การกรน Snoring ภาวะกล้ามเนื้อคอคลายตัวขณะหลับ ทำให้ช่องคอแคบ เมื่อหายใจจึงเกิดแรงสั่นสะเทือนเป็นเสียงนอนกรน อาจทำให้เกิดภาวะการหยุดหยาใจ ไหลตาย ได้ รักษาอย่างไรรักษาการนอนกรน การนอนกรน แก้การนอนกรน ใหลตาย

การนอนกรน นี้จะเกิดกับคนอ้วน และ คนสูงวัย มากนอกจากนี้ ในคนที่ดื่มเหล้า หรือ สูบบุหรี่จัด ก็พบว่ามีอตราการนอนกรนสูงเช่นกัน การหยุดหายใจขณะหลับ คือ ภาวะเสี่ยงของคนนอนกรน ซึ่งทราบว่าตนมีปัญหาเรื่องการนอนกรน ควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางแก้ไข หากปล่อยเอาไว้อาจเป็นบ่อเกิดของโรคอื่นตามมา เช่น ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด อัมพาต เป็นต้น

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เรียก obstructive sleep apnea เรียกย่อว่า OSA คือ ในขณะที่หลับอยู่นั้นมีภาวะการนอนกรนเกิดขึ้นและ มีอาการหยุดหายใจร่วมด้วย จากการที่เนื้อเยื่อคอ หรือ ลิ้น ปิดทางเดินหายใจ เมื่อเกิดการปิดกั้นอากาศเข้าสู่ร่างกายนานเกินไป ทำให้สมองขาดออกซิเจน และตายในที่สุด

อาการนอนกรน

สำหรับอาการนอนกรน สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ การกรนธรรมดา และกรนแบบก่ำกึ่งระหว่างธรรมากับอันตราย โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • อาการนอนกรนธรรมดา ( primary snoring ) ผู้ป่วยมักไม่เดือดร้อน เพราะ ไม่มีผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยเองมากนัก แต่จะมีผลกระทบต่อคนรอบข้าง โดยเฉพาะกับคู่นอน
  • อาการนอนกรนแบบก้ำกึ่งระหว่างกรนธรรมดาและกรนอันตราย ( upper airway resistance syndrome ) คือ มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย มีอาการง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวัน อาจเกิดอุบัติเหตุในท้องถนนได้หากขับรถ

การนอนกรนจัดว่าเป็นปัญหาของการนอนหลับ นอกจากเสียงกรนที่สร้างความรำคาญแก่คนรอบข้างแล้ว ยังทำให้เกิดความผิดปกติกับร่างกายมากมาย เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย ความสามารถในการใช้ความคิด ความสามารถในการจดจำ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น จะลดความเสี่ยงต่อการนอนกรน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเรียนรู้สำหรับคนที่นอนกรน โดยวิธีการลดความเสี่ยงต่อการนอนกรน มีดังนี้

วิธีหลีกเลี่ยงการนอนกรน

  • การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในภาวะปรกติ คนอ้วนจะนอนกรน เกิดจากไขมันที่สะสมบริเวณช่องทางเดินหายใจบริเวณคอ ถูกเบียดให้เล็กลง ทำให้การหายใจต้องใช้พลังงานมากขึ้น
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลักกายช่วยให้กล้ามเนื้อเกี่ยวกับช่องทางเดินหายใจแข็งแรงขึ้น
  • การจัดท่านอนให้เหมาะสม ช่วยปกป้องการหายใจ โดยการนอนตะแคงงอข้อศอก เพื่อให้มือข้างหนึ่งยันคางไว้เป็นการปิดปาก หรือการใช้หมอนหนุนหลังเอาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้พลิกมานอนหงาย
  • การยกศีรษะให้สูงขึ้น ในกรณีที่นอนตะแคงไม่ถนัดนัก สามารถนอนหงายและใช้หมอนเล็กๆ หนุนที่บริเวณหลังคอด้านบน ยกศีรษะให้สูงจากเตียง เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ้นหย่อนลงไปในลำคอจนทำให้เกิดเสียงกรน
  • ให้รักษาความสะอาดในบริเวณสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะที่นอน การเกิดหอบหืดหรือภูมิแพ้เป็นสาเหตุหนึ่งของการกรน
  • หมั่นรักษาความสะอาดของช่องจมูก พยายามอย่าให้มีขี้มูกมากเกินไป เพราะอาจจะไปปิดกั่นการหายใจ
  • ปรับระดับความชื้นของห้องนอนให้เหมาะสม ห้องนอนที่มีความชื้นต่ำมาก อากาศภายในห้องจะแห้ง ทำให้เยื่อบุต่างๆในระบบทางเดินหายใจแห้งตามไปด้วย ภาวะสภาพแวดล้อมนี้อาจเกิดการบวมของทางเดินหายใจ จนทำให้เกิดการนอนกรน

การรักษาการนอนกรน

การรักษาอาการนอนกรนนั้นมี 2 ทางเลือกหลักๆ คือ การรักษาโดยไม่ใช้วิธีผ่าตัด และ การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ซึ่งผู้ป่วยสามารถเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับอาการของโรคได้ โดยรายละเอียดการรักษา มีดังนี้

  • การรักษาการนอนกรนโดยวิธีไม่ผ่าตัด คือ การลดน้ำหนักตัว ออกกำลังกาย และ ปรับวิธีการนอนที่เหมาะสม
  • การรักษาการนอนกรนด้วยวิธีผ่าตัด  การผ่าตัดทำให้ขนาดของทางเดินหายใจกว้างขึ้น ทำให้อาการนอนกรน หรือ ภาวะการหยุดหายใจขณะหลับ หายไป การผ่าตัดขึ้นอยู่กับตำแหน่งของสาเหตุการนอนกรน หลังจากผ่าตัดแล้วผุ้ป่วยมีโอกาสกลับมานอนกรนได้อีก ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ลักษณะการนอน การออกกำลังกาย และ น้ำหนักตัว

การกรน ภาษาอังกฤษ เรียก Snoring คือ ภาวะกล้ามเนื้อคอคลายตัวขณะหลับ ส่งผลให้ช่องคอแคบ เมื่อหายใจขณะหลับนอนจึงทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือน เป็น เสียงนอนกรน ความอันตรายของการนอนกรน คือ ภาวะการหยุดหยาใจ หรือ ไหลตาย สาเหตุของการนอนกรนคืออะไร รักษาการนอนกรนได้อย่างไร จากสถิติพบว่าเพศชายนอนกรนมากกว่าเพศหญิง

ถุงลมโปร่งพอง โรคเรื้อรังที่ระบบทางเดินหายใจ ภาวะถุงลมขยายตัวผิดปกติ อาการไอแห้งๆ มีเสมหะเล็กน้อย โรคยอดฮิตของคนสูบบุหรี่ การรักษาโรคถุงลมโปร่งพองต้องทำอย่างไรโรคถุงลมโป่งพอง โรคปอด โรคไม่ติดต่อ โรคทางเดินหายใจ

โรคถุงลมโป่งพอง ทางการแพทย์ เรียก Emphysema เป็นส่วนหนึ่งของโรคปอดอุดกั้น ชนิดเรื้อรัง โดยการอุดกั้นของปอดแบบเรื้อรัง นั้นมี 2 ส่วน คือ โรคหลอดลมอักเสบและถุงลมโป่งพอง ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการทั้ง 2 ร่วมกัน ซึ่งสาเหตุหลักของการเกิดโรค เกิดจากการสูบบุหรี่ สามารถรักษาหรือประคับประครองไม่ให้อาการของโรคหนักขึ้น ด้วยการเลิกสูบบุหรี่ โรคนี้เป็นโรคที่พบได้บ่อยและ ยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของประชากรโลก ในอันดับแรกๆ มีอัตราการเกิดโรค ที่ 18 คนต่อ 1000 คน และพบว่าผุ้ชายมีอัตราการเกิดโรคสูงกว่าเพศหญิง

สาเหตุและปัจจัยของกานเกิดโรคถุงลมโป่งพอง

สำหรับสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง สามารถแยกสาเหตุได้ เป็น 3 สาเหตุ ประกอบด้วย

  • การสูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่ ร้อยละ 20 ป่วยเป็นโรคถุงลมโปร่งพอง ยิ่งสูบบุหรี่นานเท่าไร โอกาสของการป่วยดรคนี้ก้ยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากควันของบุหรี่ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพปอด ทำให้เกิดสารตกค้างในปอด ทำให้ปอดทำงานหนักมากขึ้น
  • การอาศัยอยู่ในสถานที่ที่มีมลภาวะของอากาศ ในเมืองใหญ่มีมลพิษทางอากาศสูง พบว่ามีอัตราการเกิดโรคสูงกว่าเมืองที่ไม่มีมลพิาทางอากาศ เนื่องจากมีการหายใจเอามลพิษเข้าสู่ร่างกาย หากเกิดสารตกค้างมากขึ้น ก็ส่งผลให้เกิดการอุดกั้นของปอดได้
  • ปัจจัยการถ่ายทอดทางพันธุกรรม พบในคนที่ขาดเอนไซม์ (Enzyme) ชื่อ Alpha-one antitrypsin เป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ป้องกันการถูกทำลายของเนื้อเยื่อ ซึ่งเกิดจากการถ่ายทอดไปสู่ลูกหลาน ความผิดปกติที่เกิดจากการขาดเอนไซม์เพียงเล็กน้อยนั้นไม่ทำให้เกิดโรคได้ แต่หากผู้ป่วยเกิดโรคถุงลมโปร่งพอง โดยไม่ได้รับปัจจัยการเกิดโรคจากการสูบบุหรี่หรือการอยู่ในมลพิษทางอากาศ ก็สามรถสันนิษฐานว่าเกิดจกาการขาดเอมไซม์

อาการและการวินิจฉัยโรค

อาการที่พบสำหรับผู้ป่วยโรคถุงลมโปร่งพอง นั้น พบว่ามีอาการไอเรื้อรัง ซี่งในระยะแรกๆ จะไอตอนเช้า หลังจากตื่นนอน เป็นลักษณะแบบไอแห้งๆ มีเสมหะเล็กน้อย เสมหะมีลักษณะใสๆ ผู้ป่วยเป็นหวัดง่าย เหนื่อยง่าย มีอาการเหนื่อยหอบ เสียงลมหายใจเป้นเสียงหืดๆ อาการเหนื่อยหอบจาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากไม่เข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง จะทำให้ภาวะการหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด

การวินิจฉัยโรคของแพทย์ นั้นแพทย์จะสอบถามประวัติของผู้ป่วย และการตรวจสมรรถภาพของปอด เอ็กซ์เรย์ปอด เพื่อวิเคราะห์โรคและ ระดับอาการของโรค

การรักษาโรคถุงลมโปร่งพอง

การรักษาโรคถุงลมโปร่งพองในปัจจุบัน มีการพัฒนามากขึ้น มีแนวโน้มการใช้ยาที่เหมาะสมมากขึ้น โดยการรักษานั้น ทำเพื่อให้สมรรถภาพของปอดดีขึ้น โดยยาที่ใช้การักษาจะเป็นยาที่ใช้เพื่อเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของปอด ลดอาการอักเสบและติดเชื้อของปอด แต่การรักษาโรคนี้นั้น สามารถแบ่งการรักษาโรคได้ 2 วิธี คือ การรักษาโดยการผ่าตัด และ การรักษาโดยการไม่ใช้ยา

  • การรักษาโรคถุงลมโปร่งพอง ด้วยการผ่าตัดนั้นแพทย์จะทำการผ่าตัด 3 ลักษณะ คือ การผ่าตัดเอาถุงลมออก การผ่าตัดเอาปอดบางส่วนออกและการผ่าตัดเปลี่ยนปอด โดยการผ่าตัดเอาถุงลมออก เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยน้อยลง ซึ่งจะใช้วิธีนี้ในผู้ป่วยระยะท้ายๆของโรค การผ่าตัดต้องเลือกใช้กับผู้ป่วยให้เหมาะสม การผ่าตัดถุงลมที่ให้ผลที่ดีนั้น ส่วนใหญ่อยู่ในส่วนบนของปอดกลีบบน และลักษณะของโรคกระจายเป็นหย่อมๆ เนื้อปอดที่ดียังมีเหลืออยู่ สำหรับการรักษาด้วยการตัดปอดนั้นอาจทำให้กล้ามเนื้อช่วยการหายใจโดยเฉพาะกระบังลมทำงานได้ดีขึ้น และวิธีผ่าตัดแบบสุดท้าย การผ่าตัดเปลี่ยนปอด เรียก Lung Transplantation ต้องทำด้วยแพทย์ที่มีความชำนาญเท่านั้น
  • การรักษาโรคถุงลมโปร่งพองที่ไม่ใช้ยารักษา เป็นการพื้นฟูสุขภาพปอด เพื่อเพื่มสมรรถภาพการทำงานของปอดให้ดีขึ้น โดยวิธีรักษาใช้ การออกกำลังกาย เพื่อให้กล้ามเนื้อที่ใช้่ในการหายใจแข็งแรงมากขึ้น การฝึกการหายใจ การระบายเสมหะ การดูแลการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ที่สำคัญ คือ หลีกเลื่ยงการสูบบุหรี่และการอยู่ในสถานที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง

ผลข้างเคียงที่เกิดจากโรคถุงลมโป่งพอง

สำหรับผลข้างเคียงและความรุนแรงของดรคถุงลมโปร่งพองนั้น โรคนี้จะทำให้เสียชีวิตจากภาวะหายใจล้มเหลว และไม่สามารถทำให้ปอดกลับมาหายเป็นปกติได้

การป้องกันการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง

  • ไม่สูบบุหรี่ หรือในผู้ที่สูบบุหรี่ให้เลิกสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีมลพิษทางอากาศ
  • ควบคุมสิ่งแวดล้อมในที่อยู่อาศัย ไม่ให้เกิดมลพิษทางอากาศ

ภาวะถุงลมโปร่งพอง คือ โรคที่เกิดจากภาวะการอุดกลั้นของปอด ที่ให้การทำงานของระบบหายใจผิดปรกติ เกิดจากการสุบบุหรี่หรือการสูดดมมลพิษเป็นเวลานาน สาเหตุหลักของคนเกิดโรคนี้ คือ การสูบบุหรี่ การป้องกันโรคนี้ที่ดีที่สุด ต้องป้องกันที่การให้ความรักและความเข้าใจของคนในครอบครัว ซึ่งพ่อแม่ต้องสอนให้ลูกได้เข้าใจถึงพิษภัยของการสูบบุหรี่ และ ไม่สร้างปัจจัยที่ทำให้ลูกเลือกทำร้ายตัวเองด้วยการสูบบุหรี่


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove