บัวหลวง ( Lotus ) สมุนไพร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยขยายหลอดเลือด ลดความดัน ชะลอการหลั่ง แต่ต้องกินปริมาณที่เหมาะสม ต้นบัวหลวงเป็นอย่างไรบัวหลวง สมุนไพร ต้นบัว ประโยชน์ของบัวหลวง

ต้นบัวหลวง เป็นสมุนไพร มีสรรพคุณ ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยขยายหลอดเลือด ลดความดันเลือด ซึ่งสรรพคุณเหล่านี้ ช่วยในการเพิ่มสมรรถภาพทางเพศของท่านชาย ช่วยชลอการหลั่งได้ หากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เรามาให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร ชื่อ บัวหลวง กันอย่างละเอียด ว่า บัวหลวงมีลักษณะทางพันธุศาสตร์อย่างไร สรรพคุณของบัวหลวงมีอะไรบ้าง

ต้นบัวหลวง ภาษาอังกฤษ เรียก Lotus มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Nelumbo nucifera Gaertn. ชื่อเรียกอื่นๆของบัวหลวง เช่น โกกระณต บัว บัวอุบล บัวฉัตรขาว บัวฉัตรชมพู บัวฉัตรสีชมพู บุณฑริก ปุณฑริก ปทุม ปัทมา สัตตบงกช สัตตบุษย์ เป็นต้น

ลักษณะของต้นบัวหลวง

ต้นบัวหลวง เป็นพืชล้มลุก อายุยืน อยู่ตามแหล่งน้ำ อยู่ในพื้นที่ ที่มีน้ำขัง รายละเอียดของต้นบัวหลวง มีลักษณะ ดังนี้

  • เหง้าของบัวหลวงอยู่ใต้ดิน ลักษณะของเหง้าจะเป็นท่อนยาว มีปล้อง สีเหลืองอ่อน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียว ในระดับความลึกของน้ำที่ประมาณ  50 เซนติเมตร
  • การขยายพันธ์ของบัวหลวงใช้การขยายพันธ์โดยใช้เมล็ดและการแตกไหลบัว
  • ใบของบัวหลวง ใบลักษณะใบเดี่ยว กลมและมีขนาดใหญ่ ขอบของใบเรียบ จะมีก้านใบจะติดอยู่ตรงกลางของใบบัว อยุ่ด้านล่าง สำหรับก้านบัวจะมีหนาม
  • ดอกบัวหลวง ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว มีสีขาว สีชมพู ดอกบัวมีกลิ่นหอม ในดอกจะมีเกสรตัวผู้สีเหลืองอยู่เป็นจำนวนมาก และล้อมรอบอยู่บริเวณฐานรองดอก เราเรียกส่วนฐานนั้นว่า “ฝักบัว”ภายในฝักบัวจะมีเม็ดบัว
  • ฝักบัวหลวง จะมีผลอ่อนสีเขียว ในฝักบัวจะมีผลบัว เมื่อฝักบัวแก่ เม็ดบัวจะขยาย สำหรับดีบัว คือ ส่วนของต้นอ่อนที่อยู่ในเม็ดบัว

คุณค่าทางโภชนาการของบัวหลวง

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของรากบัวหลวง ขนาด 100 กรัม นั้นให้พลังงาน พลังงาน 66 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย สารอาหาร คาร์โบไฮเดรต 16 กรัม น้ำ 81 กรัม น้ำตาล 0.5 กรัม เส้นใยอาหาร 3 กรัม ไขมัน 0.07 กรัม โปรตีน 1.5 กรัม วิตามินบี1 0.127 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.01 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.3 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.3 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี9 8 ไมโครกรัม โคลีน 25 มิลลิกรัม วิตามินซี 27 มิลลิกรัม แคลเซียม 26 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.9 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 22 มิลลิกรัม แมงกานีส 0.22 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 78 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 36 มิลลิกรัม โซเดียม 45 มิลลิกรัม และสังกะสี 0.33 มิลลิกรัม

สรรพคุณของบัวหลวง

การนำบัวหลวงมาใช้ประโยชน์นั้น สามารถนำมาใช้ได้ทุกส่วน ประกอบด้วย ทั้งต้น รากและเหง้า ใบบัว เม็ดบัวหลวง ดีบัว ดอกบัว รายละเอียด ดังนี้

  • สรรพคุณของต้นบัวหลวงทั้งต้น ใช้แก้พิษ ช่วยลดความดันโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือด
  • สรรพคุณของรากบัวและเหง้าบัว ช่วยห้ามเลือด ช่วยรักษาแผลพุพอง ช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการท้องร่วง ช่วยขับเสมหะ
  • สรรพคุณของฝักบัวหลวง ใช้แก้พิษเห็ดเมา ช่วยสมานแผลในมดลูก แก้ไอ เป็นยาชูกำลัง
  • สรรพคุณของใบบัว นำมาใช้แก้อาการบวม อาการอักเสบ
  • สรรพคุณของเม็ดบัวหลวง ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี  ช่วยบำรุงไขข้อและเส้นเอ็น รักษาโรคเกี่ยวกับข้อกระดูก ช่วยแก้อาการน้ำกามเคลื่อน ลดอาการฝันเปียก ช่วยรักษาแผลพุพอง ช่วยบำรุงไต บำรุงม้าม บำรุงตับ ช่วยแก้อาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ รักษาอาการท้องร่วง ช่วยขับเสมหะ เป็นยาบำรุงหัวใจ ช่วยบำรุงประสาทและสมอง เป็นยาชูกำลัง
  • สรรพคุณของดีบัว ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี ช่วยแก้อาการน้ำกามเคลื่อน ลดอาการฝันเปียก ช่วยแก้อหิวาตกโรค ช่วยบำรุงถุงน้ำดี ช่วยแก้อาการอาเจียนเป็นเลือด ช่วยรักษาการติดเชื้อในช่องปาก ช่วยทำให้เส้นเลือดขยาย
  • สรรพคุณของดอกบัวหลวง ช่วยทำให้คลอดบุตรง่าย  ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี  ช่วยแก้อาการช้ำใน ช่วยแก้อาการผดผื่นคัน ช่วยห้ามเลือด ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับเสมหะ ช่วยลดไข้ เป็นยาบำรุงหัวใจ
    ฝักบัวหลวง ช่วยขับรกออกมาให้เร็วขึ้น

คำแนะนำสำหรับการนำบัวหลวงมาใช้ประโยชน์
การนำบัวหลวงมาใช้ประโยชน์นั้นมีข้อแนะนำเกี่ยวกับการเลือกซื้อและการนำเอาบัวหลวงมาใช้ประโยชน์ ซึ่งรายละเอียดมี ดังนี้

  • บัวหลวงมีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็งได้ แต่บัวหลวงที่มีขายในประเทศไทยนั้นมีหลายแหล่ง เช่นประเทศจีน ซึ่งบัวหลวงของจีนนั้นจะมีขนาดของเมล็ดที่ใหญ่กว่าบัวหลวงของไทย แต่คุณค่าทางอาหารบัวหลวงของไทยมีคุณค่ามากกว่าบัวหลวงของจีนหลายเท่า
  • การรับปรัทานสารสกัดจากบัวหลวงนั้นต้องระวังอาจมีสารเจือปนที่มีพิษต่อร่างกายได้ การรับประทานบัวหลวงให้ได้ประโยชน์สูงสุดควรรับประทานสดๆจากต้น
  • การเลือกซื้อบัวหลวงนั้น ควรเลือกซื้อบัวที่สดและมีเมล็ดขนาดใหญ่ สีเขียวอ่อน
  • การเลือกซื้อเม็ดบัวอบแห้ง ควรระวังสิ่งเจือปนที่ไม่สะอาด เช่น ฝุ่นละออง กลิ่นสาบ กลิ่นเหม็นหืน ขั้วเม็ดดำคล้ำ เป็นต้น
  • หากต้องการให้สรรพคุณของเม้ดบัวมากขึ้น ให้นำเม็ดบัวมาปรุงอาหารร่วมกับลำไยอบแห้ง
  • สำหรับผู้ที่แพ้เกสรดอกไหม้ ให้ระวังเรื่องการบริโภคบัวหลวง เนื่องจากบัวหลวงมีเกสรดอกไม้
  • บัวหลวงทำให้ท้องผูก ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเรื่องการขับถ่ายไม่ควรบริโภคบัวหลวง

บัวหลวง ( Lotus ) สมุนไพร ประโยชน์ของบัวหลวง สรรพคุณของบัวหลวง บำรุงร่างกาย ช่วยขยายหลอดเลือด ลดความดันช่วยชลอการหลั่ง แต่ต้องกินปริมาณที่เหมาะสม ลักษณะของต้นบัวหลวงเป็นอย่างไร ต้นบัวหลวง คำแนะนำสำหรับการนำบัวหลวงมาใช้ประโยชน์

กระเพาะอาหารอักเสบ เกิดจากกระเพาะอาหารเป็นแผล มีอาการบวมแดง เกิดได้ทุกเพศทุกวัย กินอาหารไม่เป็นเวลา อาการปวดท้อง เมื่อเป็นโรคกระเพาะอักเสบต้องทำอย่างไรโรคกระเพาะอักเสบ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคไม่ติดต่อ ปวดท้อง

กระเพาะอาหารอักเสบ เป็น โรคระบบทางเดินอาหาร โรคยอดฮิต สำหรับคนทำงานหนัก รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา หากมีอาการปวดท้อง ให้สันนิษฐานก่อนเลยว่าเป็น โรคกระเพาะอาหาร แล้ว แต่อาการปวดท้องมีหลายสาเหตุ มาทำความรู้จักกับ โรคกระเพาะอาหาร โรคกระเพาอาหารอักเสบ กันว่า โรคกระเพาะอาหารเกิดจากอะไร อาการของโรคกระเพาะอาหารมีอะไรบ้าง แล้วจะรักษาได้อย่างไร

โรคกระเพาะอาหาร คือ การเกิดแผลที่เยื่อบุกระเพาะอาหารหรือลำไส้ ซึ่งโรคกระเพาะอาหารสามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ คือ อาการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร เป็นลักษณะของการเกิด แผล การบวม แดงภายในกระเพาะอาหาร โรคนี้สามารถพบได้ในทุกอายุ ทุกเพศ

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ นั้นเป็นโรคที่พบบ่อย แต่จากสถิติสาเหตุของการเกิดโรคนั้นไม่ชัดเจน เมื่อผู้ป่วยพบแพทย์ จะได้รับการรักษาตามอาการ และเมื่ออาการดีขึ้น ก็จะไม่ตรวจหาสาเหตุอย่างละเอียด ซึ่งจะส่งผลให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง สำหรับโรคกระเพาะอาหารนั้นมีรายงานว่าประเทศสหรัฐอเมริกา มีผู้เป็นโรคนี้สูงถึงประมาณปีละ 2 ล้านคน

สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร

สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะอาหาร นั้นเกิดจากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุหลักๆ คือ การรักประทานอาหารไม่ตรงเวลา และนิยมรับประทานอาหารรสจัด ที่มีกรดสูง เราได้รวมสาเหตุของการเกิดโรคกระเพา มีรายละเอียดดังนี้

  • การหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากก่าวปกติ ซึ่งการหลังกรดนั้นเกิดจากการถูกกระตุ้นให้เกิดการหลั่ง
  • ความเครียด ซึ่งความเครียดจะกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดมากขึ้น
  • การดื่มเครื่องดื่มมี่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ และน้ำอัดลม
  • การสูบบุหรี่ บุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรดของกระเพราอาหาร
  • โรคแทรกซ้อนบางอย่าง เช่น โรคในกลุ่มอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน(Zollinger-Ellisson syndrome)
  • การกินยาบางชนิด กินยาแก้ปวด ลดไข้ แก้ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ยาชุดที่มีแอสไพริน และยาสเตียรอยด์ ยาในกลุ่มนี้จะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารทำใหเเกิดแผลที่กระเพาะอาหาร
  • การกินอาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด และเปรี้ยวจัด
  • การดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มเหล่านี้จะกระตุ้นการหลังกรดในกระเพาอาหาร
  • การกินอาหารไม่เป็นเวลา เมื่อถึงเวลาระบประทานอาหารกระเพาอาหารจะหลังกรดออกมา หากไม่รับประทานอาหารก็จะทำให้เกิดการหลั่งกรดในกระเพาอาหารโดยไม่มีอาหารสำหรับย่อย กรดเลยไปทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดแผล
  • การติดเชื้อโรค ซึ่งเชื้อโรคที่อันตรายคือ เชื้อแบคทีเรีย เอชไพโลไร ซึ่งเชื้อตัวนี้ทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหาร เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารได้
  • กรรมพันธุ์ จากสถิติพบว่าผู้ป่วยที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคกระเพาะอาหาร คนในครอบครัวนั้นก็จะมีโอกาสเกิดโรคกระสูง

อาการของผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหา โรคกระเพาะอาหารอักเสบ นั้นจะมีอาการ คือ ปวดท้องในบริเวณกระเพาะอาหาร อาการเป็นๆหายๆ ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอบ่อย รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อาจอาเจียนเป็นเลือดได้ เบื่ออาหาร และผอมลง และเลือดออกจากเยื่อบุกระเพาะอาหาร อุจจาระเป็นสีดำ

การรักษาโรคกระเพาะอาหาร

การรักษาโรคกระเพาอาหาร นั้น มีวิธีรักษาอยู่ 3 วิธีหลักๆ คือ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การใช้ยารักษาและการผ่าตัด ซึ่งเราจะอธิบายให้ฟังรายละเอียดของการรักษาโรคกระเพาะอาหารมีดังนี้

  1. การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เนื่องจากสาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะอาหารหลักๆเกิดจาก การใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้อง จนเกิดผลเสียต่อกระเพาะอาหาร ซึ่งการปรับพฤติกรรม คือ เลิกพฤติกรรมที่ทำให้อาการของโรคกระเพาะอาหารรุนแรงขึ้นไปอีก เช่น การกินอาหารไม่เป็นเวลา การรับประทานอาหารรสจัด การดืมสุรา การดื่มชา กาแฟ การสูบบุหรี่ ความเครียด เป็นต้น
  2. การรักษาด้วยการใช้ยารักษา การกินยาต้องกินอย่างสม่ำเสมอ ตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด โดยปรกติแล้วแผลในกระเพาะอาหารจะหายภายใน 6 สัปดาห์ ซึ่งยาที่ใช้ในการรักษาโรคกระเพาะอาหารนั้น มีอยู่ 4 ชนิด ประกอบด้วย
    • ยาลดกรด ( antacid ) ให้รับประทานก่อนกินอาหาร 120 นาที หรือหลังรับประทานอาหาร 60 นาที และรับประทานก่อนนอน
    • ยาลดการหลั่งกรด ( acid-suppressing drugs ) รับประทานวันละครั้งก่อนนอน
    • ยาปฏิชีวนะ เป็นยาที่ใช้รักษาแผลกระเพาะอาหารจากการติดเชื้อโรค ซึ่งขึ้นอยู่กับเชื้อโรคที่พบ
    • ยาเคลือบกระเพาะ ( Stomach-lining protector ) ใช้สำหรับเคลือบแผลในกระเพาะ
  3. การผ่าตัด เป็นวิธีรักษาที่ไม่คอยได้ใช้ ซึ่งจะใช้วิธีนี้ในเฉพาะกรณีที่มีความรุนแรงมาก เช่น เลือดไหลไม่หยุด กในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ผลกระเพาะอาหารทะลุและลำไส้เล็กเกิดการทะลุ กระเพาะอาหารมีการอุดตัน
    การรักษาโรคกระเพาะอาหารในปัจจุบันมียาที่ใช้รักษาจำนวนมาก และได้ผลดี การผ่าตัดจะใช้ในกรณีที่หนักมากเท่านั้น

การดูแลตัวเองสหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

การดูแลตัวเองสำหรับ ผู้ป่วยโรคกระเพาะ นั้น ต้องมีข้อควรปฏิบัตติ ดังนี้

  • กินยาตามคำสั่งแพทย์ อย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ
  • งดอาหารที่กระตุ้นอาการปวดท้อง เช่น อาหารรสจัด อาหารที่มีกรด
  • เลิกบุหรี่
  • เลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ลดการดื่มเครื่องดื่มประเภทคาเฟอีน
  • ดูแลความสะอาดเกี่ยวกับอาหารและภาชนะในการใส่อาหาร
  • ผ่อนคลาย ลดความเครียด
  • หากมีอาการอาเจียนเป็นเลือด หรือ มีเลือดปนให้พบแพทย์

การป้องกันการเกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

การป้องกันโรคกระเพาะ นั้นสำคัญที่สุด คือ การปรับพฤติกรรมส่วนตัว เพื่อไม่ให้กระตุ้นสาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะ โดยสามารถสรุปเป็นข้อๆได้ ดังนี้

  • รักษาความสะอาด โดยเฉพาะอาหารที่จะบริโภค เพื่อป้องกันการติตเชื้อ
  • ผ่อนคลาย เนื่องจากความเครียด ช่วยกระตุ้นให้เกิดกรดในกระเพาะอาหาร
  • หลีกเลี้ยงการกินยากลุ่มยาแก้ปวด หรือ ยาสเตียรอยด์
  • เลิกบุหรี่
  • เลิกดื่มสุรา
  • ลดการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน
  • รักษาและควบคุมโรค ที่มีความเสี่ยงต่อโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

สมุนไพรรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

ฟักทอง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของฟักทองฟักทอง ขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรไทยขมิ้น
เดือย ลูกเดือย สมุนไพร ประโยชน์ของเดือยลูกเดือย ฟ้าทลายโจร สมุนไพร สมุนไพรไทย ประโยชน์ของฟ้าทะลายโจรฟ้าทะลายโจร

โรคกระเพราะอาหารอักเสบ ความสำคัญของโรคนี้ อยู่ที่ต้องกินข้าวให้ตรงเวลา และ อาหารที่กิน ต้องไม่ระคายเคือง กระเพาะอาหาร ก็เพียงเท่านี้ แต่หลายคนทำไม่ได้

โรคกระเพาะอาหาร คือ อาการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดจากหลายสาหตุ กระเพาะอาหารเป็นแผล มีอาการบวมแดงภายในกระเพาะอาหาร โรคนี้เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย โรคทางเดินอาหาร โรคยอดฮิต สำหรับคนเครียดและคนทำงานหนัก กินอาหารไม่เป็นเวลา อาการของโรคกระเพาะอาการ คือ ปวดท้อง สาเหตุ อาการ การรักษา และ การดูแล เมื่อเป็นโรคกระเพาะ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove