คื่นช่าย คื่นฉ่าย ขึ้นฉ่าย ( Celery ) สมุนไพรกลิ่นหอม ต้นคื่นฉ่ายเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยชะลอวัย บำรุงสมอง บำรุงกระดูก มีวิตามินหลายชนิด โทษของคื่นฉายผักสมุนไพร ขึ้นฉ่าย คื่นฉ่าย สมุนไพร

ต้นขึ้นฉ่าย เป็นผักที่ใบคล้ายกับผักชี แต่ใบใหญ่กว่าและมีกลิ่นฉุน ขึ้นฉ่าย ภาษาอังกฤษ Celery หลายคนเขียนว่า คื่นช่าย คื่นฉ่าย หรือ คึ่นไช่ ผักขึ้นฉ่ายมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Apium graveolens L. เป็นพืชตระกุลเดียวกับผักชี ชื่อเรียกอื่นๆของคื่นฉ่าย เช่น ผักข้าวปีน  ผักปืน ผักปิ๋ม เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของขึ้นฉ่าย

จากการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของคื่นฉ่าย ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 67 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม น้ำตาล 1.4 กรัม การใยอาหาร 1.6 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.7 กรัม น้ำ 95 กรัม วิตามินเอ 22 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.021 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.057 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.323 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.074 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 36 ไมโครกรัม วิตามินซี 3 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.27 มิลลิกรัม วิตามินเค 29.3 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 40 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.2 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 11 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 24 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 260 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 80 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.13 มิลลิกรัม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของขึ้นฉ่าย

ต้นขึ้นฉ่าย ที่นิยมปลูกมีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง และ ขึ้นฉ่ายจีน ซึ่งขึ้นฉ่ายฝรั่งลำต้นจะอวบใหญ่มากคื่นฉ่ายจีน ต้นขึ้นฉ่าย  เป็น พืชล้มลุก ลักษณะของต้นขึ้นฉ่ายมี ดังนี้

  • ลำต้นขึ้นฉ่าย ความสูงของต้นประมาณ 1 ฟุต ลำต้นมีลักษณะกลวง มีกลิ่นหอม อายุของขึ้นฉ่ายไม่เกิน 2 ปี
  • ใบของขึ้นฉ่าย ลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก สีเขียวอมเหลือง ใบลักษณะเป็นรูปลิ่มหยัก ขอบใบหยักเป็นแฉก รูปสามเหลี่ยม หรือ รูปห้าเหลี่ยม มีก้านใบยาวแผ่ออกจากกาบใบ
  • ดอกของขึ้นฉ่าย ดอกมีขนาดเล็ก สีขาว ออกเป็นช่อ
  • ผลของขึ้นฉ่าย มีลักษณะกลมรี สีน้ำตาล ขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม

สรรพคุณของขึ้นฉ่าย

การใช้ประโยชน์ทางสมุนไพรของขึ้นฉ่าย นิยมรับประทานสดๆ หรือนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร ซึ่งสามารถสรุปประโยชน์ของการรับประทานคื่นฉ่าย มีดังนี้

  • ช่วยเจริญอาหาร และกระตุ้นความอยากกินอาหาร
  • ช่วยบำรุงเลือดและหัวใจ ช่วยขยายตัวของหลอดเลือด และ ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด
  • ช่วยปรับสมดุลของกรดและด่างในเลือด
  • ช่วยลดอาการอักเสบ
  • ช่วยให้นอนหลับสบาย กลิ่นหอมของคื่นฉ่ายช่วยให้ผ่อนคลาย
  • ช่วยรักษาโรคอัลไซเมอร์
  • ช่วยลดอาการของโรคหอบหืด
  • ช่วยล้างพิษในร่างกาย
  • ช่วยป้องกันโรคซิลิโคซิส ( Silicosis ) โรคระบบทางเดินหายใจ ที่มีสาเหตุมาจากการสูดฝุ่นเข้าสู่ร่างกาย
  • ช่วยลดความดันโลหิต ลดคอเลสเตอรอล ระดับน้ำตาล ไตรกลีเซอไรด์ และไขมันในเส้นเลือด
  • ช่วยขับเสมหะ
  • ช่วยขับลมในกระเพาะ
  • ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว
  • ช่วยแก้ปัญหาสำหรับสตรีที่ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ แก้อาการปวดประจำเดือนของสตรี
  • ช่วยบำรุงตับและไต
  • ช่วยรักษาโรคปวดข้อต่าง ๆ รวมถึงอาการปวดปลายประสาท ช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
  • รักษาโรคผิวหนัง ช่วยแก้ลมพิษ ผดผื่นคันต่าง ๆ
  • ช่วยในการคุมกำเนิดเนื่องจากื่นแ่ายมีฤทธิ์ในการลดปริมาณการสร้างอสุจิในเพศชาย สามารถช่วยลดอัตราการตั้งครรภ์ได้

ข้อควรระวังในการรับประทานผักขึ้นฉ่าย

  • เนื่องจากคื่นฉ่ายมี สรรพคุณในการลดปริมาณการสร้างอสุจิ สำหรับคนที่ต้องการมีบุตร ไม่ควรรับประทานมากเกินไป
  • คื่นฉ่ายเป็นผักที่มีกลิ่นแรง หากทานมากเกินไปอาจทำให้มีอาหารแพ้จนถึงขั้นรุนแรงได้
  • สารสกัดจากต้นคื่นฉ่าย มีสรรพคุณช่วยเร่งให้สีผิวเปลี่ยน เป็นสีน้ำตาลมากขึ้น
  • ผักคื่นฉ่าย หากนำมาปรุงให้สุกเกินไป ผักจะเละและสูญเสียสารอาหารสำคัญ

คื่นช่าย คื่นฉ่าย หรือ ขึ้นฉ่าย ( Celery ) ผักสมุนไพรกลิ่นหอม ประโยชน์ของขึ้นฉ่ายมีอะไรบ้าง พืชสวนครัว สรรพคุณของขึ้นฉ่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย บำรุงสมอง บำรุงกระดูก ผักขึ้นฉ่าย ประกอบด้วย วิตามินหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี และเบตาแคโรทีน เป็นต้น ช่วยเพิ่มรสชาติอาหาร ดับกลิ่นคาวอาหาร

เกลื้อน ติดเชื้อราที่ผิวหนัง อาการมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง เกิดมากกับกลุ่มคนที่มีเหงื่อมาก เช่น คนใช้แรงงานกลางแจ้ง นักกีฬา คนที่ใส่เสื้อที่อับชื้น รักษาและป้องกันเกลื้อน โรคผิวหนัง ผิวหนังติดเชื้อรา เกิดผื่น

โรคเกลื้อน เป็นโรคที่พบมากในประเทศที่มีอากาศเย็น แต่มักมักพบโรคนี้ในฤดูร้อนมากกว่าฤดูหนาว สามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งเพศหญิงและเพศชาย พบในวัยรุ่น วัยหนุ่มสาว มากที่สุด สำหรับปัจจัยและสาเหตุของการเกิดโรค มีดังนี้

ปัจจัยของการเกิดโรคเกลื้อน

สำหรับปัจจัยการเกิดโรคเกลื้อน สามารถพบเห็นได้จากปัจจัยต่างๆ ดังนี้

  • อายุ เนื่องจากอายุของคนวัยหนุ่มสาว สามารถขับเหงื่อได้มาก ทำให้มีโอกาสเกิดความอับชื้นของเสื้อผ้าได้ง่าย กว่าคนในวัยอื่นๆ หากการรักษาความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้าไม่ดี ทำให้เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคมากที่สุด
  • ลักษณะทางพันธุกรรม ในกลุ่มคนที่มีความมันของผิวหนังมากกว่าปรกติ สามารถทำให้เกิดปัจจัยความเสี่ยงการเกิดโรคเกลื้อนได้ง่ายกว่าปรกติ
  • ลักษณะการบริโภคที่ไม่สมดุลย์ หากมีการกินอาหารที่มีไขมันสูง ทำให้ร่างกายมีการสะสมไขมันในร่างกายมาก ความมันของผิวหนังก็มีมากกว่าปรกติ ทำให้เกิดการสะสมของเชื้อราได้ง่ายขึ้น
  • ลักษณะการทำงานที่ส่งผลให้มีเหงื่อออกมาก เช่น คนทำงานกลางแดด คนทำงานแบกหาม คนทำงานในโรงงาน คนที่ทำงานที่ต้องใส่แต่งเครื่องแบบที่ร้อนอบ และ นักกีฬา เป็นต้น
  • การใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน
  • ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องของร่างกาย เช่น ผู้ป่วยเอดส์
  • ภาวะความเครียด
  • ภาวะโลหิตจาง
  • เกิดภาวะวัณโรค
  • อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์
  • การรับประทานยาคุมกำเนิด
  • ภาวะโรคเบาหวาน

สาเหตุของการเกิดโรคเกลื้อน

การเกิดโรคเกลื้อนเกิดจากเชื้อรา ชื่อ “ มาลาสซีเซีย ” ( Malassezia spp. ) เป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ที่ผิวหนังชั้นนอกของคน โดยปรกติแล้วเชื้อราชนิดนี้ไม่ทำให้เกิดโรค ซึ่งเชื้อรานี้จะทำให้เกิดริ้วรอยบนผิวหนัง สามารถติดต่อจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง แต่ก็ติดต่อยาก หากมีภาวะอื่นๆ ร่วมจะส่งเสริมให้เกิดโรคง่ายขึ้น เช่น ภาวะความเครียด ภาวะโลหิตจาง การเกิดโรควัณโรค การตั้งครรภ์ เป็นต้น สำหรับบางคนที่มีเหงื่อออกมาก เชื้อราชนิดนี้จะเจริญเติบโตได้ดี

อาการของโรคเกลื้อน

สำหรับอาการของโรคเกลื้อน จะเริ่มจากการมีรอยักษณะจุด มีขุย ต่อมารอยจะมีสีอ่อนลง และอาจมีสีเข้มขึ้นบริเวณผิวหนังโดยรอบ ลักษณะผื่นที่ขึ้นจะมีขอบเขตที่ชัดเจน ผื่นจะไม่เข้มขึ้นหากโดนแสงแดด ผื่นที่เกิดขึ้นนั้นสามารถเกิดขึ้นและหายไปได้เอง สรุปลักษณะของโรคเกลื้อน มีดังนี้

  • พื้นที่ที่เกิดผื่น จะเกิดขึ้นบริเวณที่มีเหงื่อออกมาก เช่น หน้าอก หลัง ไหล่ ซอกคอ ลำคอ ต้นแขน หน้าท้อง เป็นต้น แต่พบมากบริเวณแผ่นหลังและหน้าอก
  • รูปร่าง ขนาด และ จำนวน เกลื้อน เป็นลักษณะผื่น กลม ๆ หรือ รูปวงรี ขนาดเล็กๆ ซึ่งผื่นมักจะขึ้นแยกจากกันเป็นดวง ๆ และอาจเชื่อมต่อกันได้จนเป็นแผ่นขนาดใหญ่
  • สีของผื่นจะมีสีที่แตกต่างกัน เช่น สีขาว สีชมพู หรือ สีน้ำตาล ขึ้นอยู่กับสีของผิวหนังแต่ละคน
  • ลักษณะผื่นที่ขึ้นจะมีลักษณะแบนราบและมีขอบเขตของผื่นที่ชัดเจน บริเวณที่เกิดผื่นผิวจะไม่เรียบและมีเกล็ดสีขาว น้ำตาล หรือแดงบนผิว

วิธีรักษาโรคเกลื้อน

สำหรับการรักษาโรคเกลื้อนนั้นการรักษาใช้ยาทารักษาเพื่อหยุดการเจริญเติบโตของเชื้อรา ซึ่งยาที่ใช้ในการรักษานั้นขึ้นอยู่กับลักษณะความรุนแรงของการอาการ โดยการรักษามีรายละเอียด ดังนี้

  • สำหรับอาการผื่นที่ไม่มาก สามารถใช้ยาทารักษาโรคเชื้อราได้ โดยให้ทาวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นหลังจากอาบน้ำเสร็จ ทาติดต่อกันประมาณ 30 วัน
  • สำหรับอาการผื่นลักษณะกว้างที่หนังศรีษะ ให้ใช้ยาสระผมเซลซัน เป็นยาสะผมที่มีตัวยาซีลีเนียมซัลไฟด์ แต่ควรระวังเรื่องการแพ้ยา หากมีอาการบวม แดง คัน หรือ แสบร้อน ให้เลิกใช้ทันที
  • สำหรับอาหารผื่นที่เกิดมากและกินบริเวณกว้าง หรือ เกิดโรคเกลื้อน ชนิดเรื้อรัง แพทย์จะให้กินยา คีโตโคนาโซล ( Ketoconazole ) หรือ ไอทราโคนาโซล ( Itraconazole ) เนื่องจากอาการผื่นขนาดใหญ่การใช้ยาทาจะไม่สะดวก และใช้เวลานานในการรักษา การใช้ยากินช่วยให้รักษาได้เร็วกว่า

สมุนไพรที่มีสรรพคุณรักษาโรคเกลื้อน

สำหรับสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคเกลื้อน มีสมุนไพรหลายชนิดสามารถรักษาโรคเกลื้อนได้ โดยแนะนำได้ เช่น กุ่มบก (Crateva adansonii subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs) ข่า (Alpinia galanga (L.) Willd. ) ชุมเห็ดเทศ (Senna alata (L.) Roxb.) มะคำดีควาย (Sapindus trifoliatus L.) ทองพันชั่ง (Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz) อัคคีทวาร (Rotheca serrata (L.) Steane & Mabb.) กระเทียม (Allium sativum Linn.)

การดูแลตนเองและป้องกันโรคเกลื้อนเพื่อไม่ให้กลับมาเกิดโรคซ้ำอีก

สำหรับการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการเกิดเกลื้อน มีคำแนะนำดัง ต่อไปนี้

  • ดูและความสะอาดเล็บมือเล็บเท้า โดยให้ตัดเล็บมือเล็บเท้าให้สั้น และหมั่นล้างมือให้สะอาด
  • ต้องรักษาความสะอาดของร่างกายอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เกิดเหงื่อไคลหมักหมม สะสมจนเกิดโรคเกลื้อน
  • ควรใช้เสื้อผ้าที่สะอาด รวมถึงผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ต้องไม่ให้ผ้าที่สัมผัสตัวเรามีเชื้อโรคหมักหมม
  • ไม่สวมเสื้อผ้าที่ม่ความหนา และ คับเกินไป
  • ควรใช้ชีวิตอยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่อากาศถ่ายเทสะดวก
  • หลังจากการออกกำลังกาย หรือ การทำงานที่มีเหลื่อออกมาก ให้ทำความสะอาดและเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ ไม่ควรใส่เสื้อที่มีความชื้นสะสม
  • ในเด็กที่มีโรคเกลื้อน ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษา ไม่ควรหายามารักษาเอง เนื่องจากยาของผุ้ใหญ่กับเด็กไม่ควรใช้ร่วมกัน

เกลื้อน โรคผิวหนัง ติดเชื้อราที่ผิวหนัง ลักษณะอาการ คือ มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง เกิดมากกับกลุ่มคนที่มีเหงื่อมาก เช่น คนใช้แรงงานกลางแจ้ง นักกีฬา คนที่ใส่เสื้อที่อับชื้น ปัจจัย สาเหตุ วิธีการรักษา และ การป้องกันทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove