กระเพรา ( Sacred Basil ) ผักสวนครัว สมุนไพร ใบมีกลิ่นหอม สรรพคุณแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม คุณค่าทางโภชนาการของกระเพรา นิยมนำมาทำอาหาร เมนูผัดกระเพรา

กระเพรา สมุนไพร สรรพคุณของกระเพรา

กระเพรา ( Sacred Basil ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเพรา คือ Ocimum sanctum, Linn. ผักสวนครัว สมุนไพร สรรพคุณของกระเพราแก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม รักษาโรคผิวหนัง ไล่แมลง แก้ไอ ขับเสมหะ คุณค่าทางโภชนาการของกระเพรา กระเพรา ถือเป็นผักสวนครัวที่ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากเป็นผักที่มีกลิ่นหอมหอม และให้รสเผ็ด จึงนิยมนำมาทำอาหาร เมนูผัดกระเพรา

คุณค่าทางโภชนาการของกระเพรา

นักโภชนาการ พบว่าในกระเพรา ประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร เหล็ก โปรตีน เบต้าแคโรทีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินบี1 วิตามินเอ วิตามินบี 2  ในใบของกะเพรา จะมีน้ำมันหอมระเหย อยู่หลายชนิด เช่น  โอวิมอล (ocimol) เมทิลคาวิคอล (methylchavicol) แคลิโอฟิลลีน (caryophyllene) ไลนาลูออล(linalool) บอร์มีออล (bormeol) ยูจีนอล (eugenol)  และแคมฟีน (camphene)

กะเพรา ต้นกระเพรา กระเพรา วิกิพีเดีย กระเพรา ภาษาอังกฤษ กระเพราหมู ข้าวกระเพรา กระเพราะ กระเพราไก่ กระเพรา พจนานุกรม กระเพรา ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ocimum sanctum, Linn. ชื่ออื่นๆ ของกระเพรา เช่น กระเพราแดง กระเพราขาว ก่ำก้อขาว ก่ำก้อดำ กอมก้อขาว กอมก้อด ห่อตูปลา ห่อกวอซู

ลักษณะของต้นกระเพรา

กะเพรา เป็น พืชล้มลุก ความสูงประมาณ 1-2 ฟุต โคนของลำต้น จะมีเนื้อไม้แข็ง มีขน มีกลิ่นหอม ใบของกระเพรามีสีเขียว มีขน ใบมีกลิ่นหอม กิ่งก้านเป็นรูปสี่เหลี่ยม ส่วนปลายของกิ่งจะอ่อน ดอกออกเป็นช่อ เมล็ดของกระเพรา เมื่อแก่เมล็ดจะเป็นสีดำ การขยายพันธุ์ของกระเพรา ใช้เมล็ด หรือลำต้น

  • ต้นกระเพรา เป็นไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขา สูง 30 – 60 ซม. โคนลำต้นค่อนข้างแข็ง ตามลำต้นมีขน มีกลิ่นหอม
  • ใบกระเพรา เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2.5-5 ซม. ปลายแหลมหรือมน โคนแหลม ขอบจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบมีขนโดยเฉพาะยอด ใบสีเขียว เรียกกะเพราขาว ใบสีแดงเรียกกะเพราแดง
  • ดอกกระเพรา เป็นแบบช่อฉัตร ออกบริเวณปลายยอดและปลายกิ่ง ยาว 8-10 ซม. ประกอบด้วยดอกเล็กๆ ออกเป็นวงรอบแกนช่อเป็นชั้นๆ ก้านดอกยาว 2-3 มม. และกางออกตั้งฉากกับแกนช่อ กลีบเลี้ยงโคนติดกันเป็นรูปคล้ายระฆัง ปลายแยกเป็น ส่วน ส่วนบนมีกลีบเดียวค่อนข้างกลม ส่วนกลางแยกเป็น แฉก ปลายแหลมเรียว ด้านในเกลี้ยง ด้านนอกมีขนตามโคนกลีบ กลีบดอกสีขาว (กะเพราขาว) หรือชมพูปนม่วงแดง (กะเพราแดง) ด้านบนมี กลีบ ด้านล่างมี กลีบ ขนาดยาวกว่าด้านบน ตรงกลางกลีบเว้าตื้นๆ ปลายกลีบม้วนพับลง
  • ผลกระเพรา แห้งแล้วแตกออก
  • เมล็ดกระเพรา  รูปไข่สีน้ำตาลมีขนาดเล็ก  มีจุดสีเข้มเมื่อนำไปแช่น้ำเปลือกหุ้มเมล็ดพองออกเป็นเมือกเมื่อแก่หรือแห้ง เมล็ดจะเป็นสีดำอยู่ข้างในซึ่งหุ้มด้วยกลีบเลี้ยง 

สรรพคุณของกระเพรา

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระเพรา ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถนำมาใช้ ทั้งส่วน ใบ เมล็ด และราก รายละเอียด ของสรรพคุณของกระเพรา มีดังนี้

  • ใบสดของกระเพรา จะมีน้ำมันหอมระเหย ประกอบไปด้วย ไลนาลูออล(linalool) และ เมทิลคาวิคอล (methylchavicol) สามารถนำมาใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ
  • ใบแห้งของกระเพรา นำมาบดใช้ชงดื่มเป็นชา สามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติมโตของเชื้อโรคบางชนิด ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด
  • เมล็ดของกระเพรา นำเมล็ดไปแช่น้ำ เมล็ดจะพองเป็นเมือกสีขาว นำไปพอกในบริเวณตา จะไม่ทำให้ตาเราช้ำ
  • รากของกระเพรา ใช้รากแห้ง นำมาชงหรือต้มดื่ม แก้โรคธาตุพิการ

ขมิ้น สมุนไพร นิยมใช้เหง้านำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นขมิ้น คุณค่าทางโภชนาการของขมิ้น สรรพคุณของขมิ้น เช่น ช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม โทษของขมิ้นมีอะไรบ้าง

ขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรบำรุงผิว

ต้นขมิ้น ( Turmaric ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น คือ Curcuma longa Linn สมุนไพร สรรพคุณของขมิ้น ช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม ป้องกันมะเร็ง รักษาโรคกระเพาะ รักษาลำไส้อักเสบ รักษาโรคผิวหนัง ลดไขมันในเลือด เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยาฆ่าเชื้อรา รักษาฝี รักษาแผลไฟไหม้ บำรุงตับ ช่วยย่อยอาหาร ลดไขมันในตับ ขมิ้นเป็นพืชที่ปลูกง่าย ลักษณะเหมือขิง

ต้นขมิ้น มีชื่อในภาษาอังกฤษ ว่า Turmaric ชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น คือ Curcuma longa Linn ชื่ออื่นๆของขมิ้น เช่น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว หมิ้น ขมิ้นป่า ขมิ้นทอง ขมิ้นดี ตายอ เป็นต้น

ลักษณะของต้นขมิ้น

ขมิ้น เป็นพืชล้มลุก มีความสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในเหง้ามีสีเหลืองเข้ม มีกลิ่นที่หอม ลักษณะใบ เป็นใบเดี่ยว ซึ่งแทงออกมาจากเหง้า ดอกของขมิ้นออกเป็นช่อ มีก้านชช่อแทงออกมาจากเหง้า กลีบดอกของขมิ้นมีสีเหลืองอ่อน

  • ลำต้นของขมิ้นชัน มีความสูงประมาณ  30 ถึง 95 เซ็นติเมตร
  • เหง้าของขมิ้นชัน เป็นลักษณะทรงรี รูปไข่ อยู่ใต้ดิน อ้วนและสั้น ในเนื้อของเหง้ามีสีเหลืองส้ม กลิ่นฉุน
  • ใบของขมิ้นชัน ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ตรงกลางใบมีสีแดงคล้ำ ออกมาจากเหง้า เรียงซ้อนทับกันเป็นวง ลักษณะใบเป็นรูปหอก  ดอกของขมิ้นชัน ดอกออกมาจากเหง้าขมิ้นชั้น แทรกขึ้นตามก้านใบ ดอกขมิ้นรูปทรงกระบอก สีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการของขมิ้น

ขมิ้น มีวิตามินเอ วิตามินอี และวิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งตับได้ ช่วยลดไขมันในตับ สมานแผลในกระเพราะอาหาร เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ ทำความสะอาดลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร

ขมิ้นชัน อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และเกลือแร่ต่าง ๆ รวมไปถึงเส้นใย คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน เป็นต้น

สรรพคุณทางสมุนไพรของขมิ้น

เรานิยมใช้เหง้าของขมิ้นมาใช้ประโยชน์ ซึ่งเหง้าของขมิ้นมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบ ช่วยป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ รักษาฝี แผลพุพอง รักษาอาการอักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย รายละเอียดการนำเอาขมิ้นมาใช้เป็นยาต่างๆ ดังนี้

  • ยาแก้โรคกระเพาะ แก้ท้องร่วง แก้ท้องอืด โดยใช้เหง้าขมิ้นแก่ มาขูดเปลือกออกล้างให้สะอาด นำมาบดให้ละเอียด และคั้นเอาแต่น้ำ รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ
  • ยาทาผิว ใช้แก้ผื่นคัน โรคผิวหนัง แผลพุพอง ชันนะตุ และหนังศรีษะที่เป็นผื่น โดยใช้เหง้าแก่ มาบดเป็นผง ใช้ทาตามบริเวณที่เป็นผื่นคัน
  • ยารักษาโรคกระเพาะ โดยใช้รับประทานเหง้าขมิ้น

ผลข้างเคียงจากการบิโภคขมิ้นชัน

การรับประทานขมิ้นเพื่อการรักษาโรคใด ๆ ก็ตาม ถ้าหากเรารู้ว่าเราเป็นโรคอะไร แล้วรับประทานไปเรื่อย ๆ จนโรคนั้นหายไปแล้ว ก็ควรหยุดรับประทาน ถึงแม้ขมิ้นจะมีประโยชน์ก็จริง แต่หากร่างกายได้รับมากเกินความต้องการอาจจะกลายเป็นโทษเสียเอง ขมิ้นชันมีผลข้างเคียงคืออาการแพ้ เช่น คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ดังนั้นหากคุณรับประทานขมิ้นแล้วมีอาการดังกล่าว ควรหยุดรับประทานและหายาชนิดอื่นรับประทานแทน และยังมีความเชื่อเรื่องโทษและข้อเสียของขมิ้นในแถบภาคใต้ว่า การรับประทานขมิ้นที่มากเกินไปและถี่เกินไปนั้นแทนที่จะช่วยป้องกันโรคมะเร็ง อาจจะเป็นมะเร็งเสียเอง

อย่างไรก็ตาม คุณควรสังเกตอาการของตัวคุณเองด้วย เนื่องจากอาการท้องเสียนั้นเป็นอาการข้างเคียงทั่วไป อาจมีสาเหตุมาจากยาชนิดอื่นหรือจากภาวะของโรคที่เป็นอยู่แล้วร่วมด้วยก็เป็นได้ ดังนั้นคุณควรสังเกตอาการของตัวคุณเองด้วยว่าเดิมกินยาอื่นแล้วไม่มีปัญหาใช่หรือไม่ แต่เพิ่งมามีปัญหาเมื่อตอนรับประทานขมิ้นร่วมด้วย ก็ควรสงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นผลข้างเคียงของขมิ้นก็ได้ แต่ทั้งนี้ถ้าคิดว่าเป็นผลข้างเคียงของขมิ้น คุณก็อาจจะรับประทานขมิ้นต่อไปได้ ด้วยการรับประทานซ้ำ และค่อย ๆ ปรับขนาดยา จาก 1 เม็ด เป็น 2 เม็ดต่อครั้ง แล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ ก็อาจจะทำให้รับประทานขมิ้นต่อไปได้

ขมิ้นชันมีสรรพคุณทางยาที่รักษาอาการและโรคต่าง ๆ ได้หลายชนิด มีประวัติในการนำมาใช้ในการรักษามากกว่า 5,000 ปี สำหรับขมิ้นชันที่จะนำมาใช้ประโยชน์นั้น การเก็บเกี่ยวไม่ควรเก็บในระยะที่ขมิ้นเริ่มแตกหน่อ เพราะจะทำให้สารที่มีประโยชน์อย่างเคอร์คูมินในขมิ้นมีน้อย ส่วนเหง้าที่เก็บมาต้องมีอายุอย่างน้อย 9-12 เดือน และต้องไม่เก็บไว้นานเกินไป และไม่ให้ถูกแสงแดด เพราะน้ำมันหอมระเหยในขมิ้นจะหมดไปเสียก่อน


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove