ข้ออักเสบจากโรคสะเก็ดเงิน เป็นภาวะแพ้ภูมิต้านทานโรคตัวเองจนทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ อาการอักเสบตามข้อกระดูก เจ็บปวดมาก แนวทางการรักษาและป้องกันอย่างไรข้ออักเสบ โรคสะเก็ดเงิน ข้ออักเสบสะเก็ดเงิน สะเก็ดเงินข้ออักเสบ

ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อข้ออักเสบจากสะเก็ดเงิน

โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่ชัดเจน แต่ร้อยละ 15 ข้อผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน มีอาการข้ออักเสบด้วย ซึ่งสามารถสรุปปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน มีดังนี้

  • การป่วยโรคสะเก็ดเงิน ร้อยละ 15 ของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน มีอาการข้ออักเสบ
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม พบว่าร้อยละ 40 ของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินข้ออักเสบ มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคสะเก็ดเงิน
  • ภาวะการติดเชื้อ จากการติดเชื้อไวรัส หรือ เชื้อแบคทีเรีย เป็นจุดเริ่มต้นของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายผิดปรกติ
  • อายุของผู้ป่วย พบว่ากลุ่มคนอายุ 30 ถึง 50 ปี มีอัตราการเกิดโรคสูงกว่าคนในช่วงอายุอื่นๆ

อาการของโรคสะเก็ดเงินข้ออักเสบ

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินข้ออักเสบ จะมีอาการลักษณะอาการเรื้อรังไม่หายขาด ซึ่งสามารถสังเกตุอาการของโรคสะเก็ดเงินข้ออักเสบ ได้ดังนี้

  • ปวดบริเวณข้อกระดูก
  • รู้สึกข้อกระดูกอุ่นๆ
  • มีอาการข้อต่อบวม
  • นิ้วมือและนิ้วเท้าบวม
  • มีอาการปวดบริเวณข้อเท้าและฝ่าเท้า โดยเฉพาะปวดเส้นเอ็น
  • มีอาการปวดบริเวณคอและหลังส่วนล่าง

การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

สำหรับการวินิจฉัยโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน แพทย์จะสังเกตุจากการที่สามารถสังเกตุได้ เช่น อาการปวด อาการบวมของข้อต่อ เล็บที่เป็นเกล็ด ตรวจดูฝ่าเท้าว่าบวมหรือไม่ จากนั้นเพื่อการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง ต้องทำการเอ็กซเรย์ MRI และ CT Scan เพื่อเช็คความเสียหายของข้อต่อ

การรักษาโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

สำหรับการรักษาโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน มีกระบวนการรักษา แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ การรักษาโดยไม่ใช้ยา และ การรักษาโดยใช้ยา รายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาโดยไม่ใช้ยา คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆที่กระตุ้นให้ข้ออักเสบ เช่น ไม่ใช้ข้อกระดูกมากเกินไป ผ่อนคลายลดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ควบคุมน้ำหนัก เป็นต้น
  • การรักษาแบบใช้ยา เป็นยาต่างๆ เช่น ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ( NSAIDs ) กลุ่มยาปรับการดำเนินโรคข้อ ( DMARDs ) กลุ่มที่เป็นสารชีวภาพ ( Biologic drugs )

การป้องกันการเกิดโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคสามารถป้องกันจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยแนวทางการปฏิบัติตน มีดังนี้

  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมต่างๆที่ทำร้ายระบบข้อและกระดูก
  • ควบคุมน้ำหนักตัว
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • พยายามลดความเครียด

โรคข้ออักเสบสะเก็ด เป็นโรคเรื้อรัง มีการกำเริบเป็นระยะๆ การรักษาที่เหมาะสมจะช่วยทำให้ไม่ปวดข้อ ไม่เกิดความพิการ สำหรับผู้ป่วยโรคผิวหนังสะเก็ดเงิน ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อให้ได้การวินิจฉัยโรคและการรักษาที่ถูกต้อง

สะเก็ดเงินข้ออักเสบ คือ โรคสะเก็ดเงิน ที่ส่งผลประทบต่อระบบข้อต่อของมนุษย์ เป็นภาวะแพ้ภูมิต้านทานโรคตัวเอง จนทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ จนเกิดการอักเสบตามข้อกระดูก ทำให้เจ็บปวดมาก อาการของโรค และ รักษาอย่างไร

น้ำกัดเท้า ฮ่องกงฟุต โรคเท้านักกีฬา ( Athlete’s foot ) การติดเชื้อราที่ผิวบริเวณเท้า เกิดได้ในทุกคน อาการรอยแดง คันง่ามเท้า เกิดแผลที่เท้า การรักษาอย่างไรน้ำกัดเท้า ฮ่องกงฟุต ติดเชื้อที่ผิวหนัง

โรคน้ำกัดเท้า หรือ โรคฮ่องกงฟุต ( Athlete’s foot หรือ Hong Kong foot) เกิดจากการติดเชื้อรากลุ่มเดียวกับโรคขี้กลาก คือ เชื้อราสายพันธุ์ Dermatophytes เป็นเชื้อราที่เจริญเติบโตได้ดี ในที่อับชื้น เช่น รองเท้าที่มีน้ำขัง พื้นห้องน้ำ เชื้อราชนิดนี้ มักจะอยู่ใน รองเท้า ถุงเท้า ผ้าเช็ดตัว พบบ่อยในผู้ชาย โดยเฉพาะวัยรุ่น โรคน้ำกัดเท้าพบบ่อยในนักกีฬา ที่มีรองเท้าเปียกชื้น เราเรียกโรคนี้ว่า โรคเท้านักกีฬา

สาเหตุของการเกิดโรคน้ำกัดเท้า

โรคน้ำกัดเท้า เกิดจากการติดเชื้อราสายพันธุ์ Dermatophytes ซึ่งเป็นเชื้อราชนิดเดียวที่ทำให้เกิดโรคกลาก แต่เป็นการติดเชื้อราที่ผิวหนังบริเวณเท้า โดยมักเกิดที่ง่ามเท้า เชื้อราชนิดนี้ เจริญเติบโตได้ดีในที่อับชื้น ร้องเท้า ถุงเท้า และ ผ้าเช็ดตัว เชื้อราทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคือง อักเสบ และ เกิดแผล และ แผลที่เกิดขึ้นรักษาไม่หายสักที จะเกิดปัญหาเรื่องการเดิน

กลุ่มคนที่มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคน้ำกันเท้า

สำหรับกลุ่มคนที่ต่างๆเหล่านี้ คือ กลุ่มคนที่ีมีโอกาสในการเกิดโรคน้ำกัดเท้ามากที่สุด มีดังนี้

  • คนที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคน้ำกัดเท้าง่าง กรรมพันธุ์ก็เป็นโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค
  • คนที่มีภาวะภูมิแพ้ที่ผิวหนังง่าย
  • กลุ่มคนที่มีระบบภูมิต้านทานโรคต่ำ
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และ ผู้ป่วยที่มีระบบไหลเวียนของโลหิตไม่ดี โดยเฉพาะเลือดส่วนขา

อาการของผู้ป่วยโรคน้ำกัดเท้า

สำหรับอาการที่แสดงออกของโรคน้ำกัดเท้า จะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนที่ง่ามเท้า ผิวหนังส่วนที่ติดเชื้อจะมีอาการผิวแห้ง ตกสะ เก็ด มีรอยแตกเป็นร่องแผลสด มีอาการบวม คัน และ เจ็บที่แผล ด้วย ในบางรายเกิกตุ่มน้ำ อาจมีหนองได้  สำหรับอาการของโรคน้ำกัดเท้า จะแสดงอาการต่างๆ ดังนี้

  • เกิดรอยแดง และ มีอาการคันของผิวหนังบริเวณง่ามเท้า
  • มีรอยสะเก็ด ที่ฝ่าเท้า ผิวที่เท้าแตก มีอาการเจ็บปวด
  • เกิดแผลพุพองที่เท้า และ อาจมีน้ำหนอง ด้วย
  • ฝ่าเท้าหนาขึ้น
  • เกิดแผลที่เท้า

การรักษาโรคน้ำกัดเท้า

สำหรับแนวทางการรักษาโรคน้ำกัดเท้า คือ แพทย์จะใช้การรักษาแผลด้วยการใช้ยาทา จำพวกเจล ขี้ผึ้ง หรือ สเปรย์ เพื่อบรรเทาอาการคัน และ ลดการลุกลามของเชื้อรา นอกจาก การใช้ยาทาเพื่อรักษาแผล และ บรรเทาอาการคัน นั้น ให้รักษาความสะอาดของแผลที่เท้า รักษาความสะอาดของรองเท้าและถุงเท้า รวมถึงไม่ทำให้เปียกชื้นด้วย

การป้องกันการเกิดโรคน้ำกัดเท้า

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคน้ำกัดเท้า ต้องรักษาสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ไม่อับชื้น เพื่อลดโอกาสการติดเชื้ิอรา โดนแนวทางการป้องกันโรคน้ำกัดเท้า มีดังนี้

  • ล้างเท้าให้สะอาด และ ทำให้เท้าแห้ง หลังจากการออกกำลังกาย หรือ การอยู่ในรองเท้าที่อับชื้นนานๆ
  • ไม้ใช้ถุงเท้าหรือรองเท้า รวมถึงผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้อื่น
  • ต้องทำความสะอาด ถุงเท้า รองเท้า และ ผ้าเช็ดตัว และ ผึ่งลมให้แห้ง อย่าให้อับชื้น เป็นแหล่งที่อยู่ของเชื้อรา
  • ไม่สวมถุงเท้าที่ยังไม่ซักให้สะอาด

โรคน้ำกัดเท้า โรคฮ่องกงฟุต โรคเท้านักกีฬา ( Athlete’s foot ) คือ ภาวะการติดเชื้อราที่ผิวหนังบริเวณเท้า โรคผิวหนัง สามารถเกิดได้ในทุกเพศทุกวัย อาการน้ำกัดเท้าเป็นอย่างไร การรักษาโรคน้ำพัดเท้า และ การป้องกันการเกิดโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove