ไข้หวัด Common cold ติดเชื้อไวรัสที่ทางเดินหายใจ ทำให้เยื่อบุจมูกอักเสบ บวม แดง มีน้ำมูกใสขาว มีไข้สูง สามารถหายเองได้ใน 7 วัน ไม่มียารักษาโรค แนวทางการรักษาโรคโรคหวัด ติดเชื้อที่ทางเดินหายใจ โรคติตต่อ โรคทางเดินหายใจ

ไข้หวัด เป็น โรค ชนิดหนึ่งทาง การติดเชื้อ คือ การติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจ เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายผ่านทาง จมูกและคอ จะทำให้เยื่อบุจมูกเกิดอาการบวมและแดงและมีน้ำมูกใสขาวออกมาว ซึ่งโรคนี้จะหายเองได้ใน 7 วัน

สาเหตุของการเกิดไข้หวัด

ไข้หวัด มักจะพบในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยน สามารถติดโรคจากน้ำลายและเสมหะผ่านทางลมหายใจ การแพร่กระจายของเชื้อจากคนหนึ่งสู่คนหนึ่ง มักจะแพร่กระจายก่อน ผู้ป่วยมีอาการไข้ 2 วัน ไข้หวัดจะติดง่ายในผู้ป่วยเด็ก เนื่องจากภูมคุ้มกันยังไม่มากเท่าผู้ใหญ่

อาการของไข้หวัด

จะพบว่า ผู้ป่วยจะมีอาการจาม และมีน้ำมูก อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ มีไข้ ในผู้ป่วยบางคนจะปวดหู หรือเยื่อแก้หูมีเลือดคั่ง เยื่อบุตาอักเสบ มีอาการเจ็บคอ จะกลืนน้ำลายลำบาก

การรักษาไข้หวัด

ไข้หวัด ไม่มียารักษาเฉพาะทาง เราสามารถทำได้เพียงรักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก ยาแก้อักเสบ ยาแก้ปวด เป็นต้น แล้วร่างกายจะขับเชื้อไวรัสออกจากร่างกายเองได้ ใน 2-4 วัน

การป้องกันไข้หวัดสามารถทำได้อย่างไร

ในปัจจุบันโรคหวัดยังไม่มียาที่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคหวัด คือ การทำร่างกายให้แข็งแรง เมื่อมีเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายสามารถกำจัดได้ก่อนที่จะเกิดโรคหวัดได้ ข้อแนะนำในการป้องกันโรคหวัดมีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชนเป็นเวลานาน เช่นโรงภาพยนตร์ ภัตราคาร สนามกีฬา ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น เนื่องจากเราไม่ทราบว่าใครกำลังเป็นไข้หวัด และสามารถแพร่กระจายโรคตากการหายใจได้
  • ใช้ผ้าปิดจมูก เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่กระกายสู่ผู้อื่นและติดสู่เราได้
  • รักษาสุขอนามัย ทำความสะอาดข้าวของเครื่องใช้ที่ต้องสัมผัส และล้างมือบ่อยๆ เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายสู่ร่างกายเราได้ง่าย
  • ไม่เอามีเข้าปาก หรือการขยี้ตา เนื่องจากเราไม่ทราบได้ว่าที่มีของเรามีเชื้อโรคหรือไม่
  • หลีกเลี้ยงการอยู่ใกล้กับผู้ป่วยโรคหวัด

ความแตกต่างระหว่างไข้หวัดกับไข้หวัดใหญ่

มีหลายคนสงสัยว่าไข้หวัดกับไข้หวัดใหญ่มีความแตกต่างกันอย่างไร เราได้ทำตารางเปรียบเทียบความแต่งต่างระหว่างไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ โดยมีรายละเอียดดังนี้

อาการ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่
การมีไข้ มีไข้สูงในเด็ก และไม่มีไข้สูงในผู้ใหญ่ จะมีไข้สูงมากถึง 38 องศาเซลเซียส นานติดต่อกัน 3 วัน
อาการปวดศีรษะ น้อย ปวดหัวมาก
อาการปวดเมื้อยตามตัว น้อย ปวดมาก
อาการอ่อนแรง น้อย อ่อนแรงนานถึง 2-3 สัปดาห์
อาการอ่อนเพลีย ไม่พบอาการอ่อนเพลีย อ่อนเพลียมาก
อาการจาม บ่อย จามบ้างบางครั้ง
อาการคัดจมูก บ่อย คัดจมูกบางครั้ง
โรคแทรกซ้อน โรคไซนัสอักเสบ และโรคหูชั้นกลางอักเสบ โรคหลอดลมอักเสบ และโรคปอดบวม
อาการไอและแน่นหน้าอก ไม่ไอมากแต่ไอแห้งๆ บ่อยและอาการรุนแรง
อาการเจ็บคอ บ่อย พบบ้างบางครั้ง
การป้องกันโรค ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค มีฉีดวัคซีนป้องกันโรค
การรักษาโรค รักษาตามอาการของโรค ต้องรับการรักษาภายใน 48 ชั่วโมง

สมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยลดไข้

โรคหวัดยังไม่มียาสำหรับรักษาโรคแต่ ดรคหวัดต้องรักษาโรคตามอาการ ซึ่งอาหารหนึ่งของไข้หวัดคือการมีไข้สูง การกินยาลดไข้ ช่วยลดปัญหาการช็อค เนื่องจากอุณหภูมิร่างกายสูงเกินไปได้ ดังนั้น สมุนไพรที่ช่วยลดความร้อนในร่างกายสามารถช่วยบรรเทาโรคหวัดได้ มีรายละเอียดดังนี้

หญ้าปักกิ่ง สมุนไพร หญ้าเทวดา สรรพคุณหญ้าเทวดาหญ้าปักกิ่ง ตรีผลา สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตรีผลาตรีผลา
ตะลิงปลิง ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของตะลิงปลิงตะลิงปลิง ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพรถั่วเขียว
อะโวคาโด ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของอะโวคาโดอะโวคาโด ทองพันชั่ง สมุนไพร พืชท้องถิ่น สรรพคุณของทองพันชั่งทองพันชั่ง

ไข้หวัด (Common cold) คือ ภาวะการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจ ทำให้เยื่อบุจมูกอักเสบ บวม แดง มีน้ำมูกใสขาว มีไข้สูง สามารถหายเองได้ใน 7 วันโรคติดต่อจากเชื้อไวรัส อาการของไข้หวัด มีไข้ มีน้ำมูก เจ็บคอ ปวดหัว การรักษาหวัด นั้นไม่มียารักษา ทำได้เพียงบรรเทาอาหารของโรค โรคหวัด

ลิ่มเลือดอุดตันในปอด โรคพีอี Pulmonary Embolism ภาวะการอุดกั้นในปอดจากกลิ่มเลือด ทำให้เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก แขนขาบวม อันตรายทำให้เสียชีวิตอย่างกระทันหันได้ลิ่มเลือดอุดตันในปอด โรคพีอี โรคระบบทางเดินหายใจ โรคปอด

โรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด มีปัจจัยหลายประการ เช่น ภาวะพันธุกรรม อายุ โรคประจำตัว และ พฤตอกรรมการใช้ชีวิตในประจำวัน โรคนี้เป็นเพชรฆาตเงียบ คนแข็งแรงก็สามารถเสียชีวิตได้ หากประมาท โรคนี้มีอัตราการเสียชีวิตสูง รองจากโรคหัวใจและโรคมะเร็ง

สาเหตุของการเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด

สำหรับสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในปอด เราสามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้ 2 ประเภท คือ สาเหตุจากการเกิดโรคมาก่อน และ สาเหตุที่ไม่พบว่ามีการเกิดโรคมาก่อน ซึ่ง สาเหตุของการเกิดโรคจากการเกิดโรคมาก่อน เช่น เกิดเมื่อได้รับการผ่าตัดและ ต้องนอนนิ่งๆเป็นเวลานานๆ การป่วยเป็นมะเร็งบางชนิด การรับประทานยาบางประเภท ภาวะการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เป็นต้น ส่วนในสาเหตุการเกิดอีกประเภท คือ การเกิดลิ่มเลือดอุดตันโดยไม่มีสาเหตุของอาการมาก่อน

สาเหตุของการเกิดโรค มีปัจจัยสำคัญจากพฤติกรรมเสี่ยง ที่สำคัญ คือ การสูบบุหรี่ และ การไม่เคลื่อนไหวร่างกายเป็นเวลานาน

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด

สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด สามารถสรุปปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการเกิดโรค ดังนี้

  • อายุของผู้ป่วย คนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคมากที่สุด
  • ภาวะทางพันธุกรรม สำหรับคนที่มีประวัติคนในครอบครัวเคนเป็นโรคลิ่มเลือด อาจมีความความเสี่ยงให้เกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอดมากขึ้น
  • การเกิดอุบัติเหตุอย่างรุนแรง เช่น กระดูกหัก กล้ามเนื้อฉีก การถูกกระแทดอย่างรุนแรง เป็นต้น
  • การเกิดโรคบางชนิด เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งปอด โรคหัวใจ โรคเหล่านี้มัโอกาสเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด
  • เคยเข้ารับการผ่าตัดใหญ่ หรือ เข้ารับการทำเคมีบำบัด
  • อยู่ในภาวะร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นเวลานาน เช่น ผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น
  • การสูบบุหรี่
  • โรคอ้วน ภาวะน้ำหนักตัวเกินมาตราฐาน
  • ภาวะตั้งครรภ์
  • การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน

อาการของโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด จะแสดงอาการต่างๆ ซี่งความรุนแรงขึ้นอยู่กับขนาดของลิ่มเลือดที่อุดตันในปอด โดย อาการต่างๆ สามารถสังเกตุ ได้ดังนี้

  • หายใจไม่ออก หายใจลำบาก โดยเกิดแบบฉับพลัน และ จะมีอาการหนักขึ้นหากออกแรง หรือ ออกกำลังกาย
  • เจ็บหน้าอก รู้สึกแน่นหน้าอก เมื่อหายใจเข้าลึกๆ อาการเจ็บหน้าอกจะไม่หายแม้นั่งพักแล้วก็ตาม
  • มีอาการไอเป็นเลือด มีเลือดปนมากับเสมหะเวลาไอ
  • มีไข้สูง
  • วิงเวียนศีรษะ
  • เหงื่อออกมาก
  • หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • ชีพจรเต้นอ่อน
  • ผิวมีสีเขียวคล้ำ
  • ปวดขา และ มีอาการขาบวมเฉพาะน่อง
  • หน้ามืดเป็นลม และ หมดสติ

อาการต่างๆนี้ มีอาการของโรคที่รุนแรง ผู้ป่วยโรคลิ่มเลือดไปอุดตันในปอด สามารถเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

การรักษาโรคลิ่มเลือดอุดตั้นในปอด

สำหรับแนวทางการรักษาโรคนี้ คือ การรักษาลิ่มเลือดที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ่มเลือดมีขนาดใหญ่ขึ้น และ ไม่ให้เกิดลิ่มเลือดใหม่ หากรักษาได้ทัน จะช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน แนวทางการรักษาโรค มีดังนี้

  • การใช้ยารักษา โดยใช้ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด และ ยาสลายลิ่มเลือด
  • การสอดท่อเข้าทางหลอดเลือด เพื่อกำจัดลิ่มเลือดที่อุดตัน
  • การใช้ตะแกรงกรองลิ่มเลือด เพื่อไม่ให้ไปอุดกั้นที่ปอด การรักษาแนวทางนี้ สำหรับคนที่ไม่สามารถรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดได้
  • การผ่าตัด โดยผ่าตัดกำจัดลิ่มเลือด

การป้องกันโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด

แนวทางการป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในปอด คือ การลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดลิ่มเลือด แนวทางการป้องกัน มีดังนี้

  • ควบคุมน้ำหนักตัว ให้อยู่ในมาตราฐาน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การเคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้น เป็นสิ่งจำเป็นช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้
  • เลิกสูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทั้งหลายทั้งปวง

โรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด โรคพีอี ( Pulmonary Embolism ) ภาวะการอุดกั้นในปอด ที่เกิดจากกลิ่มเลือด ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย และ ไอ เป็นอันตรายทำให้เสียชีวิตอย่างฉับพลันได้ สาเหตุ อาการ และ การรักษา ทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove