ข้ออักเสบ ( Septic arthritis ) ติดเชื้อแบคทีเรียที่ข้อกระดูก อากาของโรคปวด บวม แดง ร้อน บริเวณรอบ ๆ ข้อกระดูก มีหนองที่ข้อกระดูก แนวทางการรักษาและดูแลอย่างไร

โรคข้ออักเสบ โรคข้อ โรคกระดูก โรคข้อและกระดูก

หากท่านมี อาการปวดข้อกระดูก มี อาการแดง ร้อน ตามข้อกระดูกแล้ว อย่าพึ่งคิดว่าเป็น โรคเก๊าท์ อาการปวดข้อกระดูก มีหลายโรค ซึ่ง โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ เป็นอีก โรคที่มีอาการปวดตามข้อ รวมอยู่ด้วย และความอันตรายของโรคก็มีมาก หากไม่รักษาอาจพิการถึงเสียชีวิตได้

โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ ภาษาอังกฤษ เรียก Septic arthritis โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ คือ ภาวะการอักเสบของข้อกระดูกต่างๆ ที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อโรค ซึ่งเชื้อโรคที่พบส่วนใหญ่ เป็นเชื้อแบคทีเรีย ( Bacteria ) อาการที่พบ คือ ผู้ป่วยจะมีอาการปวด บวม แดง ร้อน บริเวณรอบ ๆ ข้อกระดูก และจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อมีความเสี่ยงต่อการทุพลภาพสูง หากสงสัยว่าเรากำลังมีอาการปวดข้อ เป็นข้ออักเสบจากการติดเชื้อแล้ว ให้รีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการรักษา

ในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับ โรคข้ออักเสบชนิดติดเชื้อ กัน โรคนี้เป็นโรคเกี่ยวกับข้อและกระดูก รวมถึงโรคเกี่ยวกับการติดเชื้อ มาทำความรู้จัก สาเหตุของการเกิดโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ อาการของโรคเป็นอย่างไร การวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้วินิจฉัยจากอะไร การรักษาโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ รวมถึงการป้องกันและการดูแลผู้ป่วยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ

สาเหตุของการเกิดโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ

โรคข้ออักเสบติดเชื้อ จะมีอาการปวดข้อกระดูก เนื่องจากมีหนอง ซึ่งเราสามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้ 2 สาเหตุใหญ่ คือ การติดเชื้อแบคทีเรีย และการติดเชื้อหนองใน มาดูรายละเอียดของสาเหตุต่างๆ ดังนี้

  1. สาเหตุของข้ออักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อแบคทีเรีย สามารถเข้าสู่ร่างกายเราได้ 3 ช่องทาง คือ ติดเชื้อจากแผลจากผิวหนังและกระแสเลือด  ติดเชื้อจากภาวะภูมิต้านทานร่างกายต่ำ และติดเชื้อจากระบบทางเดินปัสสาวะ
  2. สาเหตุของข้ออักเสบติดเชื้อหนองในแท้ เชื้อโรคจากโรคหนองในแท้ มีอันตรายสูง เป็นอันตราย หากเกิดการติดเชื้อโรคหนองในที่ข้อกระดูก อัตราการตายและการทุพพลภาพสูง กลุ่นคนที่ต้องระวังการติดเชื้อจากหนองใน คือ ผู้ที่ตั้งครรภ์ ผู้มีประจำเดือน ผู้ขาดคอมพลีเมนต์  และผู้ป่วยที่เป็นโรคเอสแอลอี

อาการของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ

เราจะแยกอาการของ โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ ตามสาเหตุของการติดเชื้อ เป็น อาการของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทั่วไป และ อาการของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อหนองใน รายละเอียดของอาการต่างๆ มีดังนี้

  • อาการผู้ป่วยโรคข้ออักเสบติดเชื้อแบคทีเรียทั่วไป คือ มีอาการปวด บวม แดงและร้อน บริเวณรอบ ๆ ข้อกระดูก ซึ่งข้อที่พบบ่อย คือ ข้อหัวเข่า ข้อสะโพก ข้อเท้า ข้อมือและข้อศอก นอกจากอาการปวด บวม แล้ว ผู้ป่วยจะมีไข้ หนาวสั่นด้วย แต่อาการนี้จะหายเองภายใน 45 วัน
  • อาการผู้ป่วยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อหนองใน คือ มีอาการปวด บวม แดงและร้อน บริเวณรอบ ๆ ข้อกระดูก ลักษณะของอาการปวดจะย้ายที่ไปเรื่อยๆ ข้อกระดูกที่พบว่าปวด คือ ข้อมือ ข้อเข่า ข้อเท้าและข้อนิ้วมือ เป็นต้น

การตรวจวินิจฉัยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ

การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ นั้น โดยเริ่มต้นสามารถทำได้โดย การสอบถามอาการของผิดปรกติจากผู้ป่วย และประวัติต่างๆ หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการเหมือนโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อแล้ว เพื่อให้เกิดความแน่ใจ สามารถทำได้โดยการตรวจเชื้อโรค จากการเจาะน้ำข้อกระดูกไปตรวจ การเจาะCBC และการตรวจทางรังสีวิทยา โดยรานละเอียด ดังนี้

  1. การเจาะน้ำที่ข้อกระดูกไปตรวจ ดูระดับน้ำตาล หากมีระดับน้ำตาลต่ำ มีโอกาสเจอเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของอาการอักเสบ
  2. การเจาะ CBC เพื่อดูค่าเม็ดเลือดขาว
  3. การตรวจทางรังสีวิทยา เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของกระดูกรอบ ๆ ข้อ หากพบว่าบางลงหลังการติดเชื้อได้ 7 วันและจะพบว่าช่องว่างระหว่างข้อแคบลงหลังจากติดเชื้อได้ 14 วัน แสดงว่ามีการติดเชื้อ

การรักษาโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ

การรักษาภาวะข้ออักเสบจากการติดเชื้อโรคนั้น สามารถทำการรักษาโดยการดูดหนองออกจากข้อกระดูกให้หมดและใช้ยาปฏิชีวนะ และรักษาโดยการประคับประครองอาการแทรกซ้อน ตามลำดับ รายละเอียดของการรักษา มีดังนี้

  • เจาะข้อกระดูก เพื่อทำการระบายหนองออกจากข้อกระดูก การเจาะจะง่ายหากเป็นข้กระดูกหัวเข่า แต่ถ้าเป็นข้อกระดูกอื่นๆ เช่น ข้อสะโพก หรือหัวไหล จะเจาะยาก ต้องใช้การเจาะด้วยการส่องกล้อง
  • จากนั้นใช้ยาปฏิชีวนะ การเจาะหนองอาจไม่หมด ซึ่งเชื้อโรคสามารถเจิญเติบโตต่อได้ โดยการใช้ยาปฏิชีวนะ ในระยะแรกจะให้ยาโดยการฉีด จากนั้นหลังจากผ่านไป 6 สัปดาห์ จะให้ยา เพื่อฆ่าเชื้อให้หมดและไม่กลับมาเจริญเติบโตในข้อกระดูก
  • จากนั้นเป็นระยะเวลาของการประคับประคองการเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น การใช้ยาแก้ปวด เฝ้าระวังการช็อกจากการขาดน้ำ

การป้องกันการเกิดโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ

  • ข้ออักเสบจากการติดเชื้อ สามารถเกิดขึ้นจากการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคหนองใน ดังนั้น ต้องระวัง และป้องกัน หากต้องมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อโรคหนองใน
  • โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อนั้น เชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายและเข้าสู่กระแสเลือดทางแผล ดังนั้น หากเกิดแผลต้องระวังการติดเชื้อ ทำความสะอากแผลให้สะอาด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากการพักผ่อนที่เพียงพอทำให้ภูมิต้านทานโรคของร่างกายทำงานปรกติ และร่างกายแข็งแรง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง

อาการปวดทำให้ผู้ป่วย โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ ทรมาน การแก้อาการปวด ช่วยให้ผู้ป่วยบรรเทาอาการของโรคได้ เราจึงของแนะนำ สมุนไพร ช่วยแก้ปวด มีดังนี้

แคนา ต้นแคนา สมุนไพร ประโยชน์ของแคนาแคนา
กระเทียม สมุนไพร สมุนไพรไทย เครื่องเทศกระเทียม
หญ้าคา สมุนไพร สมุนไพรไทยหญ้าคา
ไมยราบ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุกไมยราบ

โรคข้ออักเสบ ( Septic arthritis ) คือ ภาวะการอักเสบของข้อกระดูกจากการติดเชื้อ เชื้อแบคทีเรีย อาการโรคข้ออักเสบ คือ มีอาการปวด บวม แดง ร้อน บริเวณรอบ ๆ ข้อกระดูก จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆจากการติดเชื้อ มีหนองที่ข้อกระดูก โรคระบบข้อและกระดูก สาหตุ อาการ รักษาอย่างไร

ต่อมทอนซิลอักเสบ ( tonsillitis ) ติดเชื้อโรคที่ต่อมทอนซิล ทำให้เจ็บคอบริเวณด้านข้างของช่องปากทั้งสองข้าง หนาวสั่น คัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวต่อมทอนซิลอักเสบ โรคติดเชื้อ ต่อมทอนซิล เจ็บคอ

ต่อมทอนซิลอักเสบ ( tonsillitis ) คือ ภาวะการอักเสบของต่อมทอนซิล เกิดจากเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หรือเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ที่น้ำลายและเสมหะของผู้ป่วยโรคต่อมทอนซิลอักเสบ ส่งผลให้เกิดอาการ เจ็บคอ เจ็บมากบริเวณด้านข้างของช่องปากทั้งสองข้าง หนาวสั่น คัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

วันนี้เราขอเสนอ โรคต่อมทอลซิลอักเสบ ก่อนอื่นเราควรทำความรู้จักกับเจ้าต่อมทอนซิลก่อน ว่ามันคืออะไร มีหน้าที่ทำอะไร ต่อมทอนซิล ภาษาอังกฤษ เรียก tonsils คือ ต่อมตัวหนึ่งในร่างกาย อยู่บริเวณคอ มีหน้าที่ ดักจับและทำลายเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางคอ ต่อมทอนซิลจึงเป็นต่อมที่ต้องเผชิญกับเชื้อโรคบ่อยที่สุดในร่างกาย รองจากผิวหนัง ในตัวต่อมทอนซิล เป็นเนื้อเยื่อในกลุ่มต่อมน้ำเหลือง ภายในต่อมมีเม็ดเลือดขาวหลายชนิด โดยปรกติต่อมทอนซิล จะมีอยู่ 3 ตำแหน่ง คือ

ต่อมทอนซิล ในคนคอมีอยู่ 3 ตำแหน่งคือ ต่อมทอนซิลที่อยู่ด้านข้างของช่องปาก เรียก พาลาทีนทอนซิล(palatine tonsil) ต่อมทอนซิลที่อยู่บริเวณโคนลิ้น เรียก ลิงกัวทอนซิล(lingual tonsil) และ ต่อมทอนซิลที่ช่องหลังโพรงจมูก เรียก อาเดียนอยทอนซิล (adenoid tonsil)

การที่ ต่อมทอนซิลอักเสบ นั้น หมายถึง ภาวะการอักเสบของต่อมทอนซิล ที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ซึ่งการอักเสบอาจจะสามารถลามไปถึงโคนลิ้น และที่ด้านหลังโพรงจมูกได้ สามารถลามจนเกิดโรคคออักเสบได้

สาเหตุของการเกิดโรคต่อมทอนซิลอักเสบ

โดยมากเกิดจากเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่  และบางส่วนเกิดจาก เชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อโรคจะอาศัยอยู่ที่น้ำลายและเสมหะของผู้ป่วย สามารถติดต่อได้จากการหายใจและการสัมผัสเชื้อโรคในช่องทางต่างๆ และมีเชื้อโรคชนิดหนึ่ง ชื่อ บีตาฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัส  กลุ่มเอ(group  A beta-hemolytic streptococcus) ซึ่งทำให้เกิดหนองที่ต่อมทอนซิลได้

อาการของผู้ป่วยโรคต่อมทอนซิลอักเสบ

จะมีอาการคล้ายกับคออักเสบทั่วไป โดยผู้ป่วยจะเจ็บคอ และจะเจ็บมากบริเวณด้านข้างของช่องปากทั้งสองข้าง โดยปรกตอแล้วผู้ป่วยจะเจ็บมากกว่า 2 วัน ทำให้การกลืนน้ลาย หรืออาหารทำได้ลำบาก ผู้ป่วยจะมีไข้ หนาวสั่น คัดจมูก มีน้ำมูกไหล ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ในผู้ป่วยบางรายอาจเจ็บหู มีการอาเจียนหลังรับประทานอาหาร มีกลิ่นปาก เป็นต้น

การรักษาผู้ป่วยโรคต่อมทอนซิลอักเสบ

สามารถทำการรักษาได้หลายระดับ ตั้งแต่ การรักษาทั่วไป การให้ยารักษาโรค การรักษาโรคแทรกซ้อน และการผ่าตัด รายละเอียดของการรักษาในระดับต่างๆ มีดังนี้

  • การรักษาในระดับทั่วไป แนะนำให้ผู้ป่วยหยุดทำงาน และหยุดทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ร่างกายได้หยุดพักผ่อน และหยุดการแพร่กระจายเชื้อโรค ให้ดื่มน้ำมากๆ รับประทานอาหารอ่อนๆ ให้รักษาความสะอาดของสุขอนามัยต่างๆ รวมถึงอาหาร ทานยาลดไข้ ให้บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ อมยาอมแก่เจ็บคอ และหากอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง ให้เข้ารับยาปฏิชีวนะ จากแพทย์
  • การรักษาในระดับใช้ยารักษา ซึ่งหาการพักผ่อน การทานอาหารเบาๆและสะอาดยังไม่ทำให้อาการดีขึ้น จำเป็นต้องให้ยารักษาเพิ่ม ซึ่งให้ยารักษาตามอาการของโรค เช่น ยาบรรเทาอาการเจ็บคอ ยาลดน้ำมูก ยาลดไข้ ยาแก้อักเสบ เป็นต้น
  • การรักษาในระดับรักษาอาการแทรกซ้อน ซึ่งโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากสาเหตุของต่อมทอนซิลอักเสบ เช่น เกิดหนองที่ต่อมทอนซิล โรคหัวใจ โรคไต ภาวะการหายใจอุดตัน จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาให้ทันท่วงที
  • การรักษาในระดับที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด  สังเกตุจากการที่ต่อมทอนซิลเกิดอักเสบ เป็นหนอง และไม่ตอบสนองการรักษา ทำให้ต่อมทอนซิลโต มีโอกาสทำใหเเกิดมะเร็งที่ต่อมทอนซิลหรือ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง จำเป็นต้องผ่าตักเอาเนื้อร้ายออก

การป้องกันการเกิดโรคต่อมทอนซิลอักเสบ

สามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยง การสัมผัสกับเชื้อโรค และการสร้างภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย โดยรายละเอียดดังนี้

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เมื่อเกิดโรคก็สามารถสร้างภูมิคุ้มกันรักษาให้หายได้เอง
  • พักผ่อนให้เพียงพอ หากร่างกายอ่อนเพลีย ก็จะทำให้ร่างกายขาดภูมิต้านทานเชื้อโรคต่างๆได้
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม เจ็บคอ

อาการหนึ่งเมื่อเกิด โรคต่อมทอนซิลอักเสบ คือ อาการมีไข้ ซึ่งเราขอนำเสนอ สมุนไพรไทย สรรพคุณ ช่วยลดไข้ เมื่อเรามีไข้หากไม่ทำการควบคุมไข้ไม่ให้สูงก้จะ ช่วยลดอาการช็อก เนื่องจากความร้อนในร่างกายสูงเกินไป สมุนไพรช่วยลดไข้ มีดังนี้

หญ้าปักกิ่ง สมุนไพร หญ้าเทวดา สรรพคุณหญ้าเทวดาหญ้าปักกิ่ง ตรีผลา สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตรีผลาตรีผลา
ตะลิงปลิง ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของตะลิงปลิงตะลิงปลิง ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพรถั่วเขียว
อะโวคาโด ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของอะโวคาโดอะโวคาโด ทองพันชั่ง สมุนไพร พืชท้องถิ่น สรรพคุณของทองพันชั่งทองพันชั่ง

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove