ชิคุนกุนยา ไข้ปวดข้อ พบบ่อยในฤดูฝน สาเหตุจากยุงลาย อาการคล้ายไข้เลือดออก มีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดข้อ มีผื่นแดงตามแขนขา ตาแดง ปวดหัว อ่อนเพลีย คลื่นไส้ชิคุนกุนยา ไข้ปวดข้อ โรคติดต่อ โรคจากยุง
โรคชิคุนกุนยา 
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อ Chikungunya virus ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรคเหมือนโรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่ไม่มียา หรือ วัคซีนป้องกันโรค แต่พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก เมื่อเกิดโรคป่วยจะมีอาการนอนซม ปวดข้อจนเดินไม่ได้ สำหรับการแพร่ระบาดของโรคนี้ในประเทศไทย พบว่ามีรายงานการแพร่กระจายของโรคในภาคใต้ตอนล่างของไทย ช่วงปี พ.ศ. 2552 โดยมาตรการที่สำคัญในขณะนั้น กระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่เร่งให้ความรู้ประชาชนเพื่อรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย

ความเป็นมาของโรคชิคุนกุนยา

โรคชิคุนกุนยา ไม่ใช่โรคอุบัติใหม่เป็นโรคที่รู้จักกันมานานกว่า 50 ปีแล้ว เคยเป็นโรคที่ระบาดใหญ่ในอดีตโดยเฉพาะประเทศไทย เมื่อกว่า 40 ปีมาแล้ว หลังจากนั้นก็มีการพบประปรายจนกระทั่งในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา โรคดังกล่าวได้สงบลงและไม่ได้มีการกล่าวถึงกันมากนัก ซึ่งในปี พ.ศ.2547 เกิดการระบาดของโรคชิคุนกุนยาเป็นบริเวณกว้างประเทศฝรั่งเศส บริเวณหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย (La Reunion Island) และได้แพร่กระจายเข้าสู่ประเทศต่างๆ ในแอฟริกาตะวันออก และเข้าสู่ประเทศอินเดีย ลงมาสู่ศรีลังกา เข้าอินโดนีเซีย แหลมมลายู และเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณชายแดนจังหวัดภาคใต้ ในปลายเดือนกันยายน-ตุลาคม และระบาดมาจนถึงทุกวันนี้ โดยขยายวงกว้างขึ้น 15 จังหวัด ทางภาคใต้ และเริ่มพบในจังหวัดอื่นบ้างโดยเฉพาะผู้ที่เดินทางไปจังหวัดภาคใต้มา ตั้งแต่มีการระบาดของโรคเชื่อว่ามีผู้ป่วยแล้วมากกว่า 1 ล้านคนทั่วโลก

สาเหตุของการติดเชื้อไวรัส

โรคชิคุนกุนยาเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสในตระกูล Togaviridae โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งสามารถพบได้ทั่วไปในช่วงฤดูฝนและบริเวณที่มีน้ำขัง ยุงลายเป็นสัตว์ที่มักชุกชุมช่วงกลางวัน สถานที่เสี่ยงคือสถานที่ที่มียุงจำนวนมาก เช่น โรงเรียน สวนสาธารนะ เป็นต้น

ระยะของโรคชิคุนกุนยา

สำหรับระยะฟักตัวของโรคโดยทั่วไปประมาณ 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยประมาณ 2-3 วัน จากนั้นจะเข้าสู่ระยะติดต่อดรคเป็นช่วงระยะเวลาที่ผู้ป่วยไข้สูง ประมาณวันที่ 2 – 4 เนื่องจากเป็นระยะที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาอยู่ในกระแสเลือดมากที่สุด

อาการของโรคชิกุนย่า

ผู้ป่วยโรคชิคุณกุนย่า จะมีไข้สูงอย่างกระทันหัน คันตามร่างกาย ตาแดง ไม่มีแรง ปวดตามข้อกระดูก บางรายอาจมีอาการข้ออักเสบร่วม ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการปวดข้อ ภายใน 10 วัน หลังจากได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย จะเกิดผื่นบริเวณลำตัวและแขนขา แต่ไม่มีอาการคัน ผื่นนี้จะหายได้เองภายใน 10 วัน และพบอาการปวดกล้ามเนื้อ เมื่อยล้า มีไข้ และต่อมนํ้าเหลืองโต แต่ไม่พบว่ามีอาการชาหรือเจ็บบริเวณฝ่ามือหรือเจ็บฝ่าเท้า ร่วมด้วย สามารถสรุปลักษณะอาการของโรคชิคุนกุนยา ได้ดังนี้

  • มีไข้สูงเฉียบพลัน หลังจากนั้น 2 – 3 วัน ไข้จะเริ่มลดลง
  • ปวดตามข้อกระดูกและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • ผื่นแดงขึ้นตามแขนและขา
  • ตาแดง
  • เบื่ออาหาร
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดศีรษะ
  • อ่อนเพลีย
  • ท้องเสีย

การรักษาโรคชิกุนย่า

สำหรับแนวทางการรักษาโรคชิคุนกุนยาในปัจจุบันยังไม่มียารักษาไวรัสชิกุนคุนยา รวมถึงยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคชิคุนกุนยา ซึ่งแนวทางการรักษาโรค คือ ประคับประครองตามอาการของโรค เช่น การรับประทานยาลดไข้ยาแก้ปวด จากนั้นพักผ่อนให้ร่างกายได้พักฟื้นรักษาตนเอง ซึ่งแนวทางการปฏิบัติตัวเมื่อมีอาการป่วยโรคชิคุนกุนยา คือ ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย พักผ่อนให้เต็มที่และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

การป้องกันโรคชิกุนย่า

เนื่องจากโรคชิกุนยา ไม่มียารักษาโรค หรือวัคซีนป้องกันโรค แนวทางการป้องกันการเกิดโรคจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งแนวทางการป้องกันโรคชิคุนกุนยา มีแนวทางดังนี้

  1. ป้องกันไม่ให้ถูกยุงลายกัด
  2. สวมใส่เสื้อผ้าที่ป้องกันไม่ให้ยุงกัด ติดมุ้งลวดในบ้าน หรือทายากันยุงขณะทำงานและออกนอกบ้าน
  3. ยาทากันยุงชนิดที่มีส่วนผสมของไพรีธรอยด์ช่วยป้องกันได้พอสมควร
  4. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยเฉพาะแหล่งน้ำขัง เริ่มจากในบ้านก่อน ไม่ว่าจะเป็นแจกันดอกไม้ที่ใส่น้ำไว้ ขาตู้ใส่น้ำกันมด ตุ่มใส่น้ำไม่ปิดฝา จากนั้นขยายอกบริเวณรอบบ้าน เช่น ขวดพลาสติก แก้วพลาสติกที่มีน้ำขัง ยางรถยนต์เก่าและแอ่งน้ำตามธรรมชาติ ฯลฯ
  5. ร่วมมือช่วยกันในชุมชนดูแลไม่ให้เกิดน้ำขังขึ้น จะเห็นได้ว่ามาตราการป้องกันยุงลาย นอกจากจะป้องกันไข้เลือดออกแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคชิคุนกุนยาได้อีกด้วย

โรคชิคุนกุนยา โรคไข้ปวดข้อ พบบ่อยในฤดูฝน สาเหตุจากยุงลาย ลักษณะอาการคล้ายไข้เลือดออก มีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดข้อและกล้ามเนื้อ มีผื่นแดงตามแขนขา ตาแดง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ท้องเสีย

กดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ อาการปวดข้อมือ ชาบริเวณมือ ปวดมือ และ ปวดร้าวขึ้นไปที่แขน มืออ่อนแรง เกิดจากการนั่งพิมพ์งานนานๆ พบบ่อยในคนทำงานออฟฟิต

กดทับเส้นประสาทข้อมือ มือชา โรคออฟฟิตซินโดรม โรคข้อและกระดูก

ภาวะการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ เกิดจากการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ซึ่งเส้นประสาทที่ข้อมือทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อที่เคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือ และ รับความรู้สึกบริเวณนิ้วมือ การกดทับเส้นประสาทนานๆทำให้เส้นประสาทตีบแคบ และ อักเสบ ส่งผลให้เกิดอาการชา และ ปวดข้อมือ เป็นกลุ่มอาการสำหรับคนทำงานออฟฟิต โดยเฉพาะคนที่นั่งทำงานในท่าใดท่าหนึ่ง เป็นเวลานาน ๆ ทำให้เกิดอาการอักเสบ โดยสาเหตุของอาการบาดเจ็บ มีองค์ประกอบหลักๆ 2 สาเหตุ คือ

  • เกิดจากสภาพแวดล้อมอุปกรณ์ในสำนักงานไม่เหมาะสำต่อสรีระของคนทำงาน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ และ computer เป็นต้น รวมถึง เสียง แสงสว่าง ที่ส่งผลต่อ สายตา กล้ามเนื้อ และอาการปวดศรีษะ
  • เกิดจากพฤติกรรมส่วนตัวของคนทำงาน เช่น การอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานๆ ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บ

กลุ่มอาการที่เกิดจากการทำงาน ( Office syndrome ) มีหลายอาการ เช่น โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ( Carpal tunnel syndrome)  หมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาท ( HNP ) กล้ามเนื้ออักเสบ ( Myofascial pain syndrome ) เส้นเอ็นข้อศอกด้านนอกอักเสบ ( tennis elbow ) กระดูกสันหลังยึดติด ( Lumbar dysfunction ) เส้นเอ็นข้อศอกด้านในอักเสบ ( golfer elbow ) เป็นต้น วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ โรคกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

สาเหตุของโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ

สาเหตุสำคัญหลักของการเกิดโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ คือ การใช้ข้อมือและมือแบบซ้ำๆ ซึ่งลักษณะมีการกดข้อมือกับพื้นนานๆ เช่น การพิมพ์งาน การขับรถ รวมถึงการใช้เครื่องมือต่างๆที่มีการสั่นตลอดเวลา เช่น เครื่องเจาะพื้นถนน เมื่อมีการกดทับที่ข้อมือนานๆทำให้เส้นประสาทที่ข้อมือตีบและแคบลง และ เส้นประสาทข้อมืออักเสบ พบว่าอาการโรคนี้จะพบร่วมกับภาวะโรคอื่นๆ เช่น โรคอ้วน และ โรคเบาหวาน ซึ่งสามาทรถสรุปปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้ มีดังนี้

  • เพศ พบว่า เพศหญิงมีอัตราการเกิดมากกว่าเพศชาย
  • ช่วงอายุ พบว่าคนในช่วงอายุ 35 ถึง 40 ปี เป็นวัยทำงาน มีโอกาสเกิดโรคนี้มากกว่าช่วงอายุอื่นๆ
  • ลักษณะของข้อมือ คนที่มีข้อมือลักษณะกลม จะทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาทได้ง่ายกว่าคนที่มีลักษณะข้อมือแบน
  • ภาวะการตั้งครรภ์ มีโอกาสเกิดการกดทับเส้นประสาทมากกว่าคนไม่ตั้งครรภ์
  • กลุ่มคนที่ต้องใช้การกระดูกข้อมือขึ้นลงบ่อย เช่น กลุ่มแม่บ้านที่ทำกับข้าว คนซักผ้า พนักงานโรงงาน พนักงานขุดเจาะ เป็นต้น
  • ภาวะกระดูกหัก หรือ ข้อมือเคลื่อน
  • ภาวะข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน หรือ โรคไทรอยด์

อาการของโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ

สำหรับอาการของโรคจะแสดงอาการที่เจ็บปวด และ อาการอ่อนแรง ซึ่งแสดงอาการที่ข้อมือและมือ คือ ชาบริเวณมือ ปวดบริเวณฝ่ามือ ปวดร้าวจากมือไปจนถึงข้อศอก มืออ่อนแรง สามารถแบ่งอาการให้ง่ายต่อการศึกษา ได้ดังนี้

  • ปวด ชาบริเวณฝ่ามือและนิ้วมือจะมีอาการข้างเคียงหรือทั้ง 2 ข้าง มักจะมีอาการเด่นชัดในมือข้างที่ถนัด โดยเฉพาะนิ้วโป้ง ชี้ กลาง และนิ้วนางครึ่งนิ้ว
  • อาการอ่อนแรงของมือ และนิ้วมือ เช่น กำมือได้ไม่แน่น หยิบจับของแล้วหล่นง่าย ถ้าไม่รีบรักษา จะสังเกต เห็นกล้ามเนื้อในมือฝ่อลีบ บางครั้ง อาจพบว่ามีอาการมากขึ้นในตอนกลางคืนบางครั้งผู้ป่วยอาจตื่นขึ้นมาเนื่องจากอาการปวด แต่เมื่อสะบัดข้อมือ แล้วมีอาการดีขึ้น
  • มีอาการกล้ามเนื้อลีบที่ฝ่ามือ

แนวทางการวินิจฉัยโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรค แพทย์จะซักประวัติ และสังเกตุจากอาการ จากนั้นต้องทำการตรวจมือ ตรวจการนำไฟฟ้าของเส้นประสาท ( Electrodiagnosis ) และ เอกซเรย์เพื่อดูโครงสร้างของมือ อัลตราซาวด์เพื่อวิเคราะห์การบีบอัดของเส้นประสาท และ เอ็มอาร์ไอเพื่อดูเนื้อเยื่อบริเวณเส้นประสาท

การรักษาโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ

สำหรับแนวทางการรักษา แนวทางการรักษามี 2 แนวทาง คือ การทำกายภาพบำบัด หรืแ การผ่าตัด ซึงแนวทางการรักษาเบื้องต้นจะไม่ใช้การผ่าตัดในการรักษา ซึ่งสามารถสรุปการรักษาโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ ได้ดังนี้

  • การรักษาด้วยการไม่ใช้การผ่าตัด ให้หลีกเลี่ยงกิจกรรมทั้งหมดที่ต้องใช้มือและข้อมือ ใส่เฝือกอ่อนดามบริเวณข้อมือ เพื่อลดการเคลือนไหวของมือและข้อมือ ร่วมกับการใช้ยาแก้ปวด แก้อักเสบ และ การทำกายภาพบำบัดบริหารมือ
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด ผ่าตัดเยื่อหุ้มเอ็นบริเวณข้อมือให้แยกจากกัน ซึ่งหลังจากการผ่าตัดข้อมือ ให้ผู้ป่วยยกมือสูงเพื่อลดอาการบวมหลังการผ่าตัด และ ให้ทำความสะอาดแผลผ่าตัดให้สะอาด เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อโรค

การป้องกันโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ

แนวทางการป้องกันโรคนี้ให้หลีกเลี่ยงการกดทับและการใช้ข้อมือหนักๆ การนั่งพิมพ์งานให้พัก และ บริหารมือ เพื่อให้ข้อมือและมือได้ผ่อนคลายความเกรง

กดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ อาการปวดข้อมือ ชาบริเวณมือ ปวดมือ และ ปวดร้าวขึ้นไปที่แขน มืออ่อนแรง เกิดจากการนั่งพิมพ์งานนานๆ พบบ่อยในคนทำงานออฟฟิต


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove