มะเร็งต่อมลูกหมาก Prostate Cancer พบในเพศชาย ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ อาการของโรค เช่น ปัสสาวะขัด ปัสสาวะเป็นเลือด แนวทางการรักษาและป้องกันอย่างไรมะเร็งต่อมลูกหมาก โรคมะเร็ง โรคระบบขับถ่าย โรคระบบสืบพันธ์

ต่อมลูกหมาก ( prostate gland ) คือ อวัยวะหนึ่งของระบบสืบพันธุ์และระบบปัสสาวะของเพศชาย ต่อมลูกหมากทำหน้าที่ผลิตน้ำหล่อลื่นที่อยู่ในน้ำอสุจิ ( semen ) ต่อมลูกหมากแบ่งเป็นสองซีก (lobe) และ มีท่อปัสสาวะ (urethra) อยู่ตรงกลาง

มะเร็งต่อมลูกหมาก ( Prostate Cancer ) คือ ภาวะการเกิดเนื้องอก เนื้อร้าย ทีพบได้ในเพศชาย โรคนี้จะค่อยๆเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ ที่ต่อมลูกหมาก ในบางรายมะเร็งมีความรุนแรง เซลล์มะเร็งจากต่อมลูกหมาก สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆของร่างกายได้ โดยเฉพาะกระดูกและต่อมน้ำเหลือง โรคนี้ในระยะแรกไม่มีอาการ ระยะต่อมาอาจทำให้เกิดความเจ็บปวด ปัสสาวะลำบาก เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และ เสียชีวิตในที่สุด

โรคมะเร็งต่อมลูกหมากพบในผุ้ชายอายุประมาณ 70 ปี  ในปัจจุบันสามารถตรวจคัดกรองโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้เร็วขึ้น จากการตรวจโดยใช้นิ้วคลำทางทวาร และ การตรวจเลือดหาสาร PSA ผู้ชายอายุประมาณ 45 – 50 ปี ที่มีประวัติญาติพี่น้องป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรค

สาเหตุของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

โรคนี้จากความรู้ทางการแพทย์ ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของการเกิดโรคได้อย่างชัดเจน แต่พบว่าเกิดจากเซลล์ในต่อมลูกหมากผิดปกติ เจริญเติบโตรวดเร็วกว่าปกติ และก่อให้เกิดเนื้องอกลุกลามไปยังเนื้อเยื่อรอบข้าง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก
สามารถสรุป ปัจจัยของการเกิดโรค ได้ดังนี้

  • อายุ เพศชายคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มีโอกาสเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากมากขึ้น
  • พันธุกรรม ในคนที่มีประวัติญาติพี่น้องป่วยเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากมีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคมากกว่าคนอื่น
  • เชื้อชาติ จากสถิติการเกิดโรคชายในประเทศตะวันตกและยุโรป มีโอกาสเกิดโรคมากกว่าชายเอเชีย
  • การกินอาหาร สำหรับคนที่ชอบรับประทานอาหารไขมันสูง และ รับประทานเนื้อแดง มีความเสี่ยงเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้

อาการของมะเร็งต่อมลูกหมาก

สำหรับโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ในระยะแรกจะไม่แสดงอาการผิดปรกติ แต่เมื่อมะเร็งเกิดขยายตัวขึ้นจนกดทับท่อปัสสาวะ ก็จะเริ่มแสดงอาการผิดปรกติที่ระบบการปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อย แสบเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะไม่สุด จนถึงปัสสาวะเป็นเลือดได้ ซึ่งอาการของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก สามารถสังเกตุได้จาก อาการ ดังต่อไปนี้

  • ปัสสาวะผิดปรกติ เช่น ปัสสาวะขัด ปัสสาวะแผ่วเบา ปวดปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่สุด
  • น้ำหนักตัวลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • อ่อนเพลีย
  • มีอาการบวมตามร่างกายส่วนล่าง
  • ขาอ่อนล้า และ ขยับไม่ได้
  • มีอาการท้องผูก
  • เจ็บบริเวณเชิงกรานและหลังส่วนล่าง

ระยะของมะเร็งต่อมลูกหมาก

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก สามารถแบ่งระยะของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็น 4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ถึง ระยะที่ 4 โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • มะเร็งต่อมลูกหมาก ระยะที่ 1 พบเกิดมะเร็งเฉพาะที่ต่อมลูกหมากเพียงกลีบเดียว ไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก ระยะที่ 2 พบว่ามะเร็งมีขนาดใหญ่ และพบมะเร็งเกิดทั้งสองกลีบของต่อมลูกหมาก ซึ่งในระยะนี้ยังไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก ระยะที่ 3 พบว่ามะเร็งแพร่กระจายสู่ผิวด้านนอกของต่อมลูกหมาก และ ลุกลามไปยังท่อน้ำเชื้อ
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก ระยะที่ 4 พบว่ามีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งสู่กระดูกและต่อมน้ำเหลือง

การรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

สำหรับการรักษามะเร็งที่ต่อมลูกหมาก แพทย์จะเลือกวิธีรักษาด้วยการผ่าตัด การฉายรังสี การทำเคมีบำบัด และ การใช้ฮอร์โมน แพทย์จะเลือกใช้วิธีทั้งหมดในการรักษา โดยเลือกตามความเหมาะสม จากปัจจัยต่างๆ เช่น ตำแหน่ง ขนาด ระยะของเซลล์มะเร็ง และ สภาพร่างกายและจิตใจ ของผู้ป่วย รายละเอียดของการรักษา มีดังต่อไปนี้

  • การผ่าตัด สำหรับการรักษาด้วยการผ่าตัด มี 2 วิธี คือ การผ่าตัดโดยใช้วิธีส่องกล้อง ( laparoscopic radical prostatectomy) และ การผ่าตัดโดยใช้แขนกลช่วยผ่าตัด (robotic–assisted da Vinci surgery หรือ da Vinci® prostatectomy)
  • การฉายรังสี โดยการฝังแร่ที่ต่อมลูกหมาก และ ฉายรังสี
  • การทำเคมีบำบัด ปัจจุบันวิธีการรักษานี้ให้ผลการรักษาที่ดี ผลข้างเคียงน้อย
  • การรักษาด้วยฮอร์โมน คืิอ การลดฮอร์โมนเพศชาย เป็นการรักษาร่วมกับการผ่าตัด ซึ่งการลดฮอร์โมนเพศชาย ทำโดยการใช้ยาต้านฮอร์โมน หรือ ผ่าตัดเอาอัณฑะออก

การป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

สำหรับแนวทางการปฏิบัติตน เพื่อลดโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มีแนวทางการปฏิบัติตน ดังนี้

  • การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควรรับประทานผัก ผลไม้และธัญพืช แต่ยังไม่มีข้อมูลพิสูจน์ได้ว่า ช่วยป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ แต่การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เป็นพื้นฐานการดูแลร่างกาย
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เมื่อถึงระยะอายุที่มีความเสี่ยง

มะเร็งต่อมลูกหมาก ( Prostate Cancer ) คือ เนื้องอกชนิดหนึ่งพบในเพศชาย ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ มีปัจจัยจาก เพศ อายุ เชื้อชาติ และ การกินอาหาร อาการของโรค เช่น ปัสสาวะขัด ปัสสาวะเป็นเลือด รักษาอย่างไร และ ป้องกันอย่างไร

มะเร็งปอด Lung Cancer เนื้อเยื้อของปอดผิดปรกติเกิดเนื้องอก โรคมะเร็งปอดมักเกิดกับคนสูบบุหรี่ อาการไอเรื้อรัง หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก น้ำหนักลดลงโดยไม่มีสาเหตุมะเร็งปอด โรคมะเร็งปอด การรักษามะเร็งปอด โรคมะเร็ง

มะเร็งปอด ( Lung cancer ) คือ ภาวะเซลล์ของเนื้อเยื้อปอด เกิดการแบ่งตัวผิดปกติไม่สามารถควบคุมได้ ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมักไม่แสดงอาการในระยะแรก ซึ่งการดูแลรักษาร่างกายสามารถทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวมากขึ้นได้ หากตรวจพบตั้งแต่ในระยะแรก สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการผ่าตัด

ชนิดของโรคมะเร็งปอด

โรคมะเร็งปอด สามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก ( Non-small cell lung cancer – NSCLC ) และ  มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก ( Small cell lung cancer – SCLC )

  • มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก ( Non-small cell lung cancer – NSCLC ) มะเร็งปอดชนิดนี้พบได้ประมาณร้อยละ  80 ของมะเร็งปอดทั้งหมด มะเร็งปอดชนิด มี 3 ชนิดย่อย คือ ชนิดสะความัสเซลล์ ( Squamous cell carcinoma ) ชนิดเซลล์ขนาดใหญ่ ( Large cell carcinoma ) ชนิดอะดีโน ( Adenocarcinoma )
  • มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก ( Small cell lung cancer – SCLC ) มะเร็งปอดชนิดนี้พบได้ประมาณร้อยละ 20 ของมะเร็งปอดทั้งหมด มะเร็งชนิดนี้มีความรุนแรง แพร่กระจายได้เร็ว หากมะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง และ แพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด จะทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปอด

สำหรับสาเหตุของโรคมะเร็งปอด ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดมะเร็งที่ชัดเจน แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การสูบบุหรี่ สำหรับการสูบบุหรี่ทำลายปอด เป็นปัจจัยสำคัญของโรคมะเร็งปอด ร้อยละ 90 ของคนสูบบุหรี่เป็นโรคมะเร็งปอด
  • การสูดดมควันบุหรี่ พบว่าร้อยละ 5 ของผู้ป่วยมะเร็งปอด ไม่ได้สูบบุหรี่แต่สูดดมควันจากบุหรี่ ตามสถานที่เที่ยวตอนกลางคืน
  • การสูดดมฝุ่นระอองจากสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานาน เช่น การทำงานในเหมืองแร่ สถานที่ก่อสร้าง ทำงานตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นต้น
  • การสูดดมก๊าซต่างๆเป็นเวลานาน เช่น ก๊าซเรดอน ( Radon ) เป็นก๊าซกัมมันตรังสีที่เกิดจากการสลายตัวของแร่ยูเรเนียม (Uranium)ในหินและดิน เป็นต้น
  • พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ทที่การกินผักและผลไม้น้อย
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ในกรณีทีมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
  • ภาวะความเสื่อมของร่างกาย ตามอายุที่มากขึ้น
  • ภาวะการรติดเชื้อเอชไอวี หรือ ป่วยโรคเกี่ยวกับปอดอย่างเรื่องรัง เช่น วัณโรค ถุงลมปอดโป่งพอง ภาวะเยื่อพังผืดในปอด เป็นต้น

อาการของโรคมะเร็งปอด

สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด นั้นส่วนมากจะไม่ค่อยแสดงอาการในระยะแรก แต่จะมีสัญญาณบางอย่างบ่งบอกว่าอาจการเกิดโรคมะเร็งปอดได้ สามารถสังเกตอาการต่างๆ ได้ดังนี้

  • มีอาการไอเรื้อรังเป็นเวลานาน
  • ไอเป็นเลือด
  • หายใจเหนื่อยหอบ
  • หายใจลำบาก
  • เจ็บหน้าอก
  • เบื่ออาหาร กลืนอาหารลำบาก
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่มีสาเหตุ
  • เจ็บและปวดเวลาหายใจหรือไอ
  • หายใจมีเสียงวีด
  • เสียงแหบ
  • ใบหน้าและคอบวม

การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด

ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์พัฒนาไปมาก การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด ทำได้แม่นยำมากขึ้น โดยเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรค มีดังนี้

  • การเอกซเรย์ทรวงอก ( Chest X-ray )
  • การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ ซีทีสแกน ( CT-scan )
  • การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพทซีทีสแกน ( Positron Emission Tomography – Computerised Tomography : PET-CT Scan )
  • การส่องกล้อง และ การตัดชิ้นเนื้อ ( Bronchoscopy และ Biopsy )
  • การเจาะตัดชิ้นเนื้อผ่านผิวหนังด้วยเข็มขนาดเล็ก ( Percutaneous Needle Biopsy )
  • การส่องกล้องในช่องอก ( Mediastinoscopy )

การรักษาโรคมะเร็งปอด

สำหรับแนวทางการรักษาโรคมะเร็งปอด นั้น ใช้การรักษาด้วยการผ่าตัด การทำเคมีบำบัด และ การฉายแสง ซึ่งการรักษามักใช้ทั้ง 3 วิธีร่วมกัน โดยขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแพทย์ จากความรุนแรงของโรค ชนิดของมะเร็งปอด และ วิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละบุคคล

  • การผ่าตัด ( Surgery ) จะผ่าเอาเนื้อเยื่อปอดบางส่วนที่มีเซลล์มะเร็งออก
  • การรักษาด้วยเคมีบำบัด ( Chemotherapy ) เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก และ ทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกาย
  • การฉายแสง ( Radiation Therapy ) เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็ง มักจะใช้ควบคู่กับวิธีการรักษาอื่น ๆ เช่น การผ่าตัด การทำเคมีบำบัด

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งปอด

โรคมะเร็งปอด ไม่มีวิธีป้องกันการเกิดโรคได้อย่างเด็ดขาด แต่เป็นแนวทางการปฏิบัติ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยแนวทางการปฏิบัติ มีดังนี้

  • ไม่สูบบุหรี่ และ เลิกสูบหรี่
  • หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อม ที่ต้องสูดดมควันบุหรี่ ควันพิษ หรือ ฝั่น ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ผ่อนคลายความตึงเครียด ฝึกคิดในแง่บวก

โรคมะเร็งปอด ( Lung Cancer ) คือ ความผิดปรกติของเนื้อเยื้อของปอด เกิดเนื้องอกผิดปรกติ จากสาเหตุต่างๆ โรคมะเร็งปอดมี 2 ชนิด อาการของโรคมะเร็งปอด การรักษามะเร็งปอดต้องทำอย่างไร การป้องกันการเกิดโรค

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรไทยน่ารู้

สมุนไพร หมายถึง พืช สัตว์หรือแร่ธาตุที่ใช้เป็นยารักษาโรคหรือเสริมสุขภาพ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพืชโดยใช้ส่วนต่างๆของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เป็นต้น นำมาแปรสภาพ เพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ทั้ง รับประทานสด การนำมาพอก การต้ม เป็นต้น
กัญชา สรรพคุณของกัญชา สมุนไพร น้ำมันกัญชา
กัญชา
ตะขบ สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตะขบ
ตะขบ
ลูกใต้ใบ สมุนไพร สรรพคุณของลูกใต้ใบ สมุนไพรรสขม
ลูกใต้ใบ
หญ้าหวาน สตีเวีย สมุนไพร สมุนไพรให้ความหวาน
หญ้าหวาน
โรคต่างๆและการรักษาโรค
โรค ( Disease ) หมายถึง ความผิดปรกติของระบบการทำงานของร่างกาย รวมถึงความผิดปกติของระบบอวัยวะและเนื้อเยื่อของร่างกาย ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคมีหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม การทำงานผิดปรกติของอวัยวะ เรามาทำความรู้จักกับโรคต่างๆ
แก้วหูทะลุ โรคหูคอจมูก การรักษาแก้วหูทะลุ โรคหู
แก้วหูทะลุ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ โรคพยาธิ โรคไม่ติดต่อ โรคติดเชื้อ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ
ข้อหลุด ข้อเคลื่อน โรคข้อและกระดูก ข้อหลุดรักษาอย่างไร
ข้อหลุด
เหงือกร่น รักษาเหงือกร่น โรคในช่องปาก โรคเหงือกและฟัน
เหงือกร่น