สะเก็ดเงินข้ออักเสบ อาการปวดข้อจากการเป็นโรคสะเก็ดเงิน

ข้ออักเสบจากโรคสะเก็ดเงิน เป็นภาวะแพ้ภูมิต้านทานโรคตัวเองจนทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ อาการอักเสบตามข้อกระดูก เจ็บปวดมาก แนวทางการรักษาและป้องกันอย่างไรข้ออักเสบ โรคสะเก็ดเงิน ข้ออักเสบสะเก็ดเงิน สะเก็ดเงินข้ออักเสบ

ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อข้ออักเสบจากสะเก็ดเงิน

โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่ชัดเจน แต่ร้อยละ 15 ข้อผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน มีอาการข้ออักเสบด้วย ซึ่งสามารถสรุปปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน มีดังนี้

  • การป่วยโรคสะเก็ดเงิน ร้อยละ 15 ของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน มีอาการข้ออักเสบ
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม พบว่าร้อยละ 40 ของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินข้ออักเสบ มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคสะเก็ดเงิน
  • ภาวะการติดเชื้อ จากการติดเชื้อไวรัส หรือ เชื้อแบคทีเรีย เป็นจุดเริ่มต้นของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายผิดปรกติ
  • อายุของผู้ป่วย พบว่ากลุ่มคนอายุ 30 ถึง 50 ปี มีอัตราการเกิดโรคสูงกว่าคนในช่วงอายุอื่นๆ

อาการของโรคสะเก็ดเงินข้ออักเสบ

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินข้ออักเสบ จะมีอาการลักษณะอาการเรื้อรังไม่หายขาด ซึ่งสามารถสังเกตุอาการของโรคสะเก็ดเงินข้ออักเสบ ได้ดังนี้

  • ปวดบริเวณข้อกระดูก
  • รู้สึกข้อกระดูกอุ่นๆ
  • มีอาการข้อต่อบวม
  • นิ้วมือและนิ้วเท้าบวม
  • มีอาการปวดบริเวณข้อเท้าและฝ่าเท้า โดยเฉพาะปวดเส้นเอ็น
  • มีอาการปวดบริเวณคอและหลังส่วนล่าง

การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

สำหรับการวินิจฉัยโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน แพทย์จะสังเกตุจากการที่สามารถสังเกตุได้ เช่น อาการปวด อาการบวมของข้อต่อ เล็บที่เป็นเกล็ด ตรวจดูฝ่าเท้าว่าบวมหรือไม่ จากนั้นเพื่อการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง ต้องทำการเอ็กซเรย์ MRI และ CT Scan เพื่อเช็คความเสียหายของข้อต่อ

การรักษาโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

สำหรับการรักษาโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน มีกระบวนการรักษา แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ การรักษาโดยไม่ใช้ยา และ การรักษาโดยใช้ยา รายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาโดยไม่ใช้ยา คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆที่กระตุ้นให้ข้ออักเสบ เช่น ไม่ใช้ข้อกระดูกมากเกินไป ผ่อนคลายลดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ควบคุมน้ำหนัก เป็นต้น
  • การรักษาแบบใช้ยา เป็นยาต่างๆ เช่น ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ( NSAIDs ) กลุ่มยาปรับการดำเนินโรคข้อ ( DMARDs ) กลุ่มที่เป็นสารชีวภาพ ( Biologic drugs )

การป้องกันการเกิดโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคสามารถป้องกันจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยแนวทางการปฏิบัติตน มีดังนี้

  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมต่างๆที่ทำร้ายระบบข้อและกระดูก
  • ควบคุมน้ำหนักตัว
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • พยายามลดความเครียด

โรคข้ออักเสบสะเก็ด เป็นโรคเรื้อรัง มีการกำเริบเป็นระยะๆ การรักษาที่เหมาะสมจะช่วยทำให้ไม่ปวดข้อ ไม่เกิดความพิการ สำหรับผู้ป่วยโรคผิวหนังสะเก็ดเงิน ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อให้ได้การวินิจฉัยโรคและการรักษาที่ถูกต้อง

สะเก็ดเงินข้ออักเสบ คือ โรคสะเก็ดเงิน ที่ส่งผลประทบต่อระบบข้อต่อของมนุษย์ เป็นภาวะแพ้ภูมิต้านทานโรคตัวเอง จนทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ จนเกิดการอักเสบตามข้อกระดูก ทำให้เจ็บปวดมาก อาการของโรค และ รักษาอย่างไร

Last Updated on March 17, 2021