โรคกาลี แอนแทรกซ์ Anthrax ภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย Bacillus anthracis อาการมีไข้ ปวดตัว เจ็บหน้าอก หายใจเสียงดัง หายใจลำบาก เหงื่อออกมาก ตัวเขียว เสียชีวิตในที่สุดโรคกาลี โรคแอนแทรกซ์ โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

แอนแทรกซ์ ไม่ใช่โรคใหม่ เป็นโรคที่เกิดกับ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น วัว แพะ และแกะ เป็นต้น มักไม่ค่อยทำให้เกิดโรคในคน เกิดจากเชื้อโรคชื่อ Bacillus anthracis ซึ่งสามารถอยู่ในที่ต่างๆเป็นระยะเวลานาน ทำให้สัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารได้รับเชื้อได้ง่าย เมื่อเชื้อแอนแทรกซ์เข้าสู่ร่างกาย จะขยายตัวอย่างรวดเร็ว และทำให้ร่างกายสร้างสารทอกซิน โดยมันจะช่วยทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้

โรคแอนแทรกซ์ในคน

เชื้อโรคแอนแทรกซ์ สามารถสร้างเกาะตัวได้ เมื่ออยู่นอกร่างกายคนหรือสัตว์ ทำให้มีความทนทานอยู่ได้นานนับ 10 ปี สัตว์ติดโรคนี้โดยการกินหรือการหายใจเอาเชื้อเข้าไปเชื้อจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเร็วมาก สัตว์จึงมักตายภายใน 1 ถึง 2 วัน หลังได้รับเชื้อ โดยไม่แสดงอาการให้เห็น อาจพบเลือดสีดำคล้ำไหลออกจากจมูก ปากหรือทวารหนักของซากสัตว์

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคแอนแทรกซ์

คนมีปัจจัยความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแอนแทรก เป็นกลุ่มคนที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • ผู้ที่ทำงานในปศุสัตว์ เลี้ยงสัตว์กลุ่มกินหญ้า
  • ผู้ทำงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับสัตว์กินหญ้าเช่น หนัง ขน กระดูก (ในสหรัฐอเมริกามีรายงานติดต่อจากการตีกลองที่ทำจากหนังสัตว์ที่ติดเชื้อนี้)
  • ผู้ทำงานในห้องปฏิบัติการที่ศึกษาเกี่ยวกับเชื้อนี้
  • เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ในประเทศที่มีการก่อการร้าย
  • สัตวแพทย์ที่ดูแลสัตว์กลุ่มนี้
  • ทหารที่ทำสงครามกับประเทศที่ใช้อาวุธชีวภาพ
  • ผู้ฉีด (เข้ากล้ามเนื้อ) สารเสพติดผิดกฏหมาย

อาการของโรคแอนแทรกซ์

สำหรับโรคแอนแทรกซ์ จะมีการแสดงอาการ แบ่งได้ 3 อาการ คือ โรคแอนแทรกซ์ที่ผิวหนัง โรคแอนแทรกซ์ที่ทางเดินหายใจ โรคแอนแทรกซ์ที่ทางเดินอาหาร

  • โรคแอนแทรกซ์ที่ผิวหนัง ผู้ป่วยจะมีตุ่มนํ้าใส แต่หลังจากนั้น 2 – 6 วัน ตุ่มจะยุบตรงกลาง และแผลจะเป็นสีดำเหมือนโดนบุหรี่จี้ มักไม่ปวดแผล
  • โรคแอนแทรกซ์ที่ระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดเมื่อย มีอาการไอ เจ็บที่หน้าอก หายใจมีเสียงดัง หายใจลำบาก เหงื่อออกมาก และตัวจะเขียว ทำให้เสียชีวิตในที่สุด
  • โรคแอนแทรกซ์ที่ระบบทางเดินอาหาร พบว่าผู้ป่วยจะเกิดการอักเสบที่ลำไส้ และตัวบวมทำให้เลือดไปอุดตันระบบทางเดินอาหาร มีน้ำในช่องท้องมาก อาจทำให้เกิดอาการเลือดเป็นพิษ ช็อก และเสียชีวิตในที่สุด

อาการแทรกซ้อนของโรคแอนแทรกซ์ 

อาจพบติดเชื้อในกระแสเลือด การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง ซึ่งจะเกิดลักษณะความผิดปรกติจากสมอง เช่น ปวดหัว สับสน กระวนกระวาย เอะอะอาละวาด จนกระทั่งซึมหมดสติ เป็นต้น

การรักษาโรคแอนแทรกซ์ 

เราสามารถรักษาโรคแอนแทรกซ์ โดยการให้ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) เตตราซัยคลิน (Tetracycline), อีริโทรมัยซิน(Erythromycin) และคลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol) ก็ให้ผลดีเช่นกัน ในปี พ.ศ. 2544  พบว่ามีการใช้ยาซิโปรฟล็อกซาซิน (Ciprofl oxacin) ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพที่ระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วยแอนแทรกซ์ แต่ไม่มีผลการศึกษาชัดเจนว่าได้ผลดี

  • การให้ยาปฏิชีวนะ จะได้ผลดีกว่าเมื่อเริ่มให้ยาตั้งแต่รู้ว่าสัมผัสโรคโดยยังไม่เกิดอาการเรียกว่าเป็นการรักษาแบบป้องกัน แต่เมื่อมีอาการแล้วการรักษาได้ผลไม่ดีเท่าที่ควรและผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง ซึ่งยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาโรคนี้มีหลายตัว โดยการรักษาอาจใช้ยาฯเพียงตัวเดียวหรือหลายตัวร่วมกันทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของโรคเช่น ยา Cyprofloxacin, Doxycycline, Erythromycin, Penicillin
  • การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำกรณีกินอาหารได้น้อย การให้ออกซิเจนกรณีมีอาการทางการหายใจ การให้เลือดถ้ามีภาวะซีดจากเลือดออกมาก รวมไปถึงการให้ยาแก้อักเสบในกลุ่มสเตียรอยด์

ในปัจจุบันได้มีการศึกษานำยาที่เป็นสารภูมิต้านทาน (Monoclonal antibody therapy) เช่น ยา Raxibacumab มาใช้ทั้งในการป้องกันและในการรักษาการติดเชื้อแอนแทรกจากการสูดดม ซึ่งได้ผลดีในระดับหนึ่ง

การป้องกันโรคแอนแทรกซ์

  1. หากพบว่าสัตว์ที่เลี้ยงไว้ เช่น วัว ควายติดเชื้อแอนแทรกซ์ ให้เผาทำลายซากสัตว์อย่าให้เชื้อโรคแพร่กระจาย
  2. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคแอนแทรกซ์ให้แก่สัตว์เลี้ยง ทุกปี
  3. รักษาสุขอนามัยในการทำอาหาร โรงงานขนสัตว์ และ อาหารสัตว์

เชื้อโรคชนิดนี้ไม่สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ ดังนั้น การการรักษาและดูแลผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องแยกผู้ป่วย นอกจากจะสงสัยว่าอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกันนี้อาจมีเชื้อโรคจึงจะป้องกัน เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตลง ต้องระวังการแพร่เชื้อจากศพ

โรคกาลี โรคแอนแทรกซ์ ( Anthrax ) คือ โรคติดต่อ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bacillus anthracis อาการโรคแอนแทรกซ์ คือ มีไข้ ปวดเมื่อย ไอ เจ็บหน้าอก หายใจมีเสียงดัง หายใจลำบาก เหงื่อออกมาก และ ตัวจะเขียว ทำให้เสียชีวิตในที่สุด โรคนี้เป็นโรคที่เกิดในสัตว์ แต่แพร่สู่คนจากการกินเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อโรค

โรคหูด HPV เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Human papilloma viruses ทำให้เกิดหูดขึ้นที่มือ เท้า คอ และอวัยวะเพศ ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทำให้เกิดมะเร็งได้ ไม่มียารักษาโรคหูด HPV โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

เชื้อไวรัส  Human papillomaviruses (HPVs) ติดต่อได้อย่างไร

การติดเชื้อ HPV เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าทางช่องคลอดหรือทางทวารหนัก หรือติดต่อทางผิวหนัง การติดต่อจากแม่ไปลูก หรือติดต่อจากปากสู่อวัยวะเพศ เชื้อ HPV หรือชื่อเต็มว่า Human Papillomavirus เป็นไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งมากกว่า 100 สายพันธุ์ ทำให้เกิดหูดตามอวัยวะต่างๆ โดยสามารถติดต่อได้ทางพันธุกรรม และ ทางเพศสัมพันธ์ทั้งชายและหญิง

นอกจากนั้นยังสามารถติดต่อกันทางการร่วมเพศทางปาก คอหอย และ ทวารหนักได้ตามลักษณะการมีกิจกรรมทางเพศ แม้กระทั่งในเด็กแรกเกิดก็สามารถติดเชื้อนี้ได้ หากขณะที่คลอดนั้น เด็กได้คลอดผ่านช่องคลอดของคุณแม่ที่มีเชื้อนี้อยู่ ทำให้เด็กมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ HPV ที่กล่องเสียงได้ ปัจจุบันพบเชื้อนี้บ่อยที่สุดในช่องคลอดสตรี และปากมดลูกมากกว่าบริเวณอื่น ซึ่งผู้ที่ติดเชื้อจะไม่มีอาการ หากไม่รับการตรวจ ก็จะเป็นภัยเงียบที่เราไม่รู้ตัว จนเมื่อได้พัฒนาไปเป็นมะเร็งไปแล้วจึงจะออกอาการ

ในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาการติดเชื้อ HPV ให้หายขาดได้ ผู้ป่วยต้องรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทาน เชื้อจะหายไปเอง เกือบ 90 % ภายใน 2 ปี แต่อีก 5 – 10% ของโรคร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสเอชพีวีนี้ได้ ผู้ป่วยยังคงติดเชื้ออยู่ต่อเนื่อง ซึ่งจะสามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็งได้ ในระยะเวลา 10 -15 ปี ผู้ที่ติดเชื้อจึงต้องเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี

ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัส HPV

สำหรับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงตอการเกิดโรคติดเชื้อไวรัส HPV นั้น พบว่ากลุ่มคนที่มีลักษณะและพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ มีความเสี่ยงของการเกิดดรคสูงที่สุด คือ

  1. คนที่สูบบุหรี่
  2. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์
  3. คนที่ขาดสารอาหารและขาดวิตามินบี 9
  4. กลุ่มคนที่มีโรคการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
  5. กลุ่มคนที่ร่างกายไม่แข็งแรง คนที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ
  6. กลุ่มคนใช้ยาคุมกำเนิด นานกว่า 5 ปี

การรักษาโรคการติดเชื้อไวรัส HPV

การติดเชื้อไวรัส Human papillomaviruses (HPVs) รักษาอย่างไร ประมาณ 7 ใน 10 ของผู้ป่วย ภูมิคุ้มกันเชื้อโรคของร่างกายจะกำจักเชื้อโรคออกได้เองภายใน 365 วัน แต่ 9 ใน 10 คนของผู้ที่มีภูมิคุ้มกันโรค สามารถกำจัดได้หมดภายใน 2 ปี  ในปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถกำจัดเชื้อโรค Human papillomaviruses (HPVs) แต่สามารถกำจัดหูดออกได้

การป้องกันการติดเชื้อ Human papillomaviruses ( HPVs )

โรคนี้สามารถป้องกันการเกิดโรคได้โดย การฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ Human papillomaviruses ( HPVs ) นอกจากนั้นต้องป้องกันด้วยการปรับพฤติกรรมในการดำรงชีวิต เช่น การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย สวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง โดยสามารถสรุป ได้ดังนี้

  1. รักษาและดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
  2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยให้รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่
  3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  4. ป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง โดยใช้ถุงยางอนามัยสำหรับเพศชาย
  5. เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV เพื่อลดโอกาสการเกิดมะเร็งปากมดลูก

สำหรับ โรคการติดเชื้อไวรัส HPV นั้น ร้อยละ 95 เกิดขึ้นเองจากการกำจัดเชื้อไวรัส HPV จากภูมิต้านทานที่ร่างกายสร้างขึ้น ซึ่งการติดเชื้อไวรัส HPV นั้น ไม่ได้ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกเสมอไป เนื่องจาก เมื่อวินิจฉัยโรคด้วยการส่องกล้องขยายทางช่องคลอด จะพบว่า ความผิดปกติของปากมดลูกมีน้อยมาก แปลว่า ผู้ติดเชื้อไวรัส HPV อาจไม่เสี่ยงโรคมะเร็งปากมดลูก ทุกคนนั่นเอง

เชื่อ HPV เป็นเชื่อที่สามารถติดต่อได้จากการสัมผัส และการมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้น เราขอแนะนำ สมุนไพรช่วยเพิ่มสมรรถนะทางเพศ มีดังนี้

ผักบุ้ง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของผักบุ้งผักบุ้ง
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ประฌยชน์ของโด่ไม่รู้ล้ม
โด่ไม่รู้ล้ม
กระเทียม สมุนไพร สมุนไพรไทย เครื่องเทศ
กระเทียม
กระชาย สมุนไพร สมุนไพรไทย ต้นกระชาย
กระชาย
กระเฉด สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว

ผักกระเฉด

ว่านมหาหงส์ สมุนไพร สรรพคุณของว่านมหาหงส์ ประโยชน์ของว่านมหาหงส์ว่านมหาหงส์

โรคหูด ( HPVs ) เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Human papilloma viruses เกิดหูดขึ้นที่ มือ เท้า คอ และอวัยวะเพศ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทำให้เกิดมะเร็งได้ การติดเชื้อไวรัส HPV ยังไม่มียารักษา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove