ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) MRSA อาการแผลอักเสบ ปอดอักเสบ อาหารเป็นพิษ หากเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือดอาจทำให้เสียชีวิตได้

mRSA ติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส Staphylococcus aureus

โรคติดเชื้อMRSA คือ ภาวะการติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) ซึ่งเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้เป็นเชื้อโรคที่พบในสัตว์จำพวก ม้า แมว หมู แกะ กระต่าย สามารถติดต่อสู่มนุษย์ได้และแสดงอาการต่างๆจากน้อยจนถึงขั้นอาการรุนแรง เช่น ผิวหนังอักเสบ ฝี อาหารเป็นพิษ ปอดบวม ลิ้นหัวใจอักเสบ ข้ออักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งสามารถทำให้เสียชีวิตได้

การติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) สามารถรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ  แต่เชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus )สามารถทนทานต่อยาปฏิชีวนะต่างๆ รวมถึง ยาเมธิซิลิน และยาปฏิชีวนะอื่นๆที่ใช้กันทั่วไป การติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) ส่วนมากเกิดขึ้นในคนที่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล อาศัยอยู่ภายใน บ้านพักดูแลผู้ป่วย หรือได้รับการรักษาในศูนย์อนามัยที่มีการจัดให้เป็นศูนย์ล้างไต เป็นต้น

ชนิดของเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus )

เราสามารถแบ่งชนิดของเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) ได้ 2 ชนิด ประกอบด้วย HA-MRSA และ CA-MRSA โดยรายละเอียดชนิดของแบคทีเรีย Staphylococcus aureus มีดังนี้

  • HA-MRSA เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เกิดในโรคพยาบาล มักเกิดในกลุ่มผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในสถานพยาบาล เช่น โรงพยาบาล ศูนย์ดูแลผู้ป่วย หรือ ศูนย์ล้างไต เป็นต้น
  • CA-MRSA เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เกิดในชุมชน มักเกิดเชื้อในโรงเรียนมัธยม สนามกีฬา ผู้ที่อาศัย คุก หรือ ค่ายทหาร จะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ MRSA ที่สูงขึ้น โดยจะติดต่อผ่านทางการสัมผัส

สาเหตุของการติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus )

สาเหตุของการติดเชื้อมาจากแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส (Staphylococcus aureus) ซึ่งเป็นเชื้อโรคที่ดื้อยาปฏิชีวนะในกลุ่มเมธิซิลิน เราพบว่าเชื้อโรคสามารถแพร่จากสัตว์สู่คนได้ โดยการติดเชื้อสแตฟฟิโลคอกคัส (Staphylococcus aureus) พบได้บ่อยในคนที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

แบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส (Staphylococcus aureus) เป็นแบคทีเรียอาศัยอยู่ในผิวหนังหรือโพรงจมูกของคนที่มีสุขภาพดี โดยคนที่มีสุขภาพดีเหล่านี้ไม่แสดงอาการแต่เป็นพาหะนำเชื้อโรค ซึ่งเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น การติดเชื้อที่ผิวหนัง ระบบปัสสาวะอักเสบ ปอดอักเสบ และอาการติดเชื้อในกระแสเลือด รวมถึงอาการอาหารเป็นพิษ

กลุ่มเสี่ยงในการติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus )

ส่วนมากกล่มที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) คือ กลุ่มคนที่มีทำงานหรือเกี่ยวข้องกับสถานพยาบาล เพราะจากสถิติการเกิดโรคของผู้ป่วย MRSA พบในโรงพยาบาล ซึงสามารถสรุปกลุ่มที่มีความเสี่ยงการติดเลื้อ มีดังนี้

  • ผู้ป่วยอ่อนแอ ที่อยู่ห้อง ICU
  • ผู้ป่วยที่ต้องรับการผ่าตัด
  • ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดทางกระดูก
  • ผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการล้างไต
  • ผู้ที่ติดยาเสพติด
  • กลุ่มบุลลากรที่ทำงานในสถานพยาบาล เช่น แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ ผู้ช่วยพยาบาล เป็นต้น

อาการผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus )

สำหรับลักษณะอาการของผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) เข้าสู่ร่างกาย ลักษณะทั่วไปของอาการ ผู้ป่วยจะเกิดตุ่มเล็กๆเหมือนโดนแมลงสัตว์กัดต่อย ลักษณะเป็นแผลแดง บวม และมีอาการปวด รู้สึกอุ่นๆที่แผล จากนั้นแผลจะมีหนอง และ อาจมีไข้ขึ้น

หากเป็นแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) ชนิด HA-MRSA ผู้ป่วยจะแสดงอาการเจ็บหน้าอก ไอ หายใจลำบาก อ่อนเพลีย ไข้หนาวสั่น ปวดหัว มีผื่นขึ้น และ เป็นแผลเรื้อรัง

หากเชื้อโรคลามเข้าสู่อวัยวะอื่นๆจะแสดงอาการตามอวัยวะต่างๆ เช่น ปอดอักเสบ อาหารเป็นพิษ ข้อกระดูกอักเสบ และ ติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น

การรักษาผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus )

แนวทางการรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) สามารถใช้การประคับประครองตามอาารร่วมกับการใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น การใช้ยากลุ่ม penicillin erythromycin  ทั้งนี้ยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus )

การป้องการติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus )

แนวทางการติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) สามารถทำได้ด้วยการทำร่างกายให้แข็งแรงและหลีกเลี่ยงปัจจัยการรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย โดยแนวทางการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus )  มีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่จำเป็น เพราะ การใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่จำเป็น ทำให้เกิดผลเสีย เนื่องจากอาจทำให้เชื้อโรคดื้อยา
  • ป้องกันการเกิดแผล หากเกิดแผลต้องรีบรักษา อย่างให้แผลติดเชื้อ รักษาแผลให้สะอาด
  • ไม่ใช้แก้วน้ำ หรือ ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องากรของร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • ดูแลสุขอนามัยพื้นฐานให้สะอาดปราศจากแหล่งเชื้อโรค

มาตรการที่ตั้งเป้าไว้ก็เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส ( Staphylococcus aureus ) MRSA รวมถึงการติดเชื้อที่เกี่ยวข้อง MRSA ในชุมชนด้วย สำหรับการป้องกันการติดเชื้อชนิดที่สองนั้น สิ่งสำคัญ คือ การรักษาบ้านเรือนให้สะอาด และปราศจากฝุ่นละออง ควรซักล้าง ทำความสะอาด และฆ่าเชื้อพื้นผิวที่ถูกสัมผัสบ่อย ๆ (เช่น โถส้วม ห้องอาบน้ำ) ของเล่นเด็ก และผ้าปูที่นอน (ด้วยน้ำยาทำความสะอาดภายในบ้านแบบเจือจาง) เป็นประจำ

หูดหงอนไก่ ภาวะติดเชื้อไวรัส HPV อาการมีหูดขึ้นที่ มือ เท้า คอ อวัยวะเพศ หูด HPV ทำให้เสี่ยงโรคมะเร็งได้ ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคหูดหงอนไก่ HPV โรค โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ภาวะติดเชื้อ HPV  ( Human Papilloma virus ) เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถแพร่ด้วยการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่เชื้อไวรัส HPV มีมากกว่า 100 สายพันธุ์  HPV บางสายพันธุ์เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งชนิดต่างๆ เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งอวัยวะเพศชาย มะเร็งทวารหนัก  มะเร็งช่องปากและลำคอ เป็นต้น สามารถติดต่อได้ทั้งทางพันธุกรรม และ ทางเพศสัมพันธ์ทั้งชายและหญิง นอกจากนั้นยังสามารถติดต่อกันทางการร่วมเพศทางปาก คอหอย และ ทวารหนักได้

ปัจจุบันยังไม่มียารักษาการติดเชื้อไวรัส HPV ซึ่งแนวทางการรักษาโรคผู้ป่วยต้องดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรง ผู้ที่ติดเชื้อ HPV ต้องเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี

สาเหตุของโรคหูดหงอนไก่

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหูดหงอนไก่ คือ การติดเชื้อไวรัส HPV จากการมีเพศสัมพันธ์ สามารถติดเชื้อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ทุกรูปแบบ ไม่วา่จะทางช่องคลอด ทวารหนัก ปาก หรือ การใช้อุปกรณ์เพื่อสนองความต้องการทางเพศร่วมกัน รวมถึงติดต่อทางผิวหนังจากรอยแผลต่างๆ และ สตรีมีครรภ์สามารถแพร่เชื้อสู่บุตรได้จากการคลอดลูก

ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัส HPV

สำหรับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงตอการเกิดโรคติดเชื้อไวรัส HPV นั้น พบว่ากลุ่มคนที่มีลักษณะและพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ มีความเสี่ยงของการเกิดโรคสูงที่สุด คือ

  1. คนที่สูบบุหรี่
  2. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์
  3. คนที่ขาดสารอาหารและขาดวิตามินบี 9
  4. กลุ่มคนที่มีโรคการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
  5. กลุ่มคนที่ร่างกายไม่แข็งแรง คนที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ
  6. กลุ่มคนใช้ยาคุมกำเนิด นานกว่า 5 ปี
  7. กลุ่มหญิงและชายที่ชอบเปลี่ยนคู่นอน
  8. กลุ่มคนที่มีแผลหรือรอยขีดข่วนตามผิวหนังและสัมผัสคนที่มีเชื้อโรค
  9. กลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
  10. กลุ่มคนที่อยู่ในสถานที่ที่มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย เช่น สระว่ายน้ำ เป็นต้น

อาการของโรคหูดหงอนไก่ ( HPV )

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อไวรัส HPV ส่วนมากมักจะไม่แสดงอาการของโรค แต่จะมีความผิดปรกติที่ผิวหนัง คือ เกิดหูดขึ้นโดยเฉพาะบริเวณอวัยวะเพศ ผู้ป่วยหูดหงอนไก่ มี 4 ลักษณะ คือ หูดทั่วไป หูดแบบแบนราบ หูดฝ่าเท้า และ หูดอวัยวะเพศ ลักษณะของหูดจะแตกต่างกัน รายละเอียด ดังนี้

  • หูดทั่วไป ลักษณะของหูด เป็นตุ่มเล็ก ๆ ผิวขรุขระ สีเนื้อออกชมพู มักขึ้นตามมือ นิ้วมือ หรือ ข้อศอก ส่วนมากหูดลักษณะนี้ไม่อันตราย แต่อาจมีอาการเจ็บปวดบางครั้ง
  • หูดชนิดแบนราบ ลักษณะของหูด ขนาดเล็ก นูน ผิวเรียบ สีหูดจะเข้มกว่าสีผิว สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของร่างกาย ผู้หญิงมักเกิดบริเวณขา ผู้ชายมักพบบริเวณเครา
  • หูดฝ่าเท้า ลักษณะของหูด เป็นตุ่มแข็ง ผิวสัมผัสหยาบ มักขึ้นบริเวณส้นเท้า หูดจะทำให้รู้สึกเจ็บในระหว่างการยืนหรือเดิน
  • หูดอวัยวะเพศ เรียกว่า หูดหงอนไก่ ลักษณะเป็นติ่งเนื้อคล้ายดอกกะหล่ำที่อวัยวะเพศ หรือ ทวารหนัก มักเกิดอาการคันแต่ไม่มีอาการเจ็บ หูดที่อวัยวะเพศสามารถเป็นปัจจัยทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้

การรักษาโรคหูดหงอนไก่ ( HPV )

ปัจจุบันไม่มียารักษาอาการติดเชื้อไวรัส HPV  ซึ่งการรักษาโรคร่างกาคจะค่อยๆสร้างภูมิคุ้มกันโรคและกำจัดเชื้อโรคเอง แต่เป็นหูดที่มีความผิดปรกติ ลักษณะเสี่ยงว่าเป็นหูดมะเร็ง เช่น มะเร็งหรือหูด วิธีรักษาจะแตกต่างกันไปตามอาการของโรคที่พบ ซึ่งผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดหรือฉายรังสี เพื่อไม่ให้มะเร็งลุกลาม

การป้องกันโรคหูดหงอนไก่ ( HPV )

โรคหูดหงอนไก่สามารถป้องกันได้โดยการรับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ Human papillomaviruses ( HPVs ) และ การป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อจากปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดโรค สามารถสรุปแนวทางการป้องกันโรค ได้ดังนี้

  1. ดูแลร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยให้รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่
  3. พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  4. หากมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช้คู่นอนให้ป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง
  5. เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV เพื่อลดโอกาสการเกิดมะเร็งปากมดลูก
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรไทยน่ารู้

สมุนไพร หมายถึง พืช สัตว์หรือแร่ธาตุที่ใช้เป็นยารักษาโรคหรือเสริมสุขภาพ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพืชโดยใช้ส่วนต่างๆของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เป็นต้น นำมาแปรสภาพ เพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ทั้ง รับประทานสด การนำมาพอก การต้ม เป็นต้น
กัญชา สรรพคุณของกัญชา สมุนไพร น้ำมันกัญชา
กัญชา
ตะขบ สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตะขบ
ตะขบ
ลูกใต้ใบ สมุนไพร สรรพคุณของลูกใต้ใบ สมุนไพรรสขม
ลูกใต้ใบ
หญ้าหวาน สตีเวีย สมุนไพร สมุนไพรให้ความหวาน
หญ้าหวาน
โรคต่างๆและการรักษาโรค
โรค ( Disease ) หมายถึง ความผิดปรกติของระบบการทำงานของร่างกาย รวมถึงความผิดปกติของระบบอวัยวะและเนื้อเยื่อของร่างกาย ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคมีหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม การทำงานผิดปรกติของอวัยวะ เรามาทำความรู้จักกับโรคต่างๆ
แก้วหูทะลุ โรคหูคอจมูก การรักษาแก้วหูทะลุ โรคหู
แก้วหูทะลุ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ โรคพยาธิ โรคไม่ติดต่อ โรคติดเชื้อ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ
ข้อหลุด ข้อเคลื่อน โรคข้อและกระดูก ข้อหลุดรักษาอย่างไร
ข้อหลุด
เหงือกร่น รักษาเหงือกร่น โรคในช่องปาก โรคเหงือกและฟัน
เหงือกร่น