บุก Konjac พืชไฟเบอร์สูง  King Of Fiber สมุนไพรสำหรับคนลดน้ำหนัก บุกช่วยลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวานได้ ทำความรู้จักกับสรรพคุณและโทษของบุก ประโยชน์ของบุก โดยทั่วไปนิยมใช้ประโยชน์จากหัวบุกในการบริโภค

บุก สรรพคุณของบุก สมุนไพร

ต้นบุก ภาษาอังกฤษ เรียก Konjac อ่านออกเสียงว่า คอน-จัค ชื่อวิทยาศาสตร์ของบุก คือ Amorphophallus konjac K.Koch สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของบุก เช่น บุกคุงคก เบีย เบือ มันซูรัน หัวบุก บุกคางคก บุกหนาม บุกหลวง หมอ ยวี จวี๋ ยั่ว หมอยื่อ เป็นต้น บุกมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบมากในประเทศอินโดนีเซียและไทย ซึ่งประเทศไทยพบบุกมากในแถบภาคเหนือและภาคตะวันตก ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี เป็นต้น

ประโยชน์ของบุก โดยทั่วไปนิยมใช้ประโยชน์จากหัวบุกในการบริโภค ซึ่งหัวบุกเป็นแป้งสามารถทานแทนข้าวได้ มีการนำบุกมาทำอาหารไทยหลายเมนู เช่น แกงบวชมันบุก แกงส้ม แกงเลียง ห่อหมก หรือนำมาต้มลวกจิ้มกับน้ำพริกรับประทานได้ นอกจากนี้มีการนำบุกมาแปรรูปเป็นอาหารต่างๆ เช่น วุ้นเส้นบุก เส้นหมี่แป้งหัวบุก วุ้นบุกก้อน ขนมบุก เครื่องดื่มบุกผง

ประโยชน์จากบุกไม่ใช่เพียงเป็นอาหาร บุกสามารถปลูกเพื่อเป็นพืชสวยงามได้ นิยมนำมาปลูกประดับตามใต้ร่มเงาของไม้ยืนต้น ปลูกใส่กระถางเป็นไม้ประดับทั่วไป

ส่วนประโยชน์ของบุกด้านการรักษาโรค สรรพคุณของบุก ช่วยลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคเบาหวาน เป็นยาแก้ไข้จับสั่น ช่วยแก้ไอ ละลายเสมหะ แก้โรคท้องมาน ใช้สำหรับสตรีประจำเดือนมาไม่ปรกติ ใช้แก้พิษงู ใช้เป็นยาแก้แผลไฟไหม้และน้ำร้อนลวก แก้ฝีหนองบวมอักเสบ  ใช้เป็นยาแก้ปวด แก้ฟกช้ำดำเขียว ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ช่วยขับระดูของสตรี ใช้เป็นยาพอกฝี

ลักษณะของต้นบุก

ต้นบุก ถือเป็น พืชล้มลุกชนิกหนึ่ง เป็นไม้เนื้ออ่อน ลักษณะของลำต้นอวบและมีสีเขียวเข้ม ใบบุกเป็นใบเดี่ยว ซึ่งใบของบุกจะแตกใบที่ยอดและใบแผ่ขึ้นเหมือนร่มกาง ดอกของบุกจะมีสีเหลือง จะบานในตอนเย็น มีกลิ่นฉุน ลักษณะเหมือนดอกหน้าวัว ลักษณะของต้นบุก มีดังนี้

  • ลำต้นแทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน มีความสูงของต้นประมาณ 50-150 เซนติเมตร หัวที่อยู่ใต้ดินนั้นมีขนาดใหญ่ ลักษณะของหัวเป็นรูปค่อนข้างกลมแบนเล็กน้อย หรือกลมแป้น มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25 เซนติเมตร ผิวเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ลำต้นและกิ่งก้านมีลักษณะกลมใหญ่ เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวมีลายแต้มสีขาวปะปนอยู่
  • ใบบุก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลมรี ปลายใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร
  • ดอกบุก ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะของดอกเป็นรูปทรงทรงกระบอกกลมแบน มีกลิ่นเหม็น สีม่วงแดงอมเขียว มีกาบใบยาวประมาณ 30 เซนติเมตร สีม่วงอมเหลือง โผล่ขึ้นพ้นจากกลีบเลี้ยงที่มีสีม่วง
  • ผลบุก ลักษณะของผลเป็นรูปกลมแบน เมื่อสุกจะเป็นสีส้ม

สรรพคุณของบุก

สำหรับสรรพคุณของบุก เรานิยมใช่ประโยน์ทางยาของบุก จาก หัว รากและเนื้อของลำต้น รายละเอียด ดังนี้

  • หัวบุก มีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคเบาหวาน เป็นยาแก้ไข้จับสั่น ช่วยแก้ไอ ละลายเสมหะ แก้โรคท้องมาน ใช้สำหรับสตรีประจำเดือนมาไม่ปรกติ ใช้แก้พิษงู ใช้เป็นยาแก้แผลไฟไหม้และน้ำร้อนลวก แก้ฝีหนองบวมอักเสบ  ใช้เป็นยาแก้ปวด แก้ฟกช้ำดำเขียว
  • รากของบุก ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ช่วยขับระดูของสตรี ใช้เป็นยาพอกฝี

ข้อควรระวังในการบริโภคบุก

สำหรับข้อห้ามสำหรับการรับประทานบุก คือ หัวบุกจะมีรสเผ็ด เป็นยาร้อน มีพิษ ออกฤทธิ์ต่อม้าม ตับ และระบบทางเดินอาหาร ดังนั้น ในกลุ่มคนที่ ม้าม ตับ และระบบทางเดินอาหาร ไม่ดี ควรหลีกเลี่ยงรับประทาน และไม่รับประทานมากเกินไป ซึงข้อควรระวังในการบริโภคบุก มีรายละเอียดดังนี้

  • ในเนื้อหัวบุกป่าจะมีผลึกของแคลเซียมออกซาเลท (Calcium oxalate) เป็นจำนวนมาก ที่ทำให้เกิดอาการคัน ส่วนเหง้าและก้านใบถ้าปรุงไม่ดีแล้วรับประทานเข้าไปจะทำให้ลิ้นพองและคันปากได้
  • ก่อนนำมารับประทานจะต้องกำจัดพิษออกก่อน และไม่รับประทานกากยาหรือยาสด
  • กรรมวิธีการกำจัดพิษจากหัวบุก ให้นำหัวบุกมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตำพอแหลก คั้นเอาน้ำออกพักไว้ นำกากที่ได้ไปต้มน้ำ แล้วคั้นเอาแต่น้ำ นำไปผสมกับน้ำที่คั้นครั้งแรก แล้วนำไปต้มกับน้ำปูนใสเพื่อให้พิษหมดไป เมื่อเดือดก็พักไว้ให้เย็น จะจับตัวกันเป็นก้อน จึงสามารถใช้ก้อนดังกล่าวในการปรุงอาหารหรือนำไปตากแห้งเพื่อใช้เป็นยาได้
  • ถ้าเกิดอาการเป็นพิษจากการรับประทานบุก ให้รับประทานน้ำส้มสายชูหรือชาแก่ แล้วตามด้วยไข่ขาวสด แล้วให้รีบไปพบแพทย์
  • เนื่องจากวุ้นบุกสามารถขยายตัวได้มาก จึงไม่ควรบริโภควุ้นบกภายหลังการรับประทาน แต่ให้รับประทานก่อนอาหารไม่น้อยกว่าครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง ส่วนการบริโภคอาหารที่ผลิตจากวุ้น เช่น วุ้นก้อนและเส้นวุ้น สามารถบริโภคพร้อมอาหารหรือหลังอาหารได้ เพราะวุ้นดังกล่าวได้ผ่านกรรมวิธีและได้ขยายตัวมาก่อนแล้ว และการการที่จะขยายตัวหรือพองตัวได้อีกนั้นจึงเป็นไปได้ยาก ส่วนในเรื่องของคุณค่าทางโภชนาการนั้นพบว่าวุ้นบุกไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย เนื่องจากไม่มีการย่อยสลายเป็นน้ำตาลในร่างกาย และไม่มีวิตามินและแร่ธาตุ หรือสารอาหารใด ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเลย
  • กลูโคแมนแนนมีผลทำให้การดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมันลดลง ซึ่งจะไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมได้ แต่จะไม่มีผลต่อการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในน้ำ
  • การกินผงวุ้นบุกในปริมาณมาก อาจทำให้มีอาการท้องเดินหรือท้องอืด มีอาการหิวน้ำมากกว่าเดิม บางคนอาจมีอาการอ่อนเพลียเพราะระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

ขมิ้น พืชสารพัดประโยชน์ คู่สังคมไทย นิยมมาทำอาหารรวมถึงใช้รักษาโรค บำรุงผิวพรรณ ลักษณะของต้นขมิ้นเป็นอย่างไร ประโยชน์และโทษของขมิ้นมีอะไรบ้าง

ขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรบำรุงผิว

ต้นขมิ้น ภาษาอังกฤษ เรียก Turmaric ชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น คือ Curcuma longa Linn สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของขมิ้น เช่น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว หมิ้น ขมิ้นป่า ขมิ้นทอง ขมิ้นดี ตายอ เป็นต้น ขมิ้นอยู่คู่สังคมไทยมาช้านาน นิยมนำไปใช้ในการประกอบอาหาร แต่งสีอาหาร แต่งกลิ่นอาหาร อาหารไทยที่มีขมิ้นเป็นส่วนประกอบ เช่น แกงไตปลา แกงกะหรี่ เป็นต้น

นอกจากนี้ ขมิ้นมีประโยชน์ทางสมุนไพรใช้รักษาโรคได้ มีประวัติในการนำขมิ้นใช้ในการรักษามากกว่า 5,000 ปี สรรพคุณของขมิ้นเช่น ช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม ป้องกันมะเร็ง รักษาโรคกระเพาะ รักษาลำไส้อักเสบ รักษาโรคผิวหนัง ลดไขมันในเลือด เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยาฆ่าเชื้อรา รักษาฝี รักษาแผลไฟไหม้ บำรุงตับ ช่วยย่อยอาหาร ลดไขมันในตับ เป็นต้น

ลักษณะของต้นขมิ้น

ขมิ้น เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นขมิ้น มีดังนี้

  • ลำต้นของขมิ้นชัน มีความสูงประมาณ  30 ถึง 95 เซ็นติเมตร
  • เหง้าของขมิ้นชัน เป็นลักษณะทรงรี รูปไข่ อยู่ใต้ดิน อ้วนและสั้น ในเนื้อของเหง้ามีสีเหลืองส้ม กลิ่นฉุน
  • ใบของขมิ้นชัน ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ตรงกลางใบมีสีแดงคล้ำ ออกมาจากเหง้า เรียงซ้อนทับกันเป็นวง ลักษณะใบเป็นรูปหอก
  • ดอกของขมิ้นชัน ดอกออกมาจากเหง้าขมิ้นชั้น แทรกขึ้นตามก้านใบ ดอกขมิ้นรูปทรงกระบอก สีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการของขมิ้น

ขมิ้น มีวิตามินเอ วิตามินอี และวิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งตับได้ ช่วยลดไขมันในตับ สมานแผลในกระเพราะอาหาร เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ ทำความสะอาดลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร

ขมิ้นชัน อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และเกลือแร่ต่าง ๆ รวมไปถึงเส้นใย คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน เป็นต้น

สรรพคุณของขมิ้น

สำหรับการใช้ขมิ้นในการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์จากเหง้าของขมิ้น ซึ่งสรรพคุณของขมิ้น มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอวัย เสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
  • บำรุงผิวหนัง ช่วยป้องกันผิวหนังจากสภาพแวดล้อมต่างๆ แก้อาการผื่นคันตามร่างกาย รักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน บรรเทาอาการผิวหนังพุพอง ทำให้ ผิวพรรณนุ่มนวล ขาวผ่องใส เต่งตึง รักษาสิวเสี้ยน สิวผด สิวอุดตัน
  • ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย รักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต
  • ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย ล้างพิษ ลดการเกิดพิษในร่างกาย
  • บำรุงกระดูก รักษาโรคเกาต์ ลดกรดยูริคในเลือด ลดอาการปวดบวมตามข้อ
  • บำรุงร่างกายสำหรับสตรีหลังคลอดบุตร ช่วยเพิ่มน้ำนม
  • รักษาโรคระบบทางเดินหายใจ ช่วยให้หายใจคล่อง บำรุงปอด
  • บำรุงสมอง ลดอาการสมองเสื่อม แก้อาการเวียนหัว
  • แก้ปวด ลดการอักเสบ บวมแดงของร่างกาย
  • ช่วยลดไข้ ลดอาการไอ
  • รักษาแผลที่ปาก แผลร้อนใน
  • บรรเทาอาการปวดท้อง ช่วยรักษาอาการท้องเสีย  รักษาอาการจุดเสียด ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร รักษาโรคลำไส้อักเสบ รักษาโรคแผลในลำไส้ ช่วยเรื่องการขับถ่าย ลดการบีบตัวของลำไส้  รักษาอาการลำไส้ใหญ่บวม อาการอุจจาระไม่ออก ช่วยขับลม ป้องกันการเกิดกรดไหลย้อน
  • บำรุงตับให้แข็งแรงขึ้น ป้องกันการเกิดตับอักเสบ และตับอ่อนอักเสบ และป้องกันตับจากฤทธิ์ของยาพาราเซตามอล
  • แก้อาการตกเลือด แก้อาการตกขาว
  • รักษาแผลจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อรา
  • รักษาแผล ช่วยสมานแผล

โทษของขมิ้น

สำหรับการใช้ประโยชน์จากขมิ้นหากใช้อย่างไม่ถูกต้องสามารถทำให้เกิดโทษได้ ดังนี้

  • หากรับประทานขมิ้นแล้วเกิดอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว หรือ นอนไม่หลับ ต้องหยุดการรับประทานขมิ้นทันที
  • การใช้ขมิ้นเพื่อบรรเทาอาการต่างๆ เมื่ออาการเหล่านั้นหายดีแล้ว ควรเลิกรับประทาน ไม่ควรรับประทานต่อเนื่อง
  • ขมิ้นชั้นเป็นอันตรายสำหรับผู้ป่วยเกี่ยวกับท่อน้ำดี อาจทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำดีได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove