พยาธิใบไม้ในปอด ( Paragonimus ) ปอดติดเชื้อเกิดจากการพยาธิใบไม้ใน ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เสมหะมีสีเขียวข้น เสมหะมีพยาธิปน เกิดจากการกินอาหารดิบ

โรคพยาธิใบไม้ในปอด โรคพยาธิ โรคปอด โรคในทรงอก

อาการของโรคพยาธิใบไม้ในปอด อาการสำคัญคือ ไอเรื้อรัง และไอเป็นเลือด เกิดจากการติดพยาธิจากการกินอาหาร กินปูดิบ กินกุ้งดิบ เช่น ปูน้ำตก ปูลำห้วย ปูป่า กุ้งฝอย นอกจากไอแล้ว เสมหะจะมีสีเขียวข้น บางครั้งอาจมีพยาธิออกมากับเสมหะ หากไม่รักษาอาจ ทำให้พยาธิขึ้นสมอง มีอาการชัก สายตาผิดปรกติ  มีอาการบวมเหมือนคนเป็นดรคพยาธิตัวจี๊ด ทำความรู้จักกับ โรคพยาธิใบไม้ในปอด ว่า เกิดจากสาเหตุอะไร รักษาอย่างไร และต้องดูแลอย่างไร

โรคพยาธิใบไม้ปอด ชนิดพาราโกนิมัส หรือภาษาอังกฤษ เรียก Paragonimus เกิดจากการพยาธิใบไม้ ชื่อ Paragonimus westermani ที่อาศัยอยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อย่าง หมา แมว เป็นต้น เมื่อพยาธิตัวนี้เข้าสู่ร่างกายคน จะเข้าสู่ปอด ทำให้มีอาการไอเรื้อรังและไอเป็นเลือดได้ ซึ่งพยาธิใบไม้ชนิดนี้ สามารถแพร่ระบาดสู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้โดย การรับประทานอาหารประเภทปูและกุ้งน้ำจืดบางชนิด แบบดิบๆ ซึ่งโรคนี้สามารถพบได้ในประเทศเขตร้อน แถบเอเชีย อเมริกาใต้และแอฟริกา สำหรับประเทศไทยนั้น พบว่ามีรายงานผู้ป่วยในจังหวัดเพชรบรูณ์ สระบุรี นครนายก เชียงราย น่าน เลย ราชบุรี เป็นพยาธิชนิดพาราโกนิมัส เฮเทอโรทรีมัส (Paragonimus heterotremus)

สาเหตุของการติดพยาธิใบไม้ในปอด

สาเหตุหลักของการติดพยาธิใบไม้ในปอดนั้น เกิดจาก การมีพยาธิใบไม้ที่มีการอาศัยในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น เสือ พังพอน ซึ่งโรคพยาธิชนิดนี้ ผู้ป่วยบางรายกลืนเสมหะลงไป ทำให้ไข่พยาธิที่จะขับออกมากับเสมหะ สามารถออกมากับอุจจาระ และลงสู่แหล่งน้ำะรรมชาติ สัตว์น้ำ อย่าง ปู และกุ้ง กินต่อ ทำให้เกิดการแพร่ระบาดได้ง่าย ภายใน 30 วัน ไข่พยาธิสามารถฟักตัวได้ และเจริญเติบโตต่อในร่างกายของสัตว์เหล่านั้น เมื่อมนุษย์จับสัตว์แหล่านั้นมาทำอาหาร โดยไม่มีการปรุงอาหารให้สุก ก่อน ก็จะรับไข่พยาธิเข้าสู่ร่างกาย

สำหรับการรับไข่พยาธิเข้าสู่ร่างกายและจะเกิดโรคพยาธิใบไม้ในปอดนั้น มีระยะของการเกิดโรค ยาวนานถึง 20 ปี เนื่องจากในชีวิตประจำวันของสัตว์ที่มีไข่ของพยาธืนั้น เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของพยาธิใบไม้ในตับได้

ระยะของการติดต่อ

ซึ่งระยะของการติดโรคนั้น มี 2 ระยะคือ ระยะฟักตัวและระยะติดต่อ รายละเอียดของระยะต่างๆ มีดังนี้

  • ระยะฟักตัวของโรค ในระยะนี้กินเวลา ประมาณ 45 วัน นับตั้งแต่พยาธิใบไม้เข้าสู่ร่างกาย จากนั้นเจริยเติบโตเป็นตัวเต็มวัยและสามารถผสมพันธ์และออกไข่ได้
  • ระยะติดต่อของโรค ในระยะนี้สามารถกินเวลาได้มากกว่า 20 ปี เนื่องจากหากมีพยาธิใบไม้เจริญเติบดตในร่างกายแล้ว เกิดการขยายพันธ์ แต่การติดต่อของพยาธิจะไม่ติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์โดยตรง แต่การติดต่อนั้นต้องอาศัยตัวกลางเป็นพาหะ เช่น กุ้ง หอยและปู เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคพยาธิใบไม้ในปอด

ลักษณะอาการของโรค มีความเหมือนกับโรควัณโรค คือ อาการไอแบบเรื้อรัง มีเสมหะเหนียวข้น อาจมีโลหิตปนออกมากับเสมหะ รวมถึงไอเป็นเลือด และสามารถพบพยาธิออกมากับเสมหะได้ ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บที่หน้าอก หากไม่เข้ารับการวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของโรคและรับการรักษาอย่างทันท่วงที จะทำให้ พยาธิขึ้นสมอง หากพยาธิเข้าสมองแล้ว ผู้ป่วยจะปวดหัว มีอาการเหมือนผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง มีอาการชัก เป็นลมบ้าหมู ระบบสายตาผิดปกติ มีหนอนพยาธิอาศัยอยู่ใต้ผิวหนัง จะรู้สึกเหมือนเป็น โรคพยาธิตัวจี๊ด

สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรค สามารถทำได้โดยการ สังเกตุอาการของผู้ป่วย ตรวจเสมหะและตรวจอุจจาระเพื่อหาไข่ของพยาธิ เอ็กซเรย์ปอดเพื่อดูความผิดปรกติของปอด เป็นต้น

การรักษาโรคพยาธิใบไม้ในปอด

สามารถทำการรักษาได้โดยการใช้ยา แต่การใช้ยาจะมีอาการแทรกซ้อน บ้าง แต่ไม่เป็นอันตราย เช่น มีอาการท้องเดิน ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน โดยยาที่ใช้ในการรักษาโรคพยาธิใบไม้ในปอด คือ

  1. ยาไบไทโอนอล (Bithionol) ต้องให้ยานี้ในปริมาณ 30 ถึง 40 มิลลิกรัม ต่อ น้ำหนักตัวคน 1 กิโลกรัม โดยให้ยาวันเว้นวัน 10 ถึง 15 ครั้ง
  2. ยาไบทิน บิส (Bitins bis) ต้องให้ยาในปริมาณ 10 ถึง 20 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ให้ยาวันเว้นวัน 10 ถึง 15 ครั้ง
  3. ยาฟาซควอนเตล (Prazlquamtel) ต้องให้ยาในปริมาณ 25 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ให้วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลาติดต่อกัน 3 วัน

การควบคุมและป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในปอด

ลักษณะการป้องกันให้ทำเหมือนโรคพยาธิไส้เดือนและพยาธิใบไม้ในตับ โดยข้อควรปฏิบัติสำหรับการควบคุมและป้องกัน มีดังนี้

  1. ให้กำจัดเสมหะและอุจจาระของผู้ป่วยย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันการขยายพันธ์ และแพร่เชื้อสู่สัตว์อื่นๆ เช่น ขุดหลุมฝังเสมหะและถ่ายอุจจาระให้ลึกๆ ไม่บ้วนเสมหะลงที่สาะารณะ ที่มีคนจำนวนมาก และแม่น้ำลำคลอง
  2. ทำลายสัตว์ที่เป็นพาหะตัวกลางนำโรค เช่น หอย ปู กุ้ง หนู พังพอน แต่การกำจัดนั้น เป็นไปได้ยาก สิ่งที่ดีที่สุดคือ การหลีกเลี้ยงในการสัมผัสและใกล้ชิดกับสัตว์ที่มีโอกาสเป็นพาหะของพยาธิ
  3. ไม่รับประทานอาหารพวกกุ้งและปูแบบดิบๆ

โรคพยาธิใบไม้ในปอด ( Paragonimus ) ภาวะการติเชื้อที่ปอด เกิดจากการพยาธิใบไม้ Paragonimus westermani ที่อาศัยอยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หมา แมว เป็นต้น เมื่อพยาธิตัวนี้เข้าสู่ร่างกายคน เข้าสู่ปอด ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เสมหะมีสีเขียวข้น เสมหะมีพยาธิปน เกิดจากการกินอาหารดิบ ปูดิบ กุ้งดิบ โรคติดต่อ สาเหตุ การรักษา ต้องดูแลอย่างไร

โรคเท้าช้าง เกิดจากพยาธิตัวกลม มียุงเป็นพาหะนำโรค ยุงลาย ยุงรำคาญ ยุงลายเสือ ยุงก้นปล่อง ทำให้แขนบวม ขาบวม ผิวหนังหยาบหนาเหมือนเท้าช้าง ปัสสาวะสีขาวขุ่นโรคเท้าช้าง โรคจากยุง โรคติดต่อ โรคต่างๆ

โรคเท้าช้าง ภาษาอังกฤษ เรียก Lymphatic filariasis หรือเรียกอีกอย่างว่า Elephantiasis โรคนี้เกิดจากหนอนพยาธิตัวกลม หนอนพยาธิโรคเท้าช้างนั้นอาศัยอยู่ในต่อมน้ำเหลืองและท่อน้ำเหลือง ลักษณะอาการที่เห็นได้ชัดเจน คือ แขน ขาบวม ผิวหนังจะหยาบหนา เหมือนเท้าช้าง เราจึงเรียกโรคนี้ว่า โรคเท้าช้าง

สำหรับประเทศไทยในสมัยก่อน พบว่ามีผู้ติดเชื้อมากถึง 300 คนต่อปี แต่ด้วย เทคโนโลยีทางการแพทย์ ก้าวหน้า มีอัตราคนป่วยลดลงอย่างต่อเนื่อง สำรวจล่าสุดปี 2558 อัตราการเกิดโรค นี้ 0.36 คนในประชากร 100,000 คน และ อัตราการเกิดโรค ผู้ชายจะสูงกว่าผู้หญิง ประเทศไทยพบผู้ป่วยที่จังหวัดนราธิวาส ในส่วนของประเทศอื่นๆ พบว่าทั่วโลกมี ผู้ป่วยโรคเท้าช้าง 110 ล้านคน มากพบในประเทศแถบเอเชีย แอฟริกา อเมริกาใต้ หมู่เกาะแปซิฟิก และหมู่เกาะแถบทะเลแคริบเบียน เป็นต้น

โรคเท้าช้าง คือ การติดเชื้อพยาธิฟิลาเรีย ชนิด Brugia malayi หรือ Wuchereria bancrofti  โดย พยาธิ จะอาศัยอยู่ใน ระบบน้ำเหลือง ของมนุษย์ และทำให้ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ท่อน้ำเหลืองอักเสบ เมื่อ ระบบน้ำเหลือง ของมนุษย์เกิดอุดตัน จะเกิดพังผืด น้ำเหลืองคั่ง ทำให้อวัยวะโตขึ้น ลักษณะแบบนี้ เราเรียกว่า ภาวะโรคเท้าช้าง ในส่วนของ พยาธิ ชนิด Wuchereria bancrofti พยาธิ ที่ อาศัยอยู่ในระบบน้ำเหลือง บริเวณอวัยวะเพศ ส่งผลให้ อัณฑะมีถุงน้ำ การปัสสาวะมีไขมันปน ส่วนพยาธิชนิด  Brugia malayi จะทำให้ ขาโต เสียเป็นส่วนมาก

สาเหตุของการเกิดโรคเท้าช้าง

โรคเท้าช้าง มี สาเหตุจากพยาธิตัวกลม ชื่อ Wuchereria bancrofti  Brugia malayi และ Brugia timori ซึ่ง พยาธิตัวกลม เหล่านี้อาศัยในร่างกายมนุษย์ โดยมี ยุงเป็นพาหะของโรค พยาธิ Wuchereria bancrofti จะพบใน ยุงลาย และ ยุงรำคาญ พยาธิ Brugia malayi พบใน ยุงลายเสือ ส่วนพยาธิ Brugia timori พบใน ยุงก้นปล่อง

วงจรชีวิตของหนอนพยาธิตัวกลม

เริ่มจาก ยุงตัวเมีย ที่มี เชื้อพยาธิเท้าช้าง เป็นตัวอ่อนขั้นที่ 3 กัดและดูดเลือดมนุษย์ เชื้อพยาธิจะเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ทางผิวหนัง พยาธิจะไปที่ท่อน้ำเหลือง ภายในระยะเวลา 9 เดือน พยาธิ นี้จะกลายเป็นตัวเต็มวัย เมื่อตัวเต็มวัยเหล่าอยู่ใน ท่อน้ำเหลือง มากขึ้น เกิดการขยายพันธ์ ตัวอ่อน ซึ่งตัวอ่อนเหล่านี้ จะแพร่เข้าสู่เส้นเลือด เมื่อ ยุงดูดเลือด ก็สามารถ ขยายพันธ์ ต่อไปไม่มีวันจบสิ้น

พยาธิ ที่เป็น สาเหตุของโรคเท้าช้าง มี 2 ชนิด ซึ่งสามารถย่อยเชื้อโรค ออกได้ 4 ชนิดด้วยกัน รายละเอียดดังนี้

  • พยาธิตัวกลม Wuchereria bancrofti ชนิด nocturnally periodic type สำหรับ เชื้อโรค ชนิดนี้ เมื่อผลิตตัวอ่อนจะเข้าสู่กระแสเลือดช่วงกลางคืน เป็น สาเหตุของโรคเท้าช้าง ในแถบภูเขาภาคเหนือ เช่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดราชบุรี จังหวัดตาก เป็นต้น
  • พยาธิตัวกลม Wuchereria bancrofti ชนิด nocturnally subperiodic type สำหรับ เชื้อโรค ชนิดนี้ตัวอ่อนสามารถ เข้าสู่กระแสเลือด ทุกเวลา เชื้อโรคชนิดนี้ เป็น สาเหตุของโรคเท้าช้าง ในแถบจังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดตาก เป็นต้น
  • พยาธิตัวกลม Brugia malayi ชนิด nocturnally subperiodic type เชื้อโรค ชนิดนี้มี ยุงลายเสือ เป็น ภาหะนำโรค พบมากบริเวณป่าพรุ พบ โรคเท้าช้าง ชนิดนี้ ในจังหวัดนราธิวาสและจังหวัดนครศรีธรรมราช
  • พยาธิตัวกลม Brugia malayi ชนิด diurnally subperiodic type ตัวอ่อน Microfilaria ตัวอ่อนของพยาธิ สามารถเข้าู่เส้นเลือดได้ตลอดวลา พบมากที่อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานี

พยาธิตัวกลมชนิด Brugia malayi นั้นสามารถพบในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และไทย โดย พยาธิ เหล่านี้ มาจากยุง และ เชื้อโรค อาศัยอยู่ใน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น แมวบ้าน สุนัข ลิง ค่าง แมวป่า ชะมด นางอาย เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคเท้าช้าง

โรคเท้าช้าง เกิดจาก พยาธิตัวกลม ที่อาศัยใน ต่อมน้ำเหลือง และ ท่อน้ำเหลือง เมื่อ พยาธิ เหล่านี้อาศัยในร่างกายมนุษย์ และขยายพันธ์จนเต็มพื้นที่ จะทำใหเกิดอาการ โดย อาการของโรคเท้าช้าง จะสามารถแบ่งอาการได้เป็น 3 กลุ่ม รายละเอียด ดังนี้

  1. กลุ่มผู้ป่วยเท้าช้างที่ไม่แสดงอาการ พบได้มากที่สุดในกลุ่มผู้ป่วย แต่เชื้อโรคสามารถตรวจได้ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งจะพบว่ามีความผิดปรกติที่เลือด ปัสสาวะ หนังหุ้มอัณฑะ เป็นต้น
  2. กลุ่มผู้ป่วยเท้าช้างที่มีอาการที่ระบบน้ำเหลือง แบบเฉียบพลัน เราเรียก Acute adenolymphangitis เรียกย่อๆว่า  ADL ผู้ป่วยจะ มีไข้สูง และ อักเสบที่ท่อน้ำเหลือง ทั่วร่างกาย ผิวหนัง ก็จะเป็นเส้นสีแดง คลำ แข็งๆ และปวดเวลากด ผิวหนังจะบวม ขึ้น มักเกิดที่ ต่อมน้ำเหลือง บริเวณขาหนีบและรักแร้ และถ้าเกิดกับพยาธิ ชนิด Brugia malayi จะพบว่า มีฝีหนองตามผิวหนัง ส่วนพยาธิ ชนิด Wuchereria bancrofti ผู้ป่วยจะมีปวดอัณฑะ อาการของผู้ป่วยจะ เกิดขึ้นทุกๆ 6 ถึง 10 วัน
  3. กลุ่มผู้ป่วยเท้าช้างที่มีอาการเรื้อรัง เป็นลักษณะของ ผู้ป่วยโรคเท้าช้าง ต่อเนื่องหลายปีและรักษาไม่หายขาด ท่อน้ำเหลืองจะมีอาการอักเสบ แบบเป็นๆหายๆ และเกิดพังผืด ส่งผลให้เกิด การอุดตันของท่อน้ำเหลือง ทำให้น้ำเหลืองไม่สามารถไหลได้ตามปกติ น้ำเหลือง จึงเกิด การคั่ง ตามเนื้อเยื่อรอบๆ ท่อน้ำเหลือง เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ทำให้เกิด การบวมโตของเนื้อเยื่อ

สำหรับ อวัยวะที่บวม สามารถเห็นชัด เช่น แขน ขา และเต้านม ลักษณะคือ บวม จนเสียรูปทรง ผิวหนังจะหนาขึ้น สูญเสียความยืดหยุ่น ถ้า ท่อทางเดินน้ำเหลือง ที่อยู่ด้านหลัง เยื่อบุช่องท้อง ถูกทำลาย ไตจะไม่สามารถ ถ่ายเทน้ำเหลือง เข้า หลอดเลือดดำ ได้ ส่งผลต่อท่อปัสสาวะ ทำให้ ปัสสาวะสีออกขาวขุ่นคล้ายน้ำนม เราเรียกลักษณะแบบนี้ว่า Chyluria

การรักษาโรคเท้าช้าง

สำหรับ การรักษาผู้ป่วยโรคเท้าช้าง นั้น มีแนวทางการรักษา 3 แนวทาง ที่ต้องทำควบคู่กันไป ประกอบด้วย การฆ่าเชื้อโรค การรักษา อาการของระบบน้ำเหลืองอักเสบ และ รักษาอาการบวม ซึ่งรายละเอียดของ การรักษา มีรายละเอียด ดังนี้

  1. การฆ่าเชื้อโรค โดยการให้ ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อโรค แต่การใช้ ยาปฏิชีวะ นะสามารถตรวจเชื้อจาก การตรวจคัดกรองและในผู้ที่มี การอักเสบของต่อมน้ำเหลืองแบบเฉียบพลัน และ ท่อน้ำเหลือง สามารถฆ่าได้ในตัวอ่อนแต่ไม่สามารถฆ่าได้หมดในพยาธิตัวเต็มวัย ผู้ป่วยจึงต้องกินยาซ้ำทุกๆปี เพื่อตัดวงจรการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นและลดการแพร่เชื้อตัวใหม่ ดังนั้น พยาธิตัวเต็มวัย ที่อยู่ในร่างกายมนุษย์ จะตายเมื่ออายุ 5 ถึง 7 ปี
  2. การรักษาอาการของระบบน้ำเหลืองอักเสบ สามารถรักษาได้โดยการ ให้ยาลดไข้และยาแก้ปวด
  3. การรักษาอาการบวม ของแขน ขา การรักษาอาการบวมของแขนขา นั้นสามารถทำได้ด้วย การป้องกันอาการติดเชื้อที่ผิวหนัง และ ป้องกันการเกิดแผล แต่ไม่มีวิธีลดขนาดของแขนขาให้กลับมาปกติได้ ส่วน อัณฑะที่บวม นั้น ต้อง รักษาด้วยการผ่าตัดออก

การป้องกันและควบคุมการเกิดโรคเท้าช้าง

  • ป้องกันและหลีกเลี่ยงไม่ให้ยุงกัด โดยรายละเอียดดังนี้ นอนในมุ้ง หรือห้องมุ้งลวด ทายากันยุง ควบคุมการเกิดยุง พ่นยากันยุง กำจัดลูกน้ำ กำจัดวัชพืชและพืชน้ำที่เป็นแหล่งเกาะอาศัยของลูกน้ำ
  • ประชาชนที่อยู่ในแหล่งระบาดของ โรคเท้าช้าง ให้กินยาป้องกัน โดยสามารติดต่อขอรับยาที่ หน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณะสุข

โรคเท้าช้าง เกิดจากพยาธิตัวกลมจากยุงเข้าไปอาศัยอยู่ในต่อมน้ำเหลืองและท่อน้ำเหลือง ส่งผลให้ แขนบวม ขาบวม ผิวหนังหยาบหนา เหมือนเท้าช้าง โรคนี้ มียุงเป็นพาหะนำโรค ยุงลาย ยุงรำคาญ ยุงลายเสือ และ ยุงก้นปล่อง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove