระพุ้งแก้ม ขณะเคี้ยวอาหาร
  • การแพ้สารเคมีบางชนิด เช่น น้ำยาบ้วนปาก หรือ ยาสีฟัน
  • การแพ้อาหารบางชนิด และ การขาดวิตามินและเกลือแร่ ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่เกิดจากการขาด วิตามินบี ธาตุเหล็ก และะาตุสังกะสี
  • เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ การติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสเริม
  • การสูบบุหรี่

อาการของโรคแผลร้อนใน

สำหรับอาการสำคัญของแผลร้อนใน ที่พบคือ เจ็บที่เนื้อเยื่อในช่องปาก พบว่ามีแผลเปื่อย ด้านในของริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม เหงือก เพดาน ลิ้น ใต้ลิ้น รอยต่อระหว่างริมฝีปากกับเหงือก ในบางรายที่มีอาการรุนแรง พบว่ามีแผลเปื่อยในลำคอด้วย ซึ่งอาการเริ่มต้นจะมีอาการเจ็บบริเซณที่มีแผล ลักษณะแผลจะเป็นรอยกลม หลังจากนั้นแผลจะเปื่อย ทำให้มีอาการเจ็บ ตัวแผลจะมีสีเหลืองหรือสีขาว  ขอบแผลจะแดง  โดยลักษณะของแผลร้อนใน มี 3 ลักษณะ คือ แผลเปื่อยไมเนอร์ ( Minor ulcer ) แผลเปื่อยเมเจอร์ ( Major ulcer ) และ แผลเปื่อยเฮอร์เพติฟอร์ม ( Herpetiform ulcer ) โดยลักษณะของแผลร้อนในมีรายละเอียด ดังนี้

  • แผลเปื่อยไมเนอร์ ( Minor ulcer ) เป็นลักษณะของแผลเปื่อยที่พบมากถึงร้อยละ 80 ของผู้ป่วยแผลร้อนใน แผลมีขนาดเล็ก ไม่เกิน 1 เซ็นติเมตร และแผลไม่ลึก แผลลักษณะนี้ หายได้เองภายใน 14 วัน
  • แผลเปื่อยเมเจอร์ ( Major ulcer ) เป็นลักษณะของแผลร้อนในพบได้ร้อยละ 15 ของผู้ป่วยแผลร้อนใน ลักษณะของแผลมีขนาดใหญ่กว่า 1 เซ็นติเมตร แผลลึก พบบ่อยคนอายุเลยวัยรุ่นไปแล้ว แผลจะหายช้าใช้เวลามากกว่า 14 วัน และมักเกิดแผลร้อนในซ้ำและบ่อย ควรเข้าพบแพทย์ เนื่องจากอาจเกิดโรคอื่นที่ร้ายแรงกว่าการเป็นแค่แผลร้อนใน
  • แผลเปื่อยเฮอร์เพติฟอร์ม ( Herpetiform ulcer ) เป็นลักษณะของแผลร้อนในที่มีอาการรุนแรง พบประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วยแผลร้อนในปาก และพบมากในเพศหญิง พบว่ามีแผลรุนแรง และมากกว่า 10 แผล

การรักษาแผลร้อนในปาก

สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคแผลร้อนในปาก นั้น แพทยืจะวินิจฉัย จากอาการของผุ้ป่วย การตรวจร่างกาย และการตรวจแผลในช่องปาก การตรวจทางเซลล์วิทยา โดยการขูดเนื้อไปตรวจ แนวทางการรักษาแผลร้อนใน นั้น เริ่มจาก การประคับประคองตามอาการของโรค เช่น การกินยาแก้ปวด ใช้ยาทาแก้ปวด ยาต้านการอักเสบ การพักผ่อนให้เพียงพอ

การดูแลผุ้ป่วยแผลร้อนใน

สำหรับการดูแลตนเองหรือผู้ป่วย เมื่อเกิดแผลร้อนในปาก นั้นสามารถปฏิบัติได้ ดังนี้ การพบแพทย์เมื่อเป็นโรคแผลร้อนใน ได้แก่

  • ให้พักผ่อนให้พอเพียง
  • การกินอาหาร ให้กินอาหารที่มีรสอ่อนและรสจืด
  • ให้ดื่มน้ำสะอาด
  • ใช้ยาทาแผลและกินยาแก้ปวด เพื่อบรรเทาอาการของแผลไม่ให้ลาม
  • หากแผลไม่หายภายใน 14 วัน ให้พบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุของการเกิดโรค

ป้องกันการแผลร้อนใน

สำหรับการป้องกันแผลร้อนใน นั้นไม่สามารถป้องกันได้อย่างเด็ดขาด เนื่องจากไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่นอนของการเกิดแผลได้ สิ่งที่สามารถทำได้คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดแผลร้อนใน และ ปรับพฤติกรรมการดำรงค์ชีวิตประจำวัน โดยแนวทางการปฏิบัติ มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และ ต้องกินอาหารครบห 5 หมู่
  • พยายามผ่อนคลาย อย่าให้ตนเองอยู่ในภาวะความเคลียด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หากเกิดแผลร้อนใน ให้ลองเปลี่ยนยาสีฟัน หรือ ให้เปลี่ยนยาสีฟันเป้นระยะๆ ไม่ใช้ยาสีฟันชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นเวลานาน
  • การเคี้ยวอาหาร ให้เคี้ยวอาหารอย่างมีสติ ไม่ให้ไปกัดลิ้น หรือ กระพุ้งแก้ม
  • ให้รักษาความสะอาดภายในช่องปากอย่างสม่ำเสมอ

อาหารแนะนำสำหรับคนีแผลร้อนใน

สำหรับอาหารที่มีฤทธิ์รักษาแผลร้อนใน ต้องเป็น อาหารที่มีเย็น เนื่องจากอาหารที่มีฤทธิ์ร้อนเป็นสาเหตุของการทำให้แผลร้อนในอาการลุกลามได้ อาหารแนะนำสำหรับที่มีฤิทธ์เย็น เช่น มะระ ชะอม ผักกาดขาว ปวยเล้ง แตงกวา ตำลึง ฟักเขียว หัวไชท้าว มะเฟือง แตงไทย ลองกอง อ้อย มังคุด เก๊กฮวย รากบัว หล่อฮั่งก๊วย บัวบก เป็นต้น

โดยทั่วไปแผลร้อนในเป็นโรคไม่รุนแรง สามารถรักษาให้หายได้ใน 1-2 สัปดาห์ ยกเว้นการติดเชื้อแบคทีเรีย จะทำให้แผลหายช้า อาจทำให้เกิดพังผืด หรือ แผลเป็นตรงตำแหน่งเกิดแผล อย่างไรก็ตามยังไม่เคยมีรายงานว่า แผลร้อนในกลายเป็นโรคมะเร็ง แต่แผลโรคมะเร็งอาจให้ลักษณะแผลเหมือนแผลร้อนในได้ ดังนั้น หากมีแผลร้อนใน และอาการของแผลไม่ดีขึ้น ควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยมะเร็งในช่องปาก โดยเฉพาะ คนที่อายุเกิน 40 ปี

โรคแผลร้อนใน คือ โรคในช่องปาก เกิดแผลเปื่อยในช่องปาก ปัจจัยของการเกิดแผล มีหลายอย่าง เช่น การแปรงฟัน การกิน ทำให้เกิดโรคต่างๆได้ โรคนี้ไม่ใช่โรคร้ายแรง แผลร้อนใน สามารถหายเองได้ภายใน 1 สัปดาห์ หากพบแพทย์ใช้ยาทา หรือ บ้วนปาก เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove