ไวรัสตับอักเสบบี ( Hepatitis B ) การติดเชื้อไวรัสHBVที่ตับ อาการของโรค มีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีผื่นไวรัสตับอักเสบ โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ โรคตับ

โรคไวรัสตับอักเสบบี ( Hepatitis B ) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอักเสบบี ( HBV ) ที่ตับ ส่งผลให้เกิดโรค เช่น ตับวาย ตับแข็ง มะเร็งตับได้ อาการของโรค คือ มีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีผื่น ปวดตามข้อ

สาเหตุของโรคไวรัสตับอักเสบบี

หากพูดถึงโรคตับอักเสบ โรคนี้มีหลายชนิด เช่น โรคไวรัสตับอักเสบเอ โรคไวรัสตับอักเสบซี เป็นต้น ตับอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น การดื่มสุรา การเสพยาเสพติด การติดเชื้อไวรัส เป็นต้น โรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถติดต่อได้หลายช่องทาง รายละเอียด ดังนี้

  1. การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ โดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
  2. การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ
  3. การใช้เข็ม สักตามตัวและการเจาะหู ร่วมกันกับผู้ติดเชื้อ
  4. การใช้แปรงสีฟัน มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ
  5. ติดเชื้อจากแม่สู่ลูกขณะคลอด เราพบว่าลูกมีโอกาสติดเชื้อได้ถึงร้อยละ 90
  6. การสัมผัส เลือด น้ำคัดหลั่ง ของผู้ติดเชื้อ

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เราสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ ระยะฉับพลัน และ ระยะเรื้อรัง รายละเอียด ดังนี้

  • อาการของผู้ป่วยติดเชื้อไวรับตับอักเสบบี ระยะเฉียบพลัน พบว่า ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภายใน 4 เดือน หลังจากได้รับเชื้อ โดยอาการจะมีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีผื่น ปวดตามข้อ มีโอกาสเกิดภาวะตับวายได้ แต่อาการจะดีขึ้นภายใน 4 สัปดาห์ หากสามารถควบคุมและกำจัดเชื้อไวรัสได้ แต่พบว่าร้อยละ 5 ของผู้ป่วยชนิดฉับพลัน จะเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี เรื้อรัง
  • อาการของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี ระยะเรื้อรัง เราสามารถแบ่งอาการของโรคนี้ได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ระยะพาหะ และระยะตับอักเสบเรื้อรัง
    • ระยะพาหะ ผู้ป่วยจะพบอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อให้อื่นได้
    • ระยะอักเสบเรื้อรัง ระยะนี้การทำงานของตับผิดปกติ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการให้เห็นอย่างชัดเจน แต่ในผู้ป่วยบางรายมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร

โรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถตรวจสอบการติดเชื้อได้จากการ ตรวจเลือด และการตัดชิ้นเนื้อตับไปตรวจ

ไวรัสตับอักเสบบี โรคตับ โรคติดเชื้อ ติดเชื้อไวรัส

การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับการรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี สามารถใช้ยารักษา แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยของไวรัสบี ปัจจัยทางผู้ป่วย และระยะของโรค โดยในปัจจุบัน ยาที่ใช้รักษาไวรัสตับอักเสบบี มีทั้งชนิดฉีดและชนิดรับประทาน แนวทางการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี ยังเป็นการรักษาประคับประคองตามอาการ ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะเพราะยาปฏิชีวนะฆ่าไวรัสไม่ได้ แต่ใช้ฆ่าแบคทีเรีย ซึ่งที่สำคัญ คือ พักการทำงานของตับ โดยการพักผ่อนให้มากๆ (ควรต้องหยุดงานอย่างน้อยประมาณ 3-4 สัปดาห์) นอกจากนั้น คือ

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน(สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง ฟื้นตัวได้เร็ว ลดโอกาสติดเชื้อซ้ำซ้อน ลดการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น
  • ดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ ไม่ควรต่ำกว่าวันละ 6-8 แก้ว(เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม)
  • กินอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ ทุกวัน
  • งดบุหรี่ และ แอลกอฮอล์ เพราะสารพิษในบุหรี่และแอลกอฮอล์ทำลายเซลล์ตับโดยตรง
  • กินยาแต่ที่เฉพาะได้รับจากแพทย์ ไม่ซื้อยากินเอง เพราะเพิ่มโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยาต่อเซลล์ตับสูงขึ้น อาจส่งผลให้ตับอักเสบมากขึ้น

อนึ่ง ในการรักษาโรคในระยะเรื้อรัง ปัจจุบันมีตัวยาหลายชนิด ทั้งฉีด และกิน ใช้เพื่อชะลอการแบ่งตัวของไวรัส ส่วนจะเลือกใช้ยาตัวใด ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ในปัจจุบันสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกัน สำหรับคนที่มีคนในครอบครัวเป็นพาหะของไวรัสชนิดนี้ ให้ตรวจเลือดเพื่อให้ทราบถึงภาวะของเชื้อ

  • ฉีดวัคซีนป้องกัน โดยผู้ที่ควรฉีดวัคซีนมากที่สุดคือ เด็กแรกเกิด สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่โดยทั่วไปมีความจำเป็นน้อยในการฉีดวัคซีน เนื่องจากส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อแล้ว หากต้องการฉีดวัคซีนควรได้รับการตรวจเลือด ผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้วหรือมีภูมิต้านทานแล้วไม่ต้องฉีดวัคซีน
  • ผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่เป็นพาหะ ควรตรวจเลือดเพื่อทราบถึงภาวะของการติดเชื้อก่อนการฉีดวัคซีน การฉีดวัคซีนต้องฉีดให้ครบชุดจำนวน 3 เข็ม หลังจากนั้นวัคซีนจะกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานขึ้นในร่างกาย

ข้อควรปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบี

  1. ควรขอรับคำแนะนำจากแพทย์ และระมัดระวังการแพร่เชื้อไปสู่คนใกล้ชิด
  2. ไม่ใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์
  3. ตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ
  4. เวลามีเพศสัมพันธ์ต้องสวมถุงยางอนามัย
  5. ไม่บริจาคเลือด
  6. งดการดื่มสุรา
  7. พักผ่อนให้เพียงพอ
  8. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  9. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  10. หากต้องรับการผ่าตัดหรือทำฟัน ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบว่ามีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

แอสเปอร์จิลโลซิส โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เกิดจากการติดเชื้อรา ทำให้มีไข้ ไอมีเสมหะ น้ำมูกเหม็น ปอดอักเสบ การรักษาโรคแอสเปอร์จิลโลซิส และ การป้องกันการเกิดโรคแอสเปอร์จิโลสิส ติดเชื้อรา โรคจากนก โรคติดต่อ

แอสเปอร์จิลโลซิส ภาษาอังกฤษ เรียก Aspergillosis เป็นโรคระบาด คือ โรคติดต่อที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา โรคนี้พบว่าเกิดกับคนครั้งแรกปี พ ศ. 2390 ปัจจุบันโรคนี้มีอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นเรื่อยๆ โรคนี้เป็นโรคเกิดกับสัตว์ต่อมาได้ติดต่อสู่คน เชื้อราที่พบ คือ แอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส ( Aspergillus fumigatus ) ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆที่ระบบทางเดินหายใจ การรักษาโรคแอสเปอร์จิลโลซิส และ การป้องกันการเกิดโรค

โรคแอสเปอร์จิลโลซิส Aspergillosis โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

โรคแอสเปอร์จิลโลซิส พบว่ามี 3 แบบ คือ  โรคแพ้เชื้อรา (Allergic aspergillosis)  โรคเชื้อราชนิดอยู่เฉพาะที่ ( aspergilloma) และ โรคเชื้อราชนิดกระจายในเนื้อเยื่อปอด ( invasive aspergillosis )

  • โรคแพ้เชื้อรา ( Allergic aspergillosis ) คนไข้ จะมีอาการหอบ หืด พบว่ามีเม็ดเลือดขาว ชนิดอีโอซิโนฟิล ( eosinophils ) สูง เกิดจากการแพ้เชื้อรา ซึ่งเชื้อราเข้าไปในร่างกายและเจริญเติบโตบนเยื่อบุทางเดินลมหายใจ หลอดลม ผู้ป่วยมักมีอาการเช่นเดียวกับ โรค asthma แต่มีอาการเรื้อรังและรุนแรง  และอาจจะทำให้เกิดการอุดตันภายในหลอดลม
  • โรคเชื้อราชนิดอยู่เฉพาะที่ ( aspergilloma ) เกิดจากเชื้อราเข้าสู่ร่างกายและไปเจริญเติบดตในโพรงปอด จนทำให้ โพรงหลอดลมพอง และเกิดโรคภายในปอดตามมา ผู้ป่วยจะมีอาการ อาการไอ มีเสมหะ อาจไอเป็นเลือด
  • โรคเชื้อราชนิดกระจายในเนื้อเยื่อปอด ( invasive aspergillosis ) เชื้อราเข้าสู่ร่ายกายไปเจริญเติบโตที่ปอด ส่งผลให้เกิดโรคเกี่ยวกับปอด ทำให้ภูมิต้านทานร่างกายต่ำลง ผู้ป่วยมักมีอาการปอดบวม และมีไข้สูงไอ หายใจลำบาก มีเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ เชื้อโรคอาจลามไปสู่หัวใจและสมองได้

สาเหตุของการติดเชื้อแอสเปอร์จิลโลซิส

โรคแอสเปอร์จิลโลซิส เกิดจากการติดเชื้อรา แอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส ( Aspergillus fumigatus ) ที่พบในสัตว์ปีก คือ นก ซึ่งเกิดการระบาดทางการหายใจ ทำให้ระบบทางเดินหายใจมีปัญหา

อาการของโรคแอสเปอร์จิลโลซิส 

โรคแอสเปอร์จิลโลสิส จะแสดงอาการที่ระบบทางเดินหายใจ หายใจติดขัด ไอ และ มีเสมหะ ทำให้ปอดอักเสบ ซึงลักษณะของอาการโรคนี้มี 3 ลักษณะ ประกอบด้วย การแพ้เชื้อรา แบบก้อนเชื้อรา แบบทำลายปอดเรื้อรัง และ แบบลุกลาม โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • อาการแบบแพ้เชื้อรา ( ABPA ) เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่อการยึดครองพื้นที่ในทางเดินหายใจของเชื้อ Aspergillus fumigatus มักเกิดในผู้ป่วยที่เป็นโรคทางเดินหายใจอยู่ก่อน เช่น โรคซิสติคไฟโบรสิส (cystic fibrosis) หรือผู้ป่วยโรคหอบหืด (asthma) อาการ คือ มีไข้ ไอ เสมหะเหนียวอุดหลอดลม เอ็กซเรย์พบฝ้าในปอด บางรายมีอาการไอเป็นเลือด บางคนมีอาการคัดจมูกเรื้อรัง น้ำมูกเป็นหนองปนเลือด มีกลิ่นเหม็น แบบไซนัสอักเสบเรื้อรัง ไม่ดีขึ้นแม้จะรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
  • อาการแบบก้อนเชื้อรา ( aspergilloma )  เป็นเชื้อราที่รวมตัวกันเป็นก้อนอยู่ภายในปอด มักเกิดในปอดที่มีโพรงของถุงลมอยู่ก่อน ก้อนของเชื้อราจะอยู่ภายในโพรงถุงลม กลิ้งไปมาได้ภายในโพรง ในระยะแรกจะไม่มีอาการ อาจตรวจพบโดยบังเอิญจากการเอ็กซเรย์ ต่อมาจึงจะมีอาการไอเป็นเลือด และมักออกมาเป็นจำนวนมากจนถึงขั้นเสียชีวิต
  • อาการแบบทำลายปอดเรื้อรัง ( chronic necrotizing pulmonary aspergillosis, CNPA ) มักพบในผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง ( COPD ) ที่ต้องพึ่งยาสเตอรอยด์ ผู้ป่วยที่ติดสุรา อาการคือมีไข้ ไอ หอบ เจ็บหน้าอก เป็นสัปดาห์ถึงเดือน เสมหะมีเลือดปนหนอง น้ำหนักลด เอ็กซเรย์พบมีปอดอักเสบหรือเป็นฝีในปอด แต่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะโดยทั่วไป
  • อาการแบบลุกลาม ( invasive aspergillosis ) มักพบในผู้ป่วยที่มีระดับเม็ดเลือดขาวในเลือดต่ำ เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะและต้องรับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยที่เป็นลูคีเมีย มะเร็งของต่อมน้ำเหลือง เชื้อแอสเปอร์จิลลัสจะลุกลามจากปอดเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้มีไข้สูง หนาวสั่น ไอเป็นเลือด หายใจเร็ว หอบ เขียว และเกิดการติดเชื้อของอวัยวะต่าง ๆ ได้ทั่วรางกาย ในรายที่เริ่มเป็นที่ไซนัส เมื่อเชื้อลุกลามจะมีการทำลายกระดูกบริเวณใบหน้า ทำให้เจ็บปวด มีเลือดออกจากจมูก

การรักษาโรคแอสเปอรืจิลโลซิส

สำหรับการรักษาโรคนี้ สามารถรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคแอสเปอร์จิลโลสิสที่ได้ผลดี คือ Voriconazole , Posaconazole , Amphothericin B , Itraconazole , และ Caspofungin ในช่วงแรกที่ผลการตรวจยังไม่ยืนยันกลับมาทั้งหมดควรให้ยา Amphothericin B ไปก่อน เพราะเป็นยาครอบจักรวาลของโรคติดเชื้อราแทบบทุกชนิด แต่ยา Voriconazole ใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อ Zygomycetes ที่ทำให้เกิดโรค Mucormycosis ที่มีอาการคล้ายกันแบบไซนัสอักเสบ

โรคแอสเปอร์จิลโลสิสแบบก้อนเชื้อราที่ยังไม่แสดงอาการอะไรอาจยังไม่ต้องรักษา เพราะยารับประทานหรือฉีดโดยทั่วไปได้ผลเพียง 60% แต่เมื่อเริ่มมีอาการไอเป็นเลือดแล้วควรรักษาทันที เพราะบางครั้งเลือดออกมากจนหายใจไม่ทันและอาจเสียชีวิต การรักษามีทั้งการผ่าตัดและการใช้ยาฆ่าเชื้อราหยดเข้าไปในก้อนโดยตรง ขึ้นกับขนาดและตำแหน่งของก้อน

โรคแอสเปอร์จิลโลสิสแบบแพ้เชื้อราเป็นอาการที่เกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ การรักษาต้องใช้ยา Corticosteroids ชนิดรับประทาน (ชนิดสูดดมที่ใช้กันเป็นประจำในภาวะหลอดลมตีบไม่ได้ผล) และอาจให้ยา Itraconazole ร่วมด้วยก็ได้ นอกจากนั้นควรใส่ผ้าปิดจมูกกันฝุ่นละอองเมื่อเข้าไปในแหล่งกักตุนของเชื้อ เช่น ฟาร์มไก่ กรงนก และในห้องปรับอากาศ

โรคแอสเปอร์จิลโลซิสจะควบคุมและป้องกันอย่างไร ควรหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค ใส่ผ้าปิดจมูกกันฝุ่นละออง ในคนที่มีประวัติการแพ้เชื้อราควรหลีกเลี้ยงการทำงานใกล้กับสัตว์ปีก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove