ข้อหลุด กระดูกเคลื่อนจากที่อยู่ มักเกิดจากอุบัติเหตุ การเล่นกีฬา การกระแทก หกล้ม ผู้ป่วยข้อหลุดจะมีอาการเจ็บปวดที่ข้อ การรักษาและปฐมพยาบาลเบื้องต้นต้องทำอย่างไร

ข้อหลด ข้อเคลื่อน โรคกระดูก โรค

ข้อหลุด ( dislocation of joint ) หมายถึง ภาวะการหลุดของข้อกระดูกออกจากพื้นที่ปรกติของข้อกระดูก ทำให้ข้อกระดูกที่ไม่มั่นคง การเคลื่อนของข้อกระดูกออกจากตำแหน่งที่เคยอยู่ ทำให้เยื่อหุ้มข้อกรุดูกฉีกขาด หรือ เส้นเอ็นตรงข้อกระดูก กล้ามเนื้อ เส้นเลือด เนื้อเยื่อ และ เส้นประสาทเกิดการอักเสบ

ระดับของอาการข้อหลุด

ระดับของข้อหลุดหรือข้อเคลื่อน สามารถแบ่งได้ 3 ระดับ มีดังนี้

  • ระดับข้อหลวม เป็นอาการข้อกระดูกเคลื่อนเพียงเล็กน้อย
  • ระดับทผิวข้อเคลื่อนออกจากกัน ระดับนี้ข้อกระดูกที่เคลื่อนยังมีการสัมผัสกันอยู่
  • ระดับข้อเลื่อนหลุดออกจากกันทั้งหมด เป็นระดับรุนแรง ข้อหลุดจากกันเลย

ข้อกระดูกเคลื่อน หมายถึง ภาวะที่มีการกระแทกที่ข้อกระดูกอย่างรุนแรง จนทำให้เยื่อหุ้มข้อกระดูก ฉีกขาด จนไม่สามารถยึดข้อกระดูกให้อยู่กับที่ได้ จนข้อกระดูกเคลื่อนหรือหลุดออกจากกัน อาการข้อหลุดจามีอาการเยื่อหุ้มข้อฉีกขาดร่วม

ระดับของอาการข้อเคลื่อน

ระดับของอาการข้อเคลื่อน สามารถแบ่งได้ 3 ระดับ มีดังนี้

  • ระดับเยื่อหุ้มข้อฉีกขาด และมีกระดูกหลุดออกมาข้างนอกด้วย
  • ระดับมีการฉีกขาดที่เยื่อหุ้มข้อ แต่กระดูกดันผ่านช่องเล็กๆมาอยู่ข้างนอก คล้ายๆกับการกลัดกระดุม
  • ระดับข้อหลุดแต่ยังอยู่ในเยื่อหุ้มข้อ

สาเหตุของการเกิดข้อหลุดหรือข้อเคลื่อน

สำหรับสาเหตุของอาการข้อหลุดหรือข้อเคลื่อน สามารถสรุปปัจจัยต่างๆของการเกิดโรคได้ ดังนี้

  • เกิดจากภาวะพิการโดยกำเนิด ซึ่งอาการของโรคแสดงที่ข้อกระดูกอย่างชัดเจน
  • เกิดจากการกระแทกบ่อยๆ พบมากในนักกีฬา ที่มีการกระแทกสูง เช่น รักบี้ ฟุตบอล เป็นต้น มักพบอาการหลุดจากการฉีกขาดของเอ็น พังผืด และเนื้อเยื่อที่หุ้มรอบข้อกระดูก
  • เกิดอุบัติเหตุการหกล้ม ถูกบิด ถูกตีหรือเหวี่ยง
  • เกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้ออย่างเฉียบพลัน

อาการของโรคข้อหลุดข้อเคลื่อน

สำหรับอาการที่แสดงให้เห็น สำหรับอาการข้อหลุดหรือข้อเคลื่อน คือ ลักษณะของข้อกระดูกไม่อยู่ในที่ปรกติ และ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดและบวมมาก ตรงข้อกระดูก ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อได้ตามปกติ ซึ่งลักษณะอาการของโรคข้อหลุด สรุปอาการได้ดังนี้

  • มีอาการบวม และ ปวด ที่ข้อกระดูก เวลากดบริเวณข้อจะเจ็บมาก
  • ข้อกระดูกมีรูปร่างผิดปกติไปจากเดิม
  • ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อได้ตามปรกติ
  • มีการหดสั้นของอวัยวะ เช่น แขน หรือขา
  • เวลาคลำที่ข้อกระดูก สัมผัสหัวกระดูกที่เคลื่อนได้

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยข้อเคลื่อน

เมื่อพบเห็นผู้ป่วยอาการข้อหลุดหรือข้อเคลื่อน ต้องนำตัวส่งโรงพยาบาลให้หมอรักษา แต่ก่อนนำตัวส่งต้องปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อน เพื่อลดความรุนแรงของโรค การปฐมพยาบาลเบื้องต้นคนข้อหลุด มีดังนี้

  • ต้องหาวัสดุช่วยหนุนและประครองข้อกระดูก เช่น เอาผ้าพันรั้งไม่ให้มีการดึงรั้งบริเวณข้อที่หลุด เพื่อให้ผู้ป่วยอยู่นิ่งๆที่สุด
  • ไม่ควรพยายามดึงข้อที่หลุดกลับเข้าที่เดิม เพราะ อาจทำให้เอ็นและ เนื้อเยื่อฉีกขาดมากขึ้น
  • ให้รีบนำส่งโรงพยาบาล อย่าทิ้งอาการข้อหลุดไว้นานเกินไป เพราะจะรักษาลำบาก
  • ประคบเย็นช่วยลดอาการปวดเฉพาะที่ได้ชั่วคราว
  • พันผ้ายืด (Compression bandage) เพื่อไม่ให้มีเลือดออกในเนื้อเยื่อมาก ควรพันให้กระชับส่วนที่บาดเจ็บ
  • การยกร่างกายผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บ ให้สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อให้เลือดไหลกลับสู่หัวใจได้สะดวก เช่น การนอนวางขา หรือเท้าบนหมอน ในกรณีที่นั่ง ให้วางเท้าบนเก้าอี้ เป็นต้น

แนวทางการรักษาอาการข้อหลุดหรือข้อเคลื่อน

สำหรับแนวทางการรักษา คือ ต้องนำเอาข้อกระดูกกลับเข้าที่เดิม และ เข้าเฝือก เพื่อให้ข้อกระดูกได้รักษาตัวเอง แต่หาก อาการหนัก จำเป็นต้องผ่าตัด เพื่อรักษาอาการของโรค แนวทางการรักษา ดังนี้

การรักษาด้วยการเข้าเฝือก

การเข้าเฝือก เพื่อให้ข้อต่ออยู่นิ่งๆ ซึ่งอาการบาดเจ็บจากเยื่อหุ้มข้อต่อนั้นๆ ต้องให้เวลาในการรักษาตัวของเนื้อเยื่อ โดยเฉลี่ยจะประมาณ 3-6 สัปดาห์ สิ่งสำคัญหลังดึงข้อต่อเข้าที่แล้ว ต้องให้ข้อต่อนิ่งๆ 3 สัปดาห์ เพื่อให้เอ็น พังผืด และเนื้อเยื่อ ติดกันเป็นปกติเหมือนเดิม

การรักษาด้วยการผ่าตัด

สำหรับแนวทางการรักษาด้วยการผ่าตัด จะใช้วิธีนี้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อให้ข้อกระดูกที่เคลื่อนหรือหลุดกลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม หรือ อาการข้อต่อหลุดแบบซ้ำๆหลายครั้ง เพื่อให้อาการหายขาด ต้องเลือกใช้การผ่าตัดเท่านั้น

ข้อควรหลีกเลี่ยงสำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคข้อหลุดหรือข้อเคลื่อน

ไม่ควรใช้ความร้อนในการรักษาหรือปฐมพยาบาล เพราะ จะทำให้เส้นเลือดขยายตัว และ เลือดออกมากขึ้น การรักษาให้รักษาภายใน 2 วัน จะทำให้สามารถรักษาได้ดีที่สุด

อาการข้อหลุด หรือ กระดูกเคลื่อน เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับมนุษย์ มักเกิดจากอุบัติเหตุ การเล่นกีฬา การกระแทก หกล้ม ผู้ป่วยข้อหลุดจะมีอาการเจ็บปวด การรักษาและปฐมพยาบาลผู้ป่วยข้อหลุดต้องทำอย่างไร

ข้ออักเสบจากโรคสะเก็ดเงิน เป็นภาวะแพ้ภูมิต้านทานโรคตัวเองจนทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ อาการอักเสบตามข้อกระดูก เจ็บปวดมาก แนวทางการรักษาและป้องกันอย่างไรข้ออักเสบ โรคสะเก็ดเงิน ข้ออักเสบสะเก็ดเงิน สะเก็ดเงินข้ออักเสบ

ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อข้ออักเสบจากสะเก็ดเงิน

โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่ชัดเจน แต่ร้อยละ 15 ข้อผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน มีอาการข้ออักเสบด้วย ซึ่งสามารถสรุปปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน มีดังนี้

  • การป่วยโรคสะเก็ดเงิน ร้อยละ 15 ของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน มีอาการข้ออักเสบ
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม พบว่าร้อยละ 40 ของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินข้ออักเสบ มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคสะเก็ดเงิน
  • ภาวะการติดเชื้อ จากการติดเชื้อไวรัส หรือ เชื้อแบคทีเรีย เป็นจุดเริ่มต้นของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายผิดปรกติ
  • อายุของผู้ป่วย พบว่ากลุ่มคนอายุ 30 ถึง 50 ปี มีอัตราการเกิดโรคสูงกว่าคนในช่วงอายุอื่นๆ

อาการของโรคสะเก็ดเงินข้ออักเสบ

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินข้ออักเสบ จะมีอาการลักษณะอาการเรื้อรังไม่หายขาด ซึ่งสามารถสังเกตุอาการของโรคสะเก็ดเงินข้ออักเสบ ได้ดังนี้

  • ปวดบริเวณข้อกระดูก
  • รู้สึกข้อกระดูกอุ่นๆ
  • มีอาการข้อต่อบวม
  • นิ้วมือและนิ้วเท้าบวม
  • มีอาการปวดบริเวณข้อเท้าและฝ่าเท้า โดยเฉพาะปวดเส้นเอ็น
  • มีอาการปวดบริเวณคอและหลังส่วนล่าง

การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

สำหรับการวินิจฉัยโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน แพทย์จะสังเกตุจากการที่สามารถสังเกตุได้ เช่น อาการปวด อาการบวมของข้อต่อ เล็บที่เป็นเกล็ด ตรวจดูฝ่าเท้าว่าบวมหรือไม่ จากนั้นเพื่อการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง ต้องทำการเอ็กซเรย์ MRI และ CT Scan เพื่อเช็คความเสียหายของข้อต่อ

การรักษาโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

สำหรับการรักษาโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน มีกระบวนการรักษา แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ การรักษาโดยไม่ใช้ยา และ การรักษาโดยใช้ยา รายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาโดยไม่ใช้ยา คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆที่กระตุ้นให้ข้ออักเสบ เช่น ไม่ใช้ข้อกระดูกมากเกินไป ผ่อนคลายลดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ควบคุมน้ำหนัก เป็นต้น
  • การรักษาแบบใช้ยา เป็นยาต่างๆ เช่น ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ( NSAIDs ) กลุ่มยาปรับการดำเนินโรคข้อ ( DMARDs ) กลุ่มที่เป็นสารชีวภาพ ( Biologic drugs )

การป้องกันการเกิดโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคสามารถป้องกันจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยแนวทางการปฏิบัติตน มีดังนี้

  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมต่างๆที่ทำร้ายระบบข้อและกระดูก
  • ควบคุมน้ำหนักตัว
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • พยายามลดความเครียด

โรคข้ออักเสบสะเก็ด เป็นโรคเรื้อรัง มีการกำเริบเป็นระยะๆ การรักษาที่เหมาะสมจะช่วยทำให้ไม่ปวดข้อ ไม่เกิดความพิการ สำหรับผู้ป่วยโรคผิวหนังสะเก็ดเงิน ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อให้ได้การวินิจฉัยโรคและการรักษาที่ถูกต้อง

สะเก็ดเงินข้ออักเสบ คือ โรคสะเก็ดเงิน ที่ส่งผลประทบต่อระบบข้อต่อของมนุษย์ เป็นภาวะแพ้ภูมิต้านทานโรคตัวเอง จนทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ จนเกิดการอักเสบตามข้อกระดูก ทำให้เจ็บปวดมาก อาการของโรค และ รักษาอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove