แอสเปอร์จิลโลซิส เชื้อราจากสัตว์ปีก ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีไข้ ไอมีเสมหะ น้ำมูกเหม็น ปอดอักเสบ แนวทางการการรักษาโรคและการป้องกันทำอย่างไร

แอสเปอร์จิลโลซิส โรคติดเชื้อ โรคทางเดินหายใจ

แอสเปอร์จิลโลซิส ( Aspergillosis )  คือ โรคติดเชื้อจากเชื้อราแอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส ( Aspergillus fumigatus ) ซึ่งคือสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่ต้องการออกซิเจนสูงมาก พบในบริเวณที่มีออกซิเจนมากเกือบทั้งหมดโดยทั่วไปเจริญเป็นเส้นใยราบนผิวของอาหารที่มีคาร์บอนมาก เช่น กลูโคส อะไมโลส Aspergillus พบปนเปื้อนในอาหารที่มีแป้ง เช่น ขนมปังและมันฝรั่งและเจริญบนต้นไม้ แอสเปอร์จิลโลซิส พบว่ามีการระบาดสู่คน ครั้งแรกปี พ ศ. 2390 ปัจจุบันโรคนี้มีอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการต่างๆที่ระบบทางเดินหายใจ

ประวัติความเป็นมาของแอสเปอร์จิลโลซิส

แอสเปอร์จิลโลซิส ( Aspergillosis ) เป็นโรคสัตว์ที่เกิดจากเชื้อรา โดยมีรายงานการแพร่ระบาดของโรคครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2358 ในปอดของนกตะขาบ ( Carvus glandarius ) และมีรายงานการพบเชื้อโรคในคนครั้งแรกในปี พ ศ. 2390 ต่อมาในปี พ.ศ. 2440 ก็มีรายงานการเกิดโรคนี้ในผู้ป่วยวัณโรค 6 ราย ซึ่งในปัจจุบันโรคนี้มีอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นเรื่อยๆ

สาเหตุของการติดเชื้อแอสเปอร์จิลโลซิส

โรคแอสเปอร์จิลโลซิสเกิดจากการติดเชื้อราแอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส ( Aspergillus fumigatus ) เป็นเชื้อโรคที่พบในสัตว์ปีก คือ นก เกิดการระบาดสู่คนผ่านการหายใจ  ซึ่งการระบาดของโรคจากสัตว์สู่คนนั้น เนื่องจากเชื้อโรคชนิดนี้เป็นเชื้อโรคที่ต้องการออกซิเจนสูง จึงทำให้ร่างกายของผู้ติดเชื้อเกิดภาวะขาดออกซิเจน จึงต้องการเครื่องช่วยหายใจเพื่อป้องกันภาวะการหายใจล้มเหลว

อาการของโรคแอสเปอร์จิลโลซิส 

สำหรับโรคแอสเปอร์จิลโลสิสนั้นจะแสดงอาการที่ระบบทางเดินหายใจ หายใจติดขัด ไอ และ มีเสมหะ ทำให้ปอดอักเสบ โดยลักษณะของอาการโรคนี้มี 3 ลักษณะ ประกอบด้วย การแพ้เชื้อรา แบบก้อนเชื้อรา แบบทำลายปอดเรื้อรัง และ แบบลุกลาม โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • อาการแบบแพ้เชื้อรา ( ABPA ) เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่อการยึดครองพื้นที่ในทางเดินหายใจของเชื้อ Aspergillus fumigatus มักเกิดในผู้ป่วยที่เป็นโรคทางเดินหายใจอยู่ก่อน เช่น โรคซิสติคไฟโบรสิส (cystic fibrosis) หรือผู้ป่วยโรคหอบหืด (asthma) อาการ คือ มีไข้ ไอ เสมหะเหนียวอุดหลอดลม เอ็กซเรย์พบฝ้าในปอด บางรายมีอาการไอเป็นเลือด บางคนมีอาการคัดจมูกเรื้อรัง น้ำมูกเป็นหนองปนเลือด มีกลิ่นเหม็น แบบไซนัสอักเสบเรื้อรัง ไม่ดีขึ้นแม้จะรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
  • อาการแบบก้อนเชื้อรา ( aspergilloma )  เป็นเชื้อราที่รวมตัวกันเป็นก้อนอยู่ภายในปอด มักเกิดในปอดที่มีโพรงของถุงลมอยู่ก่อน ก้อนของเชื้อราจะอยู่ภายในโพรงถุงลม กลิ้งไปมาได้ภายในโพรง ในระยะแรกจะไม่มีอาการ อาจตรวจพบโดยบังเอิญจากการเอ็กซเรย์ ต่อมาจึงจะมีอาการไอเป็นเลือด และมักออกมาเป็นจำนวนมากจนถึงขั้นเสียชีวิต
  • อาการแบบทำลายปอดเรื้อรัง ( chronic necrotizing pulmonary aspergillosis, CNPA ) มักพบในผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง ( COPD ) ที่ต้องพึ่งยาสเตอรอยด์ ผู้ป่วยที่ติดสุรา อาการคือมีไข้ ไอ หอบ เจ็บหน้าอก เป็นสัปดาห์ถึงเดือน เสมหะมีเลือดปนหนอง น้ำหนักลด เอ็กซเรย์พบมีปอดอักเสบหรือเป็นฝีในปอด แต่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะโดยทั่วไป
  • อาการแบบลุกลาม ( invasive aspergillosis ) มักพบในผู้ป่วยที่มีระดับเม็ดเลือดขาวในเลือดต่ำ เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะและต้องรับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยที่เป็นลูคีเมีย มะเร็งของต่อมน้ำเหลือง เชื้อแอสเปอร์จิลลัสจะลุกลามจากปอดเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้มีไข้สูง หนาวสั่น ไอเป็นเลือด หายใจเร็ว หอบ เขียว และเกิดการติดเชื้อของอวัยวะต่าง ๆ ได้ทั่วรางกาย ในรายที่เริ่มเป็นที่ไซนัส เมื่อเชื้อลุกลามจะมีการทำลายกระดูกบริเวณใบหน้า ทำให้เจ็บปวด มีเลือดออกจากจมูก

การรักษาโรคแอสเปอร์จิลโลซิส

สำหรับแนวทางการรักษาโรคแอสเปอร์จิลโลซิส สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ คือ Voriconazole , Posaconazole , Amphothericin B , Itraconazole และ Caspofungin แต่โรคแอสเปอร์จิลโลสิสหากเป็นแบบก้อนเชื้อราผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการของโรค แต่หากแสดงอาการจะเกิดอาการไอเป็นเลือด หากรักษาไม่ทันอาจทำให้เสียชีวิตได้

การป้องกันโรคแอสเปอร์จิลโลซิส

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดโรคแอสเปอร์จิลโลซิส นั้นส่วนสำคัญคือ การลดปัจจัยเสี่ยงในการรับเชื้อโรค และหากจำเป็นต้องอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคต้องสวนเครื่องป้องกัน โดยแนวทางการป้องกันมีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค
  • ใส่ผ้าปิดจมูกกันฝุ่นละอองเมื่อต้องอยู่ในพื้นที่เสี่ยงในการมีเชื้อโรค
  • หากมีประวัติการแพ้เชื้อราควรหลีกเลี้ยงการทำงานใกล้กับสัตว์ปีก
  • ควรงดทำงานในวันที่ร่างกายอ่อนแอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

กาฬโรค ติดเชื้อแบคทีเรียจากการโดนหมัดหนูกัด ทำให้ต่อมน้ำเหลืองบวม อาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย เลือดออกตามปากจมูก ผู้ป่วยอาจนิ้วเน่าได้

กาฬโรค โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

กาฬโรค หรือ มรณะดำ เป็นโรคติดต่อที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงมากในช่วงเวลาหนึ่ง มีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเยอร์ซิเนีย เปสติส ( Yersinia pestis ) โดยมีหนูและหมัดหนูเป็นพาหะนำโรค ซึ่งสามารถแพร่เชื้อโรคโดยทางอากาศ การสัมผัสเชื้อโรคโดยตรง หรือ อาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรค

กาฬโรคในประเทศไทย

มีข้อมูลจากพงศาวดารอยุธยา ฉบับวันวลิต พ.ศ. 2182 กล่าวว่า กรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ.1893 ซึ่งตรงกับ ค.ศ.1350 มีการระบาดใหญ่ของ Black Death ในยุโรป และจากข้อมูลพบว่ามีการระบาดของกาฬโรคในจีน ระยะเวลาต่อมา พบว่า กาฬโรคจากเมืองจีนยังได้มีการแพร่กระจายเข้ามาในไทยอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

สำหรับรายงานการระบาดของกาฬโรคอย่างเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทย มีรายงานเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2447 ว่า พบการระบาดเกิดขึ้นที่บริเวณตึกแดงและตึกขาว ซึ่งเป็นโกดังเก็บสินค้าที่จังหวัดธนบุรี สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากหนูที่มีเชื้อกาฬโรคที่ติดมาจากเรือสินค้าจากเมืองบอมเบย์ ประเทศอินเดีย จากนั้นมีการระบาดจากธนบุรีเข้ามาฝั่งพระนคร แต่ไม่มีสถิติจำนวนผู้ป่วยตายที่แน่นอน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2456 มีรายงานว่าเกิดกาฬโรคระบาดที่จังหวัดนครปฐม มีคนตาย 300 คน และครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2495 มีรายงานผู้ป่วย 2 รายตาย 1 ราย ที่ตลาดตาคลี นครสวรรค์ ซึ่งถือเป็นรายงานการระบาดของกาฬโรคครั้งสุดท้ายในประเทศไทย จากนั้นไม่มีรายงานกาฬโรคเกิดขึ้นในประเทศไทยจนปัจจุบันนี้

การติดเชื้อกาฬโรค

สำหรับการติดเชื้อกาฬโรค นั้นมีหลายสาเหตุ ซึ่งเกิดจากปัจจัย 4 ปัจจัย มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ถูกหมัดที่มีเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้กัด ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงคือคนที่อยู่ใกล้ชิดสัตว์ที่มีหมัด เช่น ในเขตชนบท หรือในเขตที่มีหนูมาก การออกค่ายอยู่ป่า การไปปิกนิกตามทุ่งหญ้า ป่าเขา หรือเป็นสัตวแพทย์ เป็นต้น
  • การสัมผัสเนื้อเยื่อหรือสิ่งคัดหลั่งต่างๆ จากสัตว์ที่ป่วยเป็นกาฬโรค เช่น การแล่เนื้อหรือลอกหนังสัตว์
  • การหายใจเอาละอองเสมหะ น้ำลายของสัตว์ที่ป่วยเป็นกาฬโรคปอดเข้าไป โดยเฉพาะจากแมว
  • ติดต่อระหว่างคนสู่คน ซึ่งเกิดจากการหายใจเอาเชื้อแบคทีเรียที่กระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยที่เป็นกาฬโรคปอดเข้าไป ทั้งนี้ ในทางกลับกันสัตว์ก็สามารถติดกาฬโรคจากคนได้ด้วยวิธีการเดียวกัน

อาการของกาฬโรค

สำหรับการแสดงอาการของโรค หลังจากการถูกหมัดหนูกัดแล้ว ประมาณ 1 สัปดาห์ เชื้อโรคจะเจริญเติบโตยังต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้ที่สุด โดยจะเริ่มแสดงอาการคล้ายกับโรคไข้หวัดใหญ่ คือ ไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน  ซึ่งอาการของโรคสามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ อาการจากต่อมน้ำเหลืองอักเสย อาการจากติดเชื้อในกระแสเลือด และ อาการจากปอดอักเสบ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • อาการกาฬโรคชนิดต่อมน้ำเหลืองอักเสบ จะมีอาการต่อมน้ำเหลืองบวม แดง กดเจ็บ ซึ่งอาจปวดมากจนขยับแขนหรือขาไม่ได้ ตำแหน่งที่มักพบจะเป็นบริเวณขาหนีบ หรือ รักแร้
  • อาการกาฬโรคชนิดติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นลักษณะอาการที่ลุกลามจากต่อมน้ำเหลืองอักเสบ โดยแสดงอาการไข้สูง ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็ว เลือดออกในอวัยวะต่างๆ สามารถเสียชีวิตได้ภายใน 1 สัปดาห์
  • อาการกาฬโรคปอดบวม เป็นอาการที่จะเกิดหลังจากมีอาการต่อมน้ำเหลืองอักเสบและติดเชื้อในกระแสเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการปอดบวม ไอเป็นน้ำ เสมหะไม่เหนียว ต่อมาจะมีเลือดปน อ่อนเพลีย มีไข้ หากไม่ได้รับการรักษา อาจเสียชีวิตภายใน 3 วัน

การรักษากาฬโรค

สำหรับแนวทางการรักษาโรคกาฬโรคในปัจจุบัน สามารถใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรค ด้วยการให้ยาปฏิชีวนะอย่างแรงประมาณ 7 – 10 วัน แต่แนวทางการรักษาต้องป้องกันการแพร่เชื้อโรคอย่างเคร่งครัด บุคลากรที่ทำการรักษาต้องมีความระมัดระวังอย่างเคร่งครัด ด้านการป้องกันการติดเชื้อโดยสวมถุงมือ ปิดปากและจมูก ควรทำลายเชื้อจากเลือด น้ำเหลือง และหนองของผู้ป่วย เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายของเชื้อโรค

ภาวะโรคแทรกซ้อนจากกาฬโรค

สำหรับโรคแทรกซ้อนของกาฬโรค มีอาการต่างๆที่ต้องระวัง เช่น นิ้วมือ นิ้วเท้าเน่าจากการขาดเลือด เกิดอาการช็อกอย่างรุนแรง อาการปอดบวม อาการหายใจล้มเหลว อาโลหิตเป็นพิษ และ อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

การป้องกันกาฬโรค

แนวทางการป้องกันกาฬโรค ที่สำคัญคือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆที่สามารถทำให้ติดเชื้อโรค รวมถึงการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ ดูแลสุขอนามัยให้สะอาด กำจัดแหล่งอาหารของหนู โดยสรุปแล้วแนวทางการป้องกันกาฬโรค มีดังนี้

  • หลักการป้องกันการติดเชื้อและการแพร่ระบาดของกาฬโรคที่สำคัญคือ การควบคุมดูแลสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขอนามัย รวมทั้งให้ความรู้ด้านสุขศึกษากับประชาชน และการเฝ้าระวังการเกิดขึ้นของโรค
  • การควบคุมด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การกำจัดขยะมูลฝอยที่ถูกต้อง ไม่ให้มีกองขยะที่จะเป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์หนูได้ อาคารต่างๆต้องมีระบบป้องกันการเข้าถึงของหนูและการกำจัดหนูที่ถูกวิธี ตามบ้านเรือนก็ควรเก็บอาหารให้มิดชิด ไม่ให้หนูเข้าถึง รอบๆบ้านไม่ควรมีกองขยะ กองไม้ และควรเก็บอาหารของสัตว์เลี้ยงและกองฟืนให้มิดชิด
  • หากพบซากหนู หรือสัตว์อื่นๆตาย ควรกำจัดให้ถูกวิธี โดยการสวมถุงมือยาง สวมหน้ากากปิดปากปิดจมูกก่อนการสัมผัสซากสัตว์นั้นๆ และอาจใช้วิธีฝังกลบซึ่งต้องลึกพอ ห้ามทิ้งลงถังขยะธรรมดาทั่วไป ท่อระบายน้ำ หรือคูคลองต่างๆ สำหรับผู้ที่ต้องทำงานเกี่ยว กับสัตว์ต่างๆก็ต้องใส่เสื้อผ้าให้มิดชิดป้องกันการถูกหมัดกัด สวมถุงมือและหน้ากากอนามัยเสมอ
  • สัตว์ที่เลี้ยงไว้ ได้แก่ หมา แมว กระต่าย หนูพันธุ์ต่างๆ กระรอก กระแต เป็นต้น ควรกำจัดหมัดให้อย่างสม่ำเสมอ
  • ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่าชนิดต่างๆ หากไปเที่ยวป่า เที่ยวเขา ควรป้องกันตัวเองจากการถูกหมัดกัด เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าแขน/ขายาว
  • หากคนหรือสัตว์เลี้ยงในบ้านไปสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นกาฬโรคจะต้อง กินยาปฏิชีวนะป้องกัน (โดยการปรึกษาแพทย์)
  • ในอดีตมีวัคซีนสำหรับป้องกันกาฬโรค แต่ป้องกันได้เฉพาะการเกิดกาฬโรคของต่อมน้ำเหลือง และปัจจุบันได้หยุดการผลิตไปแล้ว ขณะนี้กำลังมีการพัฒนาวัคซีนตัวใหม่ที่ป้องกันโรคได้ดีขึ้น แต่วัตถุประสงค์ไม่ได้เพื่อให้ใช้ในประชากรทั่วๆไป โดยจำกัดการใช้เฉพาะผู้ที่ต้องทำงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับเชื้อกาฬโรคเท่านั้น รวมถึงในกรณีที่เกิดสงครามที่มีการใช้อาวุธเชื้อโรคจากเชื้อกาฬโรค

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove