โรคท้าวแสนปม ( Neurofibromatosis ) มีตุ่มและติ่งเนื้อขึ้นตามร่างกายจำนวนมาก เกิดจากความผิดปรกติของโครโมโซมคู่ที่ 22 ทำให้ผิวหนังผิดปรกติ ลำบากในการใช้ชีวิตโรคท้าวแสนปม โรคผิวหนังผิดปกรติ โรคไม่ติดต่อ สาเหตุของโรคท้าวแสนปม

ท้าวแสนปม ภาษาอังกฤษ เรียก Neurofibromatosis ผู้ป่วยมีอาการ คือ มีตุ่มและติ่งเนื้อขึ้นตามร่างกายจำนวนมาก สามารถพบได้ในคน 50000 คน พบว่ามีผู้ป่วยโรคท้าวแสนปม 1 คน โรคนี้สร้างปัญหากับมนุษย์ในเรื่องการเข้าสังคม สร้างความลำบากในการใช้ชีวิต จากการศึกษาของแพทย์ เกิดจากความผิดปรกติของโครโมโซม คู่ที่ 22 ทำให้ผิวหนังมีความผิดปรกติ

เรามาทำความรู้จักกับ โรคท้าวแสนปม ว่า สาเหตุของโรค การรักษา ต้องทำอย่างไร โรคท้าวแสนปมหากไม่รักษา สามารถส่งผลต่อโรคอื่นๆ ที่ตามมา เช่น เนื้องอกที่ระบบประสาท กระดูกผิดรูป อาการแทรกซ้อนทางระบบประสาท และเป็นมะเร็งของระบบประสาทได้ ความอันตรายของโรคท้าวแสนปม คือ พบว่าร้อยละ 5 ของผู้ป่วยโรคท้าวแสนปม เป็นมะเร็ง และยังสร้างความทรมานทั้งในด้านร่างกายและจิตใจมาก

สาเหตุของโรคท้าวแสนปม

โรคท้าวแสนปม มีสาเหตุจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ไม่ใช่โรคผิวหนัง และ ไม่ใช่โรคติดต่อ โรคท้าวแสนปม เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของโครโมโซมคู่ที่ 22 เป็น โรคเกี่ยวกับความผิดปรกติของยีนส์ในร่างกาย หากพ่อแม่เป็นโรคนี้ลูกมีโอกาสในการเป็นโรคนี้เช่นกัน โรคท้าวแสนปม เป็น โรคพันธุกรรม ที่ก่อให้เกิดความผิดปกติ ของกระดูก ระบบประสาท เนื้อเยื่ออ่อน และ ผิวหนัง ความรุนแรงของโรค นี้อยู่ที่โรคแทรกซ้อนที่เกิดกับระบบประสาท ซึ่ง โรคท้าวแสนปม มี 2 ชนิด คือ NF-1 และ NF-2

อาการของผู้ป่วยโรคท้าวแสนปม

เราสามารถจำแนก อาการของผู้ป่วยโรคท้าวแสนปม แยกตามชนิดของโรค คือ NF-1 และ NF-2 รายละเอียดของอาการของโรค มีดังนี้

  1. อาการผู้ป่วยโรคท้าวแสนปม ชนิดที่ 1 (NF-1) อาการของโรคมี 7 อาการ ซึ่ง ผู้ป่วยหากมาอาการ 2 ใน 7 อาการ ถือว่า เป็นโรคท้าวแสนปม ชนิดที่ 1 อาการทั้ง 7 ประกอบด้วย
    • มีปานสีกาแฟใส่นม มีลักษณะของปานเด่นชัด ลักษณะไม่เรียบ ส่วนมากสามารถพบได้มากกว่า 6 ตำแหน่ง ซึ่งแต่ละตำแหน่งมีขนาดใหญ่
    • มีก้อนเนื้องอกตามผิวหนัง เป็นเนื้องอกชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง พบจำนวนมากตามผิวหนัง ซึ่ง ผู้ป่วยร้อยละ 5 มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งที่ผิวหนังหรือมะเร็งเม็ดเลือด ลักษณะเป็นก้อนสีน้ำตาลหรืออมชมพู
    • มีกระ ที่รักแร้ หรือขาหนีบ จะพบมากในคนที่อายุเข้าสู่วัยรุ่น และที่กระ จะพบก้อนเนื้องอก ชนิดเพล็กซิฟอร์มได้บ่อย
    • มีเนื้องอกของเส้นประสาทตา ในบางรายเนื้องอกนี้ ทำให้เกิดปัญหาความดันเพิ่มขึ้นภายในศีรษะอาจทำให้ชัก และเกิดความผิดปกติของเส้นประสาทสมองได้
    • มีเนื้องอกที่ม่านตา ลักษณะเนื้องอกเป็นรูปโดม พบที่ชั้นผิวของม่านตา สามารถตรวจได้จากการส่องกล้อง
    • มีความผิดปกติของกระดูก เช่น กระดูกต้นขางอก ขาโก่ง ในผู้ป่วยบางราย กระดูกใบหน้าผิดรูป เช่น ตาโปน กระดูกสันหลังคด งอ
    • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคท้าวแสนปม โรคนี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ลูกจะมีโอกาสเป็นโรคท้าวแสนปมได้ ร้อยละ 50
  2. อาการของโรคท้าวแสนปม ชนิดที่ 2 (NF-2) สำหรับ โรคท้าวแสนปม ชนิดที่ 2 สามารถพบได้บ่อย ในคน 50000 คน พบว่ามีผู้ป่วยโรคท้าวแสนปม ชนิดนี้ 1 ราย โรคท้าวแสนปมชนิดนี้ จะไม่แสดงอาการของโรคให้เห็นอย่างชัดเจนทางผิวหนัง มีอาการอยู่ 7 อาการ ซึ่งหากพบว่ามีอาการ 2 ใน 7 มีความเสี่ยงเป็นโรคท้าวแสนปม ได้ เราสามารถสังเกตุอาการของโรค ได้ดังนี้
    • มีเนื้องอก ที่บริเวณหูชั้นใน
    • ระบบประสาทการ สำหรับการได้ยินไม่ดี ฟังไม่ค่อยได้ยิน ไม่ค่อยชัดเจน
    • การควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้าไม่ดี มีอาการกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง
    • มีอาการเวียนหัว
    • ควบควมการทรงตัวไม่ได้บ่อย ๆ
    • การเดิน มีปัญหา เนื่องจากระบบประสาทขาไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน
    • เป็นโรคต้อกระจกตั้งแต่อายุน้อย ๆ

การรักษาโรคท้าวแสนปม

การรักษาโรคท้านแสนปม นี้นั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งของก้อนเนื้อ ถ้าก้อนเนื้อมีที่เดี่ยว สามารถผ่าตัด รักษาได้ แต่อาจจะเหลือร่องรอยอยู่บ้าง แต่ผิวหนังจะดีขึ้น โดยทั่วไปการรักษาให้หยาขาดเลยนั้น ทำได้ยาก แต่การรักษานอกจากการผ่าตัดแล้วการรักษาตามอาการของโรค ก็เป็นสิ่งที่จำเป็น การรักษาต้องพบแพทย์ตลอดชิวิต เพื่อตรวจดูลักษณะของผิวหนัง และ รักษาสภาพผิวหนัง ให้กลับมาปรกติที่สุด

ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคท้าวแสนปม

เนื่องจากโรคนี้เป็น โรคทางพันธุกรรม การมีครอบคร้วสำหรับผู้ป่วยโรคนี้เป็นสิ่งที่ควรพิจารณา เนื่องจากหากถ่ายทอดสู่ลูกและหลาน ก็จะสร้างความทรมานทั้งร่างกายและจิตใจให้ลูกหลาน หากมีความจำเป็น ควรอยู่ในการดูแลและคำแนะนำจากแพทย์

โรคท้าวแสนปม ท้าวแสนปม ( Neurofibromatosis ) มีตุ่มและติ่งเนื้อขึ้นตามร่างกายจำนวนมาก เกิดจากความผิดปรกติของโครโมโซม คู่ที่ 22 ทำให้ผิวหนังมีความผิดปรกติ โรคนี้สร้างปัญหากับมนุษย์ในเรื่องการเข้าสังคม สร้างความลำบากในการใช้ชีวิตโรคผิวหนัง สาเหตุโรคท้าวแสนปม อาการโรคท้าวแสนปม การรักษาโรคท้าวแสนปม

โรคเท้าช้าง เกิดจากพยาธิตัวกลม มียุงเป็นพาหะนำโรค ยุงลาย ยุงรำคาญ ยุงลายเสือ ยุงก้นปล่อง ทำให้แขนบวม ขาบวม ผิวหนังหยาบหนาเหมือนเท้าช้าง ปัสสาวะสีขาวขุ่นโรคเท้าช้าง โรคจากยุง โรคติดต่อ โรคต่างๆ

โรคเท้าช้าง ภาษาอังกฤษ เรียก Lymphatic filariasis หรือเรียกอีกอย่างว่า Elephantiasis โรคนี้เกิดจากหนอนพยาธิตัวกลม หนอนพยาธิโรคเท้าช้างนั้นอาศัยอยู่ในต่อมน้ำเหลืองและท่อน้ำเหลือง ลักษณะอาการที่เห็นได้ชัดเจน คือ แขน ขาบวม ผิวหนังจะหยาบหนา เหมือนเท้าช้าง เราจึงเรียกโรคนี้ว่า โรคเท้าช้าง

สำหรับประเทศไทยในสมัยก่อน พบว่ามีผู้ติดเชื้อมากถึง 300 คนต่อปี แต่ด้วย เทคโนโลยีทางการแพทย์ ก้าวหน้า มีอัตราคนป่วยลดลงอย่างต่อเนื่อง สำรวจล่าสุดปี 2558 อัตราการเกิดโรค นี้ 0.36 คนในประชากร 100,000 คน และ อัตราการเกิดโรค ผู้ชายจะสูงกว่าผู้หญิง ประเทศไทยพบผู้ป่วยที่จังหวัดนราธิวาส ในส่วนของประเทศอื่นๆ พบว่าทั่วโลกมี ผู้ป่วยโรคเท้าช้าง 110 ล้านคน มากพบในประเทศแถบเอเชีย แอฟริกา อเมริกาใต้ หมู่เกาะแปซิฟิก และหมู่เกาะแถบทะเลแคริบเบียน เป็นต้น

โรคเท้าช้าง คือ การติดเชื้อพยาธิฟิลาเรีย ชนิด Brugia malayi หรือ Wuchereria bancrofti  โดย พยาธิ จะอาศัยอยู่ใน ระบบน้ำเหลือง ของมนุษย์ และทำให้ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ท่อน้ำเหลืองอักเสบ เมื่อ ระบบน้ำเหลือง ของมนุษย์เกิดอุดตัน จะเกิดพังผืด น้ำเหลืองคั่ง ทำให้อวัยวะโตขึ้น ลักษณะแบบนี้ เราเรียกว่า ภาวะโรคเท้าช้าง ในส่วนของ พยาธิ ชนิด Wuchereria bancrofti พยาธิ ที่ อาศัยอยู่ในระบบน้ำเหลือง บริเวณอวัยวะเพศ ส่งผลให้ อัณฑะมีถุงน้ำ การปัสสาวะมีไขมันปน ส่วนพยาธิชนิด  Brugia malayi จะทำให้ ขาโต เสียเป็นส่วนมาก

สาเหตุของการเกิดโรคเท้าช้าง

โรคเท้าช้าง มี สาเหตุจากพยาธิตัวกลม ชื่อ Wuchereria bancrofti  Brugia malayi และ Brugia timori ซึ่ง พยาธิตัวกลม เหล่านี้อาศัยในร่างกายมนุษย์ โดยมี ยุงเป็นพาหะของโรค พยาธิ Wuchereria bancrofti จะพบใน ยุงลาย และ ยุงรำคาญ พยาธิ Brugia malayi พบใน ยุงลายเสือ ส่วนพยาธิ Brugia timori พบใน ยุงก้นปล่อง

วงจรชีวิตของหนอนพยาธิตัวกลม

เริ่มจาก ยุงตัวเมีย ที่มี เชื้อพยาธิเท้าช้าง เป็นตัวอ่อนขั้นที่ 3 กัดและดูดเลือดมนุษย์ เชื้อพยาธิจะเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ทางผิวหนัง พยาธิจะไปที่ท่อน้ำเหลือง ภายในระยะเวลา 9 เดือน พยาธิ นี้จะกลายเป็นตัวเต็มวัย เมื่อตัวเต็มวัยเหล่าอยู่ใน ท่อน้ำเหลือง มากขึ้น เกิดการขยายพันธ์ ตัวอ่อน ซึ่งตัวอ่อนเหล่านี้ จะแพร่เข้าสู่เส้นเลือด เมื่อ ยุงดูดเลือด ก็สามารถ ขยายพันธ์ ต่อไปไม่มีวันจบสิ้น

พยาธิ ที่เป็น สาเหตุของโรคเท้าช้าง มี 2 ชนิด ซึ่งสามารถย่อยเชื้อโรค ออกได้ 4 ชนิดด้วยกัน รายละเอียดดังนี้

  • พยาธิตัวกลม Wuchereria bancrofti ชนิด nocturnally periodic type สำหรับ เชื้อโรค ชนิดนี้ เมื่อผลิตตัวอ่อนจะเข้าสู่กระแสเลือดช่วงกลางคืน เป็น สาเหตุของโรคเท้าช้าง ในแถบภูเขาภาคเหนือ เช่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดราชบุรี จังหวัดตาก เป็นต้น
  • พยาธิตัวกลม Wuchereria bancrofti ชนิด nocturnally subperiodic type สำหรับ เชื้อโรค ชนิดนี้ตัวอ่อนสามารถ เข้าสู่กระแสเลือด ทุกเวลา เชื้อโรคชนิดนี้ เป็น สาเหตุของโรคเท้าช้าง ในแถบจังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดตาก เป็นต้น
  • พยาธิตัวกลม Brugia malayi ชนิด nocturnally subperiodic type เชื้อโรค ชนิดนี้มี ยุงลายเสือ เป็น ภาหะนำโรค พบมากบริเวณป่าพรุ พบ โรคเท้าช้าง ชนิดนี้ ในจังหวัดนราธิวาสและจังหวัดนครศรีธรรมราช
  • พยาธิตัวกลม Brugia malayi ชนิด diurnally subperiodic type ตัวอ่อน Microfilaria ตัวอ่อนของพยาธิ สามารถเข้าู่เส้นเลือดได้ตลอดวลา พบมากที่อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานี

พยาธิตัวกลมชนิด Brugia malayi นั้นสามารถพบในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และไทย โดย พยาธิ เหล่านี้ มาจากยุง และ เชื้อโรค อาศัยอยู่ใน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น แมวบ้าน สุนัข ลิง ค่าง แมวป่า ชะมด นางอาย เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคเท้าช้าง

โรคเท้าช้าง เกิดจาก พยาธิตัวกลม ที่อาศัยใน ต่อมน้ำเหลือง และ ท่อน้ำเหลือง เมื่อ พยาธิ เหล่านี้อาศัยในร่างกายมนุษย์ และขยายพันธ์จนเต็มพื้นที่ จะทำใหเกิดอาการ โดย อาการของโรคเท้าช้าง จะสามารถแบ่งอาการได้เป็น 3 กลุ่ม รายละเอียด ดังนี้

  1. กลุ่มผู้ป่วยเท้าช้างที่ไม่แสดงอาการ พบได้มากที่สุดในกลุ่มผู้ป่วย แต่เชื้อโรคสามารถตรวจได้ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งจะพบว่ามีความผิดปรกติที่เลือด ปัสสาวะ หนังหุ้มอัณฑะ เป็นต้น
  2. กลุ่มผู้ป่วยเท้าช้างที่มีอาการที่ระบบน้ำเหลือง แบบเฉียบพลัน เราเรียก Acute adenolymphangitis เรียกย่อๆว่า  ADL ผู้ป่วยจะ มีไข้สูง และ อักเสบที่ท่อน้ำเหลือง ทั่วร่างกาย ผิวหนัง ก็จะเป็นเส้นสีแดง คลำ แข็งๆ และปวดเวลากด ผิวหนังจะบวม ขึ้น มักเกิดที่ ต่อมน้ำเหลือง บริเวณขาหนีบและรักแร้ และถ้าเกิดกับพยาธิ ชนิด Brugia malayi จะพบว่า มีฝีหนองตามผิวหนัง ส่วนพยาธิ ชนิด Wuchereria bancrofti ผู้ป่วยจะมีปวดอัณฑะ อาการของผู้ป่วยจะ เกิดขึ้นทุกๆ 6 ถึง 10 วัน
  3. กลุ่มผู้ป่วยเท้าช้างที่มีอาการเรื้อรัง เป็นลักษณะของ ผู้ป่วยโรคเท้าช้าง ต่อเนื่องหลายปีและรักษาไม่หายขาด ท่อน้ำเหลืองจะมีอาการอักเสบ แบบเป็นๆหายๆ และเกิดพังผืด ส่งผลให้เกิด การอุดตันของท่อน้ำเหลือง ทำให้น้ำเหลืองไม่สามารถไหลได้ตามปกติ น้ำเหลือง จึงเกิด การคั่ง ตามเนื้อเยื่อรอบๆ ท่อน้ำเหลือง เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ทำให้เกิด การบวมโตของเนื้อเยื่อ

สำหรับ อวัยวะที่บวม สามารถเห็นชัด เช่น แขน ขา และเต้านม ลักษณะคือ บวม จนเสียรูปทรง ผิวหนังจะหนาขึ้น สูญเสียความยืดหยุ่น ถ้า ท่อทางเดินน้ำเหลือง ที่อยู่ด้านหลัง เยื่อบุช่องท้อง ถูกทำลาย ไตจะไม่สามารถ ถ่ายเทน้ำเหลือง เข้า หลอดเลือดดำ ได้ ส่งผลต่อท่อปัสสาวะ ทำให้ ปัสสาวะสีออกขาวขุ่นคล้ายน้ำนม เราเรียกลักษณะแบบนี้ว่า Chyluria

การรักษาโรคเท้าช้าง

สำหรับ การรักษาผู้ป่วยโรคเท้าช้าง นั้น มีแนวทางการรักษา 3 แนวทาง ที่ต้องทำควบคู่กันไป ประกอบด้วย การฆ่าเชื้อโรค การรักษา อาการของระบบน้ำเหลืองอักเสบ และ รักษาอาการบวม ซึ่งรายละเอียดของ การรักษา มีรายละเอียด ดังนี้

  1. การฆ่าเชื้อโรค โดยการให้ ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อโรค แต่การใช้ ยาปฏิชีวะ นะสามารถตรวจเชื้อจาก การตรวจคัดกรองและในผู้ที่มี การอักเสบของต่อมน้ำเหลืองแบบเฉียบพลัน และ ท่อน้ำเหลือง สามารถฆ่าได้ในตัวอ่อนแต่ไม่สามารถฆ่าได้หมดในพยาธิตัวเต็มวัย ผู้ป่วยจึงต้องกินยาซ้ำทุกๆปี เพื่อตัดวงจรการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นและลดการแพร่เชื้อตัวใหม่ ดังนั้น พยาธิตัวเต็มวัย ที่อยู่ในร่างกายมนุษย์ จะตายเมื่ออายุ 5 ถึง 7 ปี
  2. การรักษาอาการของระบบน้ำเหลืองอักเสบ สามารถรักษาได้โดยการ ให้ยาลดไข้และยาแก้ปวด
  3. การรักษาอาการบวม ของแขน ขา การรักษาอาการบวมของแขนขา นั้นสามารถทำได้ด้วย การป้องกันอาการติดเชื้อที่ผิวหนัง และ ป้องกันการเกิดแผล แต่ไม่มีวิธีลดขนาดของแขนขาให้กลับมาปกติได้ ส่วน อัณฑะที่บวม นั้น ต้อง รักษาด้วยการผ่าตัดออก

การป้องกันและควบคุมการเกิดโรคเท้าช้าง

  • ป้องกันและหลีกเลี่ยงไม่ให้ยุงกัด โดยรายละเอียดดังนี้ นอนในมุ้ง หรือห้องมุ้งลวด ทายากันยุง ควบคุมการเกิดยุง พ่นยากันยุง กำจัดลูกน้ำ กำจัดวัชพืชและพืชน้ำที่เป็นแหล่งเกาะอาศัยของลูกน้ำ
  • ประชาชนที่อยู่ในแหล่งระบาดของ โรคเท้าช้าง ให้กินยาป้องกัน โดยสามารติดต่อขอรับยาที่ หน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณะสุข

โรคเท้าช้าง เกิดจากพยาธิตัวกลมจากยุงเข้าไปอาศัยอยู่ในต่อมน้ำเหลืองและท่อน้ำเหลือง ส่งผลให้ แขนบวม ขาบวม ผิวหนังหยาบหนา เหมือนเท้าช้าง โรคนี้ มียุงเป็นพาหะนำโรค ยุงลาย ยุงรำคาญ ยุงลายเสือ และ ยุงก้นปล่อง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove