แผลร้อนใน แผลเปื่อยในช่องปาก มีหลายปัจจัย เช่น การแปรงฟัน การกิน ไม่ใช่โรคร้ายแรง หายเองได้ภายใน 1 สัปดาห์ ใช้ยาทา หรือ บ้วนปาก เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นแผลร้อนใน แผลในปาก โรคไม่ติดต่อ

แผลร้อนใน ภาษาอังกฤษ เรียก Aphthous ulcer คือ โรคในช่องปาก โดยการ เกิดแผลเปื่อยในช่องปาก มีปัจจัยของการเกิดแผลหลายอย่าง แต่ปัจจัยจากการดำรงชีวิต เช่น การแปรงฟัน การรับประทานอาหาร ทำให้เกิดโรคได้มาก โรคนี้ไม่ใช่โรคร้ายแรง โดยปกติแล้วแผลร้อนใน สามารถหายเองได้ภายใน 1 สัปดาห์ หากพบแพทย์ใช้ยาทา หรือ บ้วนปาก เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น

สำหรับโรคแผลร้อนใน นั้นสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่ ร้อยละ 80 เกิดกับคนอายุต่ำกว่า 30 ปี ซึ่งเราพบว่า มีปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคนี้ หลายอย่าง โดยรายละเอียด ประกอบด้วย

  • ปัจจัยจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เนื่องจากพบว่า ร้อยละ 40 ของผู้ป่วย มีคนในครอบครัวมีประวัติเกิดแผลร้อนในปาก
  • ความเครียดและความวิตกกังวล
  • พฤติกรรมการชอบกัดลิ้น และ กระพุ้งแก้ม ขณะเคี้ยวอาหาร
  • การแพ้สารเคมีบางชนิด เช่น น้ำยาบ้วนปาก หรือ ยาสีฟัน
  • การแพ้อาหารบางชนิด และ การขาดวิตามินและเกลือแร่ ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่เกิดจากการขาด วิตามินบี ธาตุเหล็ก และะาตุสังกะสี
  • เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ การติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสเริม
  • การสูบบุหรี่

อาการของโรคแผลร้อนใน

สำหรับอาการสำคัญของแผลร้อนใน ที่พบคือ เจ็บที่เนื้อเยื่อในช่องปาก พบว่ามีแผลเปื่อย ด้านในของริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม เหงือก เพดาน ลิ้น ใต้ลิ้น รอยต่อระหว่างริมฝีปากกับเหงือก ในบางรายที่มีอาการรุนแรง พบว่ามีแผลเปื่อยในลำคอด้วย ซึ่งอาการเริ่มต้นจะมีอาการเจ็บบริเซณที่มีแผล ลักษณะแผลจะเป็นรอยกลม หลังจากนั้นแผลจะเปื่อย ทำให้มีอาการเจ็บ ตัวแผลจะมีสีเหลืองหรือสีขาว  ขอบแผลจะแดง  โดยลักษณะของแผลร้อนใน มี 3 ลักษณะ คือ แผลเปื่อยไมเนอร์ ( Minor ulcer ) แผลเปื่อยเมเจอร์ ( Major ulcer ) และ แผลเปื่อยเฮอร์เพติฟอร์ม ( Herpetiform ulcer ) โดยลักษณะของแผลร้อนในมีรายละเอียด ดังนี้

  • แผลเปื่อยไมเนอร์ ( Minor ulcer ) เป็นลักษณะของแผลเปื่อยที่พบมากถึงร้อยละ 80 ของผู้ป่วยแผลร้อนใน แผลมีขนาดเล็ก ไม่เกิน 1 เซ็นติเมตร และแผลไม่ลึก แผลลักษณะนี้ หายได้เองภายใน 14 วัน
  • แผลเปื่อยเมเจอร์ ( Major ulcer ) เป็นลักษณะของแผลร้อนในพบได้ร้อยละ 15 ของผู้ป่วยแผลร้อนใน ลักษณะของแผลมีขนาดใหญ่กว่า 1 เซ็นติเมตร แผลลึก พบบ่อยคนอายุเลยวัยรุ่นไปแล้ว แผลจะหายช้าใช้เวลามากกว่า 14 วัน และมักเกิดแผลร้อนในซ้ำและบ่อย ควรเข้าพบแพทย์ เนื่องจากอาจเกิดโรคอื่นที่ร้ายแรงกว่าการเป็นแค่แผลร้อนใน
  • แผลเปื่อยเฮอร์เพติฟอร์ม ( Herpetiform ulcer ) เป็นลักษณะของแผลร้อนในที่มีอาการรุนแรง พบประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วยแผลร้อนในปาก และพบมากในเพศหญิง พบว่ามีแผลรุนแรง และมากกว่า 10 แผล

การรักษาแผลร้อนในปาก

สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคแผลร้อนในปาก นั้น แพทยืจะวินิจฉัย จากอาการของผุ้ป่วย การตรวจร่างกาย และการตรวจแผลในช่องปาก การตรวจทางเซลล์วิทยา โดยการขูดเนื้อไปตรวจ แนวทางการรักษาแผลร้อนใน นั้น เริ่มจาก การประคับประคองตามอาการของโรค เช่น การกินยาแก้ปวด ใช้ยาทาแก้ปวด ยาต้านการอักเสบ การพักผ่อนให้เพียงพอ

การดูแลผุ้ป่วยแผลร้อนใน

สำหรับการดูแลตนเองหรือผู้ป่วย เมื่อเกิดแผลร้อนในปาก นั้นสามารถปฏิบัติได้ ดังนี้ การพบแพทย์เมื่อเป็นโรคแผลร้อนใน ได้แก่

  • ให้พักผ่อนให้พอเพียง
  • การกินอาหาร ให้กินอาหารที่มีรสอ่อนและรสจืด
  • ให้ดื่มน้ำสะอาด
  • ใช้ยาทาแผลและกินยาแก้ปวด เพื่อบรรเทาอาการของแผลไม่ให้ลาม
  • หากแผลไม่หายภายใน 14 วัน ให้พบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุของการเกิดโรค

ป้องกันการแผลร้อนใน

สำหรับการป้องกันแผลร้อนใน นั้นไม่สามารถป้องกันได้อย่างเด็ดขาด เนื่องจากไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่นอนของการเกิดแผลได้ สิ่งที่สามารถทำได้คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดแผลร้อนใน และ ปรับพฤติกรรมการดำรงค์ชีวิตประจำวัน โดยแนวทางการปฏิบัติ มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และ ต้องกินอาหารครบห 5 หมู่
  • พยายามผ่อนคลาย อย่าให้ตนเองอยู่ในภาวะความเคลียด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หากเกิดแผลร้อนใน ให้ลองเปลี่ยนยาสีฟัน หรือ ให้เปลี่ยนยาสีฟันเป้นระยะๆ ไม่ใช้ยาสีฟันชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นเวลานาน
  • การเคี้ยวอาหาร ให้เคี้ยวอาหารอย่างมีสติ ไม่ให้ไปกัดลิ้น หรือ กระพุ้งแก้ม
  • ให้รักษาความสะอาดภายในช่องปากอย่างสม่ำเสมอ

อาหารแนะนำสำหรับคนีแผลร้อนใน

สำหรับอาหารที่มีฤทธิ์รักษาแผลร้อนใน ต้องเป็น อาหารที่มีเย็น เนื่องจากอาหารที่มีฤทธิ์ร้อนเป็นสาเหตุของการทำให้แผลร้อนในอาการลุกลามได้ อาหารแนะนำสำหรับที่มีฤิทธ์เย็น เช่น มะระ ชะอม ผักกาดขาว ปวยเล้ง แตงกวา ตำลึง ฟักเขียว หัวไชท้าว มะเฟือง แตงไทย ลองกอง อ้อย มังคุด เก๊กฮวย รากบัว หล่อฮั่งก๊วย บัวบก เป็นต้น

โดยทั่วไปแผลร้อนในเป็นโรคไม่รุนแรง สามารถรักษาให้หายได้ใน 1-2 สัปดาห์ ยกเว้นการติดเชื้อแบคทีเรีย จะทำให้แผลหายช้า อาจทำให้เกิดพังผืด หรือ แผลเป็นตรงตำแหน่งเกิดแผล อย่างไรก็ตามยังไม่เคยมีรายงานว่า แผลร้อนในกลายเป็นโรคมะเร็ง แต่แผลโรคมะเร็งอาจให้ลักษณะแผลเหมือนแผลร้อนในได้ ดังนั้น หากมีแผลร้อนใน และอาการของแผลไม่ดีขึ้น ควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยมะเร็งในช่องปาก โดยเฉพาะ คนที่อายุเกิน 40 ปี

โรคแผลร้อนใน คือ โรคในช่องปาก เกิดแผลเปื่อยในช่องปาก ปัจจัยของการเกิดแผล มีหลายอย่าง เช่น การแปรงฟัน การกิน ทำให้เกิดโรคต่างๆได้ โรคนี้ไม่ใช่โรคร้ายแรง แผลร้อนใน สามารถหายเองได้ภายใน 1 สัปดาห์ หากพบแพทย์ใช้ยาทา หรือ บ้วนปาก เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น

มะเร็งช่องปาก ( Oral cancer ) เนื้อร้ายที่ช่องปาก เกิดจากการสูบบุหรี่ อาการมีก้อนในช่องปาก ลิ้นและเยื้อบุช่องปากมีฝ้าสีขาว แผลในปากหายยาก ไม่สามารถกินอาหารได้

มะเร็งช่องปาก โรคมะเร็ง โรคในช่องปาก เป็นมะเร็งช่องปาก

มะเร็งช่องปาก เป็นการเกิดเนื้อร้ายที่ช่องปาก เป็นโรคที่ทรมาน ทำให้ไม่สามารถกินอาหารได้ อาการของโรคมะเร็งช่องปากเป็นอย่างไร อะไรคือปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค การรักษาและการดูแลผู้ป่วยมะเร็งช่องปาก ทำอย่างไร รวมอยู่ในบทความนี้

ช่องปาก คือ อวัยวะเริ่มต้นของระบบทางเดินอาหาร ที่มีอวัยวะหลายส่วน ได้แก่ ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม เหงือก ลิ้น รวมถึงเนื้อเยื่อใต้ลิ้น ด้วยซึ่งอวัยวทั้งหมดในช่องปากสามารถเกิดเนื้อร้ายได้ โรคมะเร็งช่องปาก ทางการแพทย์ เรียก Oral cancer สำหรับมะเร็งช่องปาก พบว่า ร้อยละ 10 ของผู้ป่วยโรคมะเร็ง เป็นโรคมะเร็งช่องปาก พบมากในกลุ่มคนวัยกลางคน อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และโอกาสในการเกิดโรค ผู้ชายมีโอกาสเกิดมากกว่าผู้หญิง

ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดมะเร็งในช่องปาก

เราได้รวบรวมสาเหตุที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในช่องปาก มาซึ่งส่วนใหญ่กิดจากการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้องการใช้สารเสพติดและการพักผ่อนน้อย โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งในช่องปาก ประกอบด้วย

  • การสูบบุหรี่เป็นประจำ
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • การกินอาหารที่มีส่วนผสมของสารก่อมะเร็งเป็นประจำ เช่น การเคี้ยวหมากพลู เป็นต้น
  • การอักเสบในช่องปากเป็นประจำ การอักเสบเรื้อรัง ทำให้เกิดการระคายเคือง หากเกิดนานๆ เซลล์และเนื้อเยื่อในช่องปากสามารถเปลี่ยนเป็นเนื้อร้ายได้
  • การติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสเอชพีวี (Human Papilloma virus) เป็นการติดเชื้อไวรัสจากการมีเพศสัมพัน์ทางปาก
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งในอวัยวะใกล้เคียงกับช่องปาก เช่น มะเร็งลำคอ และมะเร็งศีรษะ

ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของมะเร็งในช่องปากมากที่สุด คือ การสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ จากสถิติของผู้ป่วยมะเร็งในช่องปาก พบว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยมะเร็งในช่องปาก สูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นประจำ

อาการผู้ป่วยโรคมะเร็งช่องปาก

อาการของผู้ป่วยมะเร็งช่องปากนั้น จะมีอาการให้เห็นชัดเจนในอวัยวะที่อยู่ในช่องปาก โดยรายละเอียด ดังนี้

  • บริเวณลิ้นและเยื้อบุช่องปาก จะมีฝ้าสีขาวหรือสีแดง
  • เกิดแผลที่ช่องปาก และแผลในช่องปากนั้นหายยาก ใช้เวลามากกว่า 14 วันถึงหาย
  • ที่ช่องปาก เช่น เหงือก พื้นปาก เพดานปาก มีก้อนเนื้อเกิดขึ้น และขนาดของก้อนเนื้อจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แต่ก้อนเนื้อนี้ไม่มีอาการเจ็บปวด
  • สุขภาพฟันไม่แข็งแรง เช่น ฟันโยก ฟันหลุด
  • การเคี้ยวอาหารและการกลืนอาหาร เกิดความยากลำบาก
  • เกิดโลหิตไหลผิดปรกติที่ช่องปาก
    มีก้อนที่ลำคอ ซึ่งคือ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอ โต คลำได้จากมีโรคมะเร็งลุกลาม แต่มักไม่มีอาการเจ็บปวด
    อนึ่ง หากโรคมะเร็งช่องปาก แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ก็อาจมีอาการตามอวัยวะนั้น ๆที่โรคแพร่กระจายไปได้ เช่น มะเร็งกระจายไปกระดูก อาจมีอาการปวดตามกระดูกในส่วนต่าง ๆที่โรคแพร่กระจายไป

อาการหลักๆของมะเร็งช่องปากนั้น สังเกตุจากผ้าและก้อนเนื้อที่อวัยวะในช่องปาก หากเกิดความผิดปรกติ อย่าปล่อยให้นาน ให้รีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและรักษาอย่างทันท่วงที่

ระยะของการเกิดโรคมะเร็งช่องปาก

มะเร็งช่องปาก นั้นสามารถแบ่งระยะของการเกิดโรคได้เป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่1 ถึงระยะที่ 4 โดยรายละเอียดของระยะการเกิดโรคมะเร็งช่องปาก มีดังนี้

  • ระยะที่ 1  เริ่มเกิดก้อนเนื้อ ที่มีขนาดยังไม่เกิน 2 เซ็นติเมตร ในระยะนี้จะสัมผัสได้ว่ามีก้อนเนื้อแต่ยังไม่เกิดการรบกวนการดำรงชีวิตนัก
  • ระยะที่ 2 ขนาดของก้อนเนื้อร้ายใหญ่ขึ้น แต่ขนาดยังไม่เกิน 4 เซ็นติเมตร ขนาดของเนื้อร้ายเริ่มใหญ่ในระยะนี้เกิดความระคายเคืองในช่องปาก และรวบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
  • ระยะที่ 3 ขาดของก้อนเนื้อร้ายใหญ่ขึ้น และลามไปที่คอและต่อมน้ำเหลือง ในระยะนี้การเกิดมะเร็งยังอยู่ที่ลำคอไม่ลามไปส่วนอื่นๆของร่างกาย
  • ระยะที่ 4 เชื้อมะเร็งลุกลามเข้าเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆในร่างกาย เชื้อโรคแพร่กระจายเข้าสู่กระแสโลหิต เป็นระยะสุดท้าย

การแพร่กระจายของมะเร็งช่องปาก นั้นสามารแพร่กระจายได้ 3 ทาง คือ

  • การแพร่กระจายไปยังอวัยวะข้างเคียง
  • การแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่คอ
  • การแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด

การวินิจฉัยโรคมะเร็งช่องปาก

ในการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งช่องปาก นั้นสามารถตรวจโรคได้จากาการตรวจชิ้นเนื้อ ซึ่ง วิธีตรวจโรคมะเร็งช่องปาก สามารถทำได้ ดังนี้

  • ตรวจชิ้นเนื้อ เป็นการตัดชิ้นเนื้อ เพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อวินิจฉัยโรคมะเร็ง
  • การตรวจเลือด การเจาะเลือด เพื่อตรวจและประเมินสภาพร่างกายทั่วๆไป เช่น ดูค่าเบาหวาน ดูการทำงานของไขกระดูก ดูการทำงานของไต ดูการทำงานของตับ ดูระดับเกลือแร่ในร่างกาย
  • เอกซเรย์ปอด เพื่อตรวจดูการแพร่กระจายของเชื้อมะเร็งที่จะเข้าสู่ปอด และช่องอก
  • ตรวจปัสสาวะ เพื่อดูสภาพร่างกาย
  • ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจดูการลุกลามของเชื้อมะเร็งในอวัยวะต่างๆ
  • ตรวจอัลตราซาวน์ช่องท้อง เพื่อสุขภาพภายในช่องท้องและตับ
  • ตรวจสแกนกระดูก เพื่อดูสุขภาพกระดูก
  • ตรวจสุขภาฟัน

ในการตรวจโรคมะเร็งนั้น จำเป็นต้องตรวจอย่างลเอียด เพื่อประเมินการเกิดโรคและระยะของโรค และเพื่อการรักษาอย่างถูกต้อง ปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองมะเร็งช่องปาก ยังไม่มีวิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งช่องปาก แต่สามารถสังเกตุอาการของโรคได้จากอาการของโรคมะเร็งช่องปาก เช่น มีแผลในช่องปากที่รักษาไม่หาย มีฝ้าในช่องปาก มีก้อนเนื้อในช่องปาก เป็นต้น

การรักษามะเร็งช่องปาก

สำหรับการรักษามะเร็งในช่องปากนั้น หลังจากการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคแล้ว การรักษานั้นก็เหมือนการรักษาโรคมะเร็งทั่วไป คือ รักษาด้วยการผ่าตัด การฉายรังสี และการทำเคมีบำบัด ซึ่งต้องทำทั้ง 3 อย่างควบคู่กัน

  • การรักษามะเร็งช่องปาก ด้วยการผ่าตัด จะใช้การผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยที่ยังไม่เกินระยะที่ 3 โดยจะตัดเอาก้อนเนื้อร้ายออก อาจต้องตัดต่อมน้ำเหลืองลำคอออกด้วย หากปรเมินว่าอาจลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง
  • การรักษามะเร็งช่องปาก ด้วยการฉายรังสี วิธีนี้จะใช้ 2 วิธี คือ การฉายรังสีและการฝังแร่ เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งแต่การฉายรังสีนั้น ต้องขึ้นอยู่กับตำแหน่งและขนาดของเนื้อร้าย
  • การรักษามะเร็งช่องปาก โดยใช้เคมีบำบัด เป็นการให้เคมีเพื่อทำลายเนื้อร้าย ทำลายเซลล์มะเร็งทั่วร่างกาย

การรักษามะเร็งในวิธีต่างๆ นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งการเลือกการรักษาจะต้องอยู่ในการวินิจฉัยของแพทย์อย่างใกล้ชิด

ผลข้างเคียงของการรักษามะเร็งช่องปาก

การรักษามะเร็งช่องปากนั้น ต้องใช้ทั้งการผ่าตัด การฉายรังสี และการทำเคมีบำบัด ซึ่งมีผลข้างเคียงหลายอย่างที่ตามมาหลังจากการรักษาโรค เราสามารถสรุปผลข้างเคียงของการรรักษาโรคมะเร็งได้ ดังนี้

  • ผลข้างเคียงจากการผ่าตัด คือ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บ ปวดที่แผล การติดเชื้อเกิดได้ง่าย เนื่องจากช่องปากเป็นอวัยวะที่ถูกสัมผัสได้ง่าย
  • ผลข้างเคียงของการแายรังสี คือ ต้องดูแลผิวหนังให้ดี เนื่องจากการฉายรังสีจะส่งผลกระทบต่อผิวหนังและเนื้อเยื่อที่ถูกฉายรังสี
  • ผลข้างเคียงของการทำเคมีบำบัด คือ ร่างกายของผู้ป่วยจะอ่อนเพลีย มีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ภาวะเกล็ดเลือดต้ำ และการทำงานของไขกระดูกต่ำ

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งช่องปาก

เราสังเกตุได้ว่าการเกิดมะเร็งช่องปาก ส่วนหนึ่งเกิดจากการไม่ตรวจสุขภาพร่างกายอย่างสม่ำเสมอ และการใช้ชีวิตไม่ถูกต้อง เป็นอันตรายต่อสุขภาพในช่องปาก การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและการหมั่นดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและสมบูรณ์คือ การป้องกันการเกิดมะเร็งช่องปากที่ดีที่สุด เราสามารถสรุปการป้องกันมะเร็งในช่องปากได้ดังนี้

  • หากใช้ฟันปลอม ให้ล้างแลทำความสะอาดฟันปลอมอย่าให้มีสิ่งแปลกปลอม
  • ให้ทำความสะอาดช่องปากด้วยการแปรงฟัน อย่างถูกวิธีอย่างน้อย วันละ 2 ครั้ง
  • ให้อมน้ำบาม้วนปากหลังจากรับประทานอาหาร เพื่อล้างคราบสกปรก และเชื้อโรคที่การแปรงฟันเข้าไม่ถึง
  • หมั่นตรวจสุขภาพในช่องปากเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง
  • ไม่สูบบุหรี
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์

มะเร็งช่องปาก จักว่าเป็นโรคอันตราย ซึ่งความรุนแรงของโรคนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ระยะของโรค อายุและความแข็งแรงของผู้ป่วย รวมถึง โรคอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเหล่านี้หากเป็นร่วมกับมะเร็งในช่องปาก จะมีความอันตรายมากขึ้น ดังนั้น การดูแลสุขภาพ เป็นสิ่งสำคัญ

มะเร็งช่องปาก ( Oral cancer ) การเกิดเนื้อร้ายที่ช่องปาก โรคมะเร็ง โรคในช่องปาก เป็นโรคที่ทรมาน การสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรค มีก้อนในช่องปาก ลิ้นและเยื้อบุช่องปากมีฝ้าสีขาว แผลในปากหายยาก ไม่สามารถกินอาหารได้ ปัจจัยเสี่ยง สาเหตุ อาการ การรักษาโรค ทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove