ลำไส้อักเสบ ( Enterocolitis ) เกิดจากหลายสาเหตุทั้งติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ อาการของโรคปวดท้องรวมกับท้องเสีย อุจจาระเป็นมูกเลือดเหม็น อุจจาระสีซีด อ่อนเพลีย ลำไส้อักเสบ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคไม่ติดต่อ โรคลำไส้

โรคลำไส้อักเสบ ภาษาอังกฤษ เรียก Enterocolitis โรคลำไส้อักเสบ คือ ภาวะที่เกิดจากเนื้อเยื่อภายในลำไส้อักเสบ  ซึ่งสาเหตุของการอักเสบมักเกิดจากการติดเชื้อโรค แต่สามารถเกิดการอักเสบโดยไม่ติดเชื้อได้เหมือนกัน ลำไส้อักเสบ เกิดขึ้นกับทั้งลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ ทั้งนี้ลำไส้อักเสบ อาจเกิดร่วมกับโรคกระเพาะอักเสบ หรือ ทวารหนักอักเสบได้

การเกิดลำไส้อักเสบแบบเฉียบพลัน จะเกิดการอักเสบอย่างกระทันหันภายในระยะเวลา 7 วัน แต่ถ้าหากอาการอักเสบเป็นๆ หายๆ เราจะเรียกว่า ลำไส้อักเสบเรื้อรัง โรคลำไส้อักเสบจะพบมากในประเทศที่มีสุขอนามัยไม่ดี

สาเหตุของการเกิดโรคลำไส้อักเสบ

สำหรับ สาเหตุของลำไส้อักเสบ นั้น เราสามารถแบ่งสาเหตุของโรคได้ 2 ลักษณะ คือ อาการลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อโรค และ โรคลำไส้อักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อโรค ซึ่งเชื้อโรคที่ทำให้เกิดลำไส้อักเสบ คือ แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต และเชื้อรา แต่เชื้อแบคทีเรีย เป็นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดลำไส้อักเสบมากที่สุด เชื้อแบคทีเลียที่พบมากที่สุดคือ เชื้อแบคทีเรียอีโคไลและเชื้อแบคทีเรียสตาพีโลคอกคัส เป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ โรคบิด โรคไทฟอยด์ อหิวาตกโรค
    สำหรับเชื้อไวรัสนั้น เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ คือ ไวรัสโรตา ไวรัสอะดีโน ไวรัสซีเอมวี ลักษณะของการติดเชื้อไวรัสเกิดจากระบบภูมิต้านทานร่างกายบกพร่อง ส่วนเชื้อปรสิตที่เป็นสาเหตุของลำไส้อักเสบ คือ อะมีบา(Amoeba) พยาธิตัวกลม เป็นต้น นอกจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และปรสิต แล้วเชื้อราก็คือ เชื้อโรคอีกตัวหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ มักพบในคนที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง เช่น โรคเอดส์
  • ลำไส้อักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เป็นสาเหตุของลำไส้อักเสบที่พบได้ไม่บ่อย ลักษณะของลำไส้อักเสบเกิดจาก ลำไส้ขาดเลือด เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ

สำหรับกลุ่มที่มี ความเสี่ยงของการเกิดโรคลำไส้อักเสบ เกิดจากปัจจัย 2 ส่วน คือ ปัจจัยของโรคที่สาเหตุจากการติดเชื้อและปัจจัยของโรคจากการไม่ติดเชื้อ สามารถแยกปัจจัยเสี่ยงเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

  • กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่สะอาด
  • นักท่องเที่ยวและนักเดินทาง อาจจะเดินทางไปในสถานที่ทีไม่สะอาดและเกิดการติดเชื้อโรคได้
  • กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน โอกาสในการรับเชื้อโรคโดยไม่รู้ตัวได้
  • กลุ่มคนที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคระบบทางเดินอาหาร
  • กลุ่มคนที่คนในนครอบครัวมีประวัติโรคระบบทางเดินอาหาร
  • เด็กที่คลอดก่อนกำหนด

อาการของผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบ

สำหรับผู้ป่วยที่เป็น โรคลำไส้อักเสบ นั้น จะมีอาการ ท้องเสียร่วมกับปวดท้อง ลักษณะปวดแบบบีบ นอกจากอาการปวดท้องแล้ว จะพบว่ามีอาการอื่นๆ ดังต่อไปนี้ คือ อุจจาระเหลวเป็นมูก มีเลือดปน กลิ่นเหม็นมากกว่าปรกติ อุจจาระสีซีดกว่ารกติ มีไข้สูง หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย

อาการที่น่ากังวลคือ อาการเสียน้ำมาก จนร่างกายขาดน้ำ หากร่างกายเกิดช็อกต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลพบแพทย์โดยด่วน

การรักษาโรคลำไส้อักเสบ

สำหรับ การรักษาโรคลำไส้อักเสบ นั้น ใช้การรักษาอยู่ 2 อย่าง คือ การรักษาสาเหตุของโรคและการประคับประครองอาการของโรค รายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาโรคลำไส้อักเสบ ที่สาเหตุของโรค เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะในการฆ่าเชื้อโรคทีเป็นสาเหตุของอาการอักเสบ
  • การรักษาโรคลำไส้อักเสบ ด้วยการประคับประคองอาการของโรค เช่น การให้เกลือแร่เพื่อชดเชยอาการขาดน้ำ และการให้ยาแก้ปวด ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น

การดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบ

การดูแลตัวเองสำหรับผู้ที่เป็นโรคลำไส้อักเสบนั้น มีวิธีดูแลตัวเอง

  • ให้รับประทานอาหารอ่อนๆ ที่ย่อยง่าย
  • ให้ดื่มน้ำให้มากขึ้น เพื่อชดเชยอาการขาดน้ำ
  • ให้รับประทานอาหารมีประโยชน์ครบ 5 หมู่
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รักษาความสะอาดของอาหารและน้ำดื่มที่รับประทาน

การป้องกันการเกิดโรคลำไส้อักเสบ

สำหรับ การป้องกันโรคลำไส้อักเสบ นั้นสามารถป้องกันได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคที่หมด โดยรายละเอียด ของการป้องกันการเกิดโรคลำไส้อักเสบ ดังนี้ที่

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
  • รักษาความสะอาดของอาหาร น้ำดื่ม
  • กินอาหารปรุงสุกเสมอ
  • ล้างมือทุกครั้งก่อนกินอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ
  • ใช้ส้วมเสมอในการขับถ่าย เพื่อลดโอกาสเกิดโรคระบาดติดต่อทางอุจจาระ
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่สกปรกและแออัด
  • หากจำเป้นต้องไปอยู่ในสถานที่ไม่สะอาด ต้องทำความสะอาดชำระร่างกายให้สะอาดเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

โรคลำไส้อักเสบ นั้น ไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่โรคนี้หากเกิดภาวะเรื้อรัง จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หลีกเลี่ยงโรคนี้ได้ก็เป็นดี อาการปวดท้อง ท้องเสีย อุจจาระเป็นมูก อาการเหล่านี้เป็น อาการของโรคลำไส้อักเสบ ซึ่งเป็นการระคายเคืองที่ลำไส้เป็นเวลานานจากปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร สามารถพบได้บ่อยในคนช่วงอายุประมาณ 15-30 ปี และมักจะเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ลำไส้อักเสบ รักษาอย่างไร อาการลำไส้อักเสบสามารถรักษาด้วยวิธีธรรมชาติได้

ซึ่ง ลำไส้อักเสบ โดยทั่วไปเป็น โรคที่ไม่รุนแรง ทางการแพทย์สามารถรักษาและควบคุมโรคได้ สำหรับอาการของโรคนี้จะมีการอักเสบเกิดขึ้นเฉพาะที่ลำไส้  ซึ่งความสำคัญของโรคนี้เป็นอาการโรคเรื้อรัง ที่จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป้วย วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ โรคลำไส้อักเสบ กันว่า เป็นอย่างไร อะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคนี้ อาการของโรคเป็นอย่างไร รักษาอย่างไร และป้องกันอย่างไร

โรคลำไส้อักเสบ ( Enterocolitis ) คือ ภาวะเนื้อเยื่อลำไส้อักเสบ เกิดจากหลายสาเหตุทั้งการติดเชื้อและการไม่ติดเชื้อ เกิดจากการระคายเคืองที่ลำไส้เป็นเวลานาน  เกิดกับลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ สามารถเกิดร่วมกับโรคกระเพาะอักเสบ ทวารหนักอักเสบ อาการของโรคไส้อักเสบ คือ ปวดท้อง ท้องเสีย อุจจาระเป็นมูก สาเหตุ อาการ การรักษา และ การดูแลโรคทำอย่างไร

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

อ้อย ( Sugar cane ) สมุนไพร พืชเศรษฐกิจ นำมาทำน้ำตาล ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงร่างกาย อ้อยในประเทศไทย มี 2 ชนิด อ้อยเคี้ยว อ้อยสำหรับทำน้ำตาล ต้นอ้อยเป็นอย่างไร

อ้อย สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณอ้อย

อ้อย ( Sugar cane ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของอ้อย คือ Saccharum officinarum L. พืชตระกลูหญ้า สมุนไพร พืชเศรษฐกิจ นำมาทำน้ำตาล รสหวาน ประโยชน์ของอ้อย สรรพคุณของอ้อย ช่วยบำรุงร่างกาย อ้อยในประเทศไทย ที่นิยมปลูกมี 2 ชนิด คือ อ้อยเคี้ยว  และ อ้อยสำหรับทำน้ำตาล ต้นอ้อยเป็นอย่างไร สมุนไพรไทย ลักษณะของต้นอ้อย การปลูกอ้อย อ้อยสรรพคุณเป็นอย่างไร

ต้นอ้อย เป็นพืชล้มลุก พืชเศรษฐกิจ ใช้ทำน้ำตาล รวมถึงเป็นวัตถุดิบในการทำเอทานอล อ้อยมีสรรพคุณเด่น คือ ให้ความหวาน นิยมนมาทำเป็นเครื่องปรุงอาหารให้ความหวาน เรียกว่า น้ำตาล แต่อ้อยนั้นไม่ใช่แค่ให้วคามหวานเพียงอย่างเดียว อ้อยยังมีประโยชน์ด้านยารักษาโรค สมุนไพรไทย ด้วย เราจะมานำเสนอ เรื่อง อ้อย ว่า อ้อยเป็นอย่าไร ลักษณะของต้นอ้อย การปลูกอ้อย และการนำอ้อยมาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคต่างๆ เป็นอย่างไร

ลักษณะของต้นอ้อย

ต้นอ้อย เป็น พืชล้มลุก การขยายพันธ์โดยการแตกกอ สามารถปลูกโดยใช้น้ำน้อย ลักษณะของต้นอ้อย มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นอ้อย ลำต้นมีสีแดงอมม่วงความสูงของลำต้นไม่เกิน 5 เมตร ลำต้นของอ้อยจะตั้งตรง ไม่มีกิ่งก้าน ลำต้นของอ้อยจะเป็นข้อปล้องจำนวนมาก ซึ่งมีน้ำมากและมีความหวาน
  • ใบอ้อย มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว รูปใบหอก มีหนามเล็กๆที่ขอบใบ
  • ดอกอ้อย ออกดอกที่ปลายยอด
  • ผลเป็นผลแบบผลธัญพืช แห้งและมีขนาดเล็ก
  • รากของอ้อยนั้นอยู่ใต้ดิน มีขนาดใหญ่ ซึ่งกระจายทั่วลำต้น โดยรากของอ้อยจะแบ่งออกเป็น 2 ชุด คือ รากของท่อนพันธุ์ และรากของหน่อ

สำหรับ อ้อยในประเทศไทย นั้น มีพันธุ์อ้อยที่นิยมปลูกอยู่ 2 ชนิด คือ อ้อยเคี้ยว และอ้อยสำหรับทำน้ำตาล

  • อ้อยเคี้ยว จะมีเปลือกและชานนิ่ม ให้วความหวานปานกลาง นิยมปลูกเพื่อนำน้ำอ้อยมาดื่มสด ซึ่งพันธ์อ้อยเคี้ยวที่นิยมปลูก คือ อ้อยสิงคโปร์  พันธุ์มอริเชียส พันธุ์บาดิลาสีม่วงดำอ้อยทั้ง 3 พันธุ์นี้จัดเป็นพวกอ้อยพันธ์ดั้งเดิม ที่ปลูกในแถบเกาะนิวกินี สามารถเคี้ยวให้ความหวานที่มากพอและไม่แข็งจนเกินไป
  • อ้อยสำหรับทำน้ำตาล เป็นอ้อยที่ถูกพัฒนาสายพันธ์ ให้น้ำมาก เป็นสายพันธ์ที่นิยมปลูกทั่วโลก มีสายพันธ์ต่างๆ มากถึง 220 พันธ์อ้อย

สรรพคุณทางสมุนไพรของอ้อย

สำหรับตำราแพทย์แผนไทยนั้น จะใช้ อ้อยเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ รักษาหนองใน ขับนิ่ว ใช้ขับเสมหะ อ้อย นั้นสามารถใช้ประโยชน์ทางยาได้ตั้งแต่ ราก และลำต้น ซึ่งรายละเอียด ดังนี้

  • รากอ้อย ใช้นำมาเป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้หืด แก้ไอ ช่วยแก้ไข้ ช่วยรักษาเลือดลม ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงร่างกาย รักษาอาการอาการอ่อนเพลีย รักษาอาการผอมแห้งหิวและหอบไม่มีเรี่ยวแรง ช่วยบำรุงโลหิตระดูของสตรี
  • ลำต้นอ้อย ใช้นำมาช่วยรักษาแผลพุพอง เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยแก้อาการท้องผูก ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ช่วยแก้อาการเจ็บคอ ช่วยขับเสมหะ ช่วยรักษาโรคไซนัส ช่วยแก้หืด แก้ไอ ช่วยแก้ไข้ ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยรักษาเลือดลม ช่วยบำรุงร่างกาย รักษาอาการอาการอ่อนเพลีย รักษาอาการผอมแห้งหิวและหอบไม่มีเรี่ยวแรง ช่วยบำรุงโลหิตระดูของสตรี ช่วยรักษาโรคงูสวัด
  • เปลือกของต้นอ้อย ช่วยแก้ตานขโมย รักษาโรคปากเป็นแผล

การนำอ้อยมาใช้ประโยชน์

สำหรับ ประโยชน์ของอ้อย นั้น เราสามารถแบ่งประโยชน์ของอ้อยออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ประโยชน์การใช้โดยตรงจากอ้อย และการใช้อ้อยด้านอุตสาหกรรม ซึ่งรายละเอียดดังนี้

  • การใช้ประโยชน์จากอ้อยโดยตรง คือ เป็นอาหาร ให้ความหวาน เป็นอาหารสัตว์ เป็นเชื้อเพลิง ใช้เป็นวัตถุคลุมดินหรือบำรุงดิน เป็นต้น
  • การใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์จากอ้อยนั้น จะให้ ชานอ้อย  กากตะกอน กากน้ำตาล ซึ่งสิ่งเหล่านี้ นอกจากจะได้น้ำตาลทรายที่เราใช้ปรุงอาหารแล้ว ชานอ้อย กากตะกอน รวมถึงกากน้ำตาล สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน เช่น ชานอ้อย ใช้เป็นเชื้อเพลิง ใช้ผลิตวัสดุก่อสร้าง เช่น อัดเป็นแผ่น  แผ่นกันความร้อน ใช้ผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษชนิดต่าง ๆ ใช้เป็นอาหาร ใช้ทำปุ๋ยหมัก  กากตะกอน ใช้ทำเป็นปุ๋ยบำรุงดิน ใช้ในผลิตภัณฑ์ขัดเงา ผลิตหมึกสำหรับกระดาษคาร์บอน ผลิตลิปสติก กากน้ำตาล ใช้ทำปุ๋ย ใช้เลี้ยงสัตว์ ใช้ผลิตแอลกอฮอล์ ใช้ทำผงชูรส ใช้ทำกรดน้ำส้ม เป็นต้น

โทษของอ้อย

สำหรับการบริโภคน้ำอ้อยในปริมาณมาก และ ติดต่อกันนานเกินไป ทำให้เกิดการสะสมน้ำตาลในร่างกายมากเกินไป ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานตามมาอีกมากมาย

อ้อย ภาษาอังกฤษ เรียก Sugar cane มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Saccharum officinarum L. อ้อย นั้นจัดเป็นพืชในตระกูลหญ้า ไผ่ สำหรับ อ้อยมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น อ้อยขม อ้อยดำ อ้อยแดง อ้อยตาแดง เป็นต้น อ้อย สามารถปลูกได้ในประเทศเขตร้อน น้ำของต้นอ่อยมีความหวาน นำทำน้ำตาลรับประทาน นอกจากน้ำตาลแล้วอ้อยถูกนำมาเป็นวัตถุดิบในการทำกระดาษ พลาสติก เป็นเชื้อเพลิง และอาหารสัตว์ เป็นต้น ประเทศที่มีการปลูกอ้อยจำนวนมาก คือ บลาซิล คิวบา และอินเดีย

การปลูกอ้อย

สำหรับ การปลูกอ้อย นั้น อ้อยจะมีการเจริญเติบโตอยู่ 4 ระยะ ประกอบด้วย

  • ระยะงอก ภาษาอังกฤษ เรียก germination phase เป็นระยะแรก คือ หน่อเริ่มโผล่พ้นดิน ซึ่งใช้เวลาประมาณ 14-21 วัน เป็นหน่อที่เกิดจากตาของท่อนพันธุ์ เราเรียก หน่อแรก (primary shoot)
  • ระยะแตกกอ ภาษาอังกฤษ เรียก tillering phase ในระยะนี้การแตกกอของอ้อยจะใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์หลังปลูก และการแตกกอนี้จะใช้เวลาประมาณ 4 เดือน ซึ่งปัจจัยที่ทำให้อ้อยสามารถแตกกอได้ดี คือ ความชื้นในดิน แสง อุณหภูมิ และปุ๋ย การปลูกอ้อยในระยะการแตกกอต้อง การควบคุม น้ำ และ วัชพืช ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการแตกกอให้ผลผลิตที่ดีได้
  • ระยะย่างปล้อง ภาษาอังกฤษ เรียก stalk elongation phase เมื่อปลูกอ้อยได้อายุ 4-8 เดือน อ้อยจะเข้าสู่ระยะย่างปล้อง คือ อ้อยจะมีการเพิ่มความยาวและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของปล้องอย่างรวดเร็ว เมื่อผ่านระยะ 8 เดือนแล้ว การเจริญเติบโตของอ้อยจะเริ่มลดลง และเริ่มมีการสะสมน้ำตาลเพิ่มมากขึ้นฃ
  • ระยะแก่และสุก ภาษาอังกฤษ เรียก maturity and ripening phase ในระยะนี้อ้อยพร้อมให้ผลผลิตแล้ว อัตราการเจริญเติบโตช้าลงมาก การสะสมน้ำตาลนั้นจะเริ่มจากส่วนโคนไปหาปลาย สามารถตัดผลผลิตไปใช้ประโยชน์

อ้อย ( Sugar cane ) สมุนไพร พืชเศรษฐกิจ นำมาทำน้ำตาล ประโยชน์และสรรพคุณของอ้อย ช่วยบำรุงร่างกาย อ้อยในประเทศไทย ที่นิยมปลูกมี 2 ชนิด คือ อ้อยเคี้ยว  และ อ้อยสำหรับทำน้ำตาล ต้นอ้อยเป็นอย่างไร สมุนไพรไทย ลักษณะของต้นอ้อย การปลูกอ้อย อ้อยสรรพคุณเป็นอย่างไร

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove